เจตนาที่ีแท้จริงในการปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำคือ การเก็บภาษีที่ควรจะได้ จากผู้ประกอบการ

การปรับฐานค่าแรงขั้นต่ำนั่น ไม่ได้มีเจตนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับลูกจ้างและแรงงานโดยตรง เท่าไหร่นัก
เพราะ ส่วนใหญ่จากสภาพค่าครองชีพและการขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน  ก็จ้างกันเกินกว่าฐานรายได้ขั้นต่ำอยู่แล้ว
แต่การกำหนด ค่าแรงขั้นต่ำ คือการตั่งฐาน กำหนดให้ บริษัท หรือผู้ประกอบการ แจ้งจ่ายภาษี และเงินส่งประกันสังคม หรือการคำนวนรายจ่ายที่เกี่ยวพันกับการจ้างแรงงาน
ต่อรัฐ โดยยึด ค่าแรงขั้นต่ำเป็นฐานในการคำนวนเรียกเก็บ จะต่ำกว่าฐานที่กำหนดไว้ไม่ได้
ยกตัวอย่างเช่น  บริษัทAมีลูกจ้างBคน   ก่อนมีการตั้งฐานนั่นบริษัทอาจแจ้งว่า ค่าจ้างพนักงานต่อวัน คน200บาท
ในหนังสือหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้างที่จะนำไปคำนวนภาษีและเงินจ่ายประกันสังคมและอื่นๆนั่น ก็จะคำนวนที่200บาท
แต่จริงๆแล้วรู้ๆกันอยู่ว่าพนักงานได้รับเงินเกินกว่าวันละ200บาท  เพียงแต่บริษัทหรือผู้ประกอบการ  จ่ายในรูปแบบอื่นๆเพื่อเลี่ยงที่รวมในฐานเงินเดือน
แต่เมื่อรัฐกำหนดฐานขึ้นมาว่าต้อง300บาท  ก็ต้องนำฐานค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐกำหนดเป็นฐานในการคำนวนภาษีหรือเงินจ่ายต่างๆต่อรัฐ
น้อยกว่านี้ไม่ได้  จึงส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ  ที่เคยแจ้งการจ่ายเงินเดือนพนักงานต่ำกว่าเป็นจริง
ก็ต้องดูกันต่อไปว่าการปรับฐานค่าแรงเพิ่มอีกนั่นผู้ประกอบจะปรับตัวเช่นไร  และมีผลกระทบต่อลูกจ้างพนักอย่างไรบ้าง  สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่