เรื่องโดย : ChaMaNow www.marumura.com
ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ ทางฝั่งญี่ปุ่นเองก็สนใจวัฒนธรรมของไทยเราเช่นกันค่ะ เห็นได้จากใน “ละคร” ที่มีบ่อยครั้งละครญี่ปุ่นมักจะกล่าวถึงวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่างๆ พอเห็นฉากแบบนี้ทีไร คนไทยอย่างเราก็อดที่จะอมยิ้มไม่ได้ทุกทีเลยค่ะ ละครญี่ปุ่นจะนำเสนอวัฒนธรรมไทยออกมาในรูปแบบไหนบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
1. อาหารไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
สิ่งที่ถูกกล่าวถึงในละครญี่ปุ่นเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นเรื่อง “อาหารไทย” ที่ขึ้นชื่อว่ามีความอร่อยระดับต้นๆ ของโลก อาหารไทยที่ถูกพูดถึงบ่อยในละครญี่ปุ่นก็คงไม่พ้นเมนูนี้ค่ะ “ต้มยำกุ้ง”
ต้มยำกุ้งในหม้อดินเผาจากเรื่อง “Legal High ภาคแรก” ค่ะ มีหน้าตาที่น่ากินทีเดียวเชียว ที่มาของฉากนี้ก็คือ “มายุซุมิ เซนเซย์” ว่าความแพ้คดีไป “โคมิคาโด เซนเซย์” เลยหาของปลอบใจ โดยถามว่า “จะกินอะไรดี” เธอก็เลยตอบว่า “ต้มยำกุ้ง” พอกลับมาที่ออฟฟิศ (ซึ่งเป็นบ้านของโคมิคาโด้ เซนเซย์ด้วย) “ฮัตโตริซัง” พ่อบ้านประจำ ที่ทำได้สารพัดสิ่ง ก็ทำเมนูต้มยำกุ้งไว้รอ พอกินเข้าไปปุ๊ป “มายุซุมิ เซนเซย์” ถึงกับออกปากว่าอร่อยสุดๆ ฮัตโตริซังเลยให้เหตุผลของความอร่อยนี้ว่า...
ว่าแต่...เคยเปิดแผงอยู่แถวไหนของกรุงเทพฯ เหรอคะเนี่ย
ถ้ารู้ล่วงหน้า อยากจะแวะไปชิมจังเลยค่ะ อิอิ
อีกหนึ่งเมนูค่ะ “ข้าวกล่อง” ก็เป็นอาหารสุดอร่อยจากมุมมองของคนญี่ปุ่นเช่นกัน
ฉากนี้เป็นฉากที่มาจากเรื่อง “Haken no Hinkaku” ค่ะ เป็นตอนที่บริษัทกำลังโปรโมตและขาย “ข้าวกล่องสำหรับฮาเคน” (ฮาเคน คือ พนักงานสัญญาจ้างค่ะ) “ฮารุโกะ” ตัวเอกของเรื่อง เลยมาช่วยอ่านโฆษณาเชิญชวนคนให้มาซื้อ โดยอ่านตาม “โซจิ” คู่ปรับของฮารุโกะที่ร่างสคริปต์ไว้ให้ ในสคริปต์ก็จะมีมุกนิดๆ หน่อย อย่างเช่นฉากที่เห็นค่ะ “ใครอยากไปประเทศไทย ก็ให้ทานข้าวกล่องเชียงใหม่” ว่าแต่ว่า...ทำไมถึงต้องเป็นข้าวกล่องเชียงใหม่ล่ะคะเนี่ยยย ฮ่าๆ จะว่าไป “เชียงใหม่” ก็คงเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่คนญี่ปุ่นรู้จักนอกเหนือไปจากกรุงเทพฯ ค่ะ ด้วยความทะแมงๆ ฮารุโกะก็เลยบอกว่า...
รู้จักแสลงหูจริงๆ ค่ะ แต่อยากบอกฮารุโกะว่า
ว่างๆ ก็ลองแวะมากิน “ข้าวกล่องเชียงใหม่” ดูบ้าง แล้วอาจจะติดใจ!
ไม่ได้แค่มีอาหารที่สุดอร่อย แต่เครื่องปรุง เครื่องเทศจากบ้านเราก็ดูเป็นที่ติดใจ และหาซื้อได้ง่ายตามอินเทอร์เน็ต แบบนี้...
มีป้ายฉลากภาษาไทยด้วยนะคะ เขียนไว้ว่า “TAYATAYA: CHILI POWDER ผงพริก รสชาติของประเทศไทย อร่อย” รสชาติของพริกไทยก็เป็นที่ถูกกล่าวขานในญี่ปุ่นเหมือนกันนะคะเนี่ย แต่พริกที่ว่านี่ไม่ได้ถูกพูดถึงในเชิงเครื่องปรุงในการทำอาหารหรอกนะคะ แต่มันคือ “ยาพิษ” ค่ะ! ที่ตัวละครเอามาใช้ในการฆาตกรรมในเรื่อง จนถูกฟ้องศาล ทำไมจากเครื่องปรุงรสโอชากลายเป็นยาพิษซะได้ล่ะเนี่ย
ปล.แต่แอบรู้สึกว่า “ผงพริก” ที่ว่าเนี่ย จริงๆ แล้ว น่าจะเป็น “พริกป่น” บ้านเรามากกว่าค่ะ พอถึงฉากที่เปิดให้เห็นข้างใน นี่มัน “พริกป่น” ชัดๆ เลย
2. ฝีมือทางการแพทย์ก้าวไกล
มีละครญี่ปุ่นแนวแพทย์หลายเรื่องพูดถึงประเทศไทยค่ะ อย่างเรื่อง “Doctor X” ภาค2 มีหมอฝึกหัดที่มาจากประเทศไทย ที่อยากมาเรียนรู้กับหมอ “มิจิโกะ” ศัลยแพทย์หญิงฟรีแลนซ์ที่ไม่เคยพลาดเลยสักครั้ง มาทำความรู้จักกับเขาสักนิดค่ะ...
เขาชื่อว่า “บรรหาร พหลพลพยุหเสนา” ค่ะ ชื่อนี่พอคุ้นหูคุ้นตา
แต่นามสกุลนี่ คำแลดูยากๆ และยาวอลังการมาก คนไทยเห็นแล้วยังอึ้ง!
บางทีพวกหมอในละครก็จะถูกสั่งให้ย้ายมารักษาที่ประเทศไทย เจ๊มิจิโกะเองก็โดนเหมือนกันค่ะ
เจ๊มิจิโกะ จากเรื่อง “Doctor X” ถูกสั่งให้ไปเป็นแพทย์รักษาที่ประเทศไทย เป็นคำเรียกร้องจาก “มหาเศรษฐีของไทย” ที่อยากให้ไปรักษาลูกชายของเขา
3. บ้านแบบไทยๆ
มาดูลักษณะบ้านแบบไทยๆ ที่คนญี่ปุ่นเซ็ทขึ้นในละครญี่ปุ่นบ้างคะ เป็นฉากต่อจากข้อที่แล้ว จากเรื่อง “Doctor X” ภาค2 เช่นกัน มิจิโกะต้องบินไปที่ไทย พอไปถึงบ้านของเศรษฐีไทยที่ว่าก็พบ...
นี่คือภายนอกตัวบ้านค่ะ เห็นวิวของวัดอย่างใกล้ชิด มีสระว่ายน้ำ แล้วบริเวณใกล้ๆ ก็มีโต๊ะเก้าอี้ ที่ปักลายกนกแบบไทยๆ ไว้อีกด้วย ดูๆ แล้วก็ออกแนวโมเดิร์นหน่อย ไม่ถึงกับเป็นไทยจ้าเท่าไรนัก แต่เห็นถึงความพยายามใส่สัญลักษณ์ของไทยมาวางไว้ใกล้ๆ กัน
อันนี้ในตัวบ้านค่ะ ใหญ่โตมากก มีรูปปั้นของเทพนั่งพนมมืออยู่ด้วย ให้อารมณ์แบบไทยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บ้านของเศรษฐีไทยในละครไทยจะเป็นอีกแบบหนึ่งค่ะ จะเป็นแบบสมัยใหม่ เฟอร์นิเจอร์จะเป็นแบบทางตะวันตกไปเลย บ้านบางหลังแทบไม่มีสัญลักษณ์ความเป็นไทยอะไรให้เห็น (คงเป็นเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป) ส่วนตัวแล้วชอบแบบนี้นะ รูปทรงของบ้านดูแปลกตา กว้างขวาง ได้กลิ่นความเป็นไทย น่าอยู่จริงๆ !
4.เป็นประเทศที่น่าลงทุน
ประเทศไทยก็ยังถือว่าเป็นประเทศที่น่าจะมาลงทุนทำธุรกิจค่ะ เห็นได้จากฉากนี้...
เป็นฉากที่ผู้หญิงเสื้อสีขาวแพ้คดีความค่ะ แล้วหมดหวังกับอาชีพเดิมในญี่ปุ่นแล้ว เธอจึงตัดสินใจไปประเทษไทย โคมิคาโด เซนเซย์ เลยให้กำลังใจประมาณว่า ถ้าไป อนาคตต้องไปได้ไกลกว่านี้แน่ๆ ชนิดที่ว่า “บริษัทเคมีภัณฑ์ที่เมืองไทย คงจะทำให้ญี่ปุ่นต้องสั่นสะเทือนแน่!”ขนาดนั้นเลยเหรอคะเนี่ยยยยย !!
5. แหล่งหลบซ่อนของเหล่าก่อการร้าย
มาถึงอีกมุมหนึ่งของบ้านเรากันบ้างค่ะ มีละครญี่ปุ่นบ้างเรื่อง ที่มักจะเลือก “ประเทศไทย” เป็นแหล่งหลบซ่อนผู้ก่อการร้าย อย่างเรื่อง “S Saikou no Kikan” เป็นฉากที่มีพวกผู้ก่อการร้ายออกมาอาละวาด ไล่ยิงคนไม่เลือกหน้า ถ้าต้องการให้พวกมันหยุด ต้องทำตามข้อเสนอที่พวกมันยื่นมา ดังนี้ค่ะ
เอ...ทำไมต้องบินมาประเทศไทยคะเนี่ย ดูเป็นแหล่งหลบซ่อนที่ใครหาไม่เห็น หรือ...จะมาก่อการร้ายอะไรในประเทศเราหรือเปล่า!? ก็ยังคงเป็นปริศนาค่ะ แต่ก็ทำให้เห็นว่า ถ้าพูดถึงเรื่องอาชญากรรม ก็คงมองเห็นประเทศไทยเราในอันดับต้นๆ เช่นกัน หรือว่า...แค่พูดถึงเฉยๆ เพราะเป็นประเทศที่สนิท ใกล้ชิดกันหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนะคะ (. . ?)
6. เอกลักษณ์ประจำชาติไทย
บางเรื่องก็จะมีการพูดถึง “คนไทย” ค่ะ ซึ่งนักแสดงที่มารับบทเป็นคนไทยเนี่ย มักจะเป็นคนผิวสองสี หน้าคมๆ ตาโตๆ หน่อย (เหมือนคุณบรรหาร พหลพลพยุหเสนา) และก็ต้องมีกริยาที่นอบน้อม ยิ้มเก่ง ไหว้อันเป็นเอกลักษณ์ มีความเป็นกันเอง บางทีก็จะแสดงโดยคนญี่ปุ่น คนต่างชาติ แต่บางทีก็ให้ “คนไทยจริงๆ” ไปแสดงค่ะ อย่างเช่นเขาคนนี้
คุ้นหน้าคุ้นตากันไหมเอ่ย???
ใช่แล้วค่ะ เขาคือ “คุณบุญจัง” คนไทยที่ไปทำงานเป็นนักแสดงอยู่ที่ญี่ปุ่น เคยมีผลงานการแสดงทั้งในละครและภาพยนตร์ญี่ปุ่น รวมถึงรายการวาไรตี้ในญี่ปุ่นอีกด้วย อย่างในละครเรื่องนี้ “Doctor X” คุณบุญจังก็โผล่มาแจมด้วยเช่นกันค่ะ รับบทเป็นคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีคนไทยที่ “มิจิโกะ” ต้องโดนทางมาเยือน
7. พูดภาษาไทย
ละครญี่ปุ่นพูดถึงประเทศไทยทั้งที จะมาแค่อาหารจานอร่อย ฉากประเทศอันสวยงานของบ้านเราไม่ได้ นักแสดงญี่ปุ่นเองก็ต้องพูด “ภาษาไทย” ด้วย ถึงจะรู้สึกอิน และสมบทบาท
ฉากพูดไทยที่อยากแนะนำก็คือจากเรื่อง “DoctorX” ภาค2 ค่ะ ในตอนจบ ที่มิจิโกะบินไปประเทศไทย พูดไทยเป็นชุดเลย อาจจะไม่ค่อยชัดเท่าไร แต่ก็เห็นถึงความพยายาม และพอได้เห็นนักแสดงที่เราชอบพูดภาษาเราบ้างก็รู้สึกปลื้มจริงๆ ค่ะ
Shippai shinai node เวอร์ชั่นภาษาไทย
นี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นไทยที่ถูกพูดถึงในละครญี่ปุ่นค่ะ ฉากที่เกี่ยวกับประเทศไทยนี้มักจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในละครค่ะ จะโผล่มาแบบแว้บๆ สั้นๆ มีแต่เรื่อง “Doctor X” นี่แหละค่ะที่เห็นว่าพูดถึงประเทศไทยเยอะหน่อย และที่สำคัญละครเรื่องนี้ก็ถูกนำมาฉายทีไทยด้วย! และข้อสังเกตที่เห็นอีกอย่างก็คือ ละครญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าทำฉาก ทำพล็อตที่ค่อนข้างสมจริง แต่ฉากไทยๆ ที่เล่าไป ก็ไม่ได้เป๊ะเวอร์จนไร้ที่ติ บางฉากก็มีความแตกต่างไปจากความเป็นไทยจริงๆ บ้าง อาจด้วยข้อจำกัดอะไรบางอย่าง ที่สำคัญเป็นการนำเสนอจากมุมมองคนญี่ปุ่น แต่พอเห็นทีไร ก็ประทับใจทุกทีค่ะ ที่ความเป็นไทยของเราได้เผยแพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่น
ส่วนละครญี่ปุ่นที่มีฉากหลักๆ เป็นประเทศไทยเลยเนี่ย ยังไม่มีค่ะ ลองคิดเล่นๆ ก็คงเป็นอะไรที่น่าสนใจนะคะ ถ้าวันหนึ่งญี่ปุ่นอยากจะลองทำ “ละครญี่ปุ่นแบบไทยๆ” ดูบ้าง!
ขอบคุณบทความจาก : MaruMura.com
http://www.marumura.com/entertainment/?id=7159
เมื่อละครญี่ปุ่นพูดถึงประเทศไทย!?
ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ให้ความสนใจกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเท่านั้นนะคะ ทางฝั่งญี่ปุ่นเองก็สนใจวัฒนธรรมของไทยเราเช่นกันค่ะ เห็นได้จากใน “ละคร” ที่มีบ่อยครั้งละครญี่ปุ่นมักจะกล่าวถึงวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่างๆ พอเห็นฉากแบบนี้ทีไร คนไทยอย่างเราก็อดที่จะอมยิ้มไม่ได้ทุกทีเลยค่ะ ละครญี่ปุ่นจะนำเสนอวัฒนธรรมไทยออกมาในรูปแบบไหนบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
1. อาหารไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก
สิ่งที่ถูกกล่าวถึงในละครญี่ปุ่นเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้นเรื่อง “อาหารไทย” ที่ขึ้นชื่อว่ามีความอร่อยระดับต้นๆ ของโลก อาหารไทยที่ถูกพูดถึงบ่อยในละครญี่ปุ่นก็คงไม่พ้นเมนูนี้ค่ะ “ต้มยำกุ้ง”
ต้มยำกุ้งในหม้อดินเผาจากเรื่อง “Legal High ภาคแรก” ค่ะ มีหน้าตาที่น่ากินทีเดียวเชียว ที่มาของฉากนี้ก็คือ “มายุซุมิ เซนเซย์” ว่าความแพ้คดีไป “โคมิคาโด เซนเซย์” เลยหาของปลอบใจ โดยถามว่า “จะกินอะไรดี” เธอก็เลยตอบว่า “ต้มยำกุ้ง” พอกลับมาที่ออฟฟิศ (ซึ่งเป็นบ้านของโคมิคาโด้ เซนเซย์ด้วย) “ฮัตโตริซัง” พ่อบ้านประจำ ที่ทำได้สารพัดสิ่ง ก็ทำเมนูต้มยำกุ้งไว้รอ พอกินเข้าไปปุ๊ป “มายุซุมิ เซนเซย์” ถึงกับออกปากว่าอร่อยสุดๆ ฮัตโตริซังเลยให้เหตุผลของความอร่อยนี้ว่า...
ว่าแต่...เคยเปิดแผงอยู่แถวไหนของกรุงเทพฯ เหรอคะเนี่ย
ถ้ารู้ล่วงหน้า อยากจะแวะไปชิมจังเลยค่ะ อิอิ
อีกหนึ่งเมนูค่ะ “ข้าวกล่อง” ก็เป็นอาหารสุดอร่อยจากมุมมองของคนญี่ปุ่นเช่นกัน
ฉากนี้เป็นฉากที่มาจากเรื่อง “Haken no Hinkaku” ค่ะ เป็นตอนที่บริษัทกำลังโปรโมตและขาย “ข้าวกล่องสำหรับฮาเคน” (ฮาเคน คือ พนักงานสัญญาจ้างค่ะ) “ฮารุโกะ” ตัวเอกของเรื่อง เลยมาช่วยอ่านโฆษณาเชิญชวนคนให้มาซื้อ โดยอ่านตาม “โซจิ” คู่ปรับของฮารุโกะที่ร่างสคริปต์ไว้ให้ ในสคริปต์ก็จะมีมุกนิดๆ หน่อย อย่างเช่นฉากที่เห็นค่ะ “ใครอยากไปประเทศไทย ก็ให้ทานข้าวกล่องเชียงใหม่” ว่าแต่ว่า...ทำไมถึงต้องเป็นข้าวกล่องเชียงใหม่ล่ะคะเนี่ยยย ฮ่าๆ จะว่าไป “เชียงใหม่” ก็คงเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่คนญี่ปุ่นรู้จักนอกเหนือไปจากกรุงเทพฯ ค่ะ ด้วยความทะแมงๆ ฮารุโกะก็เลยบอกว่า...
รู้จักแสลงหูจริงๆ ค่ะ แต่อยากบอกฮารุโกะว่า
ว่างๆ ก็ลองแวะมากิน “ข้าวกล่องเชียงใหม่” ดูบ้าง แล้วอาจจะติดใจ!
ไม่ได้แค่มีอาหารที่สุดอร่อย แต่เครื่องปรุง เครื่องเทศจากบ้านเราก็ดูเป็นที่ติดใจ และหาซื้อได้ง่ายตามอินเทอร์เน็ต แบบนี้...
มีป้ายฉลากภาษาไทยด้วยนะคะ เขียนไว้ว่า “TAYATAYA: CHILI POWDER ผงพริก รสชาติของประเทศไทย อร่อย” รสชาติของพริกไทยก็เป็นที่ถูกกล่าวขานในญี่ปุ่นเหมือนกันนะคะเนี่ย แต่พริกที่ว่านี่ไม่ได้ถูกพูดถึงในเชิงเครื่องปรุงในการทำอาหารหรอกนะคะ แต่มันคือ “ยาพิษ” ค่ะ! ที่ตัวละครเอามาใช้ในการฆาตกรรมในเรื่อง จนถูกฟ้องศาล ทำไมจากเครื่องปรุงรสโอชากลายเป็นยาพิษซะได้ล่ะเนี่ย
ปล.แต่แอบรู้สึกว่า “ผงพริก” ที่ว่าเนี่ย จริงๆ แล้ว น่าจะเป็น “พริกป่น” บ้านเรามากกว่าค่ะ พอถึงฉากที่เปิดให้เห็นข้างใน นี่มัน “พริกป่น” ชัดๆ เลย
2. ฝีมือทางการแพทย์ก้าวไกล
มีละครญี่ปุ่นแนวแพทย์หลายเรื่องพูดถึงประเทศไทยค่ะ อย่างเรื่อง “Doctor X” ภาค2 มีหมอฝึกหัดที่มาจากประเทศไทย ที่อยากมาเรียนรู้กับหมอ “มิจิโกะ” ศัลยแพทย์หญิงฟรีแลนซ์ที่ไม่เคยพลาดเลยสักครั้ง มาทำความรู้จักกับเขาสักนิดค่ะ...
เขาชื่อว่า “บรรหาร พหลพลพยุหเสนา” ค่ะ ชื่อนี่พอคุ้นหูคุ้นตา
แต่นามสกุลนี่ คำแลดูยากๆ และยาวอลังการมาก คนไทยเห็นแล้วยังอึ้ง!
บางทีพวกหมอในละครก็จะถูกสั่งให้ย้ายมารักษาที่ประเทศไทย เจ๊มิจิโกะเองก็โดนเหมือนกันค่ะ
เจ๊มิจิโกะ จากเรื่อง “Doctor X” ถูกสั่งให้ไปเป็นแพทย์รักษาที่ประเทศไทย เป็นคำเรียกร้องจาก “มหาเศรษฐีของไทย” ที่อยากให้ไปรักษาลูกชายของเขา
3. บ้านแบบไทยๆ
มาดูลักษณะบ้านแบบไทยๆ ที่คนญี่ปุ่นเซ็ทขึ้นในละครญี่ปุ่นบ้างคะ เป็นฉากต่อจากข้อที่แล้ว จากเรื่อง “Doctor X” ภาค2 เช่นกัน มิจิโกะต้องบินไปที่ไทย พอไปถึงบ้านของเศรษฐีไทยที่ว่าก็พบ...
นี่คือภายนอกตัวบ้านค่ะ เห็นวิวของวัดอย่างใกล้ชิด มีสระว่ายน้ำ แล้วบริเวณใกล้ๆ ก็มีโต๊ะเก้าอี้ ที่ปักลายกนกแบบไทยๆ ไว้อีกด้วย ดูๆ แล้วก็ออกแนวโมเดิร์นหน่อย ไม่ถึงกับเป็นไทยจ้าเท่าไรนัก แต่เห็นถึงความพยายามใส่สัญลักษณ์ของไทยมาวางไว้ใกล้ๆ กัน
อันนี้ในตัวบ้านค่ะ ใหญ่โตมากก มีรูปปั้นของเทพนั่งพนมมืออยู่ด้วย ให้อารมณ์แบบไทยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บ้านของเศรษฐีไทยในละครไทยจะเป็นอีกแบบหนึ่งค่ะ จะเป็นแบบสมัยใหม่ เฟอร์นิเจอร์จะเป็นแบบทางตะวันตกไปเลย บ้านบางหลังแทบไม่มีสัญลักษณ์ความเป็นไทยอะไรให้เห็น (คงเป็นเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป) ส่วนตัวแล้วชอบแบบนี้นะ รูปทรงของบ้านดูแปลกตา กว้างขวาง ได้กลิ่นความเป็นไทย น่าอยู่จริงๆ !
4.เป็นประเทศที่น่าลงทุน
ประเทศไทยก็ยังถือว่าเป็นประเทศที่น่าจะมาลงทุนทำธุรกิจค่ะ เห็นได้จากฉากนี้...
เป็นฉากที่ผู้หญิงเสื้อสีขาวแพ้คดีความค่ะ แล้วหมดหวังกับอาชีพเดิมในญี่ปุ่นแล้ว เธอจึงตัดสินใจไปประเทษไทย โคมิคาโด เซนเซย์ เลยให้กำลังใจประมาณว่า ถ้าไป อนาคตต้องไปได้ไกลกว่านี้แน่ๆ ชนิดที่ว่า “บริษัทเคมีภัณฑ์ที่เมืองไทย คงจะทำให้ญี่ปุ่นต้องสั่นสะเทือนแน่!”ขนาดนั้นเลยเหรอคะเนี่ยยยยย !!
5. แหล่งหลบซ่อนของเหล่าก่อการร้าย
มาถึงอีกมุมหนึ่งของบ้านเรากันบ้างค่ะ มีละครญี่ปุ่นบ้างเรื่อง ที่มักจะเลือก “ประเทศไทย” เป็นแหล่งหลบซ่อนผู้ก่อการร้าย อย่างเรื่อง “S Saikou no Kikan” เป็นฉากที่มีพวกผู้ก่อการร้ายออกมาอาละวาด ไล่ยิงคนไม่เลือกหน้า ถ้าต้องการให้พวกมันหยุด ต้องทำตามข้อเสนอที่พวกมันยื่นมา ดังนี้ค่ะ
เอ...ทำไมต้องบินมาประเทศไทยคะเนี่ย ดูเป็นแหล่งหลบซ่อนที่ใครหาไม่เห็น หรือ...จะมาก่อการร้ายอะไรในประเทศเราหรือเปล่า!? ก็ยังคงเป็นปริศนาค่ะ แต่ก็ทำให้เห็นว่า ถ้าพูดถึงเรื่องอาชญากรรม ก็คงมองเห็นประเทศไทยเราในอันดับต้นๆ เช่นกัน หรือว่า...แค่พูดถึงเฉยๆ เพราะเป็นประเทศที่สนิท ใกล้ชิดกันหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจนะคะ (. . ?)
6. เอกลักษณ์ประจำชาติไทย
บางเรื่องก็จะมีการพูดถึง “คนไทย” ค่ะ ซึ่งนักแสดงที่มารับบทเป็นคนไทยเนี่ย มักจะเป็นคนผิวสองสี หน้าคมๆ ตาโตๆ หน่อย (เหมือนคุณบรรหาร พหลพลพยุหเสนา) และก็ต้องมีกริยาที่นอบน้อม ยิ้มเก่ง ไหว้อันเป็นเอกลักษณ์ มีความเป็นกันเอง บางทีก็จะแสดงโดยคนญี่ปุ่น คนต่างชาติ แต่บางทีก็ให้ “คนไทยจริงๆ” ไปแสดงค่ะ อย่างเช่นเขาคนนี้
คุ้นหน้าคุ้นตากันไหมเอ่ย???
ใช่แล้วค่ะ เขาคือ “คุณบุญจัง” คนไทยที่ไปทำงานเป็นนักแสดงอยู่ที่ญี่ปุ่น เคยมีผลงานการแสดงทั้งในละครและภาพยนตร์ญี่ปุ่น รวมถึงรายการวาไรตี้ในญี่ปุ่นอีกด้วย อย่างในละครเรื่องนี้ “Doctor X” คุณบุญจังก็โผล่มาแจมด้วยเช่นกันค่ะ รับบทเป็นคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีคนไทยที่ “มิจิโกะ” ต้องโดนทางมาเยือน
7. พูดภาษาไทย
ละครญี่ปุ่นพูดถึงประเทศไทยทั้งที จะมาแค่อาหารจานอร่อย ฉากประเทศอันสวยงานของบ้านเราไม่ได้ นักแสดงญี่ปุ่นเองก็ต้องพูด “ภาษาไทย” ด้วย ถึงจะรู้สึกอิน และสมบทบาท
ฉากพูดไทยที่อยากแนะนำก็คือจากเรื่อง “DoctorX” ภาค2 ค่ะ ในตอนจบ ที่มิจิโกะบินไปประเทศไทย พูดไทยเป็นชุดเลย อาจจะไม่ค่อยชัดเท่าไร แต่ก็เห็นถึงความพยายาม และพอได้เห็นนักแสดงที่เราชอบพูดภาษาเราบ้างก็รู้สึกปลื้มจริงๆ ค่ะ
Shippai shinai node เวอร์ชั่นภาษาไทย
นี่ก็คือเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นไทยที่ถูกพูดถึงในละครญี่ปุ่นค่ะ ฉากที่เกี่ยวกับประเทศไทยนี้มักจะเป็นองค์ประกอบหนึ่งในละครค่ะ จะโผล่มาแบบแว้บๆ สั้นๆ มีแต่เรื่อง “Doctor X” นี่แหละค่ะที่เห็นว่าพูดถึงประเทศไทยเยอะหน่อย และที่สำคัญละครเรื่องนี้ก็ถูกนำมาฉายทีไทยด้วย! และข้อสังเกตที่เห็นอีกอย่างก็คือ ละครญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อว่าทำฉาก ทำพล็อตที่ค่อนข้างสมจริง แต่ฉากไทยๆ ที่เล่าไป ก็ไม่ได้เป๊ะเวอร์จนไร้ที่ติ บางฉากก็มีความแตกต่างไปจากความเป็นไทยจริงๆ บ้าง อาจด้วยข้อจำกัดอะไรบางอย่าง ที่สำคัญเป็นการนำเสนอจากมุมมองคนญี่ปุ่น แต่พอเห็นทีไร ก็ประทับใจทุกทีค่ะ ที่ความเป็นไทยของเราได้เผยแพร่ไปยังประเทศญี่ปุ่น
ส่วนละครญี่ปุ่นที่มีฉากหลักๆ เป็นประเทศไทยเลยเนี่ย ยังไม่มีค่ะ ลองคิดเล่นๆ ก็คงเป็นอะไรที่น่าสนใจนะคะ ถ้าวันหนึ่งญี่ปุ่นอยากจะลองทำ “ละครญี่ปุ่นแบบไทยๆ” ดูบ้าง!
ขอบคุณบทความจาก : MaruMura.com
http://www.marumura.com/entertainment/?id=7159