อืม sta ดอยอย่างต่ำ 20 ปี

กระทู้คำถาม
แฉ20ปีข้างหน้ายางท่วมโลก จี้รัฐบาลหนุนแปรรูปส่งออก

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) จัดสัมมนาเรื่อง "AEC : อนาคตยางพาราไทยวิกฤตหรือโอกาส" ขึ้น โดยนายขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่าจากการที่สหรัฐอเมริกาใช้เทคโนโลยีใหม่ขุดเจาะน้ำมันดิบในซอกหินออกมาใช้จำนวนมาก ซึ่งมีต้นทุนประมาณบาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐ ทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันทั่วโลกลดลง และทำให้ยางสังเคราะห์ที่ทดแทนยางธรรมชาติมีราคาถูกลง จึงยากที่จะเห็นราคายางสูงเหมือนในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ไทยต้องใช้กลยุทธ์ปลูกพืชอื่นแซมยางเสริมรายได้ การโค่นยางแก่ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งการปลูกใหม่กว่าจะให้ผลผลิตต้องรออีก 7 ปี และควรปลูกยางคุณภาพดี การสร้างบุคลากรที่ยั่งยืน รวมทั้งทุ่มงบฯวิจัยด้านการเกษตรให้มากขึ้นจากปัจจุบันที่ใช้ไม่ถึง 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ขณะที่ญี่ปุ่น ไต้หวันทุ่มงบฯวิจัยทางด้านนี้มาก

ส่วนการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภาษี 0% ไทยยังมีโอกาส นักวิชาการด้านยางของโลกวิเคราะห์ว่า ผลผลิตยางของโลกในช่วง 20 ปีข้างหน้ามีมากกว่าความต้องการ ไทยควรเอามาแปรรูปขั้นกลางน้ำเพื่อส่งออกให้มากที่สุดในโลก รวมทั้งอินโดนีเซียประกาศจะเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์จากปัจจุบันไม่ถึง 2 ล้านคันเป็น 5 ล้านคัน แต่โรงงานผลิตยางรถยนต์ในอินโดฯยังมีไม่มาก น่าจะเป็นโอกาสของนักลงทุนไทย ฉะนั้น การจะเพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางจาก 13-14% ของผลผลิตในประเทศ ต้องรีบปฏิบัติการ

นายบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยส่งออกยางวัตถุดิบ 87% ของผลผลิตมูลค่า 2.5 แสนล้านบาท/ปี และส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง 13% ของผลผลิตมูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยางไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง 1.รัฐต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม มีห้องทดสอบที่ให้การรับรอง การส่งเสริมการทำมาตรฐาน จัดให้มีการวิจัยและพัฒนา 2.รัฐต้องส่งเสริมให้มีโรงงานแปรรูปมากขึ้น 3.การสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ยางที่ผลิตในประเทศ ทั้งถนน กรวยยาง ฯลฯ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการ 4.ดูแลกฎหมายให้ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า AEC จะเป็นวิกฤตหรือโอกาสขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

เช่น 1.ตั้งคณะกรรมการคิดต้นทุนทั้งภายในประเทศเปรียบเทียบกับคู่แข่ง 2.ความสัมฤทธิผลและความสำเร็จของยุทธศาสตร์ยางไทย เพราะประสิทธิภาพการผลิตยังไม่บรรลุเป้าหมาย 3.ร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย สามารถแก้ปัญหาอุตสาหกรรมยางได้ทั้งระบบหรือไม่ ทั้งเสถียรภาพราคา การแปรรูป การดำเนินธุรกิจ การวิจัย นิยามที่มาของคณะกรรมการ 4.ผลผลิตยางจากกลุ่มประเทศ CLMV+จีน+อินเดีย หลังปี 2015 สูงถึง 19.8 ล้านไร่ 5.การสนับสนุนให้มีโรงงานแปรรูปยางในต่างจังหวัดผ่าน 3 รูปแบบ ทั้งภาคเอกชน สหกรณ์ และการร่วมทุนกับนักลงทุน 6.การจัดโซนนิ่งในการส่งเสริมโรงงานแปรรูป 7.ไทยต้องลดพื้นที่เพาะปลูกยางลง 5 ล้านไร่ใน 10 ปีข้างหน้า แต่เพิ่มผลผลิตต่อไร่ต่อปีเป็น 300 กก. 8.ต้องเร่งผลักดันรับเบอร์ซิตี้ที่ร่วมมือกับมาเลเซียและคลัสเตอร์ยางในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เป็นต้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่