“จักรมณฑ์” เปิดโรงงานผลิตยางล้อรถบรรทุกแบรนด์ไทย มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท
ก.อุตฯรุกส่งเสริมแปรรูปยางพาราทุกรูปแบบ อัด 2 โครงการยักษ์ช่วยผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง
หวังดันราคายางเพิ่ม ตั้งเป้าหมาย 66 บาท/กิโลกรัม
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโรงงานผลิตยางรถบรรทุกเรเดียล บริษัท สยามทรัค เรเดียล จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแห่งที่ 5 ภายใต้กลุ่มบริษัท ดีสโตน ที่เป็นบริษัทของคนไทย ว่า ประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ และผลิตได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2556 มีปริมาณผลผลิตยางพารา 4.17 ล้านตัน และยังเป็นผู้ส่งออกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก มีปริมาณการส่งออกมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี ผลิตใช้ในประเทศ 1.17 ล้านตัน
“ส่วนใหญ่การส่งออกยางพาราของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของวัตถุดิบ เช่น ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น โดยรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ยางล้อ ถุงมือยาง เส้นด้ายยางยืด ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรม ฯลฯ โดยสัดส่วนการใช้ยางในประเทศปัจจุบันมีปริมาณปีละ 5 แสนตัน คิดเป็นเพียงร้อยละ 12 ของปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติเท่านั้น
โดยอุตสาหกรรมที่นำยางมาแปรรูปมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมยางล้อ คิดเป็นร้อยละ 65 มูลค่าการส่งออกมากกว่า 257,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติ มากกว่า 3 ล้านตัน ที่มีมูลค่าการส่งออก 250,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าหากเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางแล้ว จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ยาง และสร้างรายได้จากการส่งออก รวมทั้งช่วยชาวสวนยางทางอ้อมในการใช้ยางพาราภายในประเทศโดยไม่ต้องรอการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการช่วยผลักดันและรักษาราคายางไม่ให้ผันผวนเพราะมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้วยการสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราโดยการพัฒนายางพาราทั้งระบบ จำนวน 2 โครงการในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ คือ 1) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ช่วงเดือนพฤศจิกายน 57 – เมษายน 58) ซึ่งการใช้เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท ตามโครงการฯ คาดว่าจะทำให้สามารถดูดซับปริมาณยางพาราที่จะเข้าสู่ระบบได้ประมาณ 200,000 ตัน จะส่งผลให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันที ประมาณ 2-3 บาท/กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายคือ 66 บาท/กิโลกรัม 2) โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยร่วมกับธนาคารออมสิน สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ ที่ใช้ยางพาราในประเทศ เช่น ยางล้อ ถุงมือยาง ยางยืด ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการต่อยอดในการสร้างนวัตกรรม
“การที่กลุ่มบริษัท ดีสโตน ใช้ยางพาราในประเทศเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าของบริษัทฯ นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยแล้ว ยังส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม” นายจักรมณฑ์ กล่าว
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรถบรรทุกขนาดใหญ่เปลี่ยนจากการใช้ยางผ้าใบ เป็นยางเรเดียลที่มีคุณสมบัติที่ดีและคุ้มค่ากว่า โดยคูแขงที่สำคัญของไทยไปตลาดหลักอยางสหรัฐอเมริกา คือ จีน ซึ่งเปนประเทศที่เปนฐานการผลิตยางลอที่สําคัญ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภายในประเทศ ขณะที่ไทยเปนฐานการผลิตยางลอที่สําคัญจากการที่บริษัทขามชาติรายใหญที่พรอมทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงไดเขามาลงทุนในไทย ทําใหไทยไดรับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางลอยางตอเนื่อง สงผลตอคุณภาพของยางลอที่ดีและความนาเชื่อถือในตราสินคาจากประเทศไทย (Made in Thailand) ที่สหรัฐอเมริกายอมรับ จึงนับวาไทยยังมีโอกาสทางการแขงขันในอุตสาหกรรมยางลอ
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการยางรถโดยสารและรถบรรทุก จำนวน 22 ราย โดยในป 2556 ไทยมีสัดสวนมูลคาการสงออกยางลอยานยนตสูงสุดประมาณรอยละ 40 ของมูลคาการสงออกผลิตภัณฑยางทั้งหมด สรางรายไดเขาประเทศมากกวาแสนลานบาทตอป และไทยนับเปนผูนําการสงออกยางลอในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากไทยมีความไดเปรียบในแง่ของเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบยางได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
--------------------------------------------------
“จักรมณฑ์” เปิดโรงงานผลิตยางล้อรถบรรทุกแบรนด์ไทย มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท
ก.อุตฯรุกส่งเสริมแปรรูปยางพาราทุกรูปแบบ อัด 2 โครงการยักษ์ช่วยผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง
หวังดันราคายางเพิ่ม ตั้งเป้าหมาย 66 บาท/กิโลกรัม
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโรงงานผลิตยางรถบรรทุกเรเดียล บริษัท สยามทรัค เรเดียล จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานแห่งที่ 5 ภายใต้กลุ่มบริษัท ดีสโตน ที่เป็นบริษัทของคนไทย ว่า ประเทศไทย ในฐานะเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ และผลิตได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี พ.ศ. 2556 มีปริมาณผลผลิตยางพารา 4.17 ล้านตัน และยังเป็นผู้ส่งออกยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลก มีปริมาณการส่งออกมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี ผลิตใช้ในประเทศ 1.17 ล้านตัน
“ส่วนใหญ่การส่งออกยางพาราของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของวัตถุดิบ เช่น ยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น โดยรัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการแปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ยางล้อ ถุงมือยาง เส้นด้ายยางยืด ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรม ฯลฯ โดยสัดส่วนการใช้ยางในประเทศปัจจุบันมีปริมาณปีละ 5 แสนตัน คิดเป็นเพียงร้อยละ 12 ของปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติเท่านั้น
โดยอุตสาหกรรมที่นำยางมาแปรรูปมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมยางล้อ คิดเป็นร้อยละ 65 มูลค่าการส่งออกมากกว่า 257,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกวัตถุดิบยางธรรมชาติ มากกว่า 3 ล้านตัน ที่มีมูลค่าการส่งออก 250,000 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าหากเพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางแล้ว จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ยาง และสร้างรายได้จากการส่งออก รวมทั้งช่วยชาวสวนยางทางอ้อมในการใช้ยางพาราภายในประเทศโดยไม่ต้องรอการสั่งซื้อจากต่างประเทศ จึงเป็นการช่วยผลักดันและรักษาราคายางไม่ให้ผันผวนเพราะมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลด้วยการสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราโดยการพัฒนายางพาราทั้งระบบ จำนวน 2 โครงการในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ คือ 1) โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อยางส่วนเกินออกจากระบบในช่วงต้นฤดูที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ช่วงเดือนพฤศจิกายน 57 – เมษายน 58) ซึ่งการใช้เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท ตามโครงการฯ คาดว่าจะทำให้สามารถดูดซับปริมาณยางพาราที่จะเข้าสู่ระบบได้ประมาณ 200,000 ตัน จะส่งผลให้ราคายางเพิ่มขึ้นทันที ประมาณ 2-3 บาท/กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายคือ 66 บาท/กิโลกรัม 2) โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยร่วมกับธนาคารออมสิน สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางขั้นปลายน้ำ ที่ใช้ยางพาราในประเทศ เช่น ยางล้อ ถุงมือยาง ยางยืด ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการต่อยอดในการสร้างนวัตกรรม
“การที่กลุ่มบริษัท ดีสโตน ใช้ยางพาราในประเทศเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตสินค้าของบริษัทฯ นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยแล้ว ยังส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรม” นายจักรมณฑ์ กล่าว
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรถบรรทุกขนาดใหญ่เปลี่ยนจากการใช้ยางผ้าใบ เป็นยางเรเดียลที่มีคุณสมบัติที่ดีและคุ้มค่ากว่า โดยคูแขงที่สำคัญของไทยไปตลาดหลักอยางสหรัฐอเมริกา คือ จีน ซึ่งเปนประเทศที่เปนฐานการผลิตยางลอที่สําคัญ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ภายในประเทศ ขณะที่ไทยเปนฐานการผลิตยางลอที่สําคัญจากการที่บริษัทขามชาติรายใหญที่พรอมทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงไดเขามาลงทุนในไทย ทําใหไทยไดรับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางลอยางตอเนื่อง สงผลตอคุณภาพของยางลอที่ดีและความนาเชื่อถือในตราสินคาจากประเทศไทย (Made in Thailand) ที่สหรัฐอเมริกายอมรับ จึงนับวาไทยยังมีโอกาสทางการแขงขันในอุตสาหกรรมยางลอ
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการยางรถโดยสารและรถบรรทุก จำนวน 22 ราย โดยในป 2556 ไทยมีสัดสวนมูลคาการสงออกยางลอยานยนตสูงสุดประมาณรอยละ 40 ของมูลคาการสงออกผลิตภัณฑยางทั้งหมด สรางรายไดเขาประเทศมากกวาแสนลานบาทตอป และไทยนับเปนผูนําการสงออกยางลอในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากไทยมีความไดเปรียบในแง่ของเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบยางได้มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
--------------------------------------------------