คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ประเด็นคือ กรรมการนิติบุคคลยอมรับว่าการประชุมโมฆะหรือไม่
ถ้าเค้ายอมรับ และเลิกประชุมไปแต่โดยดีและนัดประชุมใหม่ ก็คงไม่มีอะไร
แต่ถ้าไม่ยอมรับ คุณก็ต้องรีบไปฟ้องศาล ขอให้ศาลสั่งให้การประชุมครั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ และสั่งให้กรรมการนิติฯ จัดประชุมใหม่
เรื่องนี้คุณต้องรีบไปฟ้องศาลภายใน 3 เดือน(ถ้าจำไม่ผิด) ถ้าเกินจากนั้นฟ้องไม่ได้แล้วถือว่าขาดอายุความ
ถ้าการประชุมไม่เป็นโมฆะ ก็ถือว่ามติที่ประชุมที่ลงกันในวันนั้นถูกกฏหมาย มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลเหมือนการประชุมปกติทั่วไป
แต่ถ้ามันเป็นโมฆะ ไม่ว่ากรรมการยอมรับเอง หรือศาลสั่ง ก็ถือว่าการประชุมวันนั้นไม่มีผลใดๆในทางกฏหมาย
ถ้าเค้ายอมรับ และเลิกประชุมไปแต่โดยดีและนัดประชุมใหม่ ก็คงไม่มีอะไร
แต่ถ้าไม่ยอมรับ คุณก็ต้องรีบไปฟ้องศาล ขอให้ศาลสั่งให้การประชุมครั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ และสั่งให้กรรมการนิติฯ จัดประชุมใหม่
เรื่องนี้คุณต้องรีบไปฟ้องศาลภายใน 3 เดือน(ถ้าจำไม่ผิด) ถ้าเกินจากนั้นฟ้องไม่ได้แล้วถือว่าขาดอายุความ
ถ้าการประชุมไม่เป็นโมฆะ ก็ถือว่ามติที่ประชุมที่ลงกันในวันนั้นถูกกฏหมาย มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลเหมือนการประชุมปกติทั่วไป
แต่ถ้ามันเป็นโมฆะ ไม่ว่ากรรมการยอมรับเอง หรือศาลสั่ง ก็ถือว่าการประชุมวันนั้นไม่มีผลใดๆในทางกฏหมาย
แสดงความคิดเห็น
คอนโด : ประชุมสามัญประจำปีเป็นโมฆะ เพราะทำผิดพรบ.อาคารชุด จะทำอย่างไรดีครับ
ตามพรบ.อาคารชุด ระบุให้มีการจัดประชุมสามัญประจำปีภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นปีงบบัญชี ซึ่งคอนโดข้าพเจ้าสิ้นตามปีปฏิทินคือ 31 ธันวาคม 2557 และทางนิติฯ ได้ส่งจดหมายเชิญประชุมวันที่ 26 เมษายน 2558 แต่พอถึงวันประชุมพบว่า
1. ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมคือ 1 ใน 4
2. นิติส่งหนังสือเชิญประชุมไม่ครบทุกบ้าน
3. นิติส่งหนังสือเชิญประชุมต่ำกว่า 7 วัน (หนังสือส่งวันที่ 21 เมษายน บางส่วน)
แล้วอย่างนี้การจัดประชุมครั้งใหม่จะทำอย่างไรครับ และในฐานะลูกบ้านควรทำอย่างไร เมื่อพบว่ากระทำความผิดตามพรบ.อาคารชุด
(คอนโดแห่งหนึ่งย่านรามคำแหง ประชุมปีที่ 2 ที่ได้นิติมาทำงานใหม่ และทำงานแบบว่า........ใครอย่าเผลอจ้างเจ้านี้เชียว แต่ search หาใน google ก็จะไม่พบผลงานใดๆครับ คอนโดแห่งนี้อาจเป็นที่แรก T_T)