ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากเวียดนามที่ต้องทำสงครามปลดแอกจากจีน เนื่องจากจีนถือเอาดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงเป็นปริมณฑลของจีน ก็มีแค่พม่าที่อาจหาญกล้าทำสงครามกับจีน อาจเป็นเพราะส่วนหนึ่งจีนมองเห็นว่าพม่าคือมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ และอีกส่วนหนึ่งอาจมองว่าจีนก็คือธิเบต ที่ควรถือเป็นปริมณฑลของจีนด้วย (หรือเปล่า) โดยสรุปแล้วสงครามระหว่างจีนกับพม่าในยุคประวัติศาสตร์ ไม่นับยุคใหม่ที่เป็นยุคที่มีกองทัพแบบตะวันตกแล้ว จีนรบพม่าสำคัญๆ มีสามยุคด้วยกันครับ หากไม่นับสงครามครั้งแรกระหว่างรัฐพยูที่ถูกอาณาจักรน่านเจ้ารุกราน ซึ่งทำให้ชาวพยูสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ โดยส่วนหนึ่งอพยพลงใต้ มาพบกับชาวมอญที่ตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว รวมเผ่าพันธุ์กันจนตั้งเป็นอาณาจักรพุกามในที่สุด และพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธามังช่อ จักรพรรดิราชองค์แรกของพม่า ได้แผ่ขยายอำนาจไปจนถึงอาณาจักรน่านเจ้าถึงเมืองตาลีฟูเช่นกัน
ทั้งนี้หากไม่นับการสู้รบระหว่างน่านเจ้ากับพยูและพุกามแล้ว ยุคแรกของสงครามจีนและพม่าจริงๆ ถือว่าเป็นการรุกรานของกองทัพมองโกลต่ออาณาจักรพุกามของพม่าในช่วงระหว่างปี ๑๘๒๐-๑๘๓๐ กินเวลาสิบปี แม้จะเป็นมองโกลแต่ก็คือมองโกลภายใต้ราชวงศ์หยวนของกุ๊บไลข่านนั้นเอง ผลของสงครามส่งผลให้อาณาจักรพุกามอันเก่าแก่กว่า ๒๕๐ปีของพม่าต้องล่มสลายลง แต่การล่มสลายของอาณาจักรใหญ่อย่างพุกามก็ทำให้อาณาจักรเล็กๆ ต่างๆ ในตอนนั้นที่ยอมรับอำนาจของจีนมีความมั่นคงไปด้วย ทั้งรัฐหอคำเชียงรุ่ง รัฐล้านนา และหนึ่งนั้นคือรัฐสุโขทัยที่ถือกำเนิดในช่วงเวลานั้นพอดี
สงครามกับพุกามหรือพม่า จึงเป็นหลักฐานที่ดีที่ปฏิเสธว่า การที่มองโกลไม่สนใจรุกรานดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกับดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก เพราะว่า ดินแดนนี้เป็นป่าดงดิบไม่มีความสำคัญอันใด (ตามบันทึกของมาร์โคโปโล) นั้นไม่น่าจะจริงเท่าไรหนัก การทำสงครามกับทั้งเวียดนามและจัมปา และกับพม่า ซึ่งถือเป็นอาณาจักรบิ๊กเบิ้มในเวลานั้น และการผนวกรัฐหอคำเชียงรุ่งเข้ากับยูนนาน รวมไปถึงความคิดจะผนวกล้านนา แสดงให้เห็นว่ากุบไลข่านต้องการผนวกดินแดนนี้จริงๆ โดยใช้การยอมรับเป็นรัฐบรรณาการของรัฐเหล่านี้เพียงเพื่อลดจำนวนการทำสงคราม แม้จีนจะรบชนะพม่า แต่จุดยุทธศาสตร์สำคัญของการเข้าสู่เอเชียอาคเนย์อยู่ที่เวียดนาม ที่กุบไลข่านแพ้ยับ ก่อนจะสวรรคตในเวลาอีกไม่นาน เป็นการยุติการรุกรานของมองโกลนั้นเอง ซึ่งถ้าหากมองโกลเอาชนะพม่าอย่างราบคาบ และเวียดนามอย่างแท้จริงแล้ว รัฐต่างๆ ในภูมิภาคย่อมถูกแผนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมองโกลอยู่ดี
สงครามจีน-พม่า
ทั้งนี้หากไม่นับการสู้รบระหว่างน่านเจ้ากับพยูและพุกามแล้ว ยุคแรกของสงครามจีนและพม่าจริงๆ ถือว่าเป็นการรุกรานของกองทัพมองโกลต่ออาณาจักรพุกามของพม่าในช่วงระหว่างปี ๑๘๒๐-๑๘๓๐ กินเวลาสิบปี แม้จะเป็นมองโกลแต่ก็คือมองโกลภายใต้ราชวงศ์หยวนของกุ๊บไลข่านนั้นเอง ผลของสงครามส่งผลให้อาณาจักรพุกามอันเก่าแก่กว่า ๒๕๐ปีของพม่าต้องล่มสลายลง แต่การล่มสลายของอาณาจักรใหญ่อย่างพุกามก็ทำให้อาณาจักรเล็กๆ ต่างๆ ในตอนนั้นที่ยอมรับอำนาจของจีนมีความมั่นคงไปด้วย ทั้งรัฐหอคำเชียงรุ่ง รัฐล้านนา และหนึ่งนั้นคือรัฐสุโขทัยที่ถือกำเนิดในช่วงเวลานั้นพอดี
สงครามกับพุกามหรือพม่า จึงเป็นหลักฐานที่ดีที่ปฏิเสธว่า การที่มองโกลไม่สนใจรุกรานดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกับดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก เพราะว่า ดินแดนนี้เป็นป่าดงดิบไม่มีความสำคัญอันใด (ตามบันทึกของมาร์โคโปโล) นั้นไม่น่าจะจริงเท่าไรหนัก การทำสงครามกับทั้งเวียดนามและจัมปา และกับพม่า ซึ่งถือเป็นอาณาจักรบิ๊กเบิ้มในเวลานั้น และการผนวกรัฐหอคำเชียงรุ่งเข้ากับยูนนาน รวมไปถึงความคิดจะผนวกล้านนา แสดงให้เห็นว่ากุบไลข่านต้องการผนวกดินแดนนี้จริงๆ โดยใช้การยอมรับเป็นรัฐบรรณาการของรัฐเหล่านี้เพียงเพื่อลดจำนวนการทำสงคราม แม้จีนจะรบชนะพม่า แต่จุดยุทธศาสตร์สำคัญของการเข้าสู่เอเชียอาคเนย์อยู่ที่เวียดนาม ที่กุบไลข่านแพ้ยับ ก่อนจะสวรรคตในเวลาอีกไม่นาน เป็นการยุติการรุกรานของมองโกลนั้นเอง ซึ่งถ้าหากมองโกลเอาชนะพม่าอย่างราบคาบ และเวียดนามอย่างแท้จริงแล้ว รัฐต่างๆ ในภูมิภาคย่อมถูกแผนผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมองโกลอยู่ดี