สำหรับหรับคนที่อยู่ในเมืองหลวงอยู่บ้านกับพ่อแม่ นี่เป็นเรื่องน่าอิจฉามากๆ เพราะเรื่องการหาที่อยู่อาศัยคงไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญมากนัก แถมยังได้อยู่กับบ้านกินข้าวกับพ่อแม่พร้อมหน้าพร้อมตาทุกวัน นอกจากคุณอยากจะย้ายออกมาอยู่คนเดียว หรือต้องการความเป็นส่วนตัว ฯลฯ แต่สำหรับคน ตจว. (แหม่ พูดแล้วก็เขินเล็กๆ เค้าเป็นคน ตจว. นะ บ้านเกิดเค้าอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เค้าไปเที่ยวอัมพวาดูหิ่งห้อยกันน่ะ เผื่อไม่รู้จัก) ที่อยู่อาศัยในเมืองหลวงเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก แม้ว่าส่วนตัวตอนนี้จะเป็น freelancer ไม่ได้ทำงานประจำที่ต้องเข้าออฟฟิศตอกบัตรเป็นเวลา แต่ก็ต้องเข้าไปทำงานกับเพื่อนร่วมงาน และประชุมกับลูกค้าในเมืองเสมอๆ การจะขับรถไปกลับจากบ้านมากลางเมืองนั้นเสียเวลาวันละ 2-3 ชั่วโมงทีเดียว บิดามารดาก็เป็นห่วงเพราะขับรถไปกลับไกลๆ ทุกวี่วัน เปลืองพลังงานน้ำมันประเทศชาติไม่พอ ยังเปลืองเวลาที่ต้องอยู่บนถนน ทำให้เสียสุขภาพจิตอีก สรุปคือ ถึงเวลาที่เราต้องหาที่อยู่ในเป็นหลักเป็นแหล่งในเมืองหลวงแล้วล่ะสิ
พอคิดจะซื้อ เนื่องจากไม่ได้มีเงินสดลอยละล่องพร้อมจะจ่ายทีละหลายล้าน จึงต้องพึ่งธนาคารเพื่อขอสินเชื่อ ทีนี้การที่เป็นฟรีแลนซ์ หรือทำงานอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเงินเดือนประจำ แล้วริจะไปขอสินเชื่อนี่เป็นเรื่อง epic มาก พยายามหาข้อมูลในพันทิพย์ เท่าที่หาได้ ก็ได้ข้อมูลมาประมาณนึง ก็ลองผิดลองถูก จนในที่สุดก็ได้รับอนุมัติ 100% วันนี้จึงอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ หรือธุรกิจส่วนตัว ที่รายได้ไม่แน่ไม่นอน ไม่มีสลิปเงินเดือน อุ่นใจได้เลยว่า เราก็มี(หนี้)บ้านได้เหมือนกันนะ
ต่อไปขอลิสสิ่งต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อฟรีแลนซ์คิดจะกู้บ้านนะคะ
9 สิ่งที่ต้องมี แล้วคุณจะขอสินเชื่อผ่านชัวร์
1. หลักฐานการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (ทวิ 50)
โอเค แม้ว่าเราจะเป็นฟรีแลนซ์ แต่เราก็เสียภาษีนะ เวลาทำงานกับลูกค้าโดยเฉพาะที่เป็นบริษัท เค้าจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% อันนี้ล่ะสำคัญเลย ต้องเก็บรวบรวมไว้ ปลายปีก็นำยอดรายได้ทั้งหมดนี้ไปยื่นภาษีให้ถูกต้องเรียบร้อย หลักฐานการยื่นภาษี จะเป็นตัวยืนยันได้เป็นอย่างดี ว่าเรามีเงินได้จริง เพราะมีการเสียภาษีให้รัฐ (จริงๆแล้วเราอาจจะไม่เสียภาษีนะ แต่ก็ต้องยื่น ยื่นแล้วดีไม่ดี ได้เงินคืนอีก) จากที่ทำเรื่องกู้คอนโดนี้ ธนาคารขอเอกสารทวิ 50 ของเราย้อนหลังไป 3 ปี และยิ่งมียอดการยื่นภาษีเพิ่มขึ้นๆ ทุกปี ก็จะช่วยยืนยันการการทำมาหากินของคุณในรูปแบบนี้เลี้ยงปากท้องได้จริง ไม่ใช่ ยิ่งทำรายได้ยิ่งน้อยลง อันนี้ธนาคารก็คงจะพิจารณายากขึ้น
2. หลักฐานใบหัก ณ ที่จ่าย และใบเสร็จรับเงิน
สำหรับในปีปัจจุบันที่เรายังไม่ได้ยื่นภาษี ให้รวบรวมใบหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ เพื่อธนาคารจะได้เอาไปคำนวนเงินได้ของเรา ณ ปัจจุบัน ว่าตกอยู่ที่ประมาณเดือนละเท่าไหร่
3. เครดิตบูโรที่ดี
สำหรับคนที่มีบัตรเครดิต หรือมีหนี้สินอื่นๆ เช่น ผ่อนรถ ผ่อนมือถือ เรื่องเครดิตบูโรนี่สำคัญมาก ต้องพยายามอย่าให้ติด จ่ายให้ตรงกำหนด แม้จะจ่ายขั้นต่ำ ก็ยังดี แต่อย่าหนีหาย คุณจะติดเครดิตบูโรแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าจ่ายให้หมดไปเถิด
สรุปคือการมีบัตรเครดิต/หนี้เล็กๆ น้อยๆเป็นเรื่องดี เพราะธนาคารสามารถอ้างอิงวินัยทางการเงินของเราได้จากประวัติการใช้บัตรเครดิต ประวัติการผ่อนชำระต่างๆ ได้ง่าย ถ้าที่ผ่านมาทำตัวดีก็สบาย แต่ถ้าแย่ต้องรู้ตัว แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น รู้ตัวว่าเอะอะอะไรรูดไปก่อน แต่พอถึงเวลาจ่าย ต้องจ่ายขั้นต่ำตลอด ต้องพิจารณาตัวเอง อาจจะต้องลดวงเงินลงมา หรือเอาบัตรไปฝากไว้ที่คนที่ไว้ใจได้ เวลาจำเป็นต้องรูดยอดเยอะๆ ค่อยเอามาใช้ เช่น ตั๋วเครื่องบิน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4. สัญญาว่าจ้างกับลูกค้า
ใครที่ทำงานฟรีแลนซ์แล้วไม่เคยทำสัญญาว่าจ้างกับลูกค้า ขอให้เริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะการทำเอกสารนี้ช่วยยืนยันรายได้ของคุณและที่มาของรายได้ได้อย่างชัดเจน ว่ามาจากใคร โดยเฉพาะถ้าคุณทำกับบริษัทใหญ่ๆ ยิ่งดี เพราะจะช่วยยืนยันในหน้าที่การงานว่าแม้จะเป็น freelance แต่ก็ทำงานกับบริษัทใหญ่นะจ๊ะ
5. สัญญาการจ้างงานแบบมีระยะเวลา
หากคุณมีงานที่รับเป็น contractor ให้กับบริษัทอื่น (คือจ้างแบบมีระยะเวลากำหนด ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ) ให้เตรียมเอกสารนี้ประกอบด้วย ช่วยได้มากๆ ยิ่งระบุว่าจะจ้างถึงเมื่อไหร่ ได้เดือนละเท่าไหร่ ตัวนี้ถือเป็น fix income ระดับนึง แม้จะไม่ดีเท่ากับเงินเดือน เพราะงานแบบ contract นั้นมีระยะเวลาสั้น อาจจะ 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ก็มีผลดีแน่ๆ เพราะอย่างน้อย เรามีทั้งเงินที่ได้แน่นอนจากการว่าจ้างแบบนี้
6. Statement เงินในบัญชี
เงินเหลือนอนในบัญชีอาจจะมีไม่ต้องเยอะ แต่ต้องเดินตลอด ธนาคารให้ความสำคัญกับเงินเข้าเยอะกว่าเงินออก แต่ถ้าเข้าแล้วออกเลยตลอดเวลานี่น่าสงสัย ฉะนั้น วันที่ที่เงินเข้า (ที่ได้จากลูกค้า) จะต้องสัมพันธ์กับสัญญาว่าจ้างด้วย คือเวลาเราทำสัญญาว่าจ้างกับลูกค้า จะมีการระบุว่า จะจ่ายเงินกันกี่งวด งวดละกี่บาท ซึ่งยอดเงินแต่ละงวดนี้ ควรจะตรงกับยอดเงินที่เข้าบัญชีเราด้วย ไม่ใช่ให้พ่อแม่เพื่อนโอนเข้ามาแล้วโยกออก อย่าตกแต่งบัญชี ถ้าไม่เก่งจริง ธนาคารรู้ทันหมด
7. สัญญาเช่าออฟฟิศ
สำหรับฟรีแลนซ์ที่เช่าออฟฟิศทำงาน อาจจะเป็น coworking space หรือออฟฟิศเป็นเรื่องเป็นราว หลักฐานสัญญาเช่าก็ช่วยให้คุณดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะถึงกับเช่าที่ทำงานจริงจัง ไม่ใช่ล่องลอยอยู่กับบ้าน (ข้อนี้ไม่ได้สำคัญมาก ไม่มีไม่เป็นไร เพราะฟรีแลนซ์ส่วนมากไม่มีออฟฟิศอยู่แล้ว)
8. คอนโดที่ดี สร้างโดย developer ที่ชื่อเสียงดีเป็นที่รู้จัก
คอนโดที่ดีในที่นี้ หมายถึง ดีทั้งกับตัวเราเอง คือราคาโอเคสมฐานะ จะได้ผ่อนไหว กู้ได้เยอะ 90%-100% ส่วนที่บอกว่าดีกับธนาคารคือ ต้องเป็นคอนโดที่เป็นของ developer ระดับ A คือเป็นที่รู้จัก มีการบริหารจัดการอาคารที่ดี ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี จะทำให้ธนาคารอนุมัติง่ายขึ้น เพราะในกรณีที่เราผ่อนไม่ไหวแล้วโดนยึด ธนาคารก็จะสามารถนำ asset นี้ไปปล่อยขายได้ง่าย ความเสี่ยงของธนาคารจึงน้อยถ้าเลือกปล่อยกู้ซื้อบ้านจาก developer เจ้าใหญ่ๆ
ปล. อย่าลืมเลือกคอนโดที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณ เหมาะสมกับ lifestyle เลือกเพื่อนบ้าน บางทีอย่าเห็นแก่ของถูก ในอนาคตหากต้องการขายต่อหรือปล่อยเช่าได้ง่าย คอนโดที่ติดระยะรถไฟฟ้าก็ยังได้เปรียบกว่าคอนโดที่อยู่ในซอยลึกๆ ตึกเก่าๆ หรือคนในโครงการเยอะ มากหน้าหลายตาจนเกินไป
9. เจ้าหน้าที่ธนาคารที่เดินเรื่อง
ธนาคารและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเราสำคัญมากๆ ต้องเป็นธนาคารที่เข้าใจอาชีพอย่างเราๆ (ได้ยินว่าบางธนาคารไม่มีสลิปเงินเดือนนี่ไม่คุยด้วยเลย) ว่าแม้ว่าจะไม่มีเงินเดือนที่แน่นอน แต่เราก็มีรายได้นะจ๊ะ ส่วนตัวโชคดีมากได้ดีลกับเจ้าหน้าที่ธนาคารสีเขียว ที่ประจำสำนักงานใหญ่ ที่เข้าใจ และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ มีอะไรสงสัยโทรถามคุณเจ้าหน้าที่ได้ตลอด ตามเรื่องเร็วมากๆ ต้องขอขอบคุณคุณเจ้าหน้าที่มา ณ ที่นี้ด้วย หากใครสนใจสอบถามได้ อยากแนะนำเลยค่ะ
ปล. บทความต้นฉบับมาจากเว็บไซต์ส่วนตัวนะคะ พอดีเขียนแชร์ในบล็อคส่วนตัว แล้วคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์ที่สนใจจะมีบ้าน/รถ ของตัวเองค่ะ
http://bow.im/homeloan-for-freelancer/
ใครเป็นฟรีแลนซ์หรือทำอาชีพอิสระ แล้วมีข้อแนะนำ ทิป ในการกู้บ้าน การเตรียมเอกสาร แชร์เพิ่มเติมกันได้นะคะ
ประสบการณ์ขอสินเชื่อเพื่อกู้คอนโด ฉบับ เป็นฟรีแลนซ์ก็กู้ได้
พอคิดจะซื้อ เนื่องจากไม่ได้มีเงินสดลอยละล่องพร้อมจะจ่ายทีละหลายล้าน จึงต้องพึ่งธนาคารเพื่อขอสินเชื่อ ทีนี้การที่เป็นฟรีแลนซ์ หรือทำงานอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเงินเดือนประจำ แล้วริจะไปขอสินเชื่อนี่เป็นเรื่อง epic มาก พยายามหาข้อมูลในพันทิพย์ เท่าที่หาได้ ก็ได้ข้อมูลมาประมาณนึง ก็ลองผิดลองถูก จนในที่สุดก็ได้รับอนุมัติ 100% วันนี้จึงอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ เผื่อเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มีอาชีพฟรีแลนซ์ หรือธุรกิจส่วนตัว ที่รายได้ไม่แน่ไม่นอน ไม่มีสลิปเงินเดือน อุ่นใจได้เลยว่า เราก็มี(หนี้)บ้านได้เหมือนกันนะ ต่อไปขอลิสสิ่งต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงเมื่อฟรีแลนซ์คิดจะกู้บ้านนะคะ
9 สิ่งที่ต้องมี แล้วคุณจะขอสินเชื่อผ่านชัวร์
1. หลักฐานการยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (ทวิ 50)
โอเค แม้ว่าเราจะเป็นฟรีแลนซ์ แต่เราก็เสียภาษีนะ เวลาทำงานกับลูกค้าโดยเฉพาะที่เป็นบริษัท เค้าจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% อันนี้ล่ะสำคัญเลย ต้องเก็บรวบรวมไว้ ปลายปีก็นำยอดรายได้ทั้งหมดนี้ไปยื่นภาษีให้ถูกต้องเรียบร้อย หลักฐานการยื่นภาษี จะเป็นตัวยืนยันได้เป็นอย่างดี ว่าเรามีเงินได้จริง เพราะมีการเสียภาษีให้รัฐ (จริงๆแล้วเราอาจจะไม่เสียภาษีนะ แต่ก็ต้องยื่น ยื่นแล้วดีไม่ดี ได้เงินคืนอีก) จากที่ทำเรื่องกู้คอนโดนี้ ธนาคารขอเอกสารทวิ 50 ของเราย้อนหลังไป 3 ปี และยิ่งมียอดการยื่นภาษีเพิ่มขึ้นๆ ทุกปี ก็จะช่วยยืนยันการการทำมาหากินของคุณในรูปแบบนี้เลี้ยงปากท้องได้จริง ไม่ใช่ ยิ่งทำรายได้ยิ่งน้อยลง อันนี้ธนาคารก็คงจะพิจารณายากขึ้น
2. หลักฐานใบหัก ณ ที่จ่าย และใบเสร็จรับเงิน
สำหรับในปีปัจจุบันที่เรายังไม่ได้ยื่นภาษี ให้รวบรวมใบหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ เพื่อธนาคารจะได้เอาไปคำนวนเงินได้ของเรา ณ ปัจจุบัน ว่าตกอยู่ที่ประมาณเดือนละเท่าไหร่
3. เครดิตบูโรที่ดี
สำหรับคนที่มีบัตรเครดิต หรือมีหนี้สินอื่นๆ เช่น ผ่อนรถ ผ่อนมือถือ เรื่องเครดิตบูโรนี่สำคัญมาก ต้องพยายามอย่าให้ติด จ่ายให้ตรงกำหนด แม้จะจ่ายขั้นต่ำ ก็ยังดี แต่อย่าหนีหาย คุณจะติดเครดิตบูโรแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าจ่ายให้หมดไปเถิด
สรุปคือการมีบัตรเครดิต/หนี้เล็กๆ น้อยๆเป็นเรื่องดี เพราะธนาคารสามารถอ้างอิงวินัยทางการเงินของเราได้จากประวัติการใช้บัตรเครดิต ประวัติการผ่อนชำระต่างๆ ได้ง่าย ถ้าที่ผ่านมาทำตัวดีก็สบาย แต่ถ้าแย่ต้องรู้ตัว แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น เช่น รู้ตัวว่าเอะอะอะไรรูดไปก่อน แต่พอถึงเวลาจ่าย ต้องจ่ายขั้นต่ำตลอด ต้องพิจารณาตัวเอง อาจจะต้องลดวงเงินลงมา หรือเอาบัตรไปฝากไว้ที่คนที่ไว้ใจได้ เวลาจำเป็นต้องรูดยอดเยอะๆ ค่อยเอามาใช้ เช่น ตั๋วเครื่องบิน คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4. สัญญาว่าจ้างกับลูกค้า
ใครที่ทำงานฟรีแลนซ์แล้วไม่เคยทำสัญญาว่าจ้างกับลูกค้า ขอให้เริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะการทำเอกสารนี้ช่วยยืนยันรายได้ของคุณและที่มาของรายได้ได้อย่างชัดเจน ว่ามาจากใคร โดยเฉพาะถ้าคุณทำกับบริษัทใหญ่ๆ ยิ่งดี เพราะจะช่วยยืนยันในหน้าที่การงานว่าแม้จะเป็น freelance แต่ก็ทำงานกับบริษัทใหญ่นะจ๊ะ
5. สัญญาการจ้างงานแบบมีระยะเวลา
หากคุณมีงานที่รับเป็น contractor ให้กับบริษัทอื่น (คือจ้างแบบมีระยะเวลากำหนด ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ) ให้เตรียมเอกสารนี้ประกอบด้วย ช่วยได้มากๆ ยิ่งระบุว่าจะจ้างถึงเมื่อไหร่ ได้เดือนละเท่าไหร่ ตัวนี้ถือเป็น fix income ระดับนึง แม้จะไม่ดีเท่ากับเงินเดือน เพราะงานแบบ contract นั้นมีระยะเวลาสั้น อาจจะ 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ก็มีผลดีแน่ๆ เพราะอย่างน้อย เรามีทั้งเงินที่ได้แน่นอนจากการว่าจ้างแบบนี้
6. Statement เงินในบัญชี
เงินเหลือนอนในบัญชีอาจจะมีไม่ต้องเยอะ แต่ต้องเดินตลอด ธนาคารให้ความสำคัญกับเงินเข้าเยอะกว่าเงินออก แต่ถ้าเข้าแล้วออกเลยตลอดเวลานี่น่าสงสัย ฉะนั้น วันที่ที่เงินเข้า (ที่ได้จากลูกค้า) จะต้องสัมพันธ์กับสัญญาว่าจ้างด้วย คือเวลาเราทำสัญญาว่าจ้างกับลูกค้า จะมีการระบุว่า จะจ่ายเงินกันกี่งวด งวดละกี่บาท ซึ่งยอดเงินแต่ละงวดนี้ ควรจะตรงกับยอดเงินที่เข้าบัญชีเราด้วย ไม่ใช่ให้พ่อแม่เพื่อนโอนเข้ามาแล้วโยกออก อย่าตกแต่งบัญชี ถ้าไม่เก่งจริง ธนาคารรู้ทันหมด
7. สัญญาเช่าออฟฟิศ
สำหรับฟรีแลนซ์ที่เช่าออฟฟิศทำงาน อาจจะเป็น coworking space หรือออฟฟิศเป็นเรื่องเป็นราว หลักฐานสัญญาเช่าก็ช่วยให้คุณดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะถึงกับเช่าที่ทำงานจริงจัง ไม่ใช่ล่องลอยอยู่กับบ้าน (ข้อนี้ไม่ได้สำคัญมาก ไม่มีไม่เป็นไร เพราะฟรีแลนซ์ส่วนมากไม่มีออฟฟิศอยู่แล้ว)
8. คอนโดที่ดี สร้างโดย developer ที่ชื่อเสียงดีเป็นที่รู้จัก
คอนโดที่ดีในที่นี้ หมายถึง ดีทั้งกับตัวเราเอง คือราคาโอเคสมฐานะ จะได้ผ่อนไหว กู้ได้เยอะ 90%-100% ส่วนที่บอกว่าดีกับธนาคารคือ ต้องเป็นคอนโดที่เป็นของ developer ระดับ A คือเป็นที่รู้จัก มีการบริหารจัดการอาคารที่ดี ตั้งอยู่ในทำเลที่ดี จะทำให้ธนาคารอนุมัติง่ายขึ้น เพราะในกรณีที่เราผ่อนไม่ไหวแล้วโดนยึด ธนาคารก็จะสามารถนำ asset นี้ไปปล่อยขายได้ง่าย ความเสี่ยงของธนาคารจึงน้อยถ้าเลือกปล่อยกู้ซื้อบ้านจาก developer เจ้าใหญ่ๆ
ปล. อย่าลืมเลือกคอนโดที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณ เหมาะสมกับ lifestyle เลือกเพื่อนบ้าน บางทีอย่าเห็นแก่ของถูก ในอนาคตหากต้องการขายต่อหรือปล่อยเช่าได้ง่าย คอนโดที่ติดระยะรถไฟฟ้าก็ยังได้เปรียบกว่าคอนโดที่อยู่ในซอยลึกๆ ตึกเก่าๆ หรือคนในโครงการเยอะ มากหน้าหลายตาจนเกินไป
9. เจ้าหน้าที่ธนาคารที่เดินเรื่อง
ธนาคารและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเราสำคัญมากๆ ต้องเป็นธนาคารที่เข้าใจอาชีพอย่างเราๆ (ได้ยินว่าบางธนาคารไม่มีสลิปเงินเดือนนี่ไม่คุยด้วยเลย) ว่าแม้ว่าจะไม่มีเงินเดือนที่แน่นอน แต่เราก็มีรายได้นะจ๊ะ ส่วนตัวโชคดีมากได้ดีลกับเจ้าหน้าที่ธนาคารสีเขียว ที่ประจำสำนักงานใหญ่ ที่เข้าใจ และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ มีอะไรสงสัยโทรถามคุณเจ้าหน้าที่ได้ตลอด ตามเรื่องเร็วมากๆ ต้องขอขอบคุณคุณเจ้าหน้าที่มา ณ ที่นี้ด้วย หากใครสนใจสอบถามได้ อยากแนะนำเลยค่ะ
ปล. บทความต้นฉบับมาจากเว็บไซต์ส่วนตัวนะคะ พอดีเขียนแชร์ในบล็อคส่วนตัว แล้วคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์ที่สนใจจะมีบ้าน/รถ ของตัวเองค่ะ http://bow.im/homeloan-for-freelancer/
ใครเป็นฟรีแลนซ์หรือทำอาชีพอิสระ แล้วมีข้อแนะนำ ทิป ในการกู้บ้าน การเตรียมเอกสาร แชร์เพิ่มเติมกันได้นะคะ