JJNY : ยาวไป ยาวไป กับการปลูกผักของนายกปู...

กระทู้คำถาม


จริงๆ จะเขียนตั้งแต่เมื่อวานแล้ว ว่าด้วยการปลูกผักไว้ทานเอง

เรื่องการปลูกผักนี่ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ชาวยุโรปเขาทำกันมานานแล้ว

ถ้าจำไม่ผิด ตอนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทางยุโรป หลายปีก่อน (น่าจะเกิดเพราะกรีซ) ลามไปทั่ว

ปชช.ในประชาคมยุโรป ยิ่งเร่งประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยการปลูกผักทานเอง ตอนนั้นมีข่าวว่า เมล็ดพืชพันธุ์ขายดีมากๆ

ต่อมา ก็แพร่ไปทางฝั่งอเมริกา


ขอยกตัวอย่างบางตอนที่อ้างถึงเรื่องนี้ ด้วยบทความนะครับ



บ้านหลังนี้ กินได้
http://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=1171&section=4&column_id=59

  ฉะนั้น ข่าวที่ว่า เทรนด์มาแรงในสหรัฐอเมริกายามนี้คือการปลูกผักสวนครัวนั้น คนฝั่งยุโรปเขามิได้ตื่นเต้นกระดี๊กระด๊าไปด้วยเลย เพราะพวกเขาปลูกผักสวนครัวเป็นวัฒนธรรมประจำชีวิตมาตั้งแต่ยุคกลางโน่น

     ข่าวเล่าว่า ผักที่ชาวอเมริกันนิยมปลูกกันฮิตสุดขีดก็คือ มะเขือเทศ แตงกวา และถั่ว

     มีตัวเลขที่น่าสนใจว่าขณะนี้ครัวเรือนชาวอเมริกันปลูกพืชผักสวนครัวกันถึง 37 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมีสถิติการปลูกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 20 เปอร์เซ็นต์...ไม่น้อยเลยนะคะ ถ้านับเป็นจำนวนหลังว่ากันว่ามีผู้กระโดดเข้ามาเล่นกับผักสวนครัวในบ้านเพิ่มขึ้นราว 43 ล้านหลังต่อปีเลยทีเดียว!

ปัจจัยที่ทำให้การปลูกผักสวนครัวบูมในประเทศที่แสนเจริญทางวัตถุพวกนี้มีหลายสาเหตุด้วยกัน

     ตั้งแต่ผลพวงจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้แทบทุกครัวเรือนต้องรัดเข็มขัด กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการที่คนหันมาห่วงใยความปลอดภัยของอาหารที่เอาใส่ปากกันมากขึ้นด้วย

     แม้แต่นางมิเชล โอบาม่า สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ ก็ยังเคยกล่าวชื่นชมการที่ครอบครัวช่วยกันปลูกผักทำสวนครัวที่บ้านว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้ทุกคนได้มาทำกิจกรรมด้วยกัน ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้กินผักและผลไม้สดจริงๆ จากสวนของตัวเอง

     แรงกระตุ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเหล่านี้ก็เลยทำให้คนอเมริกันเห่อปลูกผักกันนักหนา




ตัวอย่างการพัฒนาการปลูกผักให้เหมาะสมกับชีวิตคนในเมือง

จะเห็นได้ว่า ยังเป็นการปลูกผักแบบใช้ดินอยู่




      โครงการนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า High-density cottage garden structure, Appeltern, Netherlands แต่เรียกกันสั้นๆว่า EatHouse เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกสาวชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อยาวเหยียดแถมออกเสียงสำเนียงยากเสียด้วย ก็เลยต้องคัดชื่อภาษาอังกฤษของเธอมาเต็มๆ Marijke Bruinsma,De Stuurlui Stedenbouw ร่วมกับเพื่อนสาวอีกคนคือ Marjan van Capelle แห่งบริษัทสถาปนิก Atelier Gras, Netherlands

     พวกเธอตั้งใจทำบ้านหลังนี้ให้กินได้จริงๆ ทั้งหลัง ตั้งแต่หลังคา ฝาผนัง กระทั่งระเบียงรอบบ้าน แทบทุกส่วนที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดและอากาศ

     เป็นการออกแบบโครงสร้างบ้านสำหรับปลูกผักเต็มพื้นที่ เรียกกันให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “กระท่อมสวนครัว” ซึ่งมีลักษณะเป็น บ้านกินได้ ไอเดียนี้โดนใจทุกคนอย่างแรง ทำให้พวกเธอได้รับรางวัล Holcim Awards Acknowledgement prize แห่งยุโรปประจำปี 2011




เพราะฉะนั้นแล้ว ขอถามว่า "การปลูกผัก จำเป็นต้องแบบ ไฮโดรโพนิกส์อย่างเดียว" ไหม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่