สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
ไม่แน่ใจว่าคำว่าน้ำเปล่าที่จขกทหมายถึงคือเป็นน้ำดื่มทั่วๆไปรึเปล่า ถ้าใช่ขออธิบายคร่าวๆตามนี้นะคะ
น้ำดื่มโดยทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดนั้น ส่วนใหญ่มาจากน้ำบาดาล ซึ่งได้มาจากการกลั่นกรองตามธรรมชาติผ่านชั้นดินชั้นหินลงไปเก็บสะสมตัวอยู่ใต้ดิน น้ำบาดาลเหล่านี้ในแต่ละแหล่งก็จะมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในของหินเหล่านั้น กล่าวคือน้ำบาดาลที่ไหลผ่านชั้นดินชั้นหินชนิดใดก็จะนำเอาสารประกอบในเนื้อดินหินนั้นเข้ามาในน้ำด้วย บางพื้นที่เป็นชั้นหินปูนก็ทำให้น้ำบาดาลที่เราได้จากที่นั้นๆเป็นน้ำกระด้างมีหินปูนสูงตามไปด้วย ดังนั้นน้ำบาดาลที่เจาะขึ้นมาเพื่อการอุปโภคจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพว่ามีสารใดเกินมาตรฐานรึเปล่า หากมีก็จะต้องทำการกำจัดออกไปซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่นการกำจัดสนิมเหล็กด้วยการทำให้ตกตะกอน หรือทำให้น้ำอ่อนลงด้วย softener แต่โดยทั่วไปโรงงานผลิตน้ำจะใช้วิธี RO (reverse osmosis) เพื่อกำจัดแร่ธาตุออกไป เนื่องจากง่ายและรวดเร็ว พูดง่ายๆคือมันไม่ต้องคิดอะไรเยอะเพราะมันไม่สนใจว่ามีตัวไหนเกินมาตรฐานบ้าง เอาออกหมดทุกอย่าง
เอ๊ะ! แล้วอย่างนี้เราจะขาดสารอาหารไหม คำตอบคือ ถ้าเราทานอาหารตามปกติก็ไม่ขาดสารอาหารอยู่แล้ว เพราะสารอาหารและแร่ธาตุส่วนใหญ่ที่ร่างกายได้รับแค่จากอาหารก็เพียงพอแล้ว
คราวนี้มาพูดถึงน้ำแร่กันบ้าง น้ำแร่ก็จัดเป็นน้ำบาดาลชนิดหนึ่ง แต่เป็นน้ำบาดาลที่มีปริมาณแร่ธาตุค่อนข้างสูง บางแหล่งก็มีแร่ธาตุสำคัญบางชนิดซึ่งมีความสำคัญกับร่างกายหรือทางเวชสำอาง ก็ใช้เป็นจุดขายของน้ำแร่ยี่ห้อต่างๆก็ว่ากันไป
โดยปกติแล้วน้ำแร่จะไม่อนุญาตให้มีการปรับเปลี่ยนคุณภาพน้ำหรือทำการบำบัดใดๆทั้งสิ้นเว้นเสียแต่การเอาเหล็ก แมงกานีส กำมะถันที่เกินมาตรฐานออก ด้วยวิธีการทำให้ตกตะกอนหรือการกรองเท่านั้น พูดง่ายๆคือขึ้นมาจากบ่อปุ๊บกรอกใส่ขวดปั๊บ
และด้วยความที่น้ำแร่มีปริมาณแร่ธาตุค่อนข้างสูงจึงส่งผลต่อรสชาติของน้ำด้วย บางแหล่งที่มีโซเดียมสูงอาจจะทำให้น้ำนั้นมีรสเค็มขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย จึงเป็นที่มาที่ไปว่าทำไมบางคนถึงชอบพูดว่าน้ำยี่ห้อนี้อร่อยยี่ห้อโน้นไม่อร่อย ก็เป็นความชอบส่วนบุคคลกันไป
แต่แร่ธาตุมีมากมายในน้ำแร่ก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ผู้ป่วยโรคไตและเด็กทารกไม่ควรบริโภคน้ำแร่มากเกินไป ในต่างประเทศนั้นน้ำที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นน้ำแร่ทั้งสิ้น แต่ก็จะมีระบุไว้เสมอว่าน้ำแร่นี้เหมาะสำหรับใช้ชงนมให้ทารกหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วจะไม่ใช้น้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมสูงในการชงนมให้กับทารก
น้ำแร่ส่วนใหญ่แล้วจะมีราคาสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไปเหตุผลหนึ่งคงเป็นเพราะว่า การหาแหล่งน้ำแร่ที่ดีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า น้ำแร่นั้นแทบจะไม่สามารถผ่านกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำใดๆได้เลย ตามปนะกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ.2543 ว่าด้วยเรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ มิฉะนั้นจะไม่สามารถเรียกน้ำนั้นว่าน้ำแร่ได้อีก เพราะฉะนั้นการเฟ้นหาแหล่งน้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องนำมาทำอะไรมากมายนักจึงถือเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการผลิตน้ำแร่เลยก็ว่าได้ บวกกับบ้านเราซึ่งไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์น้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลมีการปนเปื้อนได้ง่ายทั้งจากสารเคมี ยำกำจัดศัตรูพืช จึงทำให้การหาแหล่งน้ำแร่ดีๆยิ่งยากเข้าไปใหญ่
น้ำดื่มโดยทั่วไปที่ขายตามท้องตลาดนั้น ส่วนใหญ่มาจากน้ำบาดาล ซึ่งได้มาจากการกลั่นกรองตามธรรมชาติผ่านชั้นดินชั้นหินลงไปเก็บสะสมตัวอยู่ใต้ดิน น้ำบาดาลเหล่านี้ในแต่ละแหล่งก็จะมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบภายในของหินเหล่านั้น กล่าวคือน้ำบาดาลที่ไหลผ่านชั้นดินชั้นหินชนิดใดก็จะนำเอาสารประกอบในเนื้อดินหินนั้นเข้ามาในน้ำด้วย บางพื้นที่เป็นชั้นหินปูนก็ทำให้น้ำบาดาลที่เราได้จากที่นั้นๆเป็นน้ำกระด้างมีหินปูนสูงตามไปด้วย ดังนั้นน้ำบาดาลที่เจาะขึ้นมาเพื่อการอุปโภคจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพว่ามีสารใดเกินมาตรฐานรึเปล่า หากมีก็จะต้องทำการกำจัดออกไปซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน เช่นการกำจัดสนิมเหล็กด้วยการทำให้ตกตะกอน หรือทำให้น้ำอ่อนลงด้วย softener แต่โดยทั่วไปโรงงานผลิตน้ำจะใช้วิธี RO (reverse osmosis) เพื่อกำจัดแร่ธาตุออกไป เนื่องจากง่ายและรวดเร็ว พูดง่ายๆคือมันไม่ต้องคิดอะไรเยอะเพราะมันไม่สนใจว่ามีตัวไหนเกินมาตรฐานบ้าง เอาออกหมดทุกอย่าง
เอ๊ะ! แล้วอย่างนี้เราจะขาดสารอาหารไหม คำตอบคือ ถ้าเราทานอาหารตามปกติก็ไม่ขาดสารอาหารอยู่แล้ว เพราะสารอาหารและแร่ธาตุส่วนใหญ่ที่ร่างกายได้รับแค่จากอาหารก็เพียงพอแล้ว
คราวนี้มาพูดถึงน้ำแร่กันบ้าง น้ำแร่ก็จัดเป็นน้ำบาดาลชนิดหนึ่ง แต่เป็นน้ำบาดาลที่มีปริมาณแร่ธาตุค่อนข้างสูง บางแหล่งก็มีแร่ธาตุสำคัญบางชนิดซึ่งมีความสำคัญกับร่างกายหรือทางเวชสำอาง ก็ใช้เป็นจุดขายของน้ำแร่ยี่ห้อต่างๆก็ว่ากันไป
โดยปกติแล้วน้ำแร่จะไม่อนุญาตให้มีการปรับเปลี่ยนคุณภาพน้ำหรือทำการบำบัดใดๆทั้งสิ้นเว้นเสียแต่การเอาเหล็ก แมงกานีส กำมะถันที่เกินมาตรฐานออก ด้วยวิธีการทำให้ตกตะกอนหรือการกรองเท่านั้น พูดง่ายๆคือขึ้นมาจากบ่อปุ๊บกรอกใส่ขวดปั๊บ
และด้วยความที่น้ำแร่มีปริมาณแร่ธาตุค่อนข้างสูงจึงส่งผลต่อรสชาติของน้ำด้วย บางแหล่งที่มีโซเดียมสูงอาจจะทำให้น้ำนั้นมีรสเค็มขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย จึงเป็นที่มาที่ไปว่าทำไมบางคนถึงชอบพูดว่าน้ำยี่ห้อนี้อร่อยยี่ห้อโน้นไม่อร่อย ก็เป็นความชอบส่วนบุคคลกันไป
แต่แร่ธาตุมีมากมายในน้ำแร่ก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ผู้ป่วยโรคไตและเด็กทารกไม่ควรบริโภคน้ำแร่มากเกินไป ในต่างประเทศนั้นน้ำที่วางขายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นน้ำแร่ทั้งสิ้น แต่ก็จะมีระบุไว้เสมอว่าน้ำแร่นี้เหมาะสำหรับใช้ชงนมให้ทารกหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วจะไม่ใช้น้ำแร่ที่มีปริมาณโซเดียมสูงในการชงนมให้กับทารก
น้ำแร่ส่วนใหญ่แล้วจะมีราคาสูงกว่าน้ำดื่มทั่วไปเหตุผลหนึ่งคงเป็นเพราะว่า การหาแหล่งน้ำแร่ที่ดีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า น้ำแร่นั้นแทบจะไม่สามารถผ่านกรรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำใดๆได้เลย ตามปนะกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 199) พ.ศ.2543 ว่าด้วยเรื่องน้ำแร่ธรรมชาติ มิฉะนั้นจะไม่สามารถเรียกน้ำนั้นว่าน้ำแร่ได้อีก เพราะฉะนั้นการเฟ้นหาแหล่งน้ำที่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องนำมาทำอะไรมากมายนักจึงถือเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการผลิตน้ำแร่เลยก็ว่าได้ บวกกับบ้านเราซึ่งไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์น้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลมีการปนเปื้อนได้ง่ายทั้งจากสารเคมี ยำกำจัดศัตรูพืช จึงทำให้การหาแหล่งน้ำแร่ดีๆยิ่งยากเข้าไปใหญ่
แสดงความคิดเห็น
น้ำแร่กับน้ำเปล่าต่างกันตรงไหนคะ
น้ำแร่เอามาจากไหน
แล้วน้ำเปล่าน้ำธรรมดาเอามาจากไหนคะ