จริงๆก็ไม่ได้เจาะเฉพาะหมอ แต่ขอยกหมอเป็นอย่างแล้วกันเพราะเห็นบ่อยสุด
ทำไมหลายๆคนและบางโรงเรียนถึงมีค่านิยมประมาณว่า "คนเก่งควรเรียนหมอ" ราวกับว่าหมอคืออาชีพจุดสูงสุดของการศึกษา หรือเห็นนักเรียนหลายๆคน ตั้งกระทู้ มันจะมีข้อความประมาณว่า เรียนหมอตามความหวังของพ่อแม่ อะไรประมาณนั้น คือผมก็ไม่ได้คิดว่าอาชีพหมอไม่ดีนะ จริงแล้วก็อาจจะเป็นสายการเรียนที่เรียนยากที่สุดจริงๆก็ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตคน แต่มันควรเป็นตรรกกะว่า "คนเรียนหมอต้องเก่ง" ไม่น่าจะใช่ "คนเก่งควรเรียนหมอ"
ที่ผมสงสัยก็คือ พวกวิชาชีพชั้นสูง อย่าง หมอ ครู พยาบาล ทนายความ เป็นต้น ผมไม่ได้ดูถูกว่าอาชีพอื่นไม่ดีหรือต่ำกว่านะ แค่อาชีพพวกนี้เป็นวิชาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณสูง แต่เรากลับมีค่านิยมว่า เรียนเพราะเงินดี ได้รับความเคารพยกย่อง พ่อแม่ภูมิใจ หรือผลประโยชน์ทางหน้าตา อะไรต่างๆนาๆ โดยเฉพาะพวกเลือกอาชีพพวกนี้เพราะความสบายในอนาคตนี่ผมงงสุด อาชีพเหล่านี้นี่มันควรจะเหนื่อยสุดเลยนะ เงินอาจจะดีกว่าอาชีพอื่นนิดหน่อย แต่แทบไม่มีเวลาส่วนตัวเลยนะ มันควรจะเป็นอาชีพของคนที่พร้อมจะเสียสละและทุ่มเทกับมัน เต็มใจและสมัครใจที่จะทำมันให้ดีที่สุด ไม่ใช่หรือ แล้วมันดีแล้วหรือที่พ่อแม่ตั้งความหวังให้ลูกเป็นอาชีพเหล่านั้นโดยที่ลูกไม่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพนั้นอย่างแท้จริง (ผมหมายถึงเรื่องจิตใจ และจรรยาบรรณมากกว่าความสามารถ) โลกนี้ต้องใช้เงิน ใช่ แต่อยากรวยทำไมไม่ไปทำธุรกิจ หรืออาชีพอื่นเยอะแยะ ที่รวยกว่า สบายกว่า
ส่วนตัวผมแค่คิดว่า ไม่ว่าจะเรียนเก่ง หรือเรียนอ่อน แต่ถ้าอยากทำอะไรก็ทำ อยากเป็นอะไรก็เป็น ถ้าไม่ได้ดั่งหวัง ก็เท่ากับแพ้ แล้วตอนนั้นค่อยหาทางรอดชีวิตต่อไป นั่นคือปกติหรือเปล่า หรือถ้าใครคิดแค่ว่าอยากหางานสบายๆทำ ก็ทำอะไรก็ทำไป แต่ไม่น่ามาทำอาชีพพวกวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบกับคนนะ ใช่หรือเปล่า
--- เพิ่มเติม ---
ผมเข้าใจว่าอาชีพอย่างครูและหมอขาดแคลน แต่นั่นไม่น่าจะใช่เหตุผลที่จะลดคุณภาพของบุคคลากรนั้นลง โดยเฉพาะคุณภาพด้านจรรยาบรรณและจิตใจ
คือก็ไม่ต้องเสียสละกันเต็มที่เกินร้อยกันทุกคนขนาดนั้น แต่อย่างน้อยทุกคนที่น่าจะพร้อมที่จะทำงานนั้นจริงๆ และรักษาจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด จริงๆ
ผมว่า
เรามีครูที่สอนความรู้ได้ไม่ครบทุกเรื่องได้ แต่เรามีครูที่ชี้นำเด็กไปทางที่ผิดไม่ได้
เรามีหมอที่รักษาได้แค่โรคง่ายๆได้ แต่เรามีหมอที่เห็นคนไข้เป็นถุงตังไม่ได้
ทำไมถึงมีค่านิยมว่าเรียนเก่งต้องเรียนหมอ??
ทำไมหลายๆคนและบางโรงเรียนถึงมีค่านิยมประมาณว่า "คนเก่งควรเรียนหมอ" ราวกับว่าหมอคืออาชีพจุดสูงสุดของการศึกษา หรือเห็นนักเรียนหลายๆคน ตั้งกระทู้ มันจะมีข้อความประมาณว่า เรียนหมอตามความหวังของพ่อแม่ อะไรประมาณนั้น คือผมก็ไม่ได้คิดว่าอาชีพหมอไม่ดีนะ จริงแล้วก็อาจจะเป็นสายการเรียนที่เรียนยากที่สุดจริงๆก็ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตคน แต่มันควรเป็นตรรกกะว่า "คนเรียนหมอต้องเก่ง" ไม่น่าจะใช่ "คนเก่งควรเรียนหมอ"
ที่ผมสงสัยก็คือ พวกวิชาชีพชั้นสูง อย่าง หมอ ครู พยาบาล ทนายความ เป็นต้น ผมไม่ได้ดูถูกว่าอาชีพอื่นไม่ดีหรือต่ำกว่านะ แค่อาชีพพวกนี้เป็นวิชาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณสูง แต่เรากลับมีค่านิยมว่า เรียนเพราะเงินดี ได้รับความเคารพยกย่อง พ่อแม่ภูมิใจ หรือผลประโยชน์ทางหน้าตา อะไรต่างๆนาๆ โดยเฉพาะพวกเลือกอาชีพพวกนี้เพราะความสบายในอนาคตนี่ผมงงสุด อาชีพเหล่านี้นี่มันควรจะเหนื่อยสุดเลยนะ เงินอาจจะดีกว่าอาชีพอื่นนิดหน่อย แต่แทบไม่มีเวลาส่วนตัวเลยนะ มันควรจะเป็นอาชีพของคนที่พร้อมจะเสียสละและทุ่มเทกับมัน เต็มใจและสมัครใจที่จะทำมันให้ดีที่สุด ไม่ใช่หรือ แล้วมันดีแล้วหรือที่พ่อแม่ตั้งความหวังให้ลูกเป็นอาชีพเหล่านั้นโดยที่ลูกไม่พร้อมจะปฏิบัติหน้าที่ในอาชีพนั้นอย่างแท้จริง (ผมหมายถึงเรื่องจิตใจ และจรรยาบรรณมากกว่าความสามารถ) โลกนี้ต้องใช้เงิน ใช่ แต่อยากรวยทำไมไม่ไปทำธุรกิจ หรืออาชีพอื่นเยอะแยะ ที่รวยกว่า สบายกว่า
ส่วนตัวผมแค่คิดว่า ไม่ว่าจะเรียนเก่ง หรือเรียนอ่อน แต่ถ้าอยากทำอะไรก็ทำ อยากเป็นอะไรก็เป็น ถ้าไม่ได้ดั่งหวัง ก็เท่ากับแพ้ แล้วตอนนั้นค่อยหาทางรอดชีวิตต่อไป นั่นคือปกติหรือเปล่า หรือถ้าใครคิดแค่ว่าอยากหางานสบายๆทำ ก็ทำอะไรก็ทำไป แต่ไม่น่ามาทำอาชีพพวกวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบกับคนนะ ใช่หรือเปล่า
--- เพิ่มเติม ---
ผมเข้าใจว่าอาชีพอย่างครูและหมอขาดแคลน แต่นั่นไม่น่าจะใช่เหตุผลที่จะลดคุณภาพของบุคคลากรนั้นลง โดยเฉพาะคุณภาพด้านจรรยาบรรณและจิตใจ
คือก็ไม่ต้องเสียสละกันเต็มที่เกินร้อยกันทุกคนขนาดนั้น แต่อย่างน้อยทุกคนที่น่าจะพร้อมที่จะทำงานนั้นจริงๆ และรักษาจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด จริงๆ
ผมว่า
เรามีครูที่สอนความรู้ได้ไม่ครบทุกเรื่องได้ แต่เรามีครูที่ชี้นำเด็กไปทางที่ผิดไม่ได้
เรามีหมอที่รักษาได้แค่โรคง่ายๆได้ แต่เรามีหมอที่เห็นคนไข้เป็นถุงตังไม่ได้