ว่าเรื่องชาเขียว

เป็นคนชอบดื่มชาเขียวมาก ทุกยี่ห้อ ก็ว่าได้ แต่หลัง ๆ มานี่จะเน้นดื่มรสที่ไม่มีน้ำตาลมากที่สุด
อยากรู้ว่าจริง ๆ  ว่าที่แท้จริงแล้ว มันมีน้ำตาลหรือเปล่า  เพราะเคยได้ยินเพื่อนบอกมาว่า
อาจจะใส่สารแทนความหวาน  ส่วนตัวคิดถึงน้ำตาลเทียม แต่ไม่รู้ใช่หรือเปล่า มโนไปเรื่อย

ดื่มวันละขวด เพราะว่าใจหวั่น ๆ ถึงอนาคต เกี่ยวกับน้ำตาลเนี่ย ( เบาหวาน )
เลยอยากจะรู้ให้แน่ชัด  ข้างขวดอาจจะระบุให้เบาใจ แต่สารที่ใส่ไปนั้น  ไม่รู้เลย

ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยใน ณ ที่นี่ด้วย
ไม่มีเจตนาจะว่าร้ายให้กับยี่ห้อใด แต่ส่วนตัวอยากจะทราบเพื่อที่จะได้หลีกเหลี่ยง
หรือดื่มให้เบาลง เพราะว่า ชอบดื่มมากจริง ๆ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เค้าใช้ฟรุกโตส แทนน้ำตาลครับ

น้ำตาลฟรุกโตส
น้ำตาลฟรุกโตส เป็นน้ำตาลที่สกัดมาจากผลไม้100%เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เด็ก และบุคคลทุกวัย ผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มไม่มากเท่ากับแป้ง และน้ำตาลทราย ในพลังงานที่เท่ากัน จึงอาจมีประโยชน์ในการให้ความหวานแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่หากรับประทานในจำนวนมาก เช่นร้อยละ 20 ของพลังงาน อาจก่อให้เกิดผลเสีย ต่อระดับ cholesterol และ LDL ในเลือดได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถบริโภคได้ แต่ในปริมาณที่พอสมควรเท่านั้น

น้ำตาลฟรุกโตส เป็นน้ำตาลที่หวานที่สุด มีความหวานร้อยละ 140 ของน้ำตาลทราย พบมากในผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องพร้อมดื่ม ในลูกกวาด และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ น้ำตาลฟรุกโตสเมื่อดูดซึมแล้วจะเข้าไปในตับเพื่อเปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลกลูโคส ก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด เราจึงพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงช้ากว่าเมื่อรับประทานน้ำตาลทราย น้ำตาลฟรุกโตสยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น Levulose และ Fruit sugar

น้ำตาลฟรุกโตสเป็นน้ำตาลชั้นเดียว (monosaccharide) คืออยู่ในรูปซึ่งสามารถดูดซึมได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยในระบบทางเดินอาหาร

มีผลการวิจัยหลายงานวิจัยที่ทดลองกับผู้ป่วยเบาหวานทั้งที่ฉีดอินซูลิน และในผู้ป่วยเบาหวานทั้งที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด โดยทดลองให้ผู้ป่วยกลุ่มแรกรับประทานน้ำตาลฟรุกโตส ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งให้รับประทานแป้ง (ซึ่งแป้งเมื่อถูกย่อยจะกลายเป็นน้ำตาลกลูโคส) พบว่าในผู้ป่วยที่รับประทานน้ำตาลฟรุกโตส จะมีระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นไม่สูงมากเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานแป้ง1

แต่ต่อมาเมื่อติดตามผลด้านอื่น ๆ นักวิจัยก็พบว่าน้ำตาลฟรุกโตสอาจมีผลเสียในการเพิ่มระดับไขมันในเลือดได้1 เช่นอาจทำให้ระดับของไขมันตัวร้ายที่ชื่อว่า แอลดีแอลคอเลสเตอรอล(LDL), ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ และระดับคอเรสโตรอลรวมในเลือดสูงขึ้น ซึ่งนับว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอุดตันหลอดเลือดได้ นอกจากนี้จากการที่น้ำตาลฟรุกโตสที่ต้องผ่านเข้าตับก่อนเข้าสู่กระแสเลือดนั้น ถ้าเราบริโภคน้ำตาลฟรุกโตสเข้าไปมาก ๆ ตับก็จะเปลี่ยนน้ำตาลฟรุกโตสที่มีปริมาณมาก ๆนี้ ไปเป็นกรดไขมันอิสระจำนวนมาก2 ซึ่งอาจทำให้ไขมันเกาะตับได้ โดยเราไม่รู้ตัว (ไขมันเกาะตับ ภาษาแพทย์เรียกว่า Fatty liver)

สมาคมแพทย์เบาหวานอเมริกันจึงแนะนำว่า น้ำตาลฟรุกโตสสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็ต้องใช้ในปริมาณที่ไม่มากนัก และยังคงต้องศึกษาผลต่อระดับไขมันในเลือดต่อไป เพราะฉะนั้นสรุปแล้วเราคงยังไม่กล้าบอกตอนนี้ว่าฟรุกโตสปลอดภัยทั้งหมด จึงก็ขอให้เดินสายกลางบริโภคให้น้อยหน่อยจะดีกว่าค่ะ

คนปกติทานน้ำตาลฟรุกโตสแทนน้ำตาลอ้อย อาจจะดีกว่าในแง่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มไม่มากเท่ากับแป้ง และน้ำตาลทราย(อ้อย) แต่ก็ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายเช่นเดียวกัน คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเบาหวานเท่านั้น หรือไม่มีไขมัน อาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตสมากก็สามารถทำให้คุณอ้วนได้ถ้ามีอยู่ในปริมาณมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่