กลูต้าไธโอน (ขอเรียกสั้นๆ กลูต้า) คือ สารที่ร่างกายสามารถ''สร้างได้เอง'' ทำหน้าที่หลักๆ เกี่ยวกับการต้านอนุมูลอิสระ แต่อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้เป็นที่สนใจของสาวๆ ก็คือทำให้ ผิวขาว นั่นเอง ในบทความนี้ผมจะเน้นเฉพาะเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกินกลูต้าเพื่อให้ผิวขาวนะครับ
ต้องรู้ก่อนว่า กลูต้า สร้างยังไง?
กลูต้า สร้างได้จากทุกเซลล์ของร่างกาย แต่จะพบมากที่ตับ เกิดจากกรดอะมิโน 3 ชนิด (tripeptide) ต่อกัน คือ L-glutamyl-L-cysteinyl-glycine ซึ่งขั้นตอนสำคัญที่มีผลต่อการสร้างกลูต้า (rate limiting step) คือ ขั้นตอนการต่อของกรดอะมิโน L-glutamate และ L-cysteine ซึ่ง ตัว L-cysteine นี่หละครับ ค่อนข้างมีปริมาณน้อยในอาหารที่เรากินในทุกๆวัน
กลูต้า มีผลทำให้ผิวขาว ได้อย่างไร?
1. ลดการสร้างเมลานิน โดยยับยั้งการเอนไซม์ tyrosinsase
2. เปลี่ยนแปลงการปริมาณอัตราส่วนการสร้างเมลานินที่มีสองชนิดหลักๆ โดยไปลด Eumelanin (ผิวเหลืองดำ) และเพิ่ม pheomelanin (ออกสีแดง)
3. กำจัดอนุมูลอิสระ ที่ไปมีผลกระตุ้นการสร้างเมลานิน
อ้างอิงจาก
http://www.consultdrminas.com/picture/pages/melanin.gif
ทา ฉีด กิน แตกต่างกันอย่างไร?
กิน >>
เนื่องจากกลูต้าสามารถถูกย่อยและทำลายในทางเดินอาหาร การดูดซึมในรูปสมบูรณ์ (tripeptide) แทบจะน้อยมาก ซึ่งพบว่าการกินกลูต้าสามารถเพิ่มระดับกลูต้าในเลือดในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นครับ แต่หลังจากที่กลูต้าถูกย่อยแล้ว จะได้ L-cysteine ครับ สามารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ การเพิ่มปริมาณ L-cysteine ในร่างกาย การที่มีสารตั้งต้นมากขึ้นในการสังเคราะห์กลูต้า จึงมีโอกาสที่จะเพิ่มการสร้างกลูต้าได้ครับ และ L-cysteine ก็มีผลเพิ่มสัดส่วนของ pheomelanin (แดง) ต่อ Eumelanin (เหลืองดำ) อย่างไรก็ตามร่างกายก็มีระบบที่เรียกว่า negative feedback ที่จะไปหยุดการสร้างกลูต้า หากพบว่าปริมาณกลูต้าเพียงพอต่อร่างกายแล้ว
ทา >>
การทา จะได้ผลเมื่อมีสูตรตำรับยาสามารถนำส่งหรือช่วยให้กลูต้าซึมผ่านผิวเข้าไปยังเซลล์ melanocyte ได้ ซึ่งก็ยังหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่า กลูต้าจะซึมและยังมีความคงตัว พอที่จะไปออกฤทธิ์ให้ผิวขาวหรือไม่
ฉีด>>
ไม่แนะนำครับ >> อันนี้ เข้าเส้นเลือด 100% จัดว่าเป็นการเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต หากเกิดอาการแพ้ หรือ การปนเปื้อน
ผลเสียและ อาการข้างเคียงของการกินกลูต้า?
- การกิน >> ยังไม่มีรายงานอาการข้างเคียงของการกิน กลูต้า
- การฉีด >> ไม่มีรายงาน แต่ก็ไม่แนะนำ
ป
ริมาณที่แนะนำ และระยะเวลาการกิน?
ปริมาณที่แนะนำในตอนนี้ แนะนำว่า 250- 500 มิลลิกรัมต่อวัน ตอนท้องว่าง ระยะเวลาการกินให้เห็นผลอย่างต่ำประมาณ 4 สัปดาห์ครับ ส่วนการทานั้น น่าจะใช้เวลามากกว่า ซึ่งการตอบสนองของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอาจจะไม่เห็นผลเลยก็ได้ครับ แม้กระทั่งการฉีด เพราะคนที่ฉีดแล้วไม่เห็นผลก็เยอะครับ (เน้นอีกครั้งว่า ไม่แนะนำให้ฉีด หากอยากฉีดควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ครับ)
การกินกลูต้า มีผลต่อตับไหม หรืออาการข้างเคียงอื่นๆหรือไม่??
จริงๆแล้ว กลูต้าจัดเป็นสารที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ตับจากการโดนทำลายจากอนุมูลอิสระและสารพิษครับ ดังนั้นหากกินในปริมาณที่แนะนำ ถือว่าปลอดภัยครับ ส่วนในกรณีการฉีดให้ผิวขาวนั้น ยังเน้นว่า การฉีดนั้นถือว่าเสี่ยงต่อการข้างเคียง เช่น การแพ้ การปนเปื้อน สีผิวไม่สม่ำเสมอ
มีงานวิจัยเกี่ยวกับกลูต้ามากน้อยแค่ไหน??
มีงานวิจัยน้อยมากๆ เท่าที่ผมค้นดู มีงานวิจัยของคนไทยเกี่ยวกับการกินกลูต้านาน 1 เดือน ที่ทำผิวดูสว่างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพียงแค่ 2 บริเวณจาการวัดทั้งหมด 7 บริเวณทั่วร่างกาย (Arjinpathana and Asawanonda, 2012) และงานวิจัยของคนญี่ปุ่น โดยใช้การทา 2% oxidized glutathione (GSSG) นาน 10 สัปดาห์ ที่ทำให้ผิวดูสว่างขึ้น จากการวัด ค่า melanin index ซึ่งวัดด้วยเครื่องมือ ได้ผลตามนี้ ก่อนทา 272.77±26.17 หลังจากทา 10 สัปดาห์ 243.47±26.31 (Watanabe et al., 2014) ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นเพียงการวัดจากเครื่องมือ และค่าที่ลดลงเป็นแค่ค่าทางสถิติ ผมยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถมองเห็นด้วยตา หากสนใจลองเข้าไปอ่านตามลิ้งค์ได้ครับ
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20524875
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4207440/
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลูต้า
ผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด จะระบุฉลากเป็นตัวเลขของ Glutathione complex ซึ่งระบุเป็นตัวเลขของปริมาณ กลูต้า รวมกับกรดอะมโนสามชนิดคือ L-glutamine, L-cysteine, L-glycine และบางยี่ห้อ อาจจะมีการลวงผู้บริโภคเล็กๆน้อยๆ ด้วยกันระบุปริมาณที่สูงกว่าปกติแต่เป็นปริมาณเทียบเท่ากับการกิน 2 แคปซูล และไม่ระบุส่วนประกอบย่อยให้ชัดเจนครับ
ความเห็นและคำแนะนำของของผม เกี่ยวกับการกินกลูต้า
การกินและทากลูต้า ผมจัดว่าเป็นการ "เพิ่มโอกาส" ของการมีผิวที่สว่างหรือกระจ่างใสขึ้น รวมถึงอาจมีผลเพิ่มความชุ่มชื้น แต่ผลการตอบสนองก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลครับ และจะมีผลแค่ช่วงที่กินครับ หากเปรียบเทียบราคาแล้วจัดว่าสูงมาก ถ้าอยากกินจริงๆ แนะนำว่า ควรเป็นตัวเลือกท้ายๆ ต่อจากวิตามินซีและสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (grape seed) ครับ
ฝากไลค์เพจ เพื่อติดตามข้อมูลอัพเดทเรื่อยๆด้วยครับ
https://www.facebook.com/pharmachair?fref=nf
กระทู้เก่าๆ
วิตามินซี ทำให้ผิวขาว จริงหรือ??
http://ppantip.com/topic/33385586
>> วิธีรักษาแผลเป็นให้ได้ผล part 1
http://ppantip.com/topic/33394096
แชร์วิธีลบรอยแผลเป็นให้ได้ผล part 2
http://ppantip.com/topic/33441070
(แชร์) วิธีการล้างสารพิษ (detox) ให้ได้ประโยชน์จริง (part 1)
http://ppantip.com/topic/33471430
[CR]รีวิว: ล้างสารพิษ ผลิตภัณฑ์ใน 7-11&ร้านยา มีอะไรช่วยได้บ้าง? (part 2)
http://ppantip.com/topic/33476870
แนะนำวิธีการเลือกใช้ benzoyl peroxide
http://ppantip.com/topic/33480520
(แชร์) กินไลโคปีน มีผลต่อผิวอย่างไร ??
http://ppantip.com/topic/33499074
[CR] รีวิว การกินกลูต้าให้ขาว กินยังไง ขาวจริงไหม ไปดูกัน
กลูต้าไธโอน (ขอเรียกสั้นๆ กลูต้า) คือ สารที่ร่างกายสามารถ''สร้างได้เอง'' ทำหน้าที่หลักๆ เกี่ยวกับการต้านอนุมูลอิสระ แต่อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้เป็นที่สนใจของสาวๆ ก็คือทำให้ ผิวขาว นั่นเอง ในบทความนี้ผมจะเน้นเฉพาะเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกินกลูต้าเพื่อให้ผิวขาวนะครับ
ต้องรู้ก่อนว่า กลูต้า สร้างยังไง?
กลูต้า สร้างได้จากทุกเซลล์ของร่างกาย แต่จะพบมากที่ตับ เกิดจากกรดอะมิโน 3 ชนิด (tripeptide) ต่อกัน คือ L-glutamyl-L-cysteinyl-glycine ซึ่งขั้นตอนสำคัญที่มีผลต่อการสร้างกลูต้า (rate limiting step) คือ ขั้นตอนการต่อของกรดอะมิโน L-glutamate และ L-cysteine ซึ่ง ตัว L-cysteine นี่หละครับ ค่อนข้างมีปริมาณน้อยในอาหารที่เรากินในทุกๆวัน
กลูต้า มีผลทำให้ผิวขาว ได้อย่างไร?
1. ลดการสร้างเมลานิน โดยยับยั้งการเอนไซม์ tyrosinsase
2. เปลี่ยนแปลงการปริมาณอัตราส่วนการสร้างเมลานินที่มีสองชนิดหลักๆ โดยไปลด Eumelanin (ผิวเหลืองดำ) และเพิ่ม pheomelanin (ออกสีแดง)
3. กำจัดอนุมูลอิสระ ที่ไปมีผลกระตุ้นการสร้างเมลานิน
อ้างอิงจาก http://www.consultdrminas.com/picture/pages/melanin.gif
ทา ฉีด กิน แตกต่างกันอย่างไร?
กิน >>
เนื่องจากกลูต้าสามารถถูกย่อยและทำลายในทางเดินอาหาร การดูดซึมในรูปสมบูรณ์ (tripeptide) แทบจะน้อยมาก ซึ่งพบว่าการกินกลูต้าสามารถเพิ่มระดับกลูต้าในเลือดในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นครับ แต่หลังจากที่กลูต้าถูกย่อยแล้ว จะได้ L-cysteine ครับ สามารถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ การเพิ่มปริมาณ L-cysteine ในร่างกาย การที่มีสารตั้งต้นมากขึ้นในการสังเคราะห์กลูต้า จึงมีโอกาสที่จะเพิ่มการสร้างกลูต้าได้ครับ และ L-cysteine ก็มีผลเพิ่มสัดส่วนของ pheomelanin (แดง) ต่อ Eumelanin (เหลืองดำ) อย่างไรก็ตามร่างกายก็มีระบบที่เรียกว่า negative feedback ที่จะไปหยุดการสร้างกลูต้า หากพบว่าปริมาณกลูต้าเพียงพอต่อร่างกายแล้ว
ทา >>
การทา จะได้ผลเมื่อมีสูตรตำรับยาสามารถนำส่งหรือช่วยให้กลูต้าซึมผ่านผิวเข้าไปยังเซลล์ melanocyte ได้ ซึ่งก็ยังหาคำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ว่า กลูต้าจะซึมและยังมีความคงตัว พอที่จะไปออกฤทธิ์ให้ผิวขาวหรือไม่
ฉีด>>
ไม่แนะนำครับ >> อันนี้ เข้าเส้นเลือด 100% จัดว่าเป็นการเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต หากเกิดอาการแพ้ หรือ การปนเปื้อน
ผลเสียและ อาการข้างเคียงของการกินกลูต้า?
- การกิน >> ยังไม่มีรายงานอาการข้างเคียงของการกิน กลูต้า
- การฉีด >> ไม่มีรายงาน แต่ก็ไม่แนะนำ
ปริมาณที่แนะนำ และระยะเวลาการกิน?
ปริมาณที่แนะนำในตอนนี้ แนะนำว่า 250- 500 มิลลิกรัมต่อวัน ตอนท้องว่าง ระยะเวลาการกินให้เห็นผลอย่างต่ำประมาณ 4 สัปดาห์ครับ ส่วนการทานั้น น่าจะใช้เวลามากกว่า ซึ่งการตอบสนองของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอาจจะไม่เห็นผลเลยก็ได้ครับ แม้กระทั่งการฉีด เพราะคนที่ฉีดแล้วไม่เห็นผลก็เยอะครับ (เน้นอีกครั้งว่า ไม่แนะนำให้ฉีด หากอยากฉีดควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ครับ)
การกินกลูต้า มีผลต่อตับไหม หรืออาการข้างเคียงอื่นๆหรือไม่??
จริงๆแล้ว กลูต้าจัดเป็นสารที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ตับจากการโดนทำลายจากอนุมูลอิสระและสารพิษครับ ดังนั้นหากกินในปริมาณที่แนะนำ ถือว่าปลอดภัยครับ ส่วนในกรณีการฉีดให้ผิวขาวนั้น ยังเน้นว่า การฉีดนั้นถือว่าเสี่ยงต่อการข้างเคียง เช่น การแพ้ การปนเปื้อน สีผิวไม่สม่ำเสมอ
มีงานวิจัยเกี่ยวกับกลูต้ามากน้อยแค่ไหน??
มีงานวิจัยน้อยมากๆ เท่าที่ผมค้นดู มีงานวิจัยของคนไทยเกี่ยวกับการกินกลูต้านาน 1 เดือน ที่ทำผิวดูสว่างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพียงแค่ 2 บริเวณจาการวัดทั้งหมด 7 บริเวณทั่วร่างกาย (Arjinpathana and Asawanonda, 2012) และงานวิจัยของคนญี่ปุ่น โดยใช้การทา 2% oxidized glutathione (GSSG) นาน 10 สัปดาห์ ที่ทำให้ผิวดูสว่างขึ้น จากการวัด ค่า melanin index ซึ่งวัดด้วยเครื่องมือ ได้ผลตามนี้ ก่อนทา 272.77±26.17 หลังจากทา 10 สัปดาห์ 243.47±26.31 (Watanabe et al., 2014) ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นเพียงการวัดจากเครื่องมือ และค่าที่ลดลงเป็นแค่ค่าทางสถิติ ผมยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถมองเห็นด้วยตา หากสนใจลองเข้าไปอ่านตามลิ้งค์ได้ครับ
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20524875
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4207440/
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กลูต้า
ผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด จะระบุฉลากเป็นตัวเลขของ Glutathione complex ซึ่งระบุเป็นตัวเลขของปริมาณ กลูต้า รวมกับกรดอะมโนสามชนิดคือ L-glutamine, L-cysteine, L-glycine และบางยี่ห้อ อาจจะมีการลวงผู้บริโภคเล็กๆน้อยๆ ด้วยกันระบุปริมาณที่สูงกว่าปกติแต่เป็นปริมาณเทียบเท่ากับการกิน 2 แคปซูล และไม่ระบุส่วนประกอบย่อยให้ชัดเจนครับ
ความเห็นและคำแนะนำของของผม เกี่ยวกับการกินกลูต้า
การกินและทากลูต้า ผมจัดว่าเป็นการ "เพิ่มโอกาส" ของการมีผิวที่สว่างหรือกระจ่างใสขึ้น รวมถึงอาจมีผลเพิ่มความชุ่มชื้น แต่ผลการตอบสนองก็แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลครับ และจะมีผลแค่ช่วงที่กินครับ หากเปรียบเทียบราคาแล้วจัดว่าสูงมาก ถ้าอยากกินจริงๆ แนะนำว่า ควรเป็นตัวเลือกท้ายๆ ต่อจากวิตามินซีและสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (grape seed) ครับ
ฝากไลค์เพจ เพื่อติดตามข้อมูลอัพเดทเรื่อยๆด้วยครับ
https://www.facebook.com/pharmachair?fref=nf
กระทู้เก่าๆ
วิตามินซี ทำให้ผิวขาว จริงหรือ??
http://ppantip.com/topic/33385586
>> วิธีรักษาแผลเป็นให้ได้ผล part 1
http://ppantip.com/topic/33394096
แชร์วิธีลบรอยแผลเป็นให้ได้ผล part 2
http://ppantip.com/topic/33441070
(แชร์) วิธีการล้างสารพิษ (detox) ให้ได้ประโยชน์จริง (part 1)
http://ppantip.com/topic/33471430
[CR]รีวิว: ล้างสารพิษ ผลิตภัณฑ์ใน 7-11&ร้านยา มีอะไรช่วยได้บ้าง? (part 2)
http://ppantip.com/topic/33476870
แนะนำวิธีการเลือกใช้ benzoyl peroxide
http://ppantip.com/topic/33480520
(แชร์) กินไลโคปีน มีผลต่อผิวอย่างไร ??
http://ppantip.com/topic/33499074