การเร่งแผนให้เข้าสู่กพช.ในเดือนพ.ค. จึงเป็นการทำพอให้เสร็จ แต่ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้สำเร็จตามแผน
แรกเริ่มเดิมทีกระทรวงพลังงานประกาศโรดแม็ป จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือพีดีพี 2015 (2558-2579) ให้เสร็จตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีก่อน แต่เอาเข้าจริงดูเหมือนว่าใส่รายละเอียดต่างๆไปในแผนพีดีพีใหม่ ทั้งเรื่องของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การประหยัดพลังงาน การส่งเสริมพลังงานทดแทน นั้นยากกว่ากว่าที่คิด
ตัวเลขหลายตัวยังไม่นิ่ง จึงทำให้แผนพีดีพีนั้นลากยาว มาจนถึงเดือนเม.ย. ที่มีการนำเอาแผน ซึ่งร่างเอาไว้เบื้องต้น ไปจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยกับภาคเอกชนและผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 8เม.ย.ที่ผ่านมา และกำหนดที่จะจัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะในวันที่28 เม.ย.
กระทรวงพลังงานตั้งประเด็นการรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย เอาไว้ 3-4เรื่อง คือ
1.ความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามแผนอนุรักษ์พลังงาน(EEDP) ทั้ง100%
2.เป้าหมายการการผลิตไฟฟ้าตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน หรือAEDP ในสัดส่วน20% มีความเหมาะสมหรือไม่
3.สัดส่วนการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีความเป็นไปได้หรือไม่
4.การจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าระยะยาวและการจัดโรงไฟฟ้าที่จะเข้าระบบมีความเหมาะสมหรือไม่ และการเตรียมความพร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความเป็นไปได้หรือไม่
เท่าที่ฟังเสียงภาคเอกชน สนับสนุนหลักการสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมพลังงานทดแทน ที่ตามพีดีพี2015ตั้งเป้าที่จะมีโรงไฟฟ้าใหม่จากพลังงานทดแทนมากถึง12,356 เมกะวัตต์ โดยเน้นไปที่พลังงานไฟฟ้าจากขยะ ชีวมวล ชีวภาพ แสงอาทิตย์และลม แต่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า กระทรวงพลังงานจะผลักดันแผนให้สำเร็จ เพราะยังมีปัญหาเรื่องของระบบสายส่งที่จะมารองรับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแผนอนุรักษ์พลังงานที่ตั้งเป้าว่าจะทำได้ทั้ง100% ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แถมยังต้องปวดหัวกับสำรองไฟฟ้าที่สูงกว่า 35% ตั้งแต่ปี 2559 ไปจนถึงปี 2568
และคาดการณ์ไปได้ก่อนเลยว่า ในวันที่ 28เม.ย.ที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะ กลุ่มคนที่คัดค้านเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ ก็จองกฐินรอไว้แล้วว่าจะต้องค้าน
เพราะในแผน จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 9โรง กำลังการผลิตรวม7,365เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มเข้าระบบตั้งแต่ปี2562 ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมี2โรง โรงละ1,000เมกะวัตต์
ร่างแผนพีดีพี2015 เป็นแผนสำคัญที่ภาคเอกชนตั้งตารอ เพราะถือเป็นการกำหนดทิศทางการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าของประเทศที่สำคัญ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใน21ปีข้างหน้านี้ โดยในแผนคาดว่าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปี2579 อยู่ที่ 70,410เมกะวัตต์ จากเมื่อสิ้นปี2557 จากกำลังการผลิตในปี2557 อยู่ที่ 37,612เมกะวัตต์ ซึ่งหากหักลบกับ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ต้องปลดออกจากระบบ 24,669 เมกะวัตต์ ทำให้ต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบตลอดทั้งแผนมากถึง 57,467เมกะวัตต์
จึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุน และถ้าใครได้ทำสัญญาผูกพันเอาไว้กับรัฐแล้วก็ยิ่งได้เปรียบ
ในแผนพีดีพี2010ฉบับปรับปรุงครั้งที่3 ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นแล้วว่า พีดีพีนั้นเป็นแผนที่มีการแก้ไขได้ และมีการปรับกันมาแล้ว 3ครั้ง ดังนั้นแผนพีดีพี 2015 ที่จะเริ่มใช้ในปี2558ซึ่งเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญในหลายเรื่อง จึงน่าจะเข้าทำนองเดียวกัน
การเร่งแผนให้เข้าสู่กพช.ในเดือนพ.ค. จึงเป็นการทำพอให้เสร็จ แต่ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้สำเร็จตามแผน เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคตั้งป้อมรออยู่เบื้องหน้า
Link :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642968
▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ แผนพีดีพี2015 เสร็จแต่ยากสำเร็จ █ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂
การเร่งแผนให้เข้าสู่กพช.ในเดือนพ.ค. จึงเป็นการทำพอให้เสร็จ แต่ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้สำเร็จตามแผน
แรกเริ่มเดิมทีกระทรวงพลังงานประกาศโรดแม็ป จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือพีดีพี 2015 (2558-2579) ให้เสร็จตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีก่อน แต่เอาเข้าจริงดูเหมือนว่าใส่รายละเอียดต่างๆไปในแผนพีดีพีใหม่ ทั้งเรื่องของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า การประหยัดพลังงาน การส่งเสริมพลังงานทดแทน นั้นยากกว่ากว่าที่คิด
ตัวเลขหลายตัวยังไม่นิ่ง จึงทำให้แผนพีดีพีนั้นลากยาว มาจนถึงเดือนเม.ย. ที่มีการนำเอาแผน ซึ่งร่างเอาไว้เบื้องต้น ไปจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยกับภาคเอกชนและผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 8เม.ย.ที่ผ่านมา และกำหนดที่จะจัดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะในวันที่28 เม.ย.
กระทรวงพลังงานตั้งประเด็นการรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย เอาไว้ 3-4เรื่อง คือ
1.ความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามแผนอนุรักษ์พลังงาน(EEDP) ทั้ง100%
2.เป้าหมายการการผลิตไฟฟ้าตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน หรือAEDP ในสัดส่วน20% มีความเหมาะสมหรือไม่
3.สัดส่วนการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามีความเป็นไปได้หรือไม่
4.การจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าระยะยาวและการจัดโรงไฟฟ้าที่จะเข้าระบบมีความเหมาะสมหรือไม่ และการเตรียมความพร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความเป็นไปได้หรือไม่
เท่าที่ฟังเสียงภาคเอกชน สนับสนุนหลักการสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมพลังงานทดแทน ที่ตามพีดีพี2015ตั้งเป้าที่จะมีโรงไฟฟ้าใหม่จากพลังงานทดแทนมากถึง12,356 เมกะวัตต์ โดยเน้นไปที่พลังงานไฟฟ้าจากขยะ ชีวมวล ชีวภาพ แสงอาทิตย์และลม แต่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นว่า กระทรวงพลังงานจะผลักดันแผนให้สำเร็จ เพราะยังมีปัญหาเรื่องของระบบสายส่งที่จะมารองรับ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแผนอนุรักษ์พลังงานที่ตั้งเป้าว่าจะทำได้ทั้ง100% ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แถมยังต้องปวดหัวกับสำรองไฟฟ้าที่สูงกว่า 35% ตั้งแต่ปี 2559 ไปจนถึงปี 2568
และคาดการณ์ไปได้ก่อนเลยว่า ในวันที่ 28เม.ย.ที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะ กลุ่มคนที่คัดค้านเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ ก็จองกฐินรอไว้แล้วว่าจะต้องค้าน
เพราะในแผน จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 9โรง กำลังการผลิตรวม7,365เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มเข้าระบบตั้งแต่ปี2562 ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมี2โรง โรงละ1,000เมกะวัตต์
ร่างแผนพีดีพี2015 เป็นแผนสำคัญที่ภาคเอกชนตั้งตารอ เพราะถือเป็นการกำหนดทิศทางการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าของประเทศที่สำคัญ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นภายใน21ปีข้างหน้านี้ โดยในแผนคาดว่าจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปี2579 อยู่ที่ 70,410เมกะวัตต์ จากเมื่อสิ้นปี2557 จากกำลังการผลิตในปี2557 อยู่ที่ 37,612เมกะวัตต์ ซึ่งหากหักลบกับ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ต้องปลดออกจากระบบ 24,669 เมกะวัตต์ ทำให้ต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบตลอดทั้งแผนมากถึง 57,467เมกะวัตต์
จึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุน และถ้าใครได้ทำสัญญาผูกพันเอาไว้กับรัฐแล้วก็ยิ่งได้เปรียบ
ในแผนพีดีพี2010ฉบับปรับปรุงครั้งที่3 ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นชี้ให้เห็นแล้วว่า พีดีพีนั้นเป็นแผนที่มีการแก้ไขได้ และมีการปรับกันมาแล้ว 3ครั้ง ดังนั้นแผนพีดีพี 2015 ที่จะเริ่มใช้ในปี2558ซึ่งเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญในหลายเรื่อง จึงน่าจะเข้าทำนองเดียวกัน
การเร่งแผนให้เข้าสู่กพช.ในเดือนพ.ค. จึงเป็นการทำพอให้เสร็จ แต่ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องทำให้สำเร็จตามแผน เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นอุปสรรคตั้งป้อมรออยู่เบื้องหน้า
Link : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/642968