คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมสงสัยอย่างเดียวว่าถ้าเอาเทคโนโลยีนี้ไปใช้ปล่อยดาวเทียม หรือส่ง supply ให้กับสถานีอวกาศมันจะ reentry ยังไง เพราะถ้าส่งไปที่ earth low orbit มันต้องวาง trajectory ให้มากพอที่จะใช้เครืองยนต์ของดาวเทียมหรือยานอวกาศน้อยที่สุด แล้วค่อยใช้เครื่องยนต์ของดาวเทียมหรือยานอวกาศทำ circulization อีกที สำหรับตัวยานอวกาศถ้าจะ reentry ก็ต้องปล่อย service module ทิ้งเหลือแต่ capsule ที่มี heat shield ตกกลับมา service module ยังไงก็น่าจะโดนทิ้งให้ถูกเผาไหม้เหมือนกับ Orion แต่ปัญหาคือจรวดที่ใช้ส่งถ้าสร้าง trajectory ที่ได้ periapsis มากเท่าไหร่ การใช้เชื้อเพลิงเพื่อชะลอความเร็วและรักษาความเร็วไม่ให้ตัวจรวดโดนเผาจากพลาสม่าตอน reentry ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เส้นทางการบินที่ได้ก็ไม่น่าจะกลับมาถึงฐานปล่อยได้ด้วยซ้ำถ้าไม่ได้ติดปีก เผลอๆ สุดท้ายโปรเจคนี้อาจจะไม่คุ้มเหมือนกับ space shuttle ก็ได้เพราะค่า maintenance ที่สูง
แสดงความคิดเห็น
เป็นไปได้เหรอครับที่ SpaceX จะลดความเร็วจรวดลงเหลือ 0 แล้วเพิ่มความเร็วในทางตรงข้ามให้กลับมาฐาน
คือเมื่อถึงจุดยอดของพาราโบล่า เมื่อ stage 2 แยกตัวออก จรวดก็จะหมุนตัวแล้วปล่อยไอพ่นในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อทำให้
พาราโบล่านั้นแคบลง แล้วใช้จรวดประคองจนลงจอดพบ ฐานกลางทะเล
แบบนี้คือ ลดความเร็วจาก 10 ลดลงเหลือ ซัก 8 เพื่อให้พาราโบล่าแคบลง แล้วลงจอด
แต่ต่อไป ...
SpaceX จะทำให้จรวดนั้นกลับมาลงจอดที่ ฐานบนบก ไม่ไกลจากตอนปล่อยไป ซึ่ง นั่นหมายความว่า จรวดจะต้องปล่อยไปพ่นในทิศทางตรงกันข้ามเหมือนกัน แต่! ไม่ใช่แค่ทำให้ ความเร็วจาก 10 เหลือ 8 แต่ต้องเป็นจาก 10 เป็น -10 และต้องทำภายในเวลาอันรวดเร็วมากๆ เนื่องจากยิ่งความเร็วลดลงเท่าไหร่ จรวดก็จะตกลงอย่างรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น ตามกฏของนิวตั้นครับ (เหมือนปั่นจักรยาน ฟิก จาก 10km/h แล้วอยู่ดีๆปั่นถอยหลังให้มาจอดที่เดิม)
ผมเลยสงสัยว่า
- การลงจอดโดยการกลับมาที่เดิมนี้เป็นไปได้เหรอครับ
- ถ้าทำได้ จรวดน่าจะใช้เชื้อเพลิงมากกว่าตอนปล่อยขึ้นไปเสียอีกไม่ใช่เหรอ
ปล.ใครเล่น Kerbal Space Program จะนึกภาพออกง่ายครับ ว่าโปรเจ็คไทล์มันเพิ่มลดยังไง