เมื่อคืนวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา โครงการ SpaceX ของบริษัทเอกชน อีลอน มัคซ์ พลิกโฉมประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ของวงการท่องอวกาศ ด้วยการทดลองส่งจรวดที่มีชื่อว่า “Falcon 9 ” ขึ้นไปปล่อยดาวเทียมในชั้นบรรยากาศโลก เเละสามารถกลับมาร่อนลงจอดบนพื้นที่ในท่าอวกาศยานแหลมคานาเวอรัล ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สำเร็จเป็นครั้งเเรก หลังจากทำการศึกษามากว่า 5 ปี โดยที่จรวดลำดังกล่าว ไม่ลุกไหม้เเละต้องทิ้งให้เป็นขยะอวกาศเฉกเช่นที่ผ่านมา สำหรับการทดลองนี้ SpaceX เคยทำการทดลองล้มเหลวไปเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้นจรวดได้ร่อนลงเอียงทำให้ชนเข้ากับฐานจึงเกิดระเบิดขึ้น
เว็บไซต์ mashable ระบุว่า ภารกิจครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการท่องอวกาศ ที่จะสามารถนำจรวดกลับมาใช้ได้อีกครั้งโดยไม่ถูกทำลาย และจะทำให้ประหยัดงบประมาณในการผลิตจรวดใหม่ได้อย่างมาก จากปกติที่ต้องใช้งบประมาณในการซื้อจรวดฟอลคอนลำใหม่ ด้วยราคาสูงถึง 60,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 2,000,000,000 บาท แต่หากการทดลองนี้สำเร็จสามารถนำจรวจกลับมาใช้ได้อีกครั้งจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดเหลือเพียง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 7,000,000 บาทเท่านั้น
สำหรับเเนวคิดการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละเพิ่มปริมาณจรวดในอนาคต ซึ่งหากทำได้จริงเเละประสบความสำเร็จ จะถือเป็นประโยชน์ในการย้ายไปสร้างเมืองที่ดาวอังคารในอนาคต เพราะจำเป็นต้องใช้จรวดจำนวนมากในการขนส่งสิ่งของจำเป็นรวมไปถึงโดยสารมนุษย์ไปยังดาวอังคารอีกด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450782315
SpaceX พลิกวงการอวกาศ ปล่อยจรวดกลับมาจอดลงฐานได้สำเร็จ มุ่งนำจรวดใช้ซ้ำได้
เว็บไซต์ mashable ระบุว่า ภารกิจครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการท่องอวกาศ ที่จะสามารถนำจรวดกลับมาใช้ได้อีกครั้งโดยไม่ถูกทำลาย และจะทำให้ประหยัดงบประมาณในการผลิตจรวดใหม่ได้อย่างมาก จากปกติที่ต้องใช้งบประมาณในการซื้อจรวดฟอลคอนลำใหม่ ด้วยราคาสูงถึง 60,000,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 2,000,000,000 บาท แต่หากการทดลองนี้สำเร็จสามารถนำจรวจกลับมาใช้ได้อีกครั้งจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดเหลือเพียง 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 7,000,000 บาทเท่านั้น
สำหรับเเนวคิดการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละเพิ่มปริมาณจรวดในอนาคต ซึ่งหากทำได้จริงเเละประสบความสำเร็จ จะถือเป็นประโยชน์ในการย้ายไปสร้างเมืองที่ดาวอังคารในอนาคต เพราะจำเป็นต้องใช้จรวดจำนวนมากในการขนส่งสิ่งของจำเป็นรวมไปถึงโดยสารมนุษย์ไปยังดาวอังคารอีกด้วย
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1450782315