ตรวจการบ้าน-งานไม่จบ คลังเข็นภารกิจสุดหิน "ปฏิรูปภาษี"
updated: 12 เม.ย 2558 เวลา 21:05:51 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลังหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ รัฐบาลกำหนดวันแถลงผลงานช่วง "6 เดือน" ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ ส่วนกระทรวงการคลังมีแผนในเบื้องต้นว่า จะแถลงในวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งเป็นการแถลงร่วมกันทั้ง "สมหมาย ภาษี" รมว.คลัง, "วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" รมช.คลัง, "รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์" ปลัดกระทรวงการคลัง และ "กฤษฎา จีนะวิจารณะ" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง
เรียกได้ว่า "งานใหญ่" เลยทีเดียว เพราะจะมีการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดจัดนิทรรศการแสดงผลงานด้วย
หลัง "สวนดุสิตโพล" ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน หัวข้อ "ผลงานรัฐบาลแต่ละกระทรวงที่ประชาชนชื่นชอบ" ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลัง สิ่งที่ประชาชนชื่นชอบผลงานอันดับ 1 คือการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 47.06% อันดับ 2 การผลักดันกฎหมายจัดเก็บภาษีต่าง ๆ 41.16% และอันดับ 3 ปล่อยเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยชาวนา 11.78%
ด้าน "รังสรรค์" แจกแจงว่า คลังดำเนินการไปหลายมาตรการแล้ว อาทิ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกมาตรการตัดหนี้สูญให้เกษตรกรที่เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ รวมถึงการพักชำระหนี้และให้เงินกู้ใหม่ประกอบอาชีพเพิ่ม ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
"ส่วนนี้จะทำให้ประชาชนฐานรากมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเอาเงินไปใช้หนี้แล้ว ซึ่งการทำมาตรการนี้ยังช่วยแก้ปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงด้วย"
นอกจากนี้ยังมีมาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย(นาโนไฟแนนซ์) ซึ่งมีผู้ประกอบการผ่านคุณสมบัติ 3-5 รายแล้ว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังทยอยตรวจสอบและส่งมาที่คลังต่อเนื่อง
ด้านภาครัฐเองเวลานี้ก็เร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 อยู่ เพื่อให้เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่ง ณ วันที่ 27 มี.ค. ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 50.8% ของงบฯรายจ่าย สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนที่เบิกได้ 49.2% ขณะที่รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 29.8% ต่ำกว่าปีที่แล้วที่เบิกจ่าย 31%
"ตอนนี้เบิกจ่ายงบประมาณกระเตื้องขึ้นมาแล้ว ผมเชื่อว่าตัวเลขเบิกจ่ายจะออกมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3-4 เพราะปีนี้มีการทำสัญญามากขึ้นกว่าปีก่อนหลายเท่าตัว นอกจากนี้ในการประชุมเร่งรัดเบิกจ่าย ส่วนราชการต่าง ๆ ก็ได้ให้คำมั่นต่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีว่า การเบิกจ่ายปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย"
ด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีปลัดคลัง บอกว่า ล่าสุด กระทรวงการคลังก็ได้จัดตั้งกองทุนร่วมทุน (Private Equity Fund) เพื่อลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เรียบร้อยแล้ว กองทุนนี้จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้มีเงินทุนทำกิจการ โดยระยะเริ่มต้นทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จะใส่เงินเริ่มต้น 500 ล้านบาท และอยู่ระหว่างไปชักชวนเอกชนมาร่วมลงขันกองทุนนี้ด้วย
"กองทุนนี้แอ็กทีฟแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา คิดว่าผู้ประกอบการน่าจะสนใจ เพราะรัฐลงเงินเป็นหุ้นส่วนธุรกิจด้วย"
"รังสรรค์" กล่าวถึงอีกภารกิจที่สำคัญ คือ สนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งการกำหนดสิทธิประโยชน์ การประกาศเขต และการจัดหาที่ราชพัสดุรองรับ
ขณะที่ "มนัส แจ่มเวหา" อธิบดีกรมบัญชีกลาง บอกว่า ภารกิจระยะข้างหน้า นอกเหนือจากติดตามภาวการณ์เบิกจ่ายแล้ว ยังต้องผลักดันกฎหมายอีกหลายฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ร่างพระราชบัญญัติทุนหมุนเวียน รวมถึงการออกระเบียบเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดให้ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
ฟาก "จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล" อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้รับนโยบายจาก "วิสุทธิ์" ให้เร่งดำเนินการหลายเรื่องนอกเหนือจากการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ 30 ล้านแปลงที่ต้องทำอยู่แล้ว อาทิ การสร้างความชัดเจนโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณหมอชิต, การแก้ปัญหาหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยให้ธนารักษ์บริหารที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน, การจัดหาที่ราชพัสดุรองรับระบบโลจิสติกส์ (ทำจุดพักรถ) 41 จุดทั่วประเทศ, การจัดหาที่ราชพัสดุสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
แต่ภารกิจที่ "หิน" สุด ๆ ในช่วงหลังจากนี้คงหนีไม่พ้น "การปฏิรูปภาษี" ขณะที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี สั่งให้กระทรวงการคลัง "หยุดพูด" เรื่องภาษีแบบยาว ๆ 4 เดือน หรือจนกว่าจะผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสียก่อน
ถ้าหากติดตามโรดแมปของกระทรวงการคลัง ก็ยังเหลืออีกหลายเรื่องเกี่ยวกับภาษีที่จะต้องผลักดัน ได้แก่
1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
3) การทบทวนโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าลดหย่อนต่าง ๆ
3) ความชัดเจนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะคงไว้ที่ 7% ไปอีก 1 ปี ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
4) ความชัดเจนมาตรการภาษีกองทุน LTF ที่ขุนคลัง
"สมหมาย ภาษี" บอกจะชัดเจนช่วงปลาย มี.ค. ก็ขยับออกไปอีก
และ 5) มาตรการภาษีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะพิจารณาเพิ่มเติมภารกิจที่จะต้องผลักดันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นภารกิจสุด "หิน" และ "พูดมากไม่ได้" แทบทั้งสิ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428845424
ตรวจการบ้าน-งานไม่จบ คลังเข็นภารกิจสุดหิน "ปฏิรูปภาษี" [ภาษีอีกแล้ว !]
updated: 12 เม.ย 2558 เวลา 21:05:51 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หลังหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ รัฐบาลกำหนดวันแถลงผลงานช่วง "6 เดือน" ในวันที่ 17 เม.ย.นี้ ส่วนกระทรวงการคลังมีแผนในเบื้องต้นว่า จะแถลงในวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งเป็นการแถลงร่วมกันทั้ง "สมหมาย ภาษี" รมว.คลัง, "วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" รมช.คลัง, "รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์" ปลัดกระทรวงการคลัง และ "กฤษฎา จีนะวิจารณะ" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง
เรียกได้ว่า "งานใหญ่" เลยทีเดียว เพราะจะมีการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดจัดนิทรรศการแสดงผลงานด้วย
หลัง "สวนดุสิตโพล" ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน หัวข้อ "ผลงานรัฐบาลแต่ละกระทรวงที่ประชาชนชื่นชอบ" ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลัง สิ่งที่ประชาชนชื่นชอบผลงานอันดับ 1 คือการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 47.06% อันดับ 2 การผลักดันกฎหมายจัดเก็บภาษีต่าง ๆ 41.16% และอันดับ 3 ปล่อยเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยชาวนา 11.78%
ด้าน "รังสรรค์" แจกแจงว่า คลังดำเนินการไปหลายมาตรการแล้ว อาทิ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกมาตรการตัดหนี้สูญให้เกษตรกรที่เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ รวมถึงการพักชำระหนี้และให้เงินกู้ใหม่ประกอบอาชีพเพิ่ม ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
"ส่วนนี้จะทำให้ประชาชนฐานรากมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเอาเงินไปใช้หนี้แล้ว ซึ่งการทำมาตรการนี้ยังช่วยแก้ปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงด้วย"
นอกจากนี้ยังมีมาตรการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อย(นาโนไฟแนนซ์) ซึ่งมีผู้ประกอบการผ่านคุณสมบัติ 3-5 รายแล้ว และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังทยอยตรวจสอบและส่งมาที่คลังต่อเนื่อง
ด้านภาครัฐเองเวลานี้ก็เร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 อยู่ เพื่อให้เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่ง ณ วันที่ 27 มี.ค. ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 50.8% ของงบฯรายจ่าย สูงกว่าช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนที่เบิกได้ 49.2% ขณะที่รายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้ 29.8% ต่ำกว่าปีที่แล้วที่เบิกจ่าย 31%
"ตอนนี้เบิกจ่ายงบประมาณกระเตื้องขึ้นมาแล้ว ผมเชื่อว่าตัวเลขเบิกจ่ายจะออกมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3-4 เพราะปีนี้มีการทำสัญญามากขึ้นกว่าปีก่อนหลายเท่าตัว นอกจากนี้ในการประชุมเร่งรัดเบิกจ่าย ส่วนราชการต่าง ๆ ก็ได้ให้คำมั่นต่อ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีว่า การเบิกจ่ายปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมาย"
ด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีปลัดคลัง บอกว่า ล่าสุด กระทรวงการคลังก็ได้จัดตั้งกองทุนร่วมทุน (Private Equity Fund) เพื่อลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เรียบร้อยแล้ว กองทุนนี้จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้มีเงินทุนทำกิจการ โดยระยะเริ่มต้นทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จะใส่เงินเริ่มต้น 500 ล้านบาท และอยู่ระหว่างไปชักชวนเอกชนมาร่วมลงขันกองทุนนี้ด้วย
"กองทุนนี้แอ็กทีฟแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา คิดว่าผู้ประกอบการน่าจะสนใจ เพราะรัฐลงเงินเป็นหุ้นส่วนธุรกิจด้วย"
"รังสรรค์" กล่าวถึงอีกภารกิจที่สำคัญ คือ สนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้งการกำหนดสิทธิประโยชน์ การประกาศเขต และการจัดหาที่ราชพัสดุรองรับ
ขณะที่ "มนัส แจ่มเวหา" อธิบดีกรมบัญชีกลาง บอกว่า ภารกิจระยะข้างหน้า นอกเหนือจากติดตามภาวการณ์เบิกจ่ายแล้ว ยังต้องผลักดันกฎหมายอีกหลายฉบับ อาทิ ร่างพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ร่างพระราชบัญญัติทุนหมุนเวียน รวมถึงการออกระเบียบเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดให้ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
ฟาก "จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล" อธิบดีกรมธนารักษ์ ได้รับนโยบายจาก "วิสุทธิ์" ให้เร่งดำเนินการหลายเรื่องนอกเหนือจากการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ 30 ล้านแปลงที่ต้องทำอยู่แล้ว อาทิ การสร้างความชัดเจนโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณหมอชิต, การแก้ปัญหาหนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยให้ธนารักษ์บริหารที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน, การจัดหาที่ราชพัสดุรองรับระบบโลจิสติกส์ (ทำจุดพักรถ) 41 จุดทั่วประเทศ, การจัดหาที่ราชพัสดุสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น
แต่ภารกิจที่ "หิน" สุด ๆ ในช่วงหลังจากนี้คงหนีไม่พ้น "การปฏิรูปภาษี" ขณะที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี สั่งให้กระทรวงการคลัง "หยุดพูด" เรื่องภาษีแบบยาว ๆ 4 เดือน หรือจนกว่าจะผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสียก่อน
ถ้าหากติดตามโรดแมปของกระทรวงการคลัง ก็ยังเหลืออีกหลายเรื่องเกี่ยวกับภาษีที่จะต้องผลักดัน ได้แก่
1) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิต
3) การทบทวนโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และค่าลดหย่อนต่าง ๆ
3) ความชัดเจนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะคงไว้ที่ 7% ไปอีก 1 ปี ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
4) ความชัดเจนมาตรการภาษีกองทุน LTF ที่ขุนคลัง
"สมหมาย ภาษี" บอกจะชัดเจนช่วงปลาย มี.ค. ก็ขยับออกไปอีก
และ 5) มาตรการภาษีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะพิจารณาเพิ่มเติมภารกิจที่จะต้องผลักดันในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นภารกิจสุด "หิน" และ "พูดมากไม่ได้" แทบทั้งสิ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428845424