นักรังสี วิชาชีพที่ถูกลืม
ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ขอใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าผมละกันนะครับ ผมจะมาแนะนำและบอกกล่าวให้ทุกท่านได้ทราบว่า ยังมีอาชีพนี้อยู่ ตัวผมเองจบรังสีเทคนิค และทำงานมาได้สองปีละครับ หลายๆคนอาจจะไม่รู้จักอาชีพนี้ ว่าคืออะไรทำงานอะไรบ้าง งั้นผมขอแนะนำเลยนะครับ
อาชีพนักรังสีเทคนิค/นักรังสีการแพทย์ พวกเราเรียกตัวเองว่าเทค หรือ นักสร้างภาพ(ฟังดูเหมือนไม่ค่อยดี) ที่มาของคำว่านักสร้างภาพก็คือพวกเราใช้รังสีในการสร้างภาพ ไม่ว่าจะเป็น รังสีเอกซ์(x-ray) แกมม่า positron และอื่นๆอีก นอกจากหน้าที่ในการสร้างภาพแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่เรามีส่วนร่วมคือ ช่วยในการฉายรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ด้วยรังสีเช่นกัน ฟังดูเหมือนอาชีพเรามันอันตราย แต่มันก็อันตรายจริง แต่พวกเราก็ต้องเซฟตัวเองและผู้ป่วยเพื่อให้เราได้ใช้รังสีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อาชีพที่เราทำมีอะไรบ้าง
1นักรังสีที่ทำงานด้วยเครื่องมือ general พวกเครื่องเอกซเรย์ ทั่วไป รวมถึงเอกซเรย์ทางทันตกรรม นักรังสีในส่วนนี้ก็จะอยู่ตามโรงพยาบาลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กเช่น โรงพยาบาลชุมชน ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ หน้าทีของพวกเราในที่เหล่านี้ก็คือสร้างภาพในอวัยวะต่างเช่น ถ่ายภาพ เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อดู ปอด หัวใจ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.แบบที่สองคือทำงานด้วยเครื่องมือที่ แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อย คือเครื่องมือจำพวก CT (computed tomography) หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกว่า เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยที่เจ้าเครื่องนี้สามารถสร้าภาพได้หลายระนาบเลย เช่นหน้าหลัง เหมือนกับเราผ่าแยกคนเราออกแผ่นเริ่มจากข้างหน้าไปจนถึงข้างหลัง(coronal plane) จากบนลงล่าง(Horizontal plane)
จากซ้ายไปขวา (sagittal plane) เจ๋งมั้ยครับ ห้าๆๆ ดังนั้นเจ้าเครื่องนี้ จะทำให้เราเห็นอวัยวะในส่วนที่มันอยู่ด่านในที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น สมอง เวลาเกิดอุบัติเหตุการทำ CT ในกรณีผู้ป่วยที่สงสัยมีเลืดออกในสมอง(brain hemorrhage)ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบัน เครื่อง CT ยังสามารถสร้างภาพหลอดเลือดได้ด้วยนะครับ ใครที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาจากคำว่า CTA (Computed tomography Angiogram) ซึ่งมันเจ๋งมากทำให้เราเห็นหลอดเลือต่างๆในรูปแบบสามมิติกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น MRI (magnetic resonance imaging) เครื่องมือนี้จะแตกต่างจากเครื่องมือที่กล่าวมาข้างบนคือจะใช้คลื่นแม่เหล็กในการสร้างภาพข้อมูลเพิ่มเติมลองค้นหาดูนะครับ เดี๋ยวกระทู้จะยาว นอกจากนี้ยังมี fluoroscopy mammography เป็นต้น คำค้นหาแนะนำ MRA (magnetic resonance Angiogram)
3.สายงานทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ในส่วนนี้จะมีทั้งที่สร้างภาพ และรักษา โดยการสร้างภาพจากทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์นี้จะแตกต่างจากเครื่องมือข้างต้นคือตัวที่สร้างภาพคือแร่กัมมันตรังสี ส่วนเครื่องมือข้างบนจะใช้กระแสไฟฟ้าในการ
เดี๋ยวมาต่อนะครับ
นักรังสี วิชาชีพที่ถูกลืม
ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ขอใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าผมละกันนะครับ ผมจะมาแนะนำและบอกกล่าวให้ทุกท่านได้ทราบว่า ยังมีอาชีพนี้อยู่ ตัวผมเองจบรังสีเทคนิค และทำงานมาได้สองปีละครับ หลายๆคนอาจจะไม่รู้จักอาชีพนี้ ว่าคืออะไรทำงานอะไรบ้าง งั้นผมขอแนะนำเลยนะครับ
อาชีพนักรังสีเทคนิค/นักรังสีการแพทย์ พวกเราเรียกตัวเองว่าเทค หรือ นักสร้างภาพ(ฟังดูเหมือนไม่ค่อยดี) ที่มาของคำว่านักสร้างภาพก็คือพวกเราใช้รังสีในการสร้างภาพ ไม่ว่าจะเป็น รังสีเอกซ์(x-ray) แกมม่า positron และอื่นๆอีก นอกจากหน้าที่ในการสร้างภาพแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่เรามีส่วนร่วมคือ ช่วยในการฉายรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ด้วยรังสีเช่นกัน ฟังดูเหมือนอาชีพเรามันอันตราย แต่มันก็อันตรายจริง แต่พวกเราก็ต้องเซฟตัวเองและผู้ป่วยเพื่อให้เราได้ใช้รังสีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อาชีพที่เราทำมีอะไรบ้าง
1นักรังสีที่ทำงานด้วยเครื่องมือ general พวกเครื่องเอกซเรย์ ทั่วไป รวมถึงเอกซเรย์ทางทันตกรรม นักรังสีในส่วนนี้ก็จะอยู่ตามโรงพยาบาลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กเช่น โรงพยาบาลชุมชน ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ หน้าทีของพวกเราในที่เหล่านี้ก็คือสร้างภาพในอวัยวะต่างเช่น ถ่ายภาพ เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อดู ปอด หัวใจ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.แบบที่สองคือทำงานด้วยเครื่องมือที่ แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อย คือเครื่องมือจำพวก CT (computed tomography) หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกว่า เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยที่เจ้าเครื่องนี้สามารถสร้าภาพได้หลายระนาบเลย เช่นหน้าหลัง เหมือนกับเราผ่าแยกคนเราออกแผ่นเริ่มจากข้างหน้าไปจนถึงข้างหลัง(coronal plane) จากบนลงล่าง(Horizontal plane)
จากซ้ายไปขวา (sagittal plane) เจ๋งมั้ยครับ ห้าๆๆ ดังนั้นเจ้าเครื่องนี้ จะทำให้เราเห็นอวัยวะในส่วนที่มันอยู่ด่านในที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น สมอง เวลาเกิดอุบัติเหตุการทำ CT ในกรณีผู้ป่วยที่สงสัยมีเลืดออกในสมอง(brain hemorrhage)ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบัน เครื่อง CT ยังสามารถสร้างภาพหลอดเลือดได้ด้วยนะครับ ใครที่อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาจากคำว่า CTA (Computed tomography Angiogram) ซึ่งมันเจ๋งมากทำให้เราเห็นหลอดเลือต่างๆในรูปแบบสามมิติกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเครื่องมือที่น่าสนใจ เช่น MRI (magnetic resonance imaging) เครื่องมือนี้จะแตกต่างจากเครื่องมือที่กล่าวมาข้างบนคือจะใช้คลื่นแม่เหล็กในการสร้างภาพข้อมูลเพิ่มเติมลองค้นหาดูนะครับ เดี๋ยวกระทู้จะยาว นอกจากนี้ยังมี fluoroscopy mammography เป็นต้น คำค้นหาแนะนำ MRA (magnetic resonance Angiogram)
3.สายงานทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ในส่วนนี้จะมีทั้งที่สร้างภาพ และรักษา โดยการสร้างภาพจากทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์นี้จะแตกต่างจากเครื่องมือข้างต้นคือตัวที่สร้างภาพคือแร่กัมมันตรังสี ส่วนเครื่องมือข้างบนจะใช้กระแสไฟฟ้าในการ
เดี๋ยวมาต่อนะครับ