ไปเจอบทความดีๆเลยเอามาให้อ่านครับ เป็นแนวคิดที่ดี แต่ดูแล้วคงเป็นเพียงความฝันครับ
คิดใหม่ ทำใหม่ ใจถึง
……………………..
ฟังลุงตู่พูดเมื่อค่ำวันศุกร์
เรื่อง รัฐบาลออกโรงสนับสนุนให้เอกชนช่วยกันลงทุนจัดซื้อรถไถ รถเกี่ยวนวดข้าว และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เพื่อให้ชาวนาและสหกรณ์การเกษตรเช่า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาลดลง
เรื่องนี้นับว่าเป็นแนวคิดที่ดี
แต่ลุงตู่อาจต้องมองให้ลึกลงไปอีกนิด
ลุงตู่คงทราบว่า ตามท้องถิ่นชนบทนั้น เจ้าของรถไถ รถเกี่ยวนวดข้าว และโรงสี คือ “ผู้มีอิทธิพล” ตัวจริงเสียงจริง
คนเหล่านี้ คือ ผู้กุมชะตาชีวิตของชาวนา และควบคุมเศรษฐกิจท้องถิ่น
ที่สำคัญ คือ ควบคุมการเมืองโดยปริยาย เพราะเศรษฐกิจกับการเมืองนั้นย่อมมาคู่กัน ไม่เว้นแม้ในระดับท้องถิ่น
เมื่อถึงฤดูกาล หากชาวนาจะไถไร่นา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ชาวนาก็ต้องไปว่าจ้างเจ้าของรถไถเกี่ยว ซึ่งจ้างอย่างเดียวยังไม่พอ บางครั้งแทบต้องกราบกราน ต้องรออารมณ์ของเจ้าของรถ ต้องรอคิว ฯลฯ ไม่อย่างนั้นก็หมดโอกาสทำนา หรือข้าวแห้งตายคานาในท้ายที่สุด
เราจึงพบว่า เจ้าของรถไถ เจ้าของรถเกี่ยวนวดข้าว และเจ้าของโรงสี คือ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น กลายเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และที่สำคัญ คือ หัวคะแนนนักการเมือง
เพราะพวกเขามีอิทธพลควบคุมชีวิตของชาวนา ชี้เป็นชี้ตายให้กับชาวนาได้นั่นเอง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่สามารถใช้วิธีตรงไปตรงมาภาษาซื่อ ด้วยการป่าวประกาศเชิญชวนให้เอกชนช่วยกันลงทุนซื้อรถไถเกี่ยวนวดและเครื่องสีข้าว
แต่เราควรมีวิธีที่แยบยลกว่านั้น
แทนที่เราจะสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในลักษณะเหวี่ยงแห ซึ่งท้ายที่สุด เดี๋ยวก็ตกอยู่ในมือผู้มีอิทธิพลหน้าเก่ารายเดิม
ต้นทุนก็ไม่ได้ลดลง เพราะการแข่งขันไม่มี แต่กลายเป็นผู้มีอิทธิพลก็ยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองก็ไม่เปลี่ยนแปลง เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง ชาวนาก็ไม่พ้นถูกอิทธิพลครอบงำอยู่ดี
เราใช้วิธีอื่นดีกว่าไหม ?
รถไถราคาคันละ 8 แสนบาท, รถเกี่ยวนวดข้าวราคาคันละ 1.6 ล้านบาท, เครื่องสีข้าวขนาดเล็กราคาเครื่องละห้าหมื่นบาท
เท่ากับว่า เครื่องมือหลักทางการเกษตรมีราคารวมชุดละ 2.45 ล้านบาท
หาก 1 ตำบลมี 3 ชุด เท่ากับตำบลละ 7.35 ล้านบาท
แถมเงินทุนด้านการบริการจัดการ สินทรัพย์ถาวร และเครื่องไม้เครื่องมืออื่น ๆ ให้อีก 2.65 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จ คิดเป็นตัวเลขกลม ๆ เท่ากับตำบลละ 10 ล้านบาท
ประเทศไทยมีทั้งหมด 7,255 ตำบล เท่ากับว่า โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุน 72,255 ล้านบาท
เราอาจจัดตั้ง “บริษัทมหาชนแห่งชาติ” ด้วยการตราเป็น “พระราชบัญญัติ”
เพื่อเปิดทางให้มีฐานะพิเศษ อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติขจัดข้อติดขัดจากกฎหมายย่อย ๆ อื่น เพื่อให้บริษัทมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นสำหรับรองรับภารกิจนี้ อีกทั้งยังให้เติบโตไปได้เองในทางธุรกิจอีกด้วย
โดยเราไม่จัดตั้งแค่บริษัทเดียว แต่เราจัดตั้งทั้งหมด 3 บริษัท เพื่อให้แข่งขันกันเอง
เช่น “บริษัท เกษตรพัฒนาแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”, “บริษัท เกษตรบริการแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”, “บริษัท เกษตรกรไทยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”
มูลค่าการลงทุนทั้งระบบเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทนั้น เราก็ปล่อยให้สามบริษัทที่ถูกตราขึ้นมานี้แบ่งกันลงทุนเอง
โดยรัฐอาจเข้าไปถือหุ้นเริ่มต้นในลักษณะพี่เลี้ยง ไม่เกินบริษัทละ 5% หรือเรียกง่าย ๆ ก็เป็นแค่เงินขวัญถุง ส่วนที่เหลือก็เชิญชวนให้ธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามาลงทุน ทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนการเงินที่ธนาคารและสถาบันการเงินจัดตั้งขึ้นก็ได้
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีอีก 4 ส่วนที่สำคัญ ซึ่งเราควรชักชวนให้มาร่วมลงทุนด้วย คือ
1.) กลุ่มสหกรณ์การเกษตร
2.) กลุ่มสหกรณ์ข้าราชการ เช่น สหกรณ์ข้าราชการพลเรือน สหกรณ์ข้าราชการท้องถิ่น สหกรณ์ช้าราชการครู สหกรณ์ข้าราชการตำรวจ และสหกรณ์ข้าราชการทหาร
เพราะในพื้นที่ชนบทนั้น ข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร คือ ผู้มีบทบาทสำคัญในท้องถิ่น เราก็ชักชวนให้พวกเขาเข้ามาลงทุนด้วยเช่นกัน
3.) วัด
เราอาจชักชวนให้วัดตามท้องถิ่นต่าง ๆ นำเงินที่ได้รับบริจาค ซึ่งวัดอาจฝากเก็บธนาคารไว้เฉย ๆ ดอกเบี้ยก็ต่ำ ฝากไปก็แทบไม่มีอะไรเติบโตงอกงาม ดังนั้น หากวัดใดไม่มีโครงการก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติม และมีเงินเก็บล้นเหลือ เราก็ชักชวนให้วัดเข้ามาซื้อหุ้นในสามบริษัทนี้ด้วยก็ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงทุนสาธารณะที่โปร่งใสและมั่นคง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกรอีกด้วย
4.) ประชาชนทั่วไป
เราเปิดขายหุ้นให้กับประชาชน แต่เราต้องทำให้เกิดการกระจายหุ้นให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้หุ้นตกอยู่ในมือของนายทุนใหญ่ หรือใครก็ไม่รู้ โดยเราอาจบังคับให้บุคคลและนิติบุคคลถือหุ้นในสามบริษัทนี้ได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ต่อราย เราอย่าให้ซ้ำรอยปตท. เพราะไม่งั้นแทนที่ประชาชนจะเอาด้วย เดี๋ยวกลายเป็นถูกด่ารอบเมืองแทน
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลในฐานะพี่เลี้ยงและผู้ส่งเสริมก็อาจใช้วิธีทางภาษี เช่น ยกเว้นให้บริษัททั้งสามแห่งนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้ได้รับผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อกระตุ้นให้ธนาคาร สถาบันการเงิน และกลุ่มสหกรณ์สนใจเข้ามาลงทุน
อีกทั้งในส่วนของประชาชนและนิติบุคคลทั่วไปนั้น เราก็อาจยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่เกิดจากเงินปันผลของสามบริษัทนี้ด้วยเช่นกัน
หากรัฐบาลใจป้ำ ก็อาจถึงขั้นให้ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป นำมูลค่าหุ้นที่ลงทุนไปหักภาษีเงินได้ด้วยก็ได้ แต่ให้หักได้เพียงแค่ครั้งแรกและครั้งเดียวต่อราย เป็นต้น
หากจะให้ฮือฮา เพื่อเป็นกระแสส่งเสริมการลงทุน รัฐบาลออกสลากชิงรางวัลด้วยก็ได้ ใครซื้อหุ้นใน 3 บริษัทนี้เป็นจำนวน 10 หุ้นก็ได้รับสลากชิงราลวัลหนึ่งใบ พอถึงเวลาก็จับสลากรางวัลออกทีวี รับรองว่าฮือฮาแน่นอน
หากเราทำอย่างนี้ สังคมชนบทก็จะเกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพราะทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความรักความหวงแหน ช่วยกันดูแลบริษัททั้ง 3 แห่งนี้กันเอง
อีกทั้งในแง่ธุรกิจนั้นก็จะมีการแข่งขันระหว่างสามบริษัทด้วยกันเองโดยปริยาย ซึ่งย่อมทำให้มีการให้บริการที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวบริษัทนี้จัดโปรโมชั่นพิเศษบ้าง อีกบริษัทมีสิทธิพิเศษให้ชาวนาผู้เป็นสมาชิกบ้าง อีกบริษัทจัดเก็บค่าเช่าในลักษณะให้ชาวนาผ่อนชำระโดยไม่มีดอกเบี้ยบ้าง ฯลฯ
ชาวนาก็มีทางเลือกมากขึ้น หากบริษัทนี้ไม่ดี ให้บริการไม่ถูกใจ ชาวนาก็หันไปหาอีกสองบริษัทที่เหลือ
นอกจากนี้ สำหรับพวกผู้มีอิทธลที่มีรถไถเกี่ยวให้เช่าอยู่แต่เดิมก็ต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นก็อยู่ไม่ได้ หมดอิทธิพลกดหัวชาวนา ชาวนาก็ไม่ต้องง้อใครอีก
ต้นทุนเครื่องไม้เครื่องมือการเกษตรก็จะต่ำลงโดยปริยาย เพราะด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งระบบที่สูงถึงเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท หรือเท่ากับสองหมื่นกว่าล้านบาทต่อหนึ่งบริษัท จึงทำให้บริษัทั้งสามแห่งมีอำนาจต่อรองที่สูงกับผู้ผลิตเครื่องมือการเกษตร เพราะสามารถสั่งซื้อเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาให้เกษตรกรเช่า หรือขอเช่าจากผู้ผลิตเพื่อนำมาเช่าช่วงให้บริการต่อก็ทำได้ ประกาศเปิดประมูลเชิญชวนให้ผู้ผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศมายื่นซองประกวดราคายังได้เลย
สำหรับในแง่โครงสร้างการบริการจัดการนั้น เราก็ปล่อยให้ผู้ถือหุ้นคัดเลือกกรรมการ และว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพด้วยกันเอง ไม่ต่างจากบริษัทมหาชนทั่วไป เพราะผู้ถือหุ้นก็มีทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ และประชาชนทั่วไป ทุกฝ่ายก็ย่อมเป็นห่วงเงินที่ลงทุน และย่อมอยากให้กิจการเจริญก้าวหน้าโดยปริยายนั่นเอง รัฐบาลก็ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่ต้องเอาระบบราชการที่อืดอาดยืดยาดเข้าไปครอบงำ เพราะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เพียงแต่เป็นนิติบุคคลที่รัฐถือหุ้น และรัฐบาลอยู่ในฐานะพี่เลี้ยงเท่านั้น
อีกทั้งโครงการนี้ก็ไม่เป็นภาระกับรัฐบาลในระยะยาว และรัฐบาลก็ใช้เงินลงทุนเพียงแค่น้อยนิด โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังไม่ถือเป็นประชานิยม เพราะรัฐบาลเพียงแค่ส่งเสริม แต่โครงการเติบโตไปได้ด้วยตัวเองโดยภาคเอกชน
แนวคิดลักษณะนี้ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้โดยรัฐบาลประชาธิปไตยเลือกตั้งซ้ำซาก เพราะตามโครงสร้างการเมืองไทยนั้น พรรคการเมืองต้องอาศัยฐานเสียงจากหัวคะแนนผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งไม่ว่าพรรคการเมืองใดก็ไม่ต่างกัน ย่อมไม่มีใครอยากทุบหม้อข้าวตัวเอง
แต่รัฐบาลเผด็จการณ์รุ่นใหม่ใจถึงนั้นทำได้ เพราะไม่มีฐานเสียง มีแต่ฐานลูกปืน
หากถูกใจ ใช่เลย ก็ลุยเลย
ขอฝากลุงตู่ไว้ด้วยล่ะกัน
ณ. นพวงศ์
https://www.facebook.com/NoppananLive/posts/10204173631485199
http://thaipost.net/?q=%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87
คิดใหม่ ทำใหม่ ใจถึง
คิดใหม่ ทำใหม่ ใจถึง
……………………..
ฟังลุงตู่พูดเมื่อค่ำวันศุกร์
เรื่อง รัฐบาลออกโรงสนับสนุนให้เอกชนช่วยกันลงทุนจัดซื้อรถไถ รถเกี่ยวนวดข้าว และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก เพื่อให้ชาวนาและสหกรณ์การเกษตรเช่า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนาลดลง
เรื่องนี้นับว่าเป็นแนวคิดที่ดี
แต่ลุงตู่อาจต้องมองให้ลึกลงไปอีกนิด
ลุงตู่คงทราบว่า ตามท้องถิ่นชนบทนั้น เจ้าของรถไถ รถเกี่ยวนวดข้าว และโรงสี คือ “ผู้มีอิทธิพล” ตัวจริงเสียงจริง
คนเหล่านี้ คือ ผู้กุมชะตาชีวิตของชาวนา และควบคุมเศรษฐกิจท้องถิ่น
ที่สำคัญ คือ ควบคุมการเมืองโดยปริยาย เพราะเศรษฐกิจกับการเมืองนั้นย่อมมาคู่กัน ไม่เว้นแม้ในระดับท้องถิ่น
เมื่อถึงฤดูกาล หากชาวนาจะไถไร่นา หว่านข้าว เกี่ยวข้าว ชาวนาก็ต้องไปว่าจ้างเจ้าของรถไถเกี่ยว ซึ่งจ้างอย่างเดียวยังไม่พอ บางครั้งแทบต้องกราบกราน ต้องรออารมณ์ของเจ้าของรถ ต้องรอคิว ฯลฯ ไม่อย่างนั้นก็หมดโอกาสทำนา หรือข้าวแห้งตายคานาในท้ายที่สุด
เราจึงพบว่า เจ้าของรถไถ เจ้าของรถเกี่ยวนวดข้าว และเจ้าของโรงสี คือ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น กลายเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และที่สำคัญ คือ หัวคะแนนนักการเมือง
เพราะพวกเขามีอิทธพลควบคุมชีวิตของชาวนา ชี้เป็นชี้ตายให้กับชาวนาได้นั่นเอง
วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่สามารถใช้วิธีตรงไปตรงมาภาษาซื่อ ด้วยการป่าวประกาศเชิญชวนให้เอกชนช่วยกันลงทุนซื้อรถไถเกี่ยวนวดและเครื่องสีข้าว
แต่เราควรมีวิธีที่แยบยลกว่านั้น
แทนที่เราจะสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในลักษณะเหวี่ยงแห ซึ่งท้ายที่สุด เดี๋ยวก็ตกอยู่ในมือผู้มีอิทธิพลหน้าเก่ารายเดิม
ต้นทุนก็ไม่ได้ลดลง เพราะการแข่งขันไม่มี แต่กลายเป็นผู้มีอิทธิพลก็ยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองก็ไม่เปลี่ยนแปลง เลือกตั้งอีกกี่ครั้ง ชาวนาก็ไม่พ้นถูกอิทธิพลครอบงำอยู่ดี
เราใช้วิธีอื่นดีกว่าไหม ?
รถไถราคาคันละ 8 แสนบาท, รถเกี่ยวนวดข้าวราคาคันละ 1.6 ล้านบาท, เครื่องสีข้าวขนาดเล็กราคาเครื่องละห้าหมื่นบาท
เท่ากับว่า เครื่องมือหลักทางการเกษตรมีราคารวมชุดละ 2.45 ล้านบาท
หาก 1 ตำบลมี 3 ชุด เท่ากับตำบลละ 7.35 ล้านบาท
แถมเงินทุนด้านการบริการจัดการ สินทรัพย์ถาวร และเครื่องไม้เครื่องมืออื่น ๆ ให้อีก 2.65 ล้านบาท
เบ็ดเสร็จ คิดเป็นตัวเลขกลม ๆ เท่ากับตำบลละ 10 ล้านบาท
ประเทศไทยมีทั้งหมด 7,255 ตำบล เท่ากับว่า โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุน 72,255 ล้านบาท
เราอาจจัดตั้ง “บริษัทมหาชนแห่งชาติ” ด้วยการตราเป็น “พระราชบัญญัติ”
เพื่อเปิดทางให้มีฐานะพิเศษ อาศัยอำนาจพระราชบัญญัติขจัดข้อติดขัดจากกฎหมายย่อย ๆ อื่น เพื่อให้บริษัทมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นสำหรับรองรับภารกิจนี้ อีกทั้งยังให้เติบโตไปได้เองในทางธุรกิจอีกด้วย
โดยเราไม่จัดตั้งแค่บริษัทเดียว แต่เราจัดตั้งทั้งหมด 3 บริษัท เพื่อให้แข่งขันกันเอง
เช่น “บริษัท เกษตรพัฒนาแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”, “บริษัท เกษตรบริการแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”, “บริษัท เกษตรกรไทยแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)”
มูลค่าการลงทุนทั้งระบบเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาทนั้น เราก็ปล่อยให้สามบริษัทที่ถูกตราขึ้นมานี้แบ่งกันลงทุนเอง
โดยรัฐอาจเข้าไปถือหุ้นเริ่มต้นในลักษณะพี่เลี้ยง ไม่เกินบริษัทละ 5% หรือเรียกง่าย ๆ ก็เป็นแค่เงินขวัญถุง ส่วนที่เหลือก็เชิญชวนให้ธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่งเข้ามาลงทุน ทั้งในรูปแบบการลงทุนโดยตรง หรือลงทุนผ่านกองทุนการเงินที่ธนาคารและสถาบันการเงินจัดตั้งขึ้นก็ได้
เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีอีก 4 ส่วนที่สำคัญ ซึ่งเราควรชักชวนให้มาร่วมลงทุนด้วย คือ
1.) กลุ่มสหกรณ์การเกษตร
2.) กลุ่มสหกรณ์ข้าราชการ เช่น สหกรณ์ข้าราชการพลเรือน สหกรณ์ข้าราชการท้องถิ่น สหกรณ์ช้าราชการครู สหกรณ์ข้าราชการตำรวจ และสหกรณ์ข้าราชการทหาร
เพราะในพื้นที่ชนบทนั้น ข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร คือ ผู้มีบทบาทสำคัญในท้องถิ่น เราก็ชักชวนให้พวกเขาเข้ามาลงทุนด้วยเช่นกัน
3.) วัด
เราอาจชักชวนให้วัดตามท้องถิ่นต่าง ๆ นำเงินที่ได้รับบริจาค ซึ่งวัดอาจฝากเก็บธนาคารไว้เฉย ๆ ดอกเบี้ยก็ต่ำ ฝากไปก็แทบไม่มีอะไรเติบโตงอกงาม ดังนั้น หากวัดใดไม่มีโครงการก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติม และมีเงินเก็บล้นเหลือ เราก็ชักชวนให้วัดเข้ามาซื้อหุ้นในสามบริษัทนี้ด้วยก็ได้ เพราะถือว่าเป็นการลงทุนสาธารณะที่โปร่งใสและมั่นคง อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกรอีกด้วย
4.) ประชาชนทั่วไป
เราเปิดขายหุ้นให้กับประชาชน แต่เราต้องทำให้เกิดการกระจายหุ้นให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้หุ้นตกอยู่ในมือของนายทุนใหญ่ หรือใครก็ไม่รู้ โดยเราอาจบังคับให้บุคคลและนิติบุคคลถือหุ้นในสามบริษัทนี้ได้ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ต่อราย เราอย่าให้ซ้ำรอยปตท. เพราะไม่งั้นแทนที่ประชาชนจะเอาด้วย เดี๋ยวกลายเป็นถูกด่ารอบเมืองแทน
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ รัฐบาลในฐานะพี่เลี้ยงและผู้ส่งเสริมก็อาจใช้วิธีทางภาษี เช่น ยกเว้นให้บริษัททั้งสามแห่งนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้ได้รับผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพื่อกระตุ้นให้ธนาคาร สถาบันการเงิน และกลุ่มสหกรณ์สนใจเข้ามาลงทุน
อีกทั้งในส่วนของประชาชนและนิติบุคคลทั่วไปนั้น เราก็อาจยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่เกิดจากเงินปันผลของสามบริษัทนี้ด้วยเช่นกัน
หากรัฐบาลใจป้ำ ก็อาจถึงขั้นให้ประชาชนและนิติบุคคลทั่วไป นำมูลค่าหุ้นที่ลงทุนไปหักภาษีเงินได้ด้วยก็ได้ แต่ให้หักได้เพียงแค่ครั้งแรกและครั้งเดียวต่อราย เป็นต้น
หากจะให้ฮือฮา เพื่อเป็นกระแสส่งเสริมการลงทุน รัฐบาลออกสลากชิงรางวัลด้วยก็ได้ ใครซื้อหุ้นใน 3 บริษัทนี้เป็นจำนวน 10 หุ้นก็ได้รับสลากชิงราลวัลหนึ่งใบ พอถึงเวลาก็จับสลากรางวัลออกทีวี รับรองว่าฮือฮาแน่นอน
หากเราทำอย่างนี้ สังคมชนบทก็จะเกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพราะทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน ทำให้เกิดความรักความหวงแหน ช่วยกันดูแลบริษัททั้ง 3 แห่งนี้กันเอง
อีกทั้งในแง่ธุรกิจนั้นก็จะมีการแข่งขันระหว่างสามบริษัทด้วยกันเองโดยปริยาย ซึ่งย่อมทำให้มีการให้บริการที่ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวบริษัทนี้จัดโปรโมชั่นพิเศษบ้าง อีกบริษัทมีสิทธิพิเศษให้ชาวนาผู้เป็นสมาชิกบ้าง อีกบริษัทจัดเก็บค่าเช่าในลักษณะให้ชาวนาผ่อนชำระโดยไม่มีดอกเบี้ยบ้าง ฯลฯ
ชาวนาก็มีทางเลือกมากขึ้น หากบริษัทนี้ไม่ดี ให้บริการไม่ถูกใจ ชาวนาก็หันไปหาอีกสองบริษัทที่เหลือ
นอกจากนี้ สำหรับพวกผู้มีอิทธลที่มีรถไถเกี่ยวให้เช่าอยู่แต่เดิมก็ต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นก็อยู่ไม่ได้ หมดอิทธิพลกดหัวชาวนา ชาวนาก็ไม่ต้องง้อใครอีก
ต้นทุนเครื่องไม้เครื่องมือการเกษตรก็จะต่ำลงโดยปริยาย เพราะด้วยมูลค่าการลงทุนทั้งระบบที่สูงถึงเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท หรือเท่ากับสองหมื่นกว่าล้านบาทต่อหนึ่งบริษัท จึงทำให้บริษัทั้งสามแห่งมีอำนาจต่อรองที่สูงกับผู้ผลิตเครื่องมือการเกษตร เพราะสามารถสั่งซื้อเป็นจำนวนมากเพื่อนำมาให้เกษตรกรเช่า หรือขอเช่าจากผู้ผลิตเพื่อนำมาเช่าช่วงให้บริการต่อก็ทำได้ ประกาศเปิดประมูลเชิญชวนให้ผู้ผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศมายื่นซองประกวดราคายังได้เลย
สำหรับในแง่โครงสร้างการบริการจัดการนั้น เราก็ปล่อยให้ผู้ถือหุ้นคัดเลือกกรรมการ และว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพด้วยกันเอง ไม่ต่างจากบริษัทมหาชนทั่วไป เพราะผู้ถือหุ้นก็มีทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ และประชาชนทั่วไป ทุกฝ่ายก็ย่อมเป็นห่วงเงินที่ลงทุน และย่อมอยากให้กิจการเจริญก้าวหน้าโดยปริยายนั่นเอง รัฐบาลก็ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่ต้องเอาระบบราชการที่อืดอาดยืดยาดเข้าไปครอบงำ เพราะไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ เพียงแต่เป็นนิติบุคคลที่รัฐถือหุ้น และรัฐบาลอยู่ในฐานะพี่เลี้ยงเท่านั้น
อีกทั้งโครงการนี้ก็ไม่เป็นภาระกับรัฐบาลในระยะยาว และรัฐบาลก็ใช้เงินลงทุนเพียงแค่น้อยนิด โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมายแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังไม่ถือเป็นประชานิยม เพราะรัฐบาลเพียงแค่ส่งเสริม แต่โครงการเติบโตไปได้ด้วยตัวเองโดยภาคเอกชน
แนวคิดลักษณะนี้ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้โดยรัฐบาลประชาธิปไตยเลือกตั้งซ้ำซาก เพราะตามโครงสร้างการเมืองไทยนั้น พรรคการเมืองต้องอาศัยฐานเสียงจากหัวคะแนนผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งไม่ว่าพรรคการเมืองใดก็ไม่ต่างกัน ย่อมไม่มีใครอยากทุบหม้อข้าวตัวเอง
แต่รัฐบาลเผด็จการณ์รุ่นใหม่ใจถึงนั้นทำได้ เพราะไม่มีฐานเสียง มีแต่ฐานลูกปืน
หากถูกใจ ใช่เลย ก็ลุยเลย
ขอฝากลุงตู่ไว้ด้วยล่ะกัน
ณ. นพวงศ์
https://www.facebook.com/NoppananLive/posts/10204173631485199
http://thaipost.net/?q=%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87