......................หากดูข้อมูลการปลูกข้าวในประเทศไทย พบว่ามีพื้นที่สำหรับทำนาปลูกข้าวทั่วประเทศทั้งสิ้นจำนวน 69.82 ล้านไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 57.42 ล้านไร่ นาปรัง 12.40 ล้านไร่ หากเกษตรกรทำนาปลูกข้าวเต็มพื้นที่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ทั้งสิ้นถึง 1.050 ล้านตัน แต่ในความเป็นจริงเกษตรกรที่ยังยึดอาชีพทำนาในปัจจุบันในพื้นที่เพียง 34 ล้านไร่ เป็นการทำนาปีราว 22 ล้านไร่ และนาปรังราว 12 ล้านไร่ กระนั้นเกษตรกรยังประสบปัญหาขาดเมล็ดพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวไม่ค่อยดีนัก
ในจำนวนพื้นที่ปลูกข้าว 34 ล้านไร่ แต่ละปีเกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 6 แสนตัน ขณะที่หน่วยงานภาครัฐมีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพอยู่ในวงจำกัด ทางกรมการข้าวได้กำหนดแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการภายในปี 2560 คือต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้ได้ปีละ 6 แสนตัน โดยเน้นให้กระจายการผลิตสู่ชุมชนมากที่สุด เน้นเกษตรกรพึ่งตนเองมากที่สุด
ตามแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น ปี 2556 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ได้ 8 หมื่นตัน ให้สหกรณ์การเกษตรผลิต 3 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชนผลิต 1 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2 แสนตัน คาดว่าปี 2556 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.1 แสนตัน
ส่วนปี 2557 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ 7.5 หมื่นตัน แต่จะให้ส่วนอื่นขยายการผลิตเพิ่มขึ้น คือสหกรณ์การเกษตรผลิตเพิ่มเป็น 3.2 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.25 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2.25 แสนตัน คาดว่าในปี 2557 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.57 แสนตัน และปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2560 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเหลือเพียง 6 หมื่นตัน สหกรณ์การเกษตร 3.75 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.75 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้า 2.75 แสนตัน คาดว่าปี 2560 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ตามเป้า 6 แสนตัน
นอกจากนี้ กรมการข้าวยังมีการบูรณาการร่วมหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน เพื่อให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเชิงพาณิชย์เพื่อความยั่งยืน โดยเริ่มนำเอาต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และใช้เป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อขยายผลให้แก่กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
ล่าสุด ได้เปิดตัวศูนย์ข้าวชุมชนระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี หลังจากมีการกระจายศูนย์ข้าวชุมชนมาแล้วในพื้นที่ จ.สกลนคร จ.สุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพจำหน่ายในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง โดยแต่ละศูนย์ข้าวชุมชนต้องนำเชื้อเมล็ดพันธุ์จากกรมการข้าวเท่านั้น และทางกรมการข้าวจะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กรมการข้าวกำหนดไว้
"กรมข้าวมีภารกิจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์บริสุทธิ์ พันธุ์คัด พันธุ์หลัก พันธุ์ขยาย และพันธุ์จำหน่ายบางส่วน แต่เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ดีจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ทางกรมการข้าวจึงจัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนควบคุมกำกับดูแลคุณภาพเมล็ดข้าวที่จำหน่ายให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และให้เกษตรกรมีโอกาสใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพอย่างทั่วถึง" นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดศูนย์ข้าวชุมชนระแหง เมื่อเร็วๆ นี้
อธิบดีกรมการข้าว ยอมรับว่า การที่เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นอีกส่วนหนึ่งจากหลายปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตข้าวของไทยได้ผลผลิตไม่มากนัก จึงมั่นใจว่าภายในอีก 2-3 ปีหรือในปี 2560 ประเทศไทยจะสามารถผลิตเมล็ดข้าวตามโครงการนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และมั่นใจว่า ในเขตชลประทานผลผลิตข้าวของชาวไทยต้องได้ไม่ต่ำกว่า 800 กก./ไร่ โดยเมล็ดข้าวที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุดและถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวช่วยชาติคือพันธุ์ กข.41 และกข.47 แต่อีกไม่นาน กรมการข้าวจะรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ที่เป็นสุดยอดของพันธุ์ข้าวที่เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรคือพันธุ์ กข.49 ที่ทนต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและให้ผลผลิตสูงด้วย
ด้าน นายเปรม ณ สงขลา ผู้คร่ำหวอดในวงการเกษตรทั้งที่มีอาชีพชาวนา และสื่อมวลชนสายเกษตรมากว่า 40 ปีในฐานะบรรณาธิการวารสารเคหการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาการกำหนดยุทธศาสตร์การทำนาสะเปะสะปะ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด แต่ยุคนี้ยอมรับว่า กรมการข้าวเดินถูกทางแล้ว เริ่มที่จุดแก้ปัญหาหลักคือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ก็ทำให้เพียงพอต่อความต้องการ มีการเน้นที่เทคโนโลยีการเกษตรนำมาใช้เพื่อให้เกษตรกรยกระดับการทำนาให้มีคุณภาพและได้ผลผลิตสูง
"บ้านเรามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงไม่แพ้ประเทศอื่น แต่ปัญหาอยู่ตรงที่เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีไม่เพียงพอ อย่างของผมทำนามานับสิบๆ ปีแล้ว ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าไร่ละ 1,000 กก. บางปีได้ถึง 1,400 กก./ไร่ อย่างปีที่แล้วน้ำท่วม ชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้ พอน้ำลดชาวนาปทุมธานีปลูกข้าว ต่างพูดเสียงเดียวกันว่าข้าวล้นนา ได้ผลผลิตไร่ละกว่า 1,200 กก. เพราะนาได้พักช่วงน้ำท่วม ตรงนี้จึงขอแนะว่า ให้เกษตรกรทำนาเพียงปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้พักนา จะสามารถตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้" นายเปรม กล่าว
เช่นเดียวกับนายช้อย การะเกษ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนระแหง บอกว่า อดีตนั้นต้องยอมรับว่าเมล็ดพันธุ์คุณภาพมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ชาวบ้านต้องอาศัยเมล็ดข้าวที่ผลิตกันเอง ซึ่งบางครั้งยอมรับว่าไม่ได้คุณภาพบ้าง เวลานำไปปลูกทำให้ผลผลิตน้อย และมีโรคระบาดบ้าง โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังจากที่กรมการข้าวส่งเสริมศูนย์ข้าวชุมชนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ต้องยอมรับเมล็ดพันธุ์ที่มาจากกรมการข้าวนั้นแน่จริง ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ต่อไปปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ใน จ.ปทุมธานี คงจะหมดไป
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับวงการชาวนาไทย หากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จตามที่กรมการข้าวคาดหวังไว้ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และจะส่งผลต่อการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและได้คุณภาพอีกด้วย
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20130218/152071/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html#.USEh0ayrqOY
จัดแผนดาวกระจายสู่เกษตรกร มิติใหม่แก้ 'ขาดแคลนพันธุ์ข้าว'
ในจำนวนพื้นที่ปลูกข้าว 34 ล้านไร่ แต่ละปีเกษตรกรต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 6 แสนตัน ขณะที่หน่วยงานภาครัฐมีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพอยู่ในวงจำกัด ทางกรมการข้าวได้กำหนดแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการภายในปี 2560 คือต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพให้ได้ปีละ 6 แสนตัน โดยเน้นให้กระจายการผลิตสู่ชุมชนมากที่สุด เน้นเกษตรกรพึ่งตนเองมากที่สุด
ตามแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการนั้น ปี 2556 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ได้ 8 หมื่นตัน ให้สหกรณ์การเกษตรผลิต 3 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชนผลิต 1 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2 แสนตัน คาดว่าปี 2556 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.1 แสนตัน
ส่วนปี 2557 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ 7.5 หมื่นตัน แต่จะให้ส่วนอื่นขยายการผลิตเพิ่มขึ้น คือสหกรณ์การเกษตรผลิตเพิ่มเป็น 3.2 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.25 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้าผลิต 2.25 แสนตัน คาดว่าในปี 2557 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ 4.57 แสนตัน และปีถัดไปจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2560 กรมการข้าวจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพเหลือเพียง 6 หมื่นตัน สหกรณ์การเกษตร 3.75 หมื่นตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 1.75 แสนตัน และภาคเอกชน/ชาวนาก้าวหน้า 2.75 แสนตัน คาดว่าปี 2560 จะผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพได้ตามเป้า 6 แสนตัน
นอกจากนี้ กรมการข้าวยังมีการบูรณาการร่วมหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน เพื่อให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเชิงพาณิชย์เพื่อความยั่งยืน โดยเริ่มนำเอาต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ และใช้เป็นศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อขยายผลให้แก่กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
ล่าสุด ได้เปิดตัวศูนย์ข้าวชุมชนระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี หลังจากมีการกระจายศูนย์ข้าวชุมชนมาแล้วในพื้นที่ จ.สกลนคร จ.สุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพจำหน่ายในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง โดยแต่ละศูนย์ข้าวชุมชนต้องนำเชื้อเมล็ดพันธุ์จากกรมการข้าวเท่านั้น และทางกรมการข้าวจะเป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กรมการข้าวกำหนดไว้
"กรมข้าวมีภารกิจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์บริสุทธิ์ พันธุ์คัด พันธุ์หลัก พันธุ์ขยาย และพันธุ์จำหน่ายบางส่วน แต่เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ดีจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ทางกรมการข้าวจึงจัดทำยุทธศาสตร์การผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนควบคุมกำกับดูแลคุณภาพเมล็ดข้าวที่จำหน่ายให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และให้เกษตรกรมีโอกาสใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพอย่างทั่วถึง" นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดศูนย์ข้าวชุมชนระแหง เมื่อเร็วๆ นี้
อธิบดีกรมการข้าว ยอมรับว่า การที่เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้มาตรฐานก็เป็นอีกส่วนหนึ่งจากหลายปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตข้าวของไทยได้ผลผลิตไม่มากนัก จึงมั่นใจว่าภายในอีก 2-3 ปีหรือในปี 2560 ประเทศไทยจะสามารถผลิตเมล็ดข้าวตามโครงการนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และมั่นใจว่า ในเขตชลประทานผลผลิตข้าวของชาวไทยต้องได้ไม่ต่ำกว่า 800 กก./ไร่ โดยเมล็ดข้าวที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุดและถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวช่วยชาติคือพันธุ์ กข.41 และกข.47 แต่อีกไม่นาน กรมการข้าวจะรับรองพันธุ์ข้าวใหม่ที่เป็นสุดยอดของพันธุ์ข้าวที่เป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรคือพันธุ์ กข.49 ที่ทนต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและให้ผลผลิตสูงด้วย
ด้าน นายเปรม ณ สงขลา ผู้คร่ำหวอดในวงการเกษตรทั้งที่มีอาชีพชาวนา และสื่อมวลชนสายเกษตรมากว่า 40 ปีในฐานะบรรณาธิการวารสารเคหการเกษตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาการกำหนดยุทธศาสตร์การทำนาสะเปะสะปะ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด แต่ยุคนี้ยอมรับว่า กรมการข้าวเดินถูกทางแล้ว เริ่มที่จุดแก้ปัญหาหลักคือการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ก็ทำให้เพียงพอต่อความต้องการ มีการเน้นที่เทคโนโลยีการเกษตรนำมาใช้เพื่อให้เกษตรกรยกระดับการทำนาให้มีคุณภาพและได้ผลผลิตสูง
"บ้านเรามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงไม่แพ้ประเทศอื่น แต่ปัญหาอยู่ตรงที่เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีไม่เพียงพอ อย่างของผมทำนามานับสิบๆ ปีแล้ว ได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่าไร่ละ 1,000 กก. บางปีได้ถึง 1,400 กก./ไร่ อย่างปีที่แล้วน้ำท่วม ชาวนาไม่สามารถปลูกข้าวได้ พอน้ำลดชาวนาปทุมธานีปลูกข้าว ต่างพูดเสียงเดียวกันว่าข้าวล้นนา ได้ผลผลิตไร่ละกว่า 1,200 กก. เพราะนาได้พักช่วงน้ำท่วม ตรงนี้จึงขอแนะว่า ให้เกษตรกรทำนาเพียงปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ได้พักนา จะสามารถตัดวงจรของแมลงศัตรูพืชได้" นายเปรม กล่าว
เช่นเดียวกับนายช้อย การะเกษ ประธานศูนย์ข้าวชุมชนระแหง บอกว่า อดีตนั้นต้องยอมรับว่าเมล็ดพันธุ์คุณภาพมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ชาวบ้านต้องอาศัยเมล็ดข้าวที่ผลิตกันเอง ซึ่งบางครั้งยอมรับว่าไม่ได้คุณภาพบ้าง เวลานำไปปลูกทำให้ผลผลิตน้อย และมีโรคระบาดบ้าง โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หลังจากที่กรมการข้าวส่งเสริมศูนย์ข้าวชุมชนเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ ต้องยอมรับเมล็ดพันธุ์ที่มาจากกรมการข้าวนั้นแน่จริง ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ ต่อไปปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ใน จ.ปทุมธานี คงจะหมดไป
นับเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับวงการชาวนาไทย หากโครงการนี้ประสบผลสำเร็จตามที่กรมการข้าวคาดหวังไว้ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และจะส่งผลต่อการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูงและได้คุณภาพอีกด้วย
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20130218/152071/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html#.USEh0ayrqOY