“นิวัฒน์ธำรง” เผย กรมการค้าต่างประเทศเตรียมเซ็นสัญญาขายข้าวจีทูจีให้จีนล็อตแรก 4 แสนตัน คาดส่งมอบได้เดือนเม.ย. นี้
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการเจรจาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับรัฐบาลจีนจำนวน 1 ล้านตันต่อปีว่าได้รับรายงานจากนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศจีนว่ากรมการค้าต่างประเทศได้ตกลงในเบื้องต้นที่จะลงนามในการขายข้าวแบบจีทูจีกับรัฐบาลจีนล็อตแรกจำนวน 4 แสนตัน โดยคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญากับรัฐบาลจีนภายในเดือนมี.ค.นี้
นายนิวัฒน์ธำรง คาดว่าจะมีการส่งมอบข้าวในจำนวนดังกล่าวให้กับจีนได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยรัฐบาลจีนยอมรับการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาที่กำหนดว่าจะไม่ผูกพันกับรัฐบาลต่อไปและในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาได้ในส่วนข้าวที่ยังไม่ได้ส่งมอบให้กับรัฐบาลจีน หากรัฐบาลต่อไปไม่เห็นด้วยกับสัญญานี้
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่าในเดือนก.พ. ได้ระบายข้าวไปแล้ว 8 แสนตัน จากเป้าหมาย 1 ล้านตันต่อเดือน เพื่อให้ได้เงิน 8,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการระบายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) ได้อีกในปริมาณ 1.1 แสนตัน ส่วนเงินจะทยอยเข้ามาตามการส่งมอบข้าวให้กับเอกชน ซึ่งมั่นใจว่าระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2557 จะมีเงินเข้ามาจากการระบายข้าวเดือนละประมาณ 8,000 ล้านบาท รวมเงินจากการระบายข้าว 2.4 หมื่นล้านบาท
เมื่อรวมกับเงินที่รัฐบาลขอยืมจากงบกลางนำไปจ่ายค่ารับจำนำข้าวอีก จำนวน 2 หมื่นล้านบาท และอีก 712 ล้านบาท ที่จะจ่ายให้กับเกษตรกรจำนวน 3,900 ราย ซึ่งค้างจ่ายมาตั้งแต่ปีการผลิต 2555/2556 ก็จะมีเม็ดเงินที่จ่ายให้กับชาวนาในเดือนมี.ค.นี้ ประมาณ 4.5 - 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้อนุมัติให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดเงินให้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 712 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปจ่ายชาวนา เนื่องจากเห็นว่าเป็นเงินที่ค้างชำระจากโครงการเก่า
สถานทูตจีนแจงซื้อข้าวช่วยไทย
ด้าน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ส่งอีเมลตอบคำถาม เกี่ยวกับการซื้อข้าวว่า จะเร่งซื้อข้าวตามข้อตกลงเดิมคือปีละ 1 ล้านตันเป็นเวลา 2 ปี เพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย
ข้อมูลจากสถานทูตจีนระบุว่า “จีนนำเข้าข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และสินค้าเกษตรอื่นๆ จากประเทศไทยทุกปี เมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว บริษัท คอฟโก (COFCO) ของจีนและกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไทยได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่ว่า จีนจะซื้อข้าวจากไทยปีละ 1 ล้านตัน เป็นเวลา 2 ปี
ประเทศจีนกับประเทศไทย เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีความสนิทชิดเชื้อกัน เพื่อที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและชาวนาไทย และช่วยเหลือชาวนาไทยอย่างแท้จริง ทั้งสองฝ่ายจะเร่งปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ให้เกิดผลโดยเร็ว ส่วนรายละเอียด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายต้องหารือกันต่อ”
แจงขายข้าวจีนแบ่ง2ล็อต
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่ได้ตกลงกับรัฐบาลจีนไทยจะขายข้าวแบ่งเป็นล็อตแรก 4 แสนตัน และล็อตที่สอง 6 แสนตัน รวมเป็น 1 ล้านตัน และปีต่อไปอีก 1 ล้านตัน จะเป็นแบบค่อยๆ ทยอยรับมอบ ซึ่งเป็นวิธีการธรรมดาของการขายข้าวทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีนครั้งนี้ ทางการจีนน่าจะให้ซื้อขายผ่านรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกลาง คือ คอฟโก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้ว่า การซื้อขายจีทูจีต้องซื้อขายโดยรัฐวิสาหกิจจากรัฐบาลกลางเท่านั้น
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่าในสัญญามีการระบุด้วยว่า หากไทยมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็อาจยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งฝ่ายจีนยินยอม เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคยให้คำแนะนำมาก่อนหน้านี้ว่าในระหว่างรัฐบาลรักษาการ กระทรวงพาณิชย์ยังสามารถขายข้าวในสต็อกรัฐแบบจีทูจีได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระผูกพันถึงรัฐบาลชุดใหม่
ทั้งนี้ จีนเสนอจะซื้อข้าวจากไทยต่อเนื่อง 5 ปีๆ ละ 1 ล้านตัน แต่ในระยะเร่งด่วนนี้ จีนจะขอซื้อก่อน 2 ล้านตัน หรือภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะมีข้าวหลายชนิด ทั้งข้าวขาว 5% ข้าวขาว 100% ข้าวหอมมะลิ เป็นต้น
"สมชัย"ระบุไม่อยู่ในอำนาจกกต.
ด้าน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่าการลงนามเอ็มโอยูเพื่อขายข้าวให้กับรัฐบาลจีนนั้น ไม่เกี่ยวกับกกต.และไม่อยู่ในอำนาจที่กกต.จะต้องตีความ เนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องคำนึงว่าการจะลงนามทำสัญญาอะไรต้องไม่มีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดต่อไปด้วย
นายสมชัย กล่าวว่ากรณีนี้จะเข้าข่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ที่ต้องให้กกต.รับพิจารณาหรือไม่นั้น ไม่ขอตอบ เพราะไม่มีอำนาจไปตีความข้อกฎหมาย และคิดว่ารัฐบาลก็คงไม่ยื่นเรื่องดังกล่าวมาให้กกต.พิจารณา
ไทยส่งออกข้าวเดือนม.ค. เพิ่ม 19.9%
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานว่าการส่งออกข้าวในเดือนม.ค. 2557 มีปริมาณทั้งสิ้น 696,558 ตัน มูลค่า 12,372 ล้านบาท โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 19.9% ขณะที่มูลค่าส่งออกลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2556 ที่มีการส่งออกปริมาณ 580,983 ตัน มูลค่า 12,487 ล้านบาท
การส่งออกข้าวในเดือนม.ค. 2557 มีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการส่งออกข้าวขาว เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน ในขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ และข้าวนึ่งลดลงจากเดือนก่อนพอสมควร
สถานการณ์ราคาส่งออกข้าวในช่วงนี้ ราคาข้าวของไทยในตลาดต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงและอยู่ในระดับที่ไม่ห่านงจากคู่แข่งมากนัก โดยในขณะนี้ราคาข้าวของไทยห่านงจากประเทศคู่แข่งประมาณ 50 ดอลลาร์ต่อตัน โดยสมาคมฯคาดว่าในเดือนก.พ. นี้ จะมีการส่งออกข้าวประมาณ 600,000 ตัน เนื่องจากราคาข้าวของไทยสามารถแข่งขันได้
กรมบัญชีกลางรอกกต.-พร้อมจ่ายงบกลาง
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ใช้งบกลาง 2 หมื่นล้านบาทไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวว่า ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ยื่นเรื่องเสนอขอใช้งบกลาง ดังนั้นขณะนี้ ก็ต้องรอขั้นตอนการหารือกับทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงบประมาณก่อน เพราะกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินตามที่สำนักงานงบประมาณจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกรณีดังกล่าว หากกกต.มีคำตอบชัดเจน สำนักงบประมาณจะเป็นผู้จัดสรรวงเงินดังกล่าวให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ตั้งเบิกจ่ายเข้ามา
นายมนัส กล่าวในฐานะ กรรมการ ธ.ก.ส. ว่า ในส่วนของการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวก็ยังมีการจ่ายเงินเป็นระยะๆ เพียงแต่ไม่มากนัก เพราะมีเงินที่ได้จากการระบายข้าวทยอยส่งเข้ามา และจากนี้ไปก็จะมีเงินที่มีความต้องการช่วยเหลือเกษตรกรนำเงินมาบริจาคสมทบเข้ากองทุนช่วยเหลือชาวนา ตามที่ธ.ก.ส.ได้จัดตั้งขึ้น โดยจะเริ่มในวันที่ 3 มี.ค.นี้ และเชื่อว่าน่าจะถึง 2 หมื่นล้านบาทตามเป้าหมาย
สำหรับกรณีที่ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เชิญชวนรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมประมูลตั๋วสัญญาใช้เงิน (พีเอ็น) และปิดรับไปเมื่อวันที่ 27 ก.พ. นั้น นายมนัสกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีรัฐวิสาหกิจยื่นเข้ามาเพียง 1 ราย จึงได้ล้มประมูลไป ดังนั้น เงินที่จะนำมาจ่ายให้เกษตรกรที่ยังค้างอยู่ก็คงเป็นเงินจากกองทุนและระบายข้าวไปก่อน
สปส.ยันไม่ซื้อพันธบัตรจำนำข้าว
นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่ากองทุนประกันสังคมจะไม่เข้าไปลงทุนในโครงการรับจำนำข้าว เพราะขณะนี้ได้จัดสรรเงินลงทุนพันธบัตรตามกรอบการลงทุนหมดแล้ว และในปีนี้จะไม่เข้าไปลงทุนด้านการเกษตร
"ปีนี้ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านโภคภัณฑ์ โดยให้ความสนใจเฉพาะลงทุนซื้อทองคำเท่านั้น ส่วนการลงทุนด้านพลังงานและเกษตรไม่มีการลงทุน เนื่องจากเห็นว่าให้ผลตอบแทนน้อย และหากการลงทุนทางเลือกในส่วนของทองคำได้ผลตอบแทนน้อย ก็สามารถปรับสัดส่วนไปเพิ่มการลงทุนในส่วนอสังหาริมทรัพย์แทนได้"
เครดิต
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20140301/566068/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%814%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99.html
ขายข้าว'จีทูจี'ล็อตแรก4แสนตัน
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการเจรจาขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับรัฐบาลจีนจำนวน 1 ล้านตันต่อปีว่าได้รับรายงานจากนายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศจีนว่ากรมการค้าต่างประเทศได้ตกลงในเบื้องต้นที่จะลงนามในการขายข้าวแบบจีทูจีกับรัฐบาลจีนล็อตแรกจำนวน 4 แสนตัน โดยคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญากับรัฐบาลจีนภายในเดือนมี.ค.นี้
นายนิวัฒน์ธำรง คาดว่าจะมีการส่งมอบข้าวในจำนวนดังกล่าวให้กับจีนได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยรัฐบาลจีนยอมรับการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาที่กำหนดว่าจะไม่ผูกพันกับรัฐบาลต่อไปและในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาได้ในส่วนข้าวที่ยังไม่ได้ส่งมอบให้กับรัฐบาลจีน หากรัฐบาลต่อไปไม่เห็นด้วยกับสัญญานี้
นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่าในเดือนก.พ. ได้ระบายข้าวไปแล้ว 8 แสนตัน จากเป้าหมาย 1 ล้านตันต่อเดือน เพื่อให้ได้เงิน 8,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการระบายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟท) ได้อีกในปริมาณ 1.1 แสนตัน ส่วนเงินจะทยอยเข้ามาตามการส่งมอบข้าวให้กับเอกชน ซึ่งมั่นใจว่าระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2557 จะมีเงินเข้ามาจากการระบายข้าวเดือนละประมาณ 8,000 ล้านบาท รวมเงินจากการระบายข้าว 2.4 หมื่นล้านบาท
เมื่อรวมกับเงินที่รัฐบาลขอยืมจากงบกลางนำไปจ่ายค่ารับจำนำข้าวอีก จำนวน 2 หมื่นล้านบาท และอีก 712 ล้านบาท ที่จะจ่ายให้กับเกษตรกรจำนวน 3,900 ราย ซึ่งค้างจ่ายมาตั้งแต่ปีการผลิต 2555/2556 ก็จะมีเม็ดเงินที่จ่ายให้กับชาวนาในเดือนมี.ค.นี้ ประมาณ 4.5 - 5 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้อนุมัติให้สำนักงบประมาณดำเนินการจัดเงินให้กับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 712 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปจ่ายชาวนา เนื่องจากเห็นว่าเป็นเงินที่ค้างชำระจากโครงการเก่า
สถานทูตจีนแจงซื้อข้าวช่วยไทย
ด้าน สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ส่งอีเมลตอบคำถาม เกี่ยวกับการซื้อข้าวว่า จะเร่งซื้อข้าวตามข้อตกลงเดิมคือปีละ 1 ล้านตันเป็นเวลา 2 ปี เพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย
ข้อมูลจากสถานทูตจีนระบุว่า “จีนนำเข้าข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และสินค้าเกษตรอื่นๆ จากประเทศไทยทุกปี เมื่อเดือนพ.ย. ปีที่แล้ว บริษัท คอฟโก (COFCO) ของจีนและกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ไทยได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่ว่า จีนจะซื้อข้าวจากไทยปีละ 1 ล้านตัน เป็นเวลา 2 ปี
ประเทศจีนกับประเทศไทย เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีความสนิทชิดเชื้อกัน เพื่อที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและชาวนาไทย และช่วยเหลือชาวนาไทยอย่างแท้จริง ทั้งสองฝ่ายจะเร่งปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ให้เกิดผลโดยเร็ว ส่วนรายละเอียด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายต้องหารือกันต่อ”
แจงขายข้าวจีนแบ่ง2ล็อต
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ตามที่ได้ตกลงกับรัฐบาลจีนไทยจะขายข้าวแบ่งเป็นล็อตแรก 4 แสนตัน และล็อตที่สอง 6 แสนตัน รวมเป็น 1 ล้านตัน และปีต่อไปอีก 1 ล้านตัน จะเป็นแบบค่อยๆ ทยอยรับมอบ ซึ่งเป็นวิธีการธรรมดาของการขายข้าวทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) กับจีนครั้งนี้ ทางการจีนน่าจะให้ซื้อขายผ่านรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกลาง คือ คอฟโก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งข้อสังเกตก่อนหน้านี้ว่า การซื้อขายจีทูจีต้องซื้อขายโดยรัฐวิสาหกิจจากรัฐบาลกลางเท่านั้น
นายสุรศักดิ์ กล่าวว่าในสัญญามีการระบุด้วยว่า หากไทยมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ก็อาจยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งฝ่ายจีนยินยอม เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เคยให้คำแนะนำมาก่อนหน้านี้ว่าในระหว่างรัฐบาลรักษาการ กระทรวงพาณิชย์ยังสามารถขายข้าวในสต็อกรัฐแบบจีทูจีได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระผูกพันถึงรัฐบาลชุดใหม่
ทั้งนี้ จีนเสนอจะซื้อข้าวจากไทยต่อเนื่อง 5 ปีๆ ละ 1 ล้านตัน แต่ในระยะเร่งด่วนนี้ จีนจะขอซื้อก่อน 2 ล้านตัน หรือภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะมีข้าวหลายชนิด ทั้งข้าวขาว 5% ข้าวขาว 100% ข้าวหอมมะลิ เป็นต้น
"สมชัย"ระบุไม่อยู่ในอำนาจกกต.
ด้าน นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่าการลงนามเอ็มโอยูเพื่อขายข้าวให้กับรัฐบาลจีนนั้น ไม่เกี่ยวกับกกต.และไม่อยู่ในอำนาจที่กกต.จะต้องตีความ เนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องคำนึงว่าการจะลงนามทำสัญญาอะไรต้องไม่มีผลผูกพันกับรัฐบาลชุดต่อไปด้วย
นายสมชัย กล่าวว่ากรณีนี้จะเข้าข่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ที่ต้องให้กกต.รับพิจารณาหรือไม่นั้น ไม่ขอตอบ เพราะไม่มีอำนาจไปตีความข้อกฎหมาย และคิดว่ารัฐบาลก็คงไม่ยื่นเรื่องดังกล่าวมาให้กกต.พิจารณา
ไทยส่งออกข้าวเดือนม.ค. เพิ่ม 19.9%
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานว่าการส่งออกข้าวในเดือนม.ค. 2557 มีปริมาณทั้งสิ้น 696,558 ตัน มูลค่า 12,372 ล้านบาท โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 19.9% ขณะที่มูลค่าส่งออกลดลง 0.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2556 ที่มีการส่งออกปริมาณ 580,983 ตัน มูลค่า 12,487 ล้านบาท
การส่งออกข้าวในเดือนม.ค. 2557 มีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากมีการส่งออกข้าวขาว เพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน ในขณะที่การส่งออกข้าวหอมมะลิ และข้าวนึ่งลดลงจากเดือนก่อนพอสมควร
สถานการณ์ราคาส่งออกข้าวในช่วงนี้ ราคาข้าวของไทยในตลาดต่างประเทศยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงและอยู่ในระดับที่ไม่ห่านงจากคู่แข่งมากนัก โดยในขณะนี้ราคาข้าวของไทยห่านงจากประเทศคู่แข่งประมาณ 50 ดอลลาร์ต่อตัน โดยสมาคมฯคาดว่าในเดือนก.พ. นี้ จะมีการส่งออกข้าวประมาณ 600,000 ตัน เนื่องจากราคาข้าวของไทยสามารถแข่งขันได้
กรมบัญชีกลางรอกกต.-พร้อมจ่ายงบกลาง
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ใช้งบกลาง 2 หมื่นล้านบาทไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวว่า ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ยื่นเรื่องเสนอขอใช้งบกลาง ดังนั้นขณะนี้ ก็ต้องรอขั้นตอนการหารือกับทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสำนักงบประมาณก่อน เพราะกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินตามที่สำนักงานงบประมาณจัดสรรงบประมาณ ซึ่งกรณีดังกล่าว หากกกต.มีคำตอบชัดเจน สำนักงบประมาณจะเป็นผู้จัดสรรวงเงินดังกล่าวให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อให้ ธ.ก.ส.เป็นผู้ตั้งเบิกจ่ายเข้ามา
นายมนัส กล่าวในฐานะ กรรมการ ธ.ก.ส. ว่า ในส่วนของการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวก็ยังมีการจ่ายเงินเป็นระยะๆ เพียงแต่ไม่มากนัก เพราะมีเงินที่ได้จากการระบายข้าวทยอยส่งเข้ามา และจากนี้ไปก็จะมีเงินที่มีความต้องการช่วยเหลือเกษตรกรนำเงินมาบริจาคสมทบเข้ากองทุนช่วยเหลือชาวนา ตามที่ธ.ก.ส.ได้จัดตั้งขึ้น โดยจะเริ่มในวันที่ 3 มี.ค.นี้ และเชื่อว่าน่าจะถึง 2 หมื่นล้านบาทตามเป้าหมาย
สำหรับกรณีที่ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เชิญชวนรัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมประมูลตั๋วสัญญาใช้เงิน (พีเอ็น) และปิดรับไปเมื่อวันที่ 27 ก.พ. นั้น นายมนัสกล่าวว่า เท่าที่ทราบมีรัฐวิสาหกิจยื่นเข้ามาเพียง 1 ราย จึงได้ล้มประมูลไป ดังนั้น เงินที่จะนำมาจ่ายให้เกษตรกรที่ยังค้างอยู่ก็คงเป็นเงินจากกองทุนและระบายข้าวไปก่อน
สปส.ยันไม่ซื้อพันธบัตรจำนำข้าว
นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่ากองทุนประกันสังคมจะไม่เข้าไปลงทุนในโครงการรับจำนำข้าว เพราะขณะนี้ได้จัดสรรเงินลงทุนพันธบัตรตามกรอบการลงทุนหมดแล้ว และในปีนี้จะไม่เข้าไปลงทุนด้านการเกษตร
"ปีนี้ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านโภคภัณฑ์ โดยให้ความสนใจเฉพาะลงทุนซื้อทองคำเท่านั้น ส่วนการลงทุนด้านพลังงานและเกษตรไม่มีการลงทุน เนื่องจากเห็นว่าให้ผลตอบแทนน้อย และหากการลงทุนทางเลือกในส่วนของทองคำได้ผลตอบแทนน้อย ก็สามารถปรับสัดส่วนไปเพิ่มการลงทุนในส่วนอสังหาริมทรัพย์แทนได้"
เครดิต http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20140301/566068/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%814%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99.html