บัญชีเงินฝากร่วม และขาย/ให้เช่าอสังหาฯชื่อร่วม โดนภาษี 2 เด้ง

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ข้อ 1(1)) การเข้าร่วมกันเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร ข้อ 1(2) การเข้าร่วมกันซื้อหุ้น ข้อ 1(3) การเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน.......ต้องเสียภาษี 2 เด้ง คือเด้งแรกเสียภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ และเด้งที่สองเสียภาษีส่วนแบ่งกำไร

ดังนั้นตั้งแต่ต้นปี 2558 ดอกเบี้ยเงินฝากชื่อร่วมไม่ว่าจะเป็นแม่ลูก พ่อลูก สามีภรรยาไม่จดทะเบียน  รวมทั้งการขาย/ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ชื่อร่วม ไม่ว่าจะได้มาทางมรดก หรือจากการซื้อร่วมกัน หรือ ร่วมกันค้าขาย ต่างต้องเสียภาษี 2 เด้ง คือเด้งแรกเสียภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ และเด้งที่สองเสียภาษีส่วนแบ่งกำไร ซึ่งเด้งที่สองนี้ส่วนใหญ่โหดกว่าเด้งแรกมากๆๆ เพราะเงินได้ก้อนเดียวกัน เด้งแรกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ แต่เด้งที่สองต้องหักตามจริง(อสังหาฯที่ได้มาจากมรดก แทบไม่มีรายจ่ายตามจริง) ยิ่งกว่านั้น เด้งแรกเงินได้บางอย่าง(เช่นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์) สามารถเฉลี่ยตามจำนวนปี จึงทำให้เสียภาษีน้อย แต่เด้งที่สองไม่สามารถเฉลี่ยตามปีได้ ถ้าแบ่งทั้งหมดก็ต้องเสียในปีนั้นทั้งหมด จึงทำให้อัตราภาษีสูงมาก เพราะเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้นเด้งที่สองอาจมากกว่าเด้งแรกเป็นสิบเท่า

นอกจากนี้อธิบดีกรมสรรพากรยังให้สัมภาษณ์ไม่ตรงกับที่กม.ระบุ ซึ่งจะทำให้คนเข้าใจผิด จนอาจทำให้ต้องเสียภาษีเด้งที่สามตามมา คือเบี่ยปรับเงินเพิ่ม จากที่อธิบดีกรมสรรพากรให้สัมภาษณ์นสพ.แนวหน้า ว่า บัญชีเงินฝากร่วม หากเสียภาษี 15% ถ้าไม่ขอคืนภาษีก็ไม่ต้องเสียภาษีเด้งที่สองนั้น http://www.ryt9.com/s/nnd/2125599  ที่จริงไม่มีกม.ฉบับไหนระบุเลยว่า กรณีดังกล่าวมีข้อยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเด้งที่สอง

และท่านยังได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม โดยเปรียบเทียบการเสียภาษี 2 เด้งของห้างหุ้นส่วนสามัญ นั้นเป็นธรรมแล้ว เหมือนกรณีของบริษัทจำกัด เมื่อมีกำไรหลังหักภาษีแล้วจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นก็ต้องนำไปเป็นรายได้บุคคลธรรมดาเสียภาษีตอนสิ้นปีอีกครั้ง

ซึ่งแท้จริงแล้วกม.เดิมจะใช้หลักความเป็นธรรม คือ
             1. ธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดา/ห้างหุ้นส่วนสามัญ/คณะบุคคล จะเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 37 % (อัตราเดิมก่อนมีการแก้ไข)
             2. ธุรกิจในรูปนิติบุคคล จะเสีย  ภาษีนิติบุคคล 30 % + (ภาษีเงินปันผล 10 % ของ 70 %)  รวม = 37 %
จะเห็นได้ว่าเดิมไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจในรูปแบบใด คุณก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูงสุดเท่ากัน คือ 37 %

แต่ตามกม.ภาษีห้างหุ้นส่วนใหม่ จะทำให้
             1.ธุรกิจในรูปห้างหุ้นส่วนสามัญ เสียภาษีสูงสุดในอัตรา 35% +( 35%ของ 65% ) รวมกันคือต้องเสีย 57.75 %
             2.บริษัทเสียภาษีอัตรา 20 % + (ภาษีเงินปันผล 10 % ของ 80 %)  รวม = 28 %  (ซึ่งถ้าเป็นบริษัท sme ก็จะยิ่งมีอัตราภาษีต่ำกว่านี้)
จึงเห็นได้ว่ากม.ภาษีห้างหุ้นส่วนใหม่ ไม่เป็นธรรมอย่างมากๆ

จึงอยากถามว่าคนอื่นๆเห็นด้วยกับท่านอธิบดีกรมสรรพากรหรือไม่ว่า กม.ภาษีห้างหุ้นส่วนใหม่ เป็นธรรมจริงๆหรือ?????
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่