ตั้งแต่ต้นปี 2558 คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงกระทำการร่วมกัน เช่น
เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารร่วมกัน (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ข้อ 1(1)) ,
ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อในโฉนดร่วมกัน (ตามคำสั่งกรมฯ ข้อ 2 วรรค 2 และ ข้อ 7) หรือ
ร่วมกันค้าขาย ต่างต้องเสียภาษี 2 เด้ง (ตามพรบ.ฉบับที่ 39 มาตรา 4) คือเด้งแรกเสียภาษีห้างหุ้นส่วนสามัญ และเด้งที่สองเสียภาษีส่วนแบ่งกำไร ซึ่งเด้งที่สองนี้ส่วนใหญ่
โหดกว่าเด้งแรก
มากๆๆ เพราะเงินได้ก้อนเดียวกัน เด้งแรกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ แต่เด้งที่สองต้องหักตามจริง(อสังหาฯที่ได้มาจากมรดก แทบ
ไม่มีรายจ่ายตามจริง) ยิ่งกว่านั้น เด้งแรกเงินได้บางอย่าง(เช่นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์) สามารถเฉลี่ยตามจำนวนปี จึงทำให้เสียภาษีน้อย แต่เด้งที่สองไม่สามารถเฉลี่ยตามปีได้ ถ้าแบ่งทั้งหมดก็ต้องเสียในปีนั้นทั้งหมด จึงทำให้อัตราภาษีสูงมาก เพราะเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนันเด้งที่สองอาจมากกว่าเด้งแรกเป็น
สิบเท่า
คนส่วนใหญ่คิดว่าห้างฯ/คณะบุคคล ต้องเกิดจากการจัดตั้งเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว เพียงแต่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงกระทำการร่วมกัน ไม่ว่าจะตกลงเป็นวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ถือเป็นห้างฯ/คณะบุคคล โดยปริยาย
- ถ้าประสงค์แบ่งกำไรก็ถือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ (ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ที่อิงนิยามของห้างหุ้นส่วนตาม
กม.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012)
- ถ้าไม่ประสงค์แบ่งกำไร (เช่นนำไปบริจาค) ก็ถือเป็นคณะบุคคล (ตามพรบ.ฉบับที่ 39 มาตรา 3วรรค 2)
ที่จริงการเป็นห้างฯ/คณะบุคคลเกิดมาตั้งนานแล้ว แต่ที่ไม่เข้มงวดเพราะมีกม.ยกเว้นภาษีเงินส่วนแบ่งกำไรของห้างฯ/คณะบุคคล ดังนั้นการเสียภาษีผิดหน่วย ระหว่าง บุคคลคนเดียว หรือ ห้างฯ/คณะบุคคล เงินภาษีจึงไม่ต่างกันมาก แต่ตั้งแต่ต้นปี 2558 กม.ยกเว้นภาษีดังกล่าวได้ยกเลิกแล้ว ทำให้การเสียภาษีผิดหน่วย จำนวนภาษีจะต่างกัน
มากๆๆ ดังนั้นต่อไปนี้ต้องระวังให้มากว่าเป็น บุคคลคนเดียว หรือห้างฯ/คณะบุคคล
ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ จึงคงจะไม่ยื่นภาษีเด้งที่สอง (ภาษีส่วนแบ่งกำไร) ดังนั้นนอกจากโดน 2 เด้ง อาจมีเด้งที่ 3 ตามมา คือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
เจ้าหน้าที่สรรพากรบางท่านชี้แจงว่าการขายอสังหาฯที่มีชื่อในโฉนดร่วมกันที่ได้มาจากมรดก ไม่ต้องเสียภาษีเด้งที่สอง เพราะยึดตามกม.เดิม(คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 100/2543 ข้อ 4 (1)) แต่การตกลงการขายร่วมกันมันก็เข้านิยามของห้างฯ ซึ่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ข้อ 2 วรรค 2 บรรทัดที่ 1,3 และ 7-11และ ข้อ 7(ให้ยกเลิกคำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้) มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าต้องเสียสองเด้ง หรือท่านอื่นช่วยอ่านคำสั่งกรมฯและวิเคราะห์ให้หน่อยว่า ชัดเจนหรือไม่ ที่ต้องเสียภาษีส่วนแบ่งกำไร ???
แล้วถ้าบุคคลสองคนนั้นเป็นสามีภรรยากัน ฝากเงินร่วมกัน หรือทำกิจการร่วมกัน ก็ต้องเป็นห้างหุ้นส่วน ด้วยซิ เพราะเดิมที่สรรพากรไม่ให้สามีภรรยาจดเป็นคณะบุคคล เนื่องจากมีกม.กำหนดว่าเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี จึงไม่ให้สามีภรรยาจดเป็นคณะบุคคล ซึ่งปัจจุบันก็ได้ยกเลิกกม.ข้อนั้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าสามีภรรยาทำกิจการร่วมกัน ก็ต้องถือเป็นห้างฯด้วย เพราะสามีภรรยาก็เป็นคนสองคน เนื่องจากไม่มีกม.ข้อไหนระบุให้สามีและภรรยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน รบกวนกูรูช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยว่า ตกลงต้องเป็นยังไงกันแน่ ???
ขอถามเพิ่มนะ สรรพากรออกใน "
https://www.youtube.com/watch?v=pyaiXsyMues” ว่ากรณีให้เช่าอาคารชื่อร่วม ถ้าทำสัญญาให้เช่าเฉพาะส่วน ก็ไม่ต้องเสียภาษี 2 เด้ง เช่น พี่ให้เช่าชั้นล่าง น้องให้เช่าชั้นบน อยากถามความเห็นว่าอย่างนี้เป็นการเลี่ยงภาษีหรือไม่ เพราะถ้าวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นวันเดียวกัน ผู้เช่ารายเดียวกัน และเงื่อนไขในสัญญาเช่าเหมือนกันเด๊ะๆๆ ก็ไม่มีใครทำสัญญาให้เช่าเฉพาะส่วนอยู่แล้ว ถ้าจะมีคนทำ ก็เพราะต้องการเลี่ยงภาษีตัวนี้แหละ ตาสีตาสาจะรู้มั๊ยว่าเดี๋ยวนี้เค้าต้องเลี่ยงภาษีด้วยวิธีนี้ แล้วเจ้าหน้าที่สรรพากรทุกคน จะเห็นตรงกันมั๊ย ไม่ใช่ว่าบอกว่าทำได้ แต่พอทำแล้ว เจ้าหน้าที่ท่านอื่นบอกว่าอย่างงี้เป็นการเลี่ยงภาษี ผิดตามมาตรา 37 น่ะ สรุปคนไทยเสียภาษีแบบตรงไปตรงมา ไม่ได้แล้วใช่มั๊ย คือออกกม.ที่ทำให้คนเสียภาษีตรงไปตรงมาอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นคนเลี่ยงภาษีให้หมดหรือ ??? แล้วคนที่ไม่อยากเลี่ยงภาษี และรับภาระภาษีมหาโหดนี้ไม่ได้ ก็ไม่สามารถกระทำการร่วมกันได้เลยหรือ มันไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญใช่มั๊ย ???
ระวังจะโดนภาษีมหาโหด สำหรับคนที่กระทำการร่วมกัน
คนส่วนใหญ่คิดว่าห้างฯ/คณะบุคคล ต้องเกิดจากการจัดตั้งเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว เพียงแต่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงกระทำการร่วมกัน ไม่ว่าจะตกลงเป็นวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ถือเป็นห้างฯ/คณะบุคคล โดยปริยาย
- ถ้าประสงค์แบ่งกำไรก็ถือเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ (ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ที่อิงนิยามของห้างหุ้นส่วนตาม
กม.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012)
- ถ้าไม่ประสงค์แบ่งกำไร (เช่นนำไปบริจาค) ก็ถือเป็นคณะบุคคล (ตามพรบ.ฉบับที่ 39 มาตรา 3วรรค 2)
ที่จริงการเป็นห้างฯ/คณะบุคคลเกิดมาตั้งนานแล้ว แต่ที่ไม่เข้มงวดเพราะมีกม.ยกเว้นภาษีเงินส่วนแบ่งกำไรของห้างฯ/คณะบุคคล ดังนั้นการเสียภาษีผิดหน่วย ระหว่าง บุคคลคนเดียว หรือ ห้างฯ/คณะบุคคล เงินภาษีจึงไม่ต่างกันมาก แต่ตั้งแต่ต้นปี 2558 กม.ยกเว้นภาษีดังกล่าวได้ยกเลิกแล้ว ทำให้การเสียภาษีผิดหน่วย จำนวนภาษีจะต่างกันมากๆๆ ดังนั้นต่อไปนี้ต้องระวังให้มากว่าเป็น บุคคลคนเดียว หรือห้างฯ/คณะบุคคล
ปัญหาคือคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ จึงคงจะไม่ยื่นภาษีเด้งที่สอง (ภาษีส่วนแบ่งกำไร) ดังนั้นนอกจากโดน 2 เด้ง อาจมีเด้งที่ 3 ตามมา คือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
เจ้าหน้าที่สรรพากรบางท่านชี้แจงว่าการขายอสังหาฯที่มีชื่อในโฉนดร่วมกันที่ได้มาจากมรดก ไม่ต้องเสียภาษีเด้งที่สอง เพราะยึดตามกม.เดิม(คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 100/2543 ข้อ 4 (1)) แต่การตกลงการขายร่วมกันมันก็เข้านิยามของห้างฯ ซึ่งคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.149/2558 ข้อ 2 วรรค 2 บรรทัดที่ 1,3 และ 7-11และ ข้อ 7(ให้ยกเลิกคำสั่งที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้) มันก็ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าต้องเสียสองเด้ง หรือท่านอื่นช่วยอ่านคำสั่งกรมฯและวิเคราะห์ให้หน่อยว่า ชัดเจนหรือไม่ ที่ต้องเสียภาษีส่วนแบ่งกำไร ???
แล้วถ้าบุคคลสองคนนั้นเป็นสามีภรรยากัน ฝากเงินร่วมกัน หรือทำกิจการร่วมกัน ก็ต้องเป็นห้างหุ้นส่วน ด้วยซิ เพราะเดิมที่สรรพากรไม่ให้สามีภรรยาจดเป็นคณะบุคคล เนื่องจากมีกม.กำหนดว่าเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี จึงไม่ให้สามีภรรยาจดเป็นคณะบุคคล ซึ่งปัจจุบันก็ได้ยกเลิกกม.ข้อนั้นไปแล้ว ดังนั้นถ้าสามีภรรยาทำกิจการร่วมกัน ก็ต้องถือเป็นห้างฯด้วย เพราะสามีภรรยาก็เป็นคนสองคน เนื่องจากไม่มีกม.ข้อไหนระบุให้สามีและภรรยาเป็นบุคคลคนเดียวกัน รบกวนกูรูช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยว่า ตกลงต้องเป็นยังไงกันแน่ ???
ขอถามเพิ่มนะ สรรพากรออกใน "https://www.youtube.com/watch?v=pyaiXsyMues” ว่ากรณีให้เช่าอาคารชื่อร่วม ถ้าทำสัญญาให้เช่าเฉพาะส่วน ก็ไม่ต้องเสียภาษี 2 เด้ง เช่น พี่ให้เช่าชั้นล่าง น้องให้เช่าชั้นบน อยากถามความเห็นว่าอย่างนี้เป็นการเลี่ยงภาษีหรือไม่ เพราะถ้าวันที่ทำสัญญาเช่าเป็นวันเดียวกัน ผู้เช่ารายเดียวกัน และเงื่อนไขในสัญญาเช่าเหมือนกันเด๊ะๆๆ ก็ไม่มีใครทำสัญญาให้เช่าเฉพาะส่วนอยู่แล้ว ถ้าจะมีคนทำ ก็เพราะต้องการเลี่ยงภาษีตัวนี้แหละ ตาสีตาสาจะรู้มั๊ยว่าเดี๋ยวนี้เค้าต้องเลี่ยงภาษีด้วยวิธีนี้ แล้วเจ้าหน้าที่สรรพากรทุกคน จะเห็นตรงกันมั๊ย ไม่ใช่ว่าบอกว่าทำได้ แต่พอทำแล้ว เจ้าหน้าที่ท่านอื่นบอกว่าอย่างงี้เป็นการเลี่ยงภาษี ผิดตามมาตรา 37 น่ะ สรุปคนไทยเสียภาษีแบบตรงไปตรงมา ไม่ได้แล้วใช่มั๊ย คือออกกม.ที่ทำให้คนเสียภาษีตรงไปตรงมาอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็นคนเลี่ยงภาษีให้หมดหรือ ??? แล้วคนที่ไม่อยากเลี่ยงภาษี และรับภาระภาษีมหาโหดนี้ไม่ได้ ก็ไม่สามารถกระทำการร่วมกันได้เลยหรือ มันไม่ได้เป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชน ขัดต่อรัฐธรรมนูญใช่มั๊ย ???