อนุมัติ เมื่อปีก่อนครับ แต่ เห็นภาพการก่อสร้างถนนเส้นนี้แล้วดีใจแทนชาวอีสานใต้ครับ
เพราะคนอุบล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ จะเข้า กทม ต้องใช้ ถนนเส้นทาง 24 เส้นโชคชัย เดชอุดม
แต่ ช่วงที่น่าเป็นห่วง ที่เส้น คือ ช่วง อำเภอนางรอง ผ่านมาอำเภอประโคนชัย จนถึงอำเภอประสาท ระยะทาง 65 กม
ถนนเส้นนี้เป็นสองเลน แบบนี้ มากว่า 20 ปีแล้ว รัฐบาลไหนก็ไม่เหลียวแล คนอีสานที่เดินทางเส้นนี้จะรู้ว่า 65 กม เมตรนี้
เดินทางอันตรายมาก เพราะเป็นสองช่องจราจร อีกทั้ง หน้าแล้งมายิ่งลำบาก เพราะมีรถขนอ้อย ไปยังโรงน้ำตาลในจังหวัดสุรินทร์
รวมทั้งรถบรรทุก รถสิบแปดล้อ ขนสินค้า ก็ต้องเดินทางเส้นนี้ การแซงรถอ้อย รถบรรทุก บางทีวิ่งต่อกันเป็น 10 คันกว่าจะแซงได้ นานมาก
เพราะมีรถสวนมาตลอด ทำให้ ระยะทางกว่า 65 กม ต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง
ตอนนี้ ชาวอีสานใต้ จะได้สบายสักทีครับ เพราะ ถนนเส้นนี้ ไม่ว่า ใครจะเป็น รัฐบาล เขาไม่เคยเหลียวแล รวมถึง สส ในเขตจังหวัดอุบล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ที่เป็นคนของพรรครัฐบาล ที่ได้แต่ละสมัย ก็คิดจะผลักดันให้มัน เจริญก้าวหน้ากันเลย สุดท้าย คสช. อนุมัติงบดำเนินการให้แล้วครับ
ดีใจแทนพี่น้องชาวอีสานใต้สักที
-------------------------
คสช.อนุมัติงบให้กรมทางหลวงขยาย-ก่อสร้างถนน 6 เส้นทาง รวมงบลงทุน 7,300 ล้าน
(13 ส.ค.) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ คณะทำงานโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงผลการประชุม คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน (ครสช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ว่า ที่ประชุม คสช. ได้พิจารณาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเพื่อลงทุนขยายและก่อสร้างทางหลวงจำนวน 6 เส้นทางรวมเงินลงทุน 7,316.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนแรกเป็นการขอเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณขอขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณอนุมัติเงินงบประมาณค่าก่อสร้างใหม่โครงการเร่งรัดขยายสายประธานให้เป็น 4 ช่องทางจราจรของกรมทางหลวง จำนวน 5 เส้นทาง โดย คสช. ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ 50% และเงินงบประมาณ 50% เป็นเบิกจ่ายงบประมาณทั้งจำนวน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีจาก 2552-2554 เป็น 2552-2559 และอนุมัติเพิ่มวงเงินก่อสร้างจากวงเงินงบประมาณเดิม 5,200 ล้านบาท เป็น 6,598.75 ล้านบาท หรือมีส่วนต่างเพิ่มขึ้น 1,398.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ 5 เส้นทางดังกล่าวประกอบด้วย
ทางหลวงหมายเลข 201 สายอ.สีคิ้ว-ชัยภูมิ ตอน อ.สีคิ้ว-บ.หนองบัวโคก จ.นครราชสีมา ระยะทาง 60 กม. จากวงเงินเดิม 1,350 ล้านบาท เป็น 1,474.62 ล้านบาท
2.ทางหลวงหมายเลข 24 สายอ.สีคิ้ว-อุบลราชธานี ตอนอ.นางรอง-อ.ปราสาท จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ ระยะทาง 65 กม. จากวงเงินเดิม 1,500 ล้านบาท เป็น 2,191.23 ล้านบาท
3.ทางหลวงหมายเลข5 สายพังงา-กระบี่ ตอน3(ทับปุด-อ่าวลึก)จ.พังงา จ.กระบี่ ระยะทาง 30 กม. จากวงเงินเดิม 700 ล้านบาท เป็น 1,029.99 ล้านบาท
4.ทางหลวงหมายเลข 331 สายแยกทางหลวงหมายเลข36-ทางหลวงหมมายเลข3(อ.สัตหีบ) จ.ชลบุรี ระยะทาง 28 กม. จากวงเงินเดิมเป็น 699.09 ล้านบาท
5.ทางหลวงหมายเลข 408 สายนครศรีธรรมราช-สงขลา ตอนระโนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา ระยะทาง 36 กม. จากวงเงินเดิม 900 ล้านบาท เป็น 1,199.82 ล้านบาท
เส้นสุดการรอคอย ในการแซงรถอ้อย รถสิบ.....คสช.อนุมัติงบให้กรมทางหลวงขยาย-ก่อสร้างถนน 24 นางรอง - ประสาทแล้ว
เพราะคนอุบล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ จะเข้า กทม ต้องใช้ ถนนเส้นทาง 24 เส้นโชคชัย เดชอุดม
แต่ ช่วงที่น่าเป็นห่วง ที่เส้น คือ ช่วง อำเภอนางรอง ผ่านมาอำเภอประโคนชัย จนถึงอำเภอประสาท ระยะทาง 65 กม
ถนนเส้นนี้เป็นสองเลน แบบนี้ มากว่า 20 ปีแล้ว รัฐบาลไหนก็ไม่เหลียวแล คนอีสานที่เดินทางเส้นนี้จะรู้ว่า 65 กม เมตรนี้
เดินทางอันตรายมาก เพราะเป็นสองช่องจราจร อีกทั้ง หน้าแล้งมายิ่งลำบาก เพราะมีรถขนอ้อย ไปยังโรงน้ำตาลในจังหวัดสุรินทร์
รวมทั้งรถบรรทุก รถสิบแปดล้อ ขนสินค้า ก็ต้องเดินทางเส้นนี้ การแซงรถอ้อย รถบรรทุก บางทีวิ่งต่อกันเป็น 10 คันกว่าจะแซงได้ นานมาก
เพราะมีรถสวนมาตลอด ทำให้ ระยะทางกว่า 65 กม ต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง
ตอนนี้ ชาวอีสานใต้ จะได้สบายสักทีครับ เพราะ ถนนเส้นนี้ ไม่ว่า ใครจะเป็น รัฐบาล เขาไม่เคยเหลียวแล รวมถึง สส ในเขตจังหวัดอุบล ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ที่เป็นคนของพรรครัฐบาล ที่ได้แต่ละสมัย ก็คิดจะผลักดันให้มัน เจริญก้าวหน้ากันเลย สุดท้าย คสช. อนุมัติงบดำเนินการให้แล้วครับ
ดีใจแทนพี่น้องชาวอีสานใต้สักที
-------------------------
คสช.อนุมัติงบให้กรมทางหลวงขยาย-ก่อสร้างถนน 6 เส้นทาง รวมงบลงทุน 7,300 ล้าน
(13 ส.ค.) ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ คณะทำงานโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงผลการประชุม คณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน (ครสช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ว่า ที่ประชุม คสช. ได้พิจารณาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอเพื่อลงทุนขยายและก่อสร้างทางหลวงจำนวน 6 เส้นทางรวมเงินลงทุน 7,316.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนแรกเป็นการขอเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณขอขยายระยะเวลาการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณอนุมัติเงินงบประมาณค่าก่อสร้างใหม่โครงการเร่งรัดขยายสายประธานให้เป็น 4 ช่องทางจราจรของกรมทางหลวง จำนวน 5 เส้นทาง โดย คสช. ได้อนุมัติเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ 50% และเงินงบประมาณ 50% เป็นเบิกจ่ายงบประมาณทั้งจำนวน และขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีจาก 2552-2554 เป็น 2552-2559 และอนุมัติเพิ่มวงเงินก่อสร้างจากวงเงินงบประมาณเดิม 5,200 ล้านบาท เป็น 6,598.75 ล้านบาท หรือมีส่วนต่างเพิ่มขึ้น 1,398.75 ล้านบาท
ทั้งนี้ 5 เส้นทางดังกล่าวประกอบด้วย
ทางหลวงหมายเลข 201 สายอ.สีคิ้ว-ชัยภูมิ ตอน อ.สีคิ้ว-บ.หนองบัวโคก จ.นครราชสีมา ระยะทาง 60 กม. จากวงเงินเดิม 1,350 ล้านบาท เป็น 1,474.62 ล้านบาท
2.ทางหลวงหมายเลข 24 สายอ.สีคิ้ว-อุบลราชธานี ตอนอ.นางรอง-อ.ปราสาท จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ ระยะทาง 65 กม. จากวงเงินเดิม 1,500 ล้านบาท เป็น 2,191.23 ล้านบาท
3.ทางหลวงหมายเลข5 สายพังงา-กระบี่ ตอน3(ทับปุด-อ่าวลึก)จ.พังงา จ.กระบี่ ระยะทาง 30 กม. จากวงเงินเดิม 700 ล้านบาท เป็น 1,029.99 ล้านบาท
4.ทางหลวงหมายเลข 331 สายแยกทางหลวงหมายเลข36-ทางหลวงหมมายเลข3(อ.สัตหีบ) จ.ชลบุรี ระยะทาง 28 กม. จากวงเงินเดิมเป็น 699.09 ล้านบาท
5.ทางหลวงหมายเลข 408 สายนครศรีธรรมราช-สงขลา ตอนระโนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา ระยะทาง 36 กม. จากวงเงินเดิม 900 ล้านบาท เป็น 1,199.82 ล้านบาท