สวัสดีค่ะชาวจตุจักร
ก่อนอื่นเลย ขออนุญาตเรียกแทนตัวเองว่า
มิ้ม (นามแฝง) นะคะ เรียนอยู่คณะบัญชีค่ะ นี่เป็นกระทู้แรกในพันทิปเลย ติดขัดตรงไหนต้องขอโทษด้วยนะคะ
กระทู้นี้มิ้มอยากเล่าประสบการณ์ของเด็ก Gen Y คนหนึ่งที่มีโอกาสได้ทำงานพัฒนาชุมชนที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยที่มิ้มไปร่วมทำงานหัตถกรรมจักสานกับคุณยายรุ่น Baby Boomer ค่ะ สำหรับท่านไหนมีไอเดียอื่นๆ ในการช่วยพัฒนาชุมชน โพสท์แนะนำกันเข้ามาได้เลยนะคะ
ก่อนเข้าเรื่องมิ้มขอเท้าความอีกสักนิดนึง งานพัฒนชุมชนที่มิ้มและเพื่อนๆ ทำเนี่ยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ซึ่งงานของเราคือนำก้านจากไปเป็นวัสดุทำงานหัตถกรรมจักสานค่ะ ที่เราเลือกวัสดุนี้ก็เพราะชุมชนนี้มีต้นจากเยอะมากกกกกกกกก เป็นวัสดุหาง่ายในพื้นที่ของพี่ๆ ที่ปัจจุบันไม่ค่อยนำมาใช้ประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าปล่อยก้านจากไว้เฉยๆ โดนไม่ตัด เมื่อถึงเวลาต้นจากก็ต้องตายอยู่ดี และในกลุ่มก็ยังไม่มีใครถักสานก้านจากเป็นเลย ดังนั้น งานนี้นอกจากจะได้เพิ่มมูลค่าให้ต้นจากแล้ว ยังได้เสริมสร้างอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน และสืบสานภูมิปัญญาสานจากไปด้วย
แนวต้นจากที่ไปสำรวจกันตอนแรกค่ะ รูปในกระทู้อาจไม่ค่อยสวยนะคะ ถ่ายเองค่ะ ใช้ใจล้วนๆ
ซึ่งพี่ๆ ในกลุ่มก็ไฟเขียว เพราะไม่มีปัญหาเรื่องวัสดุ ต้นก็ทุนถูก ผลงานออกมามีเอกลักษณ์ความเป็นไทยในจังหวะที่ปัจจุบันนิยมสานกระเป๋าพลาสติกกันเกลื่อนตลาด และพี่ๆ ยังสนใจจะลองเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมกันอีกด้วย
เมื่อทุกคนแฮปปี้ เราก็จับมือกันลุย!
นี่เลย พระเอกของเรา ก้านจาก 128 ก้าน
มิ้มก็เป็นวัยรุ่นทั่วไปค่ะ เวลาว่างถ้าไม่เล่นมือถือก็ดูหนังฟังเพลง ปกติไม่สนิทกับงานฝีมือ จนกระทั่งงานนี้นี่แหละทำให้ได้ไปนั่งทำงานหัตถกรรมครั้งแรกกับคุณยายซึ่งเป็นอาจารย์จากชุมชนข้างเคียงที่ใจดีมาสอนการสานจากให้มิ้มและพี่ๆ ในกลุ่มค่ะ และหลังจากใช้เวลาไปหนึ่งวันเต็มๆ กับการสานตะกร้า ความรู้สึกที่ไม่ได้แตะมือถือทั้งวันเป็นอะไรที่แปลกๆ ไม่ชินมือดีค่ะ เปลี่ยนจากไถมือถือมาไถก้านจากแทน ใช้สมาธิเหมือนกัน แต่ความสงบต่างกันเยอะ
อีกอย่างหนึ่งที่มิ้มประทับใจคือคุณยายค่ะ คุณยายอึดมากกกกกกกกก สอนไปทำไปได้ทั้งวันไม่บ่นสักคำ มิ้มทำแค่สองชั่วโมงหลังก็ลั่นแล้วค่า ถ้าใจรักอะไรก็เป็นไปได้ แม้แต่วัยและร่างกายไม่เป็นอุปสรรคเลย
สำหรับการสานตะกร้า ตั้งแต่เริ่มเลยคุณยายจะสอนให้นั่งท่าขัดสมาธิ ยกขาข้างนึงขึ้นเหยียบผลงานเพื่อไม่ให้เค้าดิ้นหนีตอนสานค่ะ ทีนี้เราต้องนั่งท่านี้ไปจนกว่าจะทำเสร็จ ซึ่งครั้งแรกของมิ้มใช้เวลาทั้งวัน โหยยยยยย สบ๊ายยยยยย
เริ่มวางก้านจากเพื่อสร้างก้นตะกร้าที่มั่นคง
ก้นตะกร้าขึ้นมาเป็นรูปร่างแล้ว ต่อไปก็เริ่มสานฐานได้
ก้อนอะไรสักอย่างที่ตอนแรกถักไปงงไป มันจะเป็นตะกร้าได้ไงหว่า?
ตอนนั้นใครชวนคุยก็นึกคำตอบออกแค่ “ขึ้น3 ลง3” (วิธีสานตะกร้าค่ะ)
หลอน
ถ้าเผลอนิดเดียวมีสิทธิหลุดยาว ต้องรื้อสานใหม่ งานละเอียดไปอีก
(ต่อ)
ประสบการณ์สุดฟินของวัยรุ่น Gen Y กับคุณยายสานจาก
ก่อนอื่นเลย ขออนุญาตเรียกแทนตัวเองว่า มิ้ม (นามแฝง) นะคะ เรียนอยู่คณะบัญชีค่ะ นี่เป็นกระทู้แรกในพันทิปเลย ติดขัดตรงไหนต้องขอโทษด้วยนะคะ
กระทู้นี้มิ้มอยากเล่าประสบการณ์ของเด็ก Gen Y คนหนึ่งที่มีโอกาสได้ทำงานพัฒนาชุมชนที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยที่มิ้มไปร่วมทำงานหัตถกรรมจักสานกับคุณยายรุ่น Baby Boomer ค่ะ สำหรับท่านไหนมีไอเดียอื่นๆ ในการช่วยพัฒนาชุมชน โพสท์แนะนำกันเข้ามาได้เลยนะคะ
ก่อนเข้าเรื่องมิ้มขอเท้าความอีกสักนิดนึง งานพัฒนชุมชนที่มิ้มและเพื่อนๆ ทำเนี่ยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ซึ่งงานของเราคือนำก้านจากไปเป็นวัสดุทำงานหัตถกรรมจักสานค่ะ ที่เราเลือกวัสดุนี้ก็เพราะชุมชนนี้มีต้นจากเยอะมากกกกกกกกก เป็นวัสดุหาง่ายในพื้นที่ของพี่ๆ ที่ปัจจุบันไม่ค่อยนำมาใช้ประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าปล่อยก้านจากไว้เฉยๆ โดนไม่ตัด เมื่อถึงเวลาต้นจากก็ต้องตายอยู่ดี และในกลุ่มก็ยังไม่มีใครถักสานก้านจากเป็นเลย ดังนั้น งานนี้นอกจากจะได้เพิ่มมูลค่าให้ต้นจากแล้ว ยังได้เสริมสร้างอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน และสืบสานภูมิปัญญาสานจากไปด้วย
แนวต้นจากที่ไปสำรวจกันตอนแรกค่ะ รูปในกระทู้อาจไม่ค่อยสวยนะคะ ถ่ายเองค่ะ ใช้ใจล้วนๆ
ซึ่งพี่ๆ ในกลุ่มก็ไฟเขียว เพราะไม่มีปัญหาเรื่องวัสดุ ต้นก็ทุนถูก ผลงานออกมามีเอกลักษณ์ความเป็นไทยในจังหวะที่ปัจจุบันนิยมสานกระเป๋าพลาสติกกันเกลื่อนตลาด และพี่ๆ ยังสนใจจะลองเรียนรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมกันอีกด้วย
เมื่อทุกคนแฮปปี้ เราก็จับมือกันลุย!
นี่เลย พระเอกของเรา ก้านจาก 128 ก้าน
มิ้มก็เป็นวัยรุ่นทั่วไปค่ะ เวลาว่างถ้าไม่เล่นมือถือก็ดูหนังฟังเพลง ปกติไม่สนิทกับงานฝีมือ จนกระทั่งงานนี้นี่แหละทำให้ได้ไปนั่งทำงานหัตถกรรมครั้งแรกกับคุณยายซึ่งเป็นอาจารย์จากชุมชนข้างเคียงที่ใจดีมาสอนการสานจากให้มิ้มและพี่ๆ ในกลุ่มค่ะ และหลังจากใช้เวลาไปหนึ่งวันเต็มๆ กับการสานตะกร้า ความรู้สึกที่ไม่ได้แตะมือถือทั้งวันเป็นอะไรที่แปลกๆ ไม่ชินมือดีค่ะ เปลี่ยนจากไถมือถือมาไถก้านจากแทน ใช้สมาธิเหมือนกัน แต่ความสงบต่างกันเยอะ
อีกอย่างหนึ่งที่มิ้มประทับใจคือคุณยายค่ะ คุณยายอึดมากกกกกกกกก สอนไปทำไปได้ทั้งวันไม่บ่นสักคำ มิ้มทำแค่สองชั่วโมงหลังก็ลั่นแล้วค่า ถ้าใจรักอะไรก็เป็นไปได้ แม้แต่วัยและร่างกายไม่เป็นอุปสรรคเลย
สำหรับการสานตะกร้า ตั้งแต่เริ่มเลยคุณยายจะสอนให้นั่งท่าขัดสมาธิ ยกขาข้างนึงขึ้นเหยียบผลงานเพื่อไม่ให้เค้าดิ้นหนีตอนสานค่ะ ทีนี้เราต้องนั่งท่านี้ไปจนกว่าจะทำเสร็จ ซึ่งครั้งแรกของมิ้มใช้เวลาทั้งวัน โหยยยยยย สบ๊ายยยยยย
เริ่มวางก้านจากเพื่อสร้างก้นตะกร้าที่มั่นคง
ก้นตะกร้าขึ้นมาเป็นรูปร่างแล้ว ต่อไปก็เริ่มสานฐานได้
ก้อนอะไรสักอย่างที่ตอนแรกถักไปงงไป มันจะเป็นตะกร้าได้ไงหว่า?
ตอนนั้นใครชวนคุยก็นึกคำตอบออกแค่ “ขึ้น3 ลง3” (วิธีสานตะกร้าค่ะ) หลอน
ถ้าเผลอนิดเดียวมีสิทธิหลุดยาว ต้องรื้อสานใหม่ งานละเอียดไปอีก
(ต่อ)