“รมว.สุดาวรรณ” ปลื้มประเพณีถือศีลกินผัก เมืองระนอง ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
ยกระดับประเพณีท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้สู่ชุมชน
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า วธ. โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง ได้ร่วมสนับสนุนในการจัดประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) จังหวัดระนอง ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 3 - 11 ตุลาคม 2567 ณ บริเวณลานอเนกประสงค์เทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง และจัดพิธีแห่พระใหญ่รอบเมือง (อิ้วเก้ง) ณ บริเวณหน้าตลาดภูมิชนก ไปยังย่านชุมชนเทศบาลเมืองระนอง ซึ่งสองข้างถนนจะมีประชาชนตั้งโต๊ะไหว้เพื่อรับพระจีน โดยเป็นความร่วมมือกับชมรมอ๊ามจังหวัดระนอง สภาวัฒนธรรมจังหวัดระนอง เทศบาลเมืองระนอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพรระนอง ภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดระนอง ซึ่งได้รับรายงานว่าการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีประชาชน ชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมงานอย่างต่อเนื่องในทุกๆ วัน ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก โดยในส่วน วธ. มอบหมายให้นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมพิธีแห่พระใหญ่รอบเมือง (อิ้วเก้ง) งานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีชมรมอ๊ามจังหวัดระนอง พร้อมสมาชิกจากอ๊าม 22 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนจำนวนมาก เข้าร่วม ณ บริเวณหน้าตลาดภูมิชนก จังหวัดระนอง
“การที่ วธ. สนับสนุนประเพณีถือศีลกินผัก เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์และลด ละ เลิกอบายมุข ทุกประเภท ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ที่สำคัญเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดระนอง และเป็นการส่งเสริมในการนำทุนทางวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ Soft Power ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างรายได้สู่ชุมชน และเพื่อยกระดับประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดระนองสู่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า การส่งประเพณีท้องถิ่นของ วธ. เป็นการปลุกจิตสำนึกและเสริมสร้างค่านิยมเชิงบวกสู่สังคมคุณธรรมในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้สืบทอดและภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และดำรงไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบต่อไป
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
อย่างไรก็ตาม ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมถือศีลกินผัก ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ลด ละ เลิก อบายมุขทุกประเภทในช่วงเทศกาลถือศีลกินผัก โดยภายในงานดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิ พิธียกเสาโกเต้ง พิธีเชิญกิ้วอ๋องไต่เต้ พิธีโก้ยห่าน (ข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์) พิธีโก้ยโห้ย (ลุยไฟ) พิธีซ่งเก้ง หรือการสวดมนต์จีน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา และพิธีอิ้วเก้ง หรือการแห่พระรอบเมือง นอกจากนี้ ยังมีการลานอาหารเจเป็นออกร้านจำหน่ายอาหารเจในราคาประหยัด จำนวนกว่า 40 ร้านอีกด้วย
ทั้งนี้ ในงบประมาณปี 2568 วธ.มีนโยบายสำคัญในการส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มมูลค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในการยกระดับประเพณีท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้สู่ชุมชน
ประเพณีถือศีลกินผัก เมืองระนอง ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ยกระดับประเพณีท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
“การที่ วธ. สนับสนุนประเพณีถือศีลกินผัก เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์และลด ละ เลิกอบายมุข ทุกประเภท ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ที่สำคัญเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดระนอง และเป็นการส่งเสริมในการนำทุนทางวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ Soft Power ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างรายได้สู่ชุมชน และเพื่อยกระดับประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดระนองสู่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า การส่งประเพณีท้องถิ่นของ วธ. เป็นการปลุกจิตสำนึกและเสริมสร้างค่านิยมเชิงบวกสู่สังคมคุณธรรมในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้สืบทอดและภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และดำรงไว้ ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบต่อไป
ทั้งนี้ ในงบประมาณปี 2568 วธ.มีนโยบายสำคัญในการส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มมูลค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในการยกระดับประเพณีท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้สู่ชุมชน