คลังเก็บภาษีพลาด 4 หมื่นล้าน เศรษฐกิจดิ่งเหวสรรพสามิตเข็นเป้าไม่ขึ้น
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 20 มี.ค. 2557 05:00
เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก 3 กรมภาษีจัดเก็บรายได้ 5 เดือนแรกของงบปี 57 หลุดเป้า 3.8 หมื่นล้านบาท เฉพาะเดือน ก.พ.57 ต่ำกว่าประมาณการ 1.4 หมื่นล้านบาท คลังบีบรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพิ่มขึ้น สบน.ใส่เกียร์ว่างเมินบริหารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.57 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 147,551 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,846 ล้านบาท หรือ 4.4% และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5.4% โดยรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังได้แก่กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 14,484 ล้านบาท
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7,343 ล้านบาท หรือ 11.5% โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,452 ล้านบาท หรือ 21.6% เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 891 ล้านบาท หรือ 2.6%
2.ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,562 ล้านบาท หรือ 24.4% เนื่องจากมีการส่งมอบรถในโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณ 56 3.ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,642 ล้านบาท หรือ 23.6% สาเหตุมาจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 4.อากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,403 ล้านบาท หรือ 14% สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เนื่องจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,181 ล้านบาท หรือ 115.5% และยังมีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรต่ำกว่าประมาณการ 4,170 ล้านบาท เข้ามาบริหารรายได้ของรัฐบาลในเดือน ก.พ.57
ขณะที่ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 (ต.ค.56-ก.พ.57) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 802,873 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,679 ล้านบาท หรือ 0.6% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ 593,238 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 9,057 ล้านบาท หรือ 1.5% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญคือ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,510 ล้านบาท หรือ 2.1%
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,282 ล้านบาท หรือ 1.6% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.8% และ 3.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,368 ล้านบาท หรือ 1.2% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3% ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,139 ล้านบาท หรือ 10.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 11.5%
ขณะที่ กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ 168,973 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 21,012 ล้านบาท หรือ 11.1% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญได้แก่ 1.ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 12,701 ล้านบาท หรือ 22.4% 2.ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 11,987 ล้านบาทหรือ 31.4% เป็นผลจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 3. ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 4,431 ล้านบาทหรือ 15.4% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.8%
สำหรับกรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 45,626 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,874 ล้านบาท หรือ 16.3% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7.9% สาเหตุสำคัญมาจากอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 8,720 ล้านบาท หรือ 16.3% เป็นผลจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
“ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังมีรายได้จากรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้มากขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แล้ว 69,748 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,536 ล้านบาทหรือ 31.1% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 95.2% โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้และเงินปันผลสูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่การประปาส่วนภูมิภาค บมจ.ท่าอากาศยานไทย บมจ.กสท โทรคมนาคม โรงงานยาสูบ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 63,546 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11,695 ล้านบาท”
ด้านนางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐในเดือน ก.พ.57 สบน.ได้กู้เงินภายในประเทศประกอบด้วย 1.เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 36,160 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 710.30 ล้านบาท 2.การเบิกจ่ายเงินกู้ 500 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ 3.การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 841.46 ล้านบาท และรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 103.60 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง 129.40 ล้านบาท และ 4.การเบิกจ่ายเงินกู้ 120 ล้านบาท ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือน ก.พ.57 สบน.ไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ มีแต่ Roll over ตั๋วเงินคลัง เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล และไม่มีรัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศ.
ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/411077
คลังเก็บภาษีพลาด 4 หมื่นล้าน เศรษฐกิจดิ่งเหวสรรพสามิตเข็นเป้าไม่ขึ้น
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 20 มี.ค. 2557 05:00
เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก 3 กรมภาษีจัดเก็บรายได้ 5 เดือนแรกของงบปี 57 หลุดเป้า 3.8 หมื่นล้านบาท เฉพาะเดือน ก.พ.57 ต่ำกว่าประมาณการ 1.4 หมื่นล้านบาท คลังบีบรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพิ่มขึ้น สบน.ใส่เกียร์ว่างเมินบริหารหนี้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.57 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 147,551 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,846 ล้านบาท หรือ 4.4% และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5.4% โดยรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังได้แก่กรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 14,484 ล้านบาท
สำหรับภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7,343 ล้านบาท หรือ 11.5% โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,452 ล้านบาท หรือ 21.6% เนื่องจากมูลค่านำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 891 ล้านบาท หรือ 2.6%
2.ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,562 ล้านบาท หรือ 24.4% เนื่องจากมีการส่งมอบรถในโครงการรถยนต์คันแรกได้เกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณ 56 3.ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,642 ล้านบาท หรือ 23.6% สาเหตุมาจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 4.อากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,403 ล้านบาท หรือ 14% สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เนื่องจากรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 4,181 ล้านบาท หรือ 115.5% และยังมีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรต่ำกว่าประมาณการ 4,170 ล้านบาท เข้ามาบริหารรายได้ของรัฐบาลในเดือน ก.พ.57
ขณะที่ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 (ต.ค.56-ก.พ.57) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 802,873 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,679 ล้านบาท หรือ 0.6% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ 593,238 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 9,057 ล้านบาท หรือ 1.5% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญคือ 1.ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 6,510 ล้านบาท หรือ 2.1%
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,282 ล้านบาท หรือ 1.6% แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 5.8% และ 3.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,368 ล้านบาท หรือ 1.2% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3% ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 2,139 ล้านบาท หรือ 10.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 11.5%
ขณะที่ กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ 168,973 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 21,012 ล้านบาท หรือ 11.1% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญได้แก่ 1.ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 12,701 ล้านบาท หรือ 22.4% 2.ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 11,987 ล้านบาทหรือ 31.4% เป็นผลจากการขยายเวลาปรับลดภาษีน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน และ 3. ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 4,431 ล้านบาทหรือ 15.4% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 12.8%
สำหรับกรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 45,626 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,874 ล้านบาท หรือ 16.3% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7.9% สาเหตุสำคัญมาจากอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 8,720 ล้านบาท หรือ 16.3% เป็นผลจากการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
“ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังมีรายได้จากรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้มากขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 57 รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แล้ว 69,748 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 16,536 ล้านบาทหรือ 31.1% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 95.2% โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้และเงินปันผลสูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่การประปาส่วนภูมิภาค บมจ.ท่าอากาศยานไทย บมจ.กสท โทรคมนาคม โรงงานยาสูบ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 63,546 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11,695 ล้านบาท”
ด้านนางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐในเดือน ก.พ.57 สบน.ได้กู้เงินภายในประเทศประกอบด้วย 1.เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 36,160 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 710.30 ล้านบาท 2.การเบิกจ่ายเงินกู้ 500 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ 3.การเบิกจ่ายเงินกู้ต่อให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 841.46 ล้านบาท และรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 103.60 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง 129.40 ล้านบาท และ 4.การเบิกจ่ายเงินกู้ 120 ล้านบาท ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)
ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือน ก.พ.57 สบน.ไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ มีแต่ Roll over ตั๋วเงินคลัง เพื่อรักษาระดับเงินคงคลังให้เพียงพอกับการใช้จ่ายของรัฐบาล และไม่มีรัฐวิสาหกิจกู้เงินในประเทศ.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/411077