คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ก่อนอื่นต้องแยกระหว่าง "รถถัง (Tank)" กับ "รถเกราะลำเลียงพล (Armored Personnel Carrier)" ก่อนนะครับ
สองอันนี้ต่างกันราวฟ้ากับเหว เหมือนพูดถึง จักรยาน กับ รถยนต์
ขออธิบายยาวหน่อยแล้วกัน เหมือน จขกท. จะยังไม่เข้าใจคำว่ารถถังกับรถเกราะลำเลียงพล
รถถัง(Tank)
หรือปัจจุบันคือรถถังหลัก(Main Battle Tank) เกราะแข็งแรงมากครับ ไม่ได้บางอย่างที่คุณเข้าใจ
เนื่องจากเกราะของมันไม่ได้ทำจากเหล็กเพียงอย่างเดียวแต่ใช้วัสดุหลายๆประเภทมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ดังนั้นถึงแม้"ความหนา" (หน่วยเป็นมิลลิเมตร)จะบางกว่ารถถังยุคสงครามโลกคันใหญ่ๆ แต่ความสามารถในการป้องกันสูงกว่าหลายเท่า
เช่น เกราะของรถถังM1Abramsของอเมริกา และT-90ของรัสเซีย(รวมถึงรถถังรุ่นใหม่ๆของชาติอื่นๆ)จะมี"ความหนาเทียบเท่า"เกราะเหล็กยุคสงครามโลก(พวกRHA)ที่ประมาณ 600-900 mmเมื่อโดนยิงด้วยกระสุนเจาะเกราะแบบKE(Kinetic Energy - กระสุนเจาะเกราะทั่วๆไป) และเทียบเท่า 1,000-1,300 mmเมื่อโดนยิงด้วยกระสุนจำพวกHEAT(เช่นพวกจรวดRPGทั้งหลาย)
เทียบกับรถถังTigerอันเลื่องชื่อของเยอรมันยุคสงครามโลกก็มีความหนาของเกราะแค่ 100mm หรือเทียบกับรถถังM60 Pattonที่เรามีอยู่ก็หนาแค่ไม่เกิน160-200mmเท่านั้น
รถเกราะลำเลียงพล(APC)
จะมีเกราะไม่หนามาก ป้องกันได้เฉพาะกระสุนจากพวกปืนประจำกาย(M-16, AK-47, อื่นๆ)และพวกสะเก็ดระเบิดเท่านั้น (รวมถึงปืนกลหนักเมื่อโดนยิงจากด้านหน้า) ปกติเกราะรถพวกนี้มักหนาไม่เกิน40mm และเกราะมักเป็นเกราะเหล็กธรรมดาๆเหมือนรถถังยุคสงครามโลก
สาเหตุที่เกราะรถพวกนี้ไม่หนาเพราะไม่ได้มีหน้าที่ต้องไปประจันหน้ากับใคร คอยส่งทหารราบและยิงสนับสนุนเล็กๆน้อยๆเท่านั้น การติดเกราะหนาๆเข้าไปเป็นการเพิ่มน้ำหนักทำให้วิ่งได้ช้าลง วิ่งเข้าบางพื้นที่ไม่ได้ กินน้ำมันมากขึ้นทำให้วิ่งได้ไม่ไกล ซึ่งตรงข้ามกับหน้าที่หลักคือการลำเลียงพลเข้าสนามรบให้เร็วและคล่องตัวโดยสิ้นเชิง
ปัจจุบันAPCต้นตำหรับเริ่มมีการใช้น้อยลง และเปลี่ยนไปเป็นIFV(Infantry Fighting Vehicle)มากขึ้นโดยติดอาวุธที่ใหญ่ขึ้นรวมถึงจรวดต่อต้านรถถังเพื่อให้สามารถอยู่สนับสนุนทหารราบต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากปล่อยทหารลงจากรถแล้ว
ด้านเกราะเองก็ปรับปรุงขึ้นมาก IFVของบางชาติเกราะหนามากๆ แถมยังใส่เทคโนโลยีเสริมการป้องกันแบบใหม่ๆเข้าไป แม้จะยังเทียบรถถังหลักไม่ได้ก็ตาม
....
ดังนั้นตอบ จขกท. ดังนี้ (เดาว่า จขกท. หมายถึง APC หรือ IFV และปืนใหญ่ที่ว่าหมายถึงปืนใหญ่วิถีโค้งยิงสนับสนุนจากระยะไกลๆเป็นสิบกิโลเมตร)
1.ถ้าให้ปืนใหญ่ดังกล่าวยิงใส่รถถังลำเลียงจะเข้ามั้ย?
2.แล้วยิงเข้ารึป่าว?
>> น่าจะเข้าครับ โดยเฉพาะถ้ากระสุนตกใส่บริเวณด้านบน(หลังคา)ของรถ เนื่องจากเกราะด้านบนมักจะบางมากๆ
2.1ยิงไม่เข้าและไม่เกิดความเสียหายเลยเหรอ?
2.2ยิงไม่เข้าแต่เกิดความเสียหายแบบไหนบาง?(แบบพวกช้ำในอะครับ)
>> หากไม่เข้าก็ขึ้นกับชนิดปืนใหญ่ที่ยิงมาครับ ถ้าเป็นปืนขนาดใหญ่ๆ(พวก120mmขึ้นไป)ต่อให้ไม่เข้าแต่คนในรถอาจบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากแรงระเบิดได้ครับ
3.จะมีผลกระทบใดๆตามมา?
>> รถพังแน่นอนครับ (เข้าไม่เข้าก็พัง เพียงแต่ถ้าเข้าก็ตายหมู่และหมดโอกาสซ่อมกลับมาใช้ใหม่)
สองอันนี้ต่างกันราวฟ้ากับเหว เหมือนพูดถึง จักรยาน กับ รถยนต์
ขออธิบายยาวหน่อยแล้วกัน เหมือน จขกท. จะยังไม่เข้าใจคำว่ารถถังกับรถเกราะลำเลียงพล
รถถัง(Tank)
หรือปัจจุบันคือรถถังหลัก(Main Battle Tank) เกราะแข็งแรงมากครับ ไม่ได้บางอย่างที่คุณเข้าใจ
เนื่องจากเกราะของมันไม่ได้ทำจากเหล็กเพียงอย่างเดียวแต่ใช้วัสดุหลายๆประเภทมาซ้อนกันเป็นชั้นๆ ดังนั้นถึงแม้"ความหนา" (หน่วยเป็นมิลลิเมตร)จะบางกว่ารถถังยุคสงครามโลกคันใหญ่ๆ แต่ความสามารถในการป้องกันสูงกว่าหลายเท่า
เช่น เกราะของรถถังM1Abramsของอเมริกา และT-90ของรัสเซีย(รวมถึงรถถังรุ่นใหม่ๆของชาติอื่นๆ)จะมี"ความหนาเทียบเท่า"เกราะเหล็กยุคสงครามโลก(พวกRHA)ที่ประมาณ 600-900 mmเมื่อโดนยิงด้วยกระสุนเจาะเกราะแบบKE(Kinetic Energy - กระสุนเจาะเกราะทั่วๆไป) และเทียบเท่า 1,000-1,300 mmเมื่อโดนยิงด้วยกระสุนจำพวกHEAT(เช่นพวกจรวดRPGทั้งหลาย)
เทียบกับรถถังTigerอันเลื่องชื่อของเยอรมันยุคสงครามโลกก็มีความหนาของเกราะแค่ 100mm หรือเทียบกับรถถังM60 Pattonที่เรามีอยู่ก็หนาแค่ไม่เกิน160-200mmเท่านั้น
รถเกราะลำเลียงพล(APC)
จะมีเกราะไม่หนามาก ป้องกันได้เฉพาะกระสุนจากพวกปืนประจำกาย(M-16, AK-47, อื่นๆ)และพวกสะเก็ดระเบิดเท่านั้น (รวมถึงปืนกลหนักเมื่อโดนยิงจากด้านหน้า) ปกติเกราะรถพวกนี้มักหนาไม่เกิน40mm และเกราะมักเป็นเกราะเหล็กธรรมดาๆเหมือนรถถังยุคสงครามโลก
สาเหตุที่เกราะรถพวกนี้ไม่หนาเพราะไม่ได้มีหน้าที่ต้องไปประจันหน้ากับใคร คอยส่งทหารราบและยิงสนับสนุนเล็กๆน้อยๆเท่านั้น การติดเกราะหนาๆเข้าไปเป็นการเพิ่มน้ำหนักทำให้วิ่งได้ช้าลง วิ่งเข้าบางพื้นที่ไม่ได้ กินน้ำมันมากขึ้นทำให้วิ่งได้ไม่ไกล ซึ่งตรงข้ามกับหน้าที่หลักคือการลำเลียงพลเข้าสนามรบให้เร็วและคล่องตัวโดยสิ้นเชิง
ปัจจุบันAPCต้นตำหรับเริ่มมีการใช้น้อยลง และเปลี่ยนไปเป็นIFV(Infantry Fighting Vehicle)มากขึ้นโดยติดอาวุธที่ใหญ่ขึ้นรวมถึงจรวดต่อต้านรถถังเพื่อให้สามารถอยู่สนับสนุนทหารราบต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากปล่อยทหารลงจากรถแล้ว
ด้านเกราะเองก็ปรับปรุงขึ้นมาก IFVของบางชาติเกราะหนามากๆ แถมยังใส่เทคโนโลยีเสริมการป้องกันแบบใหม่ๆเข้าไป แม้จะยังเทียบรถถังหลักไม่ได้ก็ตาม
....
ดังนั้นตอบ จขกท. ดังนี้ (เดาว่า จขกท. หมายถึง APC หรือ IFV และปืนใหญ่ที่ว่าหมายถึงปืนใหญ่วิถีโค้งยิงสนับสนุนจากระยะไกลๆเป็นสิบกิโลเมตร)
1.ถ้าให้ปืนใหญ่ดังกล่าวยิงใส่รถถังลำเลียงจะเข้ามั้ย?
2.แล้วยิงเข้ารึป่าว?
>> น่าจะเข้าครับ โดยเฉพาะถ้ากระสุนตกใส่บริเวณด้านบน(หลังคา)ของรถ เนื่องจากเกราะด้านบนมักจะบางมากๆ
2.1ยิงไม่เข้าและไม่เกิดความเสียหายเลยเหรอ?
2.2ยิงไม่เข้าแต่เกิดความเสียหายแบบไหนบาง?(แบบพวกช้ำในอะครับ)
>> หากไม่เข้าก็ขึ้นกับชนิดปืนใหญ่ที่ยิงมาครับ ถ้าเป็นปืนขนาดใหญ่ๆ(พวก120mmขึ้นไป)ต่อให้ไม่เข้าแต่คนในรถอาจบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากแรงระเบิดได้ครับ
3.จะมีผลกระทบใดๆตามมา?
>> รถพังแน่นอนครับ (เข้าไม่เข้าก็พัง เพียงแต่ถ้าเข้าก็ตายหมู่และหมดโอกาสซ่อมกลับมาใช้ใหม่)
แสดงความคิดเห็น
ปืนใหญ่สมัยก่อน Vs รถถังลำเลียง
ลองคิดเล่นๆนะครับว่า
1.ถ้าให้ปืนใหญ่ดังกล่าวยิงใส่รถถังลำเลียงจะเข้ามั้ย?
2.แล้วยิงเข้ารึป่าว?
2.1ยิงไม่เข้าและไม่เกิดความเสียหายเลยเหรอ?
2.2ยิงไม่เข้าแต่เกิดความเสียหายแบบไหนบาง?(แบบพวกช้ำในอะครับ)
3.จะมีผลกระทบใดๆตามมา?
จากที่ผมบ่นๆมานี่ผมก็ไม่หมั้นใจนักนะครับว่าตั้งกระทู้แบบนี้ถูกหรือป่าว
จากที่ผมเคยทราบมาว่าเกราะรถถังสมัยนี้บางมากผมสงสัยจริงๆครับ
(กระทู้แรกครับผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ)