เรื่องราวของพระศพของกษัตริย์ลาวองค์สุดท้าย


การใช้งานศูนย์สัมมนา เวียงชัย

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อปี 1975 นั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของประเทศลาวในระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แต่งตั้งให้อดีตพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นที่ปรึกษาประธานประเทศ โดยยังขนานนามให้เกียรติพระองค์ว่า “เสด็จเจ้าศรีสว่างวัฒนา” และได้แต่งตั้งเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของพระราชอาณาจักรลาว ให้เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐบาล และยังยินยอมให้พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังหลวงพระบางต่อไป ในเวลานั้น แม้ว่าพระองค์ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆก็ยังพอใจที่จะอยู่อย่างสมถะต่อไป ทุกอย่างแทบเหมือนเดิมเพียงแต่ไม่ได้มีใครเรียกพระองค์ว่า “เจ้ามหาชีวิต” แล้ว


ภาพที่เชื่อว่าเป็นเจ้ามหาชีวิตกับพระมเหสี ณ ศูนย์สัมมนาเมืองเวียงชัย

เดือนเมษายน 1976 รัฐบาล สปป.ลาว ได้สั่งการให้ขับไล่พระราชวงศ์หลวงพระบางออกไปจากพระราชวัง พร้อมทั้งยึดทรัพย์สินและพระราชวังหลวงพระบางไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ อดีตเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาได้ทรงประทับอยู่ที่บริเวณข้างๆวัดเชียงทองและยังใช้ชีวิตตามปกติ ทว่าสถานการณ์ในประเทศลาวตอนนั้นเต็มไปด้วยกลับทหารม้งและกลุ่มลาวนอกที่ต่อต้านรัฐบาล สปป.ลาว รัฐบาล สปป.ลาว ได้มุ่งเป้าไปที่พระเจ้ามหาชีวิตซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่พวกทหารม้งได้ทำการต่อต้านขึ้นมา ดังนั้นในเดือนมีนาคม 1977 รัฐบาล สปป.ลาว ได้นำทหารกลุ่มหนึ่งคุมตัวพระเจ้ามหาชีวิต,พระมเหสี,และมกุฎราชกุมาร ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์สัมมนาเวียงชัย แขวงหัวพัน

คำว่าสัมมนา ในความหมายของพรรคประชาชนปฎิวัติลาวนั้น มี 2 ความหมาย แต่ในทางเป้าหมายถือเป็นความหมายเดียวกัน กล่าวคือ ทางหนึ่งคือการสัมมนาแบบเน้นวิชาการ กลุ่มที่จะเชิญมาสัมมนาจะได้รับการฟังอบรมเรื่องความดีและข้อดีของการเป็นคอมมิวนิสต์ ข้อเสียของการเป็น “ทุนนิยม” หรือ “ศักดินา” ผู้ที่ได้รับการสัมมนาจะต้องนั่งฟังการอบรมนี้ไปเยอะๆและนานๆจนกว่าจะสามารถเข้าใจความดีของระบอบคอมมิวนิสต์ได้และได้มีความคิดเชิงลบต่อระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในขณะที่อีกทางนั้นคือการล้างสมองโดยวิธีทางปฏิบัติ กล่าวคือ ผู้ที่ได้รับการสัมมนาแบบนี้จะต้องถูกใช้งานอย่างเหน็ดเหนื่อยและต้องใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นเพื่อที่จะได้เรียนรู้ความเข้าใจความเหน็ดเหนื่อยของ “ชนชั้นล่าง” ซึ่งทางคอมมิวนิสต์ค่อนข้างเชิดชูกลุ่มนี้ การล้างสมองแบบนี้จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าแบบการอบรม แต่การดำเนินชีวิตที่แร้นแค้นและเหน็ดเหนื่อยทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ขึ้นอยู่การปฏิบัติต่อนักโทษ กรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศจีนคือการนำอดีตพระจักรพรรดิผู่อี๋มาใช้งานและทำงานสารพัดอย่างและฟังการอบรมสัมมนา แต่ไม่หนักหน่วงเท่ากับประเทศลาว และมีเวลากำหนดแน่นอน ปัจจุบันมีประเทศเดียวที่ใช้ระบบการ “ลงโทษ” นี้อยู่คือ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นการให้นักโทษได้ทำงานและอยู่อย่างแร้นแค้นอย่างหนัก

เช่นเดียวกันกับพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา,พระมเหสีคำผุย และเจ้าฟ้าชายวงศ์สว่าง ทั้ง 3 พระองค์ได้เข้าค่ายสัมมนานี้โดยถูกเลือกให้ทำการสัมมนาภาคปฏิบัติ กล่าวคือ ทั้ง 3 พระองค์ต้องทำงานอย่างหนักให้กับผู้คุมในค่าย ซึ่งงานที่พระเจ้ามหาชีวิตถูกบังคับให้ทำก็มี การปลูกผัก,ลับมีด,เลี้ยงควาย และ ทำนา ซึ่งมีหลายครั้งที่ผู้คุมจะใช้สารพัดวิธีดูถูกเหยียดหยามกลั่นแกล้งพระเจ้ามหาชีวิต เช่นลักควายของพระองค์แล้วเยาะเย้ยถากถางพระองค์ หรือ เยาะเย้ยที่พระองค์ปลูกผักไม่ได้ เป็นต้น

การใช้งานพระเจ้ามหาชีวิตใช้เวลาประมาณ 6 วัน/สัปดาห์ วันล่ะ 24 ชั่วโมง พระกระยาหารที่ได้เสวยคือ ข้าวคุณภาพต่ำที่ให้เพียงครั้งล่ะ 2 ถ้วย อาจจะไม่ได้เสวยทุกมื้อ และต้องสรงน้ำ (อาบน้ำ) 15 วันจึงจะอาบได้ครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าการอาบน้ำน้อยเป็นสาเหตุหนึ่งของการสวรรคตก็เป็นได้ เจ้าฟ้าชายวงศ์สว่างและพระเจ้ามหาชีวิตสิ้นพระชนม์เมื่อเดือนพฤษภาคม 1978 หรืออาจจะคลาดเคลื่อน หลังจากนั้นก็ได้นำพระมเหสีคำผุยไปคุมขังและใช้งานที่สบเฮาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ 12 ธันวาคม 1978

สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของทั้ง 3 พระองค์ มีหลายอย่างตามที่มีผู้เขียนคิดกันอยู่ บ้างก็ว่าสิ้นพระชนม์เพราะเป็นพระโรคขาดสารอาหาร บ้างก็ว่าสิ้นพระชนม์เพราะประชวรด้วยพระโรคมาลาเรีย บ้างก็ว่าสิ้นพระชนม์เพราะถูกผู้คุมทำการทรมานจนสิ้นพระชนม์ หรือก็เชื่อว่าทรงเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานที่หนักหน่วงมากเกินไป ซึ่งจากปากคำของไกรสร พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวในขณะนั้นได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อฝรั่งเศสในปี 1984 ว่า พระองค์เป็นโรคขาดสารอาหาร ซึ่งมีความเป็นไปได้อยู่บ้างจากการที่พระองค์เสวยพระกระยาหารน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานอ้างอิงหลายๆชิ้น ได้ความสรุปกันคร่าวๆว่า การสิ้นพระชนม์ของทั้ง 3 พระองค์เกิดได้ 2 ข้อคือ

1.สิ้นพระชนม์เพราะได้รับพระกระยาหารน้อยและถูกใช้งานอย่างหนักหน่วง ซึ่งถือว่าพระองค์เหนื่อยและเสวยพระกระยาหารน้อยเกินไป ทำให้พละกำลังของพระองค์ถดถอย ประกอบกับพระชนมายุที่สูงมากของพระองค์ ก็ทำให้พระองค์สิ้นพระชนม์ลงด้วยความเหน็ดเหนื่อยจากการถูกใช้แรงงาน

2.สิ้นพระชนม์เพราะสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างสกปรก อันเนื่องมาจากการอยู่กินของค่ายสัมมนาที่ปราศจากอนามัย ทำให้เกิดโรคภัยตามมา ทำให้ทั้ง 3 พระองค์สิ้นพระชนม์ลง


ที่ตั้งศูนย์สัมมนาเวียงชัยเบอร์1

อย่างไรก็ตาม ด้วยวัย เพศ สภาพแวดล้อม การทำงาน ของพระองค์ทั้ง 3 ที่อาจจะแตกต่างกัน ทำให้เชื่อว่าทั้ง 3 พระองค์ไม่ได้มีการสิ้นพระชนม์ ซึ่งถ้าหากประเมินจากด้านเหล่านี้แล้ว เชื่อว่าพระเจ้ามหาชีวิตทรงสิ้นพระชนม์ตามข้อ 1 ขณะที่พระมเหสีคำผุยและเจ้าฟ้าวงศ์สว่างสิ้นพระชนม์ตามข้อ 2

สถานที่ฝังพระศพของ 3 พระองค์ คาดการณ์กันว่าฝังอยู่ใกล้ๆเขตค่ายแต่ไม่ได้อยู่ในเขตค่าย และไม่มีหลักฐานชัดเจนใดๆว่าสถานที่ฝังพระศพของทั้ง 3 พระองค์อยู่ตรงไหน เพราะในเวลาต่อมาได้มีการรื้อค่ายสัมมนาลง และยกเลิกการทำการสัมมนา หากแต่ในเวลาปัจจุบันทำให้เราทราบสถานที่ที่ระบุไว้ในหนังสือ An Enormous Crime: The Definitive Account of American POWs Abandoned in Southeast Asia ซึ่งระบุพิกัดของค่ายไว้ชัดเจน กล่าวคือ ศูนย์สัมมนาเวียงชัยเบอร์ 1 อยู่ที่ พิกัด 20° 25′ N, 104° 14′ E ส่วนพิกัดของศูนย์สัมมนาสบเฮาอยู่ที่ พิกัด 20°33′ N, 104°27′ E


ที่ตั้งศูนย์สัมมนาสบเฮา

จากการค้นหาโดย Google Maps ทำให้เชื่อว่าพระศพของทั้ง 3 พระองค์ อาจจะถูกฝังไว้ป่าข้างๆ ค่ายสัมมนานั้น ซึ่งหากพิจารณาดู เวลาผ่านไปเกือบ 40 พระศพอาจจะไม่เหลืออยู่แล้วก็เป็นได้ หรืออาจจะเหลือเพียง พระอัฐิ ไว้ ตามหลักการวิทยาศาสตร์เรื่องการย่อยสลาย

มีเหตุผลเสริมประกอบว่าด้วยชะตากรรมของพระศพว่าเป็นอย่างไรนั้น อาจจะมีความเป็นไปได้สูงว่าพระศพอาจจะไม่ได้อยู่ในเวียงชัยแล้ว เพราะเมื่อเวลาผ่านไป มีชาวบ้านหรือนายทุนเข้าไปทำพื้นที่มาหากิน ก็อาจจะมีการขุดพระศพไปเก็บไว้ในที่ลับก็เป็นได้ หรืออาจจะยังอยู่จนถึงทุกวันนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่