สรุปความหมายของศีลมหาสนิท
ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอดพ้น
“ความเสียสละ” ที่พระเจ้าพระบิดาและพระบุตรทรงแสดงให้เห็น จำเป็นต้องกล่าวถึงศีลมหาสนิทหรือพิธี
บูชาขอบพระคุณ
“พิธีบูชาขอบพระคุณ” ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า เป็น
“ธรรมล้ำลึกปัสกา” เป็นธรรมล้ำลึกเรื่องความรอดพ้นของเรา
ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ ติดแน่นอยู่กับพระธรรมชาติมนุษย์ของพระเยซูเจ้า และดังนี้จึงเกี่ยวข้องกับการที่พระบุตรของพระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์ พระตรี
เอกภาพ ใจกลางของธรรมล้ำลึกการรับสภาพมนุษย์และธรรมล้ำลึกปัสกา ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขของพระเจ้าพระบิดา ก็คือ การสละพระบุตรแต่พระองค์
เดียวของพระองค์ให้เรา (ยน 3:16-17)
การที่พระคริสตเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เป็นการที่พระองค์ทรงเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดา เพื่อช่วยให้โลกได้รอดพ้นโดยอาศัยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ซึ่งเรียกรวมกันได้ว่า “ธรรมล้ำลึกปัสกา”
ความเชื่อฟังของพระคริสตเจ้าจนทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นการสละตนโดยสิ้นเชิงด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
“แม้ว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาสเป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับ ทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน” (ฟป 2:6-8)
ในการรับสภาพมนุษย์และในธรรมล้ำลึกปัสกา มีการเสวนาและการแลกเปลี่ยนที่ล้ำลึกระหว่างพระบิดาและพระบุตรเกิดขึ้น การที่พระคริสตเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์และสิ้นพระชนม์นับว่าเป็นการที่พระบุตรทรงรับและปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงยอมสละพระองค์เพื่อพระบิดาจะทรงทำให้แผนการที่ทรงมีสำหรับโลกสำเร็จไปได้ นี่คือความรักที่พระคริสตเจ้าทรงมีต่อพระบิดาและต่อโลกคือต่อมนุษยชาติ การกลับคืนพระชนมชีพของพร คริสตเจ้าเป็นการที่พระบิดาเจ้าทรงรับการถวายชีวิตบนไม้กางเขน พระบิดาทรงยอมรับและทรงปลุกให้พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพก็เพื่อจะได้ประทานชีวิตนั้นให้แก่โลก คือแก่มนุษยชาติ
ผลจากการเสวนาที่สำเร็จไปในการกลับคืนพระชนมชีพนี้ คือ การประทานพระจิตเจ้าให้แก่โลก เป็นการประทานชีวิตแก่โลก เป็นการให้กำเนิดแก่พระศาสนจักร ในเหตุการณ์นี้ นับได้ว่าพระเจ้าและมนุษยชาติมีการเสวนาครั้งใหญ่ในองค์พระจิตเจ้า เป็นการเสวนาเพื่อแบ่งปันชีวิตของพระเจ้าให้แก่มนุษยชาติ
พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทในการที่พระบุตรทรงรับสภาพมนุษย์
“พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน เพราะฉะนั้น บุตรที่จะเกิดมาจะรับนามว่าบุตรของพระเจ้า” (ลก 1:35) พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทในพันธกิจในโลกนี้ของพระคริสตเจ้าด้วย บัดนี้ พระจิตเจ้าก็ทรงมีบทบาทในการถือกำเนิดในชีวิต และในศาสนบริการของพระศาสนจักรด้วย
พระตรีเอกภาพเป็นหัวใจของศีลมหาสนิทหรือพิธีบูชาขอบพระคุณ ในการเลี้ยงอาหารมื้อค่ำครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท เพื่อ
ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์อยู่ตลอดไป
ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอดพ้น
ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรอดพ้น “ความเสียสละ” ที่พระเจ้าพระบิดาและพระบุตรทรงแสดงให้เห็น จำเป็นต้องกล่าวถึงศีลมหาสนิทหรือพิธี
บูชาขอบพระคุณ “พิธีบูชาขอบพระคุณ” ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพขององค์พระผู้เป็นเจ้า เป็น “ธรรมล้ำลึกปัสกา” เป็นธรรมล้ำลึกเรื่องความรอดพ้นของเรา
ศีลศักดิ์สิทธิ์ประการนี้ ติดแน่นอยู่กับพระธรรมชาติมนุษย์ของพระเยซูเจ้า และดังนี้จึงเกี่ยวข้องกับการที่พระบุตรของพระเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์ พระตรี
เอกภาพ ใจกลางของธรรมล้ำลึกการรับสภาพมนุษย์และธรรมล้ำลึกปัสกา ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขของพระเจ้าพระบิดา ก็คือ การสละพระบุตรแต่พระองค์
เดียวของพระองค์ให้เรา (ยน 3:16-17)
การที่พระคริสตเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์เป็นการที่พระองค์ทรงเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดา เพื่อช่วยให้โลกได้รอดพ้นโดยอาศัยการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ซึ่งเรียกรวมกันได้ว่า “ธรรมล้ำลึกปัสกา”
ความเชื่อฟังของพระคริสตเจ้าจนทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเป็นการสละตนโดยสิ้นเชิงด้วยความรักที่ไม่มีเงื่อนไข “แม้ว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้น เป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาสเป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับ ทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน” (ฟป 2:6-8)
ในการรับสภาพมนุษย์และในธรรมล้ำลึกปัสกา มีการเสวนาและการแลกเปลี่ยนที่ล้ำลึกระหว่างพระบิดาและพระบุตรเกิดขึ้น การที่พระคริสตเจ้าทรงรับสภาพมนุษย์และสิ้นพระชนม์นับว่าเป็นการที่พระบุตรทรงรับและปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาอย่างสมบูรณ์ พระองค์ทรงยอมสละพระองค์เพื่อพระบิดาจะทรงทำให้แผนการที่ทรงมีสำหรับโลกสำเร็จไปได้ นี่คือความรักที่พระคริสตเจ้าทรงมีต่อพระบิดาและต่อโลกคือต่อมนุษยชาติ การกลับคืนพระชนมชีพของพร คริสตเจ้าเป็นการที่พระบิดาเจ้าทรงรับการถวายชีวิตบนไม้กางเขน พระบิดาทรงยอมรับและทรงปลุกให้พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพก็เพื่อจะได้ประทานชีวิตนั้นให้แก่โลก คือแก่มนุษยชาติ
ผลจากการเสวนาที่สำเร็จไปในการกลับคืนพระชนมชีพนี้ คือ การประทานพระจิตเจ้าให้แก่โลก เป็นการประทานชีวิตแก่โลก เป็นการให้กำเนิดแก่พระศาสนจักร ในเหตุการณ์นี้ นับได้ว่าพระเจ้าและมนุษยชาติมีการเสวนาครั้งใหญ่ในองค์พระจิตเจ้า เป็นการเสวนาเพื่อแบ่งปันชีวิตของพระเจ้าให้แก่มนุษยชาติ
พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทในการที่พระบุตรทรงรับสภาพมนุษย์ “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่าน และพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน เพราะฉะนั้น บุตรที่จะเกิดมาจะรับนามว่าบุตรของพระเจ้า” (ลก 1:35) พระจิตเจ้าทรงมีบทบาทในพันธกิจในโลกนี้ของพระคริสตเจ้าด้วย บัดนี้ พระจิตเจ้าก็ทรงมีบทบาทในการถือกำเนิดในชีวิต และในศาสนบริการของพระศาสนจักรด้วย
พระตรีเอกภาพเป็นหัวใจของศีลมหาสนิทหรือพิธีบูชาขอบพระคุณ ในการเลี้ยงอาหารมื้อค่ำครั้งสุดท้าย พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิท เพื่อ
ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์อยู่ตลอดไป