อ้างอิง
http://www.thairath.co.th/content/485331
--------
บุญ คือ การบริจาค ? บริจาคเงินมากๆ แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ ? การสะเดาะเคราะห์ จะทำให้พ้นทุกข์ ? เชื่อว่าหลายคนยังไม่เข้าใจถึงการทำบุญที่แท้จริง หลายคนยังคงทุ่มเม็ดเงินแลกกับการได้ขึ้นสวรรค์ หลายคนยังเชื่อพิธีสะเดาะเคราะห์แก้กรรม เพื่อหวังลบล้างความผิดที่เคยก่อ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสสนทนากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา และเรื่องราวของการทำบุญที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร...
--------
ทำบุญ ควรทำทั้ง 3 อย่าง ทาน ศีล ภาวนา
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต ได้เขียนความหมายของคำว่า บุญ ไว้ในหนังสือ ‘ก้าวไปในบุญ’ ว่า เป็นการชําระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ใจกําลังเศร้าหมองขุ่นมัว พอทําบุญ เช่น ถวายทาน เพียงเริ่มตั้งใจจิตใจก็สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้น คนที่ทําบุญคือทําความดี จิตใจก็จะเฟื่องฟูขึ้นในคุณงาม ความดี เพิ่มพูนคุณสมบัติที่ดีๆ ให้แก่ชีวิตจิตใจของตน เวลาทำบุญ สามารถทำได้ทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน ไม่ใช่ว่าต้องทำเฉพาะทานหรือเฉพาะศีล หรือเฉพาะภาวนา ควรทำพร้อมกันทั้ง 3 อย่าง เช่น โยมมาถวายทานที่วัด อย่าให้แต่ทานอย่างเดียว ต้องให้ได้ศีลได้ภาวนาด้วยพร้อมกันทั้งหมด จึงจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ‘ทำบุญ’ มิฉะนั้น ก็ได้แค่ส่วนหนึ่งของบุญคือทาน เท่านั้น
-------
บุญ = อยู่ที่ใจ
พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ รองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ให้ความกระจ่างแก่การทำบุญว่า การทำบุญไม่จำเป็นต้องมาที่วัดเสมอไป การทำบุญทำที่ไหนก็ได้อยู่ที่จิตใจ เมื่อเอาสิ่งของที่มีอยู่นั้น ไปแบ่งปันกับผู้คนด้วยความเข้าใจว่า เมื่อผู้คนนั้นมีความยากจนก็ช่วยแบ่งปันเผื่อแผ่ ฉะนั้น บุญคือการสละแบ่งปัน บุญคือสิ่งที่นำมาสร้างความสุข บุญคือสิ่งที่ใสสะอาด ถ้ารู้เข้าใจไม่ต้องมาที่วัดก็ได้ ทำที่ไหนก็เป็นบุญ
-----------
‘เคราะห์’ สะเดาะไม่ได้ !
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์ชื่อดัง ให้ความรู้เรื่องการสะเดาะเคราะห์ว่า สะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อที่ร้อยเรียงขึ้นมาเพื่อให้สบายใจ ความจริงเคราะห์สะเดาะไม่ได้ มันเหมือนบาปกรรมที่ทำมาตามทัน ทำให้พลังบุญมันอ่อนลง ช่วงไหนที่มีเคราะห์แสดงว่าความไม่ดีที่ทำมันตามมาทัน ความดีอ่อนกำลัง คนโบราณจึงให้ทำบุญเพิ่ม แต่ทำบุญเป็นคำที่ชินหู จึงร้อยเรียงเป็นสะเดาะเคราะห์ เช่น สะเดาะเคราะห์ปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญด้วยการปล่อยชีวิต อีกอย่างต้องไม่เดือดร้อน เสียหาย และไม่งมงาย บางครั้งการปฏิบัติธรรม ทำความดีมันต้องเป็นขั้นเป็นตอน คนยังมีกิเลสที่จะชวนให้พ้นทุกข์ทันทีมันก็คงจะเป็นเรื่องที่ไกล การปฏิบัติง่ายที่สุดก็คือการทำบุญให้ทานเรื่อยๆ
----------
กุศโลบายวัด ทำมากทำน้อยขึ้นอยู่กับศรัทธาและปัญญา
พระมหาสมปอง อธิบายว่า การที่บอกว่าทำมากได้มาก มันไม่เหมาะสม แต่ความจริงแล้วทำมากหรือทำน้อยขึ้นอยู่กับกำลัง ส่วนได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับใจ ต้องแล้วแต่กำลังศรัทธาและแล้วแต่กำลังทรัพย์ด้วย การมีกุศโลบายที่ว่าถ้าทำบุญมากๆ หรือบริจาคมากๆ แล้วจะขึ้นสวรรค์ ที่จริงแล้วไม่ได้ผิด แต่เป็นการทำให้คนงมงายมากขึ้น อย่างบางที่ถ้าบอกว่าทำตามกำลังศรัทธาก็อาจจะทำให้การสร้างโบสถ์ช้า จึงต้องมีกุศโลบายจัดงานวัด เพื่อระดมทุนทรัพย์ในการสร้างโบสถ์ เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเชิญชวน
“บางครั้งเราเที่ยวโทษวัดนั้นวัดนี้ แต่เราอย่าลืมว่าท่านไม่ได้บังคับ เหมือนที่ว่าทำไมต้องให้เช่าพระแพง ท่านไม่ได้บังคับ ท่านเชิญชวนว่ามีแบบนี้ๆ แต่การที่เราจะทำหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ของเรา อย่าเที่ยวโทษพระอย่างเดียว ต้องพิจารณาดูว่าเราศรัทธาเกินไปจนขาดปัญญาหรือเปล่า โยมบางคนเคลิ้มตาม โลภบุญ กลัวเสียหน้า บางคนทำบุญแข่งกัน จริงๆ แล้วทำบุญไม่ต้องแข่งกัน ขณะที่ ธรรมะทุกหมวดที่พระพุทธเจ้าสอนขึ้นต้นด้วยศรัทธาและลงท้ายด้วยปัญญา” พระนักเทศน์ แสดงทัศนะ
----------
ศาสนสถานใหญ่โต โอ่อ่า จำเป็นแค่ไหน ?
พระมหาสมปอง ระบุว่า “ไม่จำเป็นต้องสร้างใหญ่โตหรูหรา วัดบางวัดมีจุดประสงค์แตกต่างกัน บางวัดมีอบรมประชาชน บางวัดมีสำนักเรียน บางครั้งบางคราวการมาปฏิบัติธรรมมันลำบากมากเกินไปก็ไม่มีใครอยากมา ถ้าพระอยู่อย่างสมถะ ญาติโยมก็จะถามว่าทำไมพระไม่สร้างบ้าง การศรัทธาของคนมี 1.ศรัทธาเพราะรูปสิ่งสวยงาม สิ่งสวยงามเยอะแยะมากมายอยากเข้าวัดนั้น 2.ศรัทธาเพราะเสียง วัดไหนมีการเทศน์ศรัทธาวัดนั้น 3.ศรัทธาพระที่อยู่แบบพอเพียง ต้องตอบโจทย์โยมให้ได้ เพราะโยมมีศรัทธาไม่เหมือนกัน เพราะพระไม่ใช่อรหันต์ที่จะตอบโจทย์โยมได้ทุกเรื่อง”
----------
ศีล-ธรรม สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แท้จริงของพุทธศาสนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เจ้าสำนักสวนสันติธรรม อธิบายว่า ศีลและธรรม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ประเสริฐที่สุด มนุษย์จะต้องศึกษาให้เข้าใจวิธีการพัฒนาศีลและธรรม แล้วลงมือปฏิบัติ และเมื่อใดก็ตามที่ศีลและธรรมเข้ามาอยู่ในจิตใจมนุษย์แล้วไซร้ เมื่อนั้นจะพบที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ตกลงไปสู่ความชั่วและความทุกข์
ชื่อในเหตุผล มากกว่า ฝักใฝ่ขึ้นสวรรค์
หลวงพ่อปราโมทย์ ให้ข้อคิดเตือนใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า ชาวพุทธต้องดำรงชีวิตด้วยความมีเหตุผล ไม่ใช่ความงมงาย ต้องเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ใช่หวังร้องขอความช่วยเหลือจากอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ต้องรู้ว่างานหลักในชีวิตคือการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่ใช่แค่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะหน้าซึ่งเป็นของไม่ยั่งยืน ต้องลงมือพัฒนาจิตเพื่อความพ้นทุกข์ให้ได้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ฝันลมๆ แล้งๆ ถึงชาติหน้าหรือสวรรค์ ต้องพยายามรักษาศีล 5 เพื่อความร่มเย็นของสังคมและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิต ไม่ใช่ยอมทำผิดศีลเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน
“ชาวพุทธทุกคนควรศึกษาให้ดีว่าอะไรเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อะไรเป็นสิ่งปลอมปนด้วยความเข้าใจผิดของผู้เผยแพร่บ้าง ด้วยการแอบแฝงแสวงประโยชน์ของผู้เผยแพร่บ้าง ถ้าเราแยกแยะไม่ออก เราอาจถูกชักจูงไปสู่ความหลงผิดได้ เช่น คนที่เขาต้องการทรัพย์สินของเราเขาอาจหลอกเราว่า ใครจ่ายเงินบริจาคทานมากจะได้ขึ้นสวรรค์หรือร่ำรวย ทั้งที่การทำทานที่แท้จริงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว
เราจะเข้าวัดหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของความชั่วในใจเราเอง และไม่ตกเป็นเหยื่อของคนที่แอบแฝงเข้ามาใช้พระพุทธศาสนาหลอกลวงเอาผลประโยชน์จากความไม่รู้ของเรา” หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ให้ข้อคิดเตือนสติ.
ตอบโจทย์แรงศรัทธาญาติโยมโดย เกจิดังส่องแสงธรรมแก่นแท้พระพุทธศาสนา
http://www.thairath.co.th/content/485331
--------
บุญ คือ การบริจาค ? บริจาคเงินมากๆ แล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ ? การสะเดาะเคราะห์ จะทำให้พ้นทุกข์ ? เชื่อว่าหลายคนยังไม่เข้าใจถึงการทำบุญที่แท้จริง หลายคนยังคงทุ่มเม็ดเงินแลกกับการได้ขึ้นสวรรค์ หลายคนยังเชื่อพิธีสะเดาะเคราะห์แก้กรรม เพื่อหวังลบล้างความผิดที่เคยก่อ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสสนทนากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา และเรื่องราวของการทำบุญที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร...
--------
ทำบุญ ควรทำทั้ง 3 อย่าง ทาน ศีล ภาวนา
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต ได้เขียนความหมายของคำว่า บุญ ไว้ในหนังสือ ‘ก้าวไปในบุญ’ ว่า เป็นการชําระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ใจกําลังเศร้าหมองขุ่นมัว พอทําบุญ เช่น ถวายทาน เพียงเริ่มตั้งใจจิตใจก็สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้น คนที่ทําบุญคือทําความดี จิตใจก็จะเฟื่องฟูขึ้นในคุณงาม ความดี เพิ่มพูนคุณสมบัติที่ดีๆ ให้แก่ชีวิตจิตใจของตน เวลาทำบุญ สามารถทำได้ทั้ง 3 อย่างพร้อมกัน ไม่ใช่ว่าต้องทำเฉพาะทานหรือเฉพาะศีล หรือเฉพาะภาวนา ควรทำพร้อมกันทั้ง 3 อย่าง เช่น โยมมาถวายทานที่วัด อย่าให้แต่ทานอย่างเดียว ต้องให้ได้ศีลได้ภาวนาด้วยพร้อมกันทั้งหมด จึงจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ‘ทำบุญ’ มิฉะนั้น ก็ได้แค่ส่วนหนึ่งของบุญคือทาน เท่านั้น
-------
บุญ = อยู่ที่ใจ
พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ รองเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ให้ความกระจ่างแก่การทำบุญว่า การทำบุญไม่จำเป็นต้องมาที่วัดเสมอไป การทำบุญทำที่ไหนก็ได้อยู่ที่จิตใจ เมื่อเอาสิ่งของที่มีอยู่นั้น ไปแบ่งปันกับผู้คนด้วยความเข้าใจว่า เมื่อผู้คนนั้นมีความยากจนก็ช่วยแบ่งปันเผื่อแผ่ ฉะนั้น บุญคือการสละแบ่งปัน บุญคือสิ่งที่นำมาสร้างความสุข บุญคือสิ่งที่ใสสะอาด ถ้ารู้เข้าใจไม่ต้องมาที่วัดก็ได้ ทำที่ไหนก็เป็นบุญ
-----------
‘เคราะห์’ สะเดาะไม่ได้ !
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักเทศน์ชื่อดัง ให้ความรู้เรื่องการสะเดาะเคราะห์ว่า สะเดาะเคราะห์ เป็นความเชื่อที่ร้อยเรียงขึ้นมาเพื่อให้สบายใจ ความจริงเคราะห์สะเดาะไม่ได้ มันเหมือนบาปกรรมที่ทำมาตามทัน ทำให้พลังบุญมันอ่อนลง ช่วงไหนที่มีเคราะห์แสดงว่าความไม่ดีที่ทำมันตามมาทัน ความดีอ่อนกำลัง คนโบราณจึงให้ทำบุญเพิ่ม แต่ทำบุญเป็นคำที่ชินหู จึงร้อยเรียงเป็นสะเดาะเคราะห์ เช่น สะเดาะเคราะห์ปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญด้วยการปล่อยชีวิต อีกอย่างต้องไม่เดือดร้อน เสียหาย และไม่งมงาย บางครั้งการปฏิบัติธรรม ทำความดีมันต้องเป็นขั้นเป็นตอน คนยังมีกิเลสที่จะชวนให้พ้นทุกข์ทันทีมันก็คงจะเป็นเรื่องที่ไกล การปฏิบัติง่ายที่สุดก็คือการทำบุญให้ทานเรื่อยๆ
----------
กุศโลบายวัด ทำมากทำน้อยขึ้นอยู่กับศรัทธาและปัญญา
พระมหาสมปอง อธิบายว่า การที่บอกว่าทำมากได้มาก มันไม่เหมาะสม แต่ความจริงแล้วทำมากหรือทำน้อยขึ้นอยู่กับกำลัง ส่วนได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับใจ ต้องแล้วแต่กำลังศรัทธาและแล้วแต่กำลังทรัพย์ด้วย การมีกุศโลบายที่ว่าถ้าทำบุญมากๆ หรือบริจาคมากๆ แล้วจะขึ้นสวรรค์ ที่จริงแล้วไม่ได้ผิด แต่เป็นการทำให้คนงมงายมากขึ้น อย่างบางที่ถ้าบอกว่าทำตามกำลังศรัทธาก็อาจจะทำให้การสร้างโบสถ์ช้า จึงต้องมีกุศโลบายจัดงานวัด เพื่อระดมทุนทรัพย์ในการสร้างโบสถ์ เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการเชิญชวน
“บางครั้งเราเที่ยวโทษวัดนั้นวัดนี้ แต่เราอย่าลืมว่าท่านไม่ได้บังคับ เหมือนที่ว่าทำไมต้องให้เช่าพระแพง ท่านไม่ได้บังคับ ท่านเชิญชวนว่ามีแบบนี้ๆ แต่การที่เราจะทำหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ของเรา อย่าเที่ยวโทษพระอย่างเดียว ต้องพิจารณาดูว่าเราศรัทธาเกินไปจนขาดปัญญาหรือเปล่า โยมบางคนเคลิ้มตาม โลภบุญ กลัวเสียหน้า บางคนทำบุญแข่งกัน จริงๆ แล้วทำบุญไม่ต้องแข่งกัน ขณะที่ ธรรมะทุกหมวดที่พระพุทธเจ้าสอนขึ้นต้นด้วยศรัทธาและลงท้ายด้วยปัญญา” พระนักเทศน์ แสดงทัศนะ
----------
ศาสนสถานใหญ่โต โอ่อ่า จำเป็นแค่ไหน ?
พระมหาสมปอง ระบุว่า “ไม่จำเป็นต้องสร้างใหญ่โตหรูหรา วัดบางวัดมีจุดประสงค์แตกต่างกัน บางวัดมีอบรมประชาชน บางวัดมีสำนักเรียน บางครั้งบางคราวการมาปฏิบัติธรรมมันลำบากมากเกินไปก็ไม่มีใครอยากมา ถ้าพระอยู่อย่างสมถะ ญาติโยมก็จะถามว่าทำไมพระไม่สร้างบ้าง การศรัทธาของคนมี 1.ศรัทธาเพราะรูปสิ่งสวยงาม สิ่งสวยงามเยอะแยะมากมายอยากเข้าวัดนั้น 2.ศรัทธาเพราะเสียง วัดไหนมีการเทศน์ศรัทธาวัดนั้น 3.ศรัทธาพระที่อยู่แบบพอเพียง ต้องตอบโจทย์โยมให้ได้ เพราะโยมมีศรัทธาไม่เหมือนกัน เพราะพระไม่ใช่อรหันต์ที่จะตอบโจทย์โยมได้ทุกเรื่อง”
----------
ศีล-ธรรม สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่แท้จริงของพุทธศาสนา
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช เจ้าสำนักสวนสันติธรรม อธิบายว่า ศีลและธรรม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่ประเสริฐที่สุด มนุษย์จะต้องศึกษาให้เข้าใจวิธีการพัฒนาศีลและธรรม แล้วลงมือปฏิบัติ และเมื่อใดก็ตามที่ศีลและธรรมเข้ามาอยู่ในจิตใจมนุษย์แล้วไซร้ เมื่อนั้นจะพบที่ยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้ตกลงไปสู่ความชั่วและความทุกข์
ชื่อในเหตุผล มากกว่า ฝักใฝ่ขึ้นสวรรค์
หลวงพ่อปราโมทย์ ให้ข้อคิดเตือนใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายว่า ชาวพุทธต้องดำรงชีวิตด้วยความมีเหตุผล ไม่ใช่ความงมงาย ต้องเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ใช่หวังร้องขอความช่วยเหลือจากอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ต้องรู้ว่างานหลักในชีวิตคือการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ไม่ใช่แค่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะหน้าซึ่งเป็นของไม่ยั่งยืน ต้องลงมือพัฒนาจิตเพื่อความพ้นทุกข์ให้ได้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ฝันลมๆ แล้งๆ ถึงชาติหน้าหรือสวรรค์ ต้องพยายามรักษาศีล 5 เพื่อความร่มเย็นของสังคมและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาจิต ไม่ใช่ยอมทำผิดศีลเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน
“ชาวพุทธทุกคนควรศึกษาให้ดีว่าอะไรเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อะไรเป็นสิ่งปลอมปนด้วยความเข้าใจผิดของผู้เผยแพร่บ้าง ด้วยการแอบแฝงแสวงประโยชน์ของผู้เผยแพร่บ้าง ถ้าเราแยกแยะไม่ออก เราอาจถูกชักจูงไปสู่ความหลงผิดได้ เช่น คนที่เขาต้องการทรัพย์สินของเราเขาอาจหลอกเราว่า ใครจ่ายเงินบริจาคทานมากจะได้ขึ้นสวรรค์หรือร่ำรวย ทั้งที่การทำทานที่แท้จริงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว
เราจะเข้าวัดหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของความชั่วในใจเราเอง และไม่ตกเป็นเหยื่อของคนที่แอบแฝงเข้ามาใช้พระพุทธศาสนาหลอกลวงเอาผลประโยชน์จากความไม่รู้ของเรา” หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ให้ข้อคิดเตือนสติ.