ตระกูลเสือ เสียงคำรามที่จะไม่จบลง

วันนี้เราจะเข้าไปในป่า ไปหา pantherine หรือสัตว์ตระกูลแมวใหญ่กันครับ

7. เสือลายเมฆ
ร่างกายที่ใหญ่โตกว่าแมวบ้านถึงสามเท่าตัว กรงเล็บทีคมกริบราวใบมีด ตัวโตเต็มที่อาจหนักราว 40 ปอนด์ แต่นั่นก็พอสำหรับ
การฆ่าคนให้ถึงตาย เป็นนักล่ากวางและนักปีนต้นไม้ที่เก่งกาจ เขี้ยวยาว 2 นิ้วฟุต
มีสมญานามว่าเป็นนักฆ่าลิง

6.เสือลายเมฆซุนดา
ด้วยขนาดที่อาจหนักได้ถึง 50 ปอนด์ และความสามารถในการสังหารที่ร้ายกาจกว่า เสือลายเมฆซุนดา
จึงเป็นสุดยอดนักฆ่าแห่งอินโดนีเซีย ในการต่อสู้ระหว่างสองสุดยอดแมวนักฆ่า ส่วนมากผู้ชนะ คือเสือลายเมฆซุนดา

5.เสือดาวหิมะ
คราวนี้ใหญ่ได้ถึง 150 ปอนด์ กับจอมฆ่าแพะภูเขา ราชาในจีนและเนปาล นักฆ่าผู้ไม่เคยหวาดกลัว
มันทรงพลังและว่องใว ลายจุดมันตัวทำให้มันถูกเรียกว่าเสือดาวหิมะ  นักฆ่าตัวนี้สามารถกระโจนได้ใกลกว่า
15 เมตร มีอายุยืนกว่า 21 ปีในตัวที่ได้รับการดูแลอย่างดี
เจอได้ในทั้งจีน เนปาล ปากีสถาน และตอนเหนือขอนอินเดีย มันเป็นนักฆ่าม้าชั้นยอดอีกด้วย

4.เสือดาว

พระเอกมาจนได้!
นักฆ่าตัวนี้หนักได้มากกว่า 200 ปอนด์ ความสามารถในการฆ่านั้นไม่อาจรับมือได้โดยง่ายดาย แม้กระทั่งงูเหลือมที่ยาวกว่า 7
เมตร เสือโคร่ง หรือสิงโตตัวเมีย ก็ยังหวาดกลัวต่อสุดยอดนักฆ่าตัวนี้   แรงกัดที่สามารถฆ่าเอแลนด์ร่างยักษ์ง่ายดาย
หักคอวิลเดอบีสด์ สังหารจระเข้ ไล้ตามลิงบนยอดไม้ เป็นนักล่าชั้นยอด เสียดายที่ไม่ค่อยพบในเมืองไทย
เป็นสัตว์ที่ห้ามล่า ตามกฏหมายไทยในฐานะสัตว์ป่าคุ้มครองด้วยนะครับ
3.จากัวร์
ถ้าเสือดาวคือพระเอกบนเวที จากัวร์ก็ต้องเป็นผู้กำกับ!
ยาวได้เกิน 10 ฟุต แรงกัดเป็น 2 เท่าของสิงโต มันจะฆ่าด้วยการกัดที่กระโหลกศรัษะให้ทะลุถึงสมอง
เสือจากัวร์ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์เสือและแมว (Felidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera onca เป็นเสือขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง (P. tigris) และสิงโต (P. leo) มีขนคล้ายเสือดาว (P. pardus) มาก มีสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง มีจุดดำทั้งตัว บริเวณกลางลำตัวมีจุดดำเป็นหมู่ ๆ หลังหูดำ มีจุดสีนวลที่หลังหู มีถิ่นอาศัยพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาจนถึงภูมิภาคอเมริกากลางจรดทวีปอเมริกาใต้ และถือเป็นเสือขนาดใหญ่เพียงชนิดเดียวที่พบในภูมิภาคแถบนี้ พบในป่าทุกประเภท ทั้งป่าทึบ ป่าโปร่ง และป่าที่มีโขดหิน ทนร้อนได้ดี และชอบลงเล่นน้ำ ชอบอยู่โดดเดี่ยว จะอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น กวาง หมู ลิง นกยูง สุนัข และแมลง ใช้ระยะตั้งท้อง 90-105 วัน ให้ลูก 1-4 ตัว น้ำหนักแรกคลอด 700-900 กรัม วัยเจริญพันธุ์ 2-3 ปี อายุยืนมากกว่า 22 ปี
เสือจากัวร์มองภายนอกคล้ายคลึงกับเสือดาวมาก แต่เสือจากัวร์มีหางที่สั้นกว่า ลำตัวบึกบึนมีกล้ามเนื้อมากกว่า จัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก น้ำหนักตัวเต็มที่หนักได้ถึง 350 ปอนด์ ขณะที่เสือดาวหนักเต็มที่ไม่เกิน 240 ปอนด์
โดยชื่อ "จากัวร์" (Jaguar) นั้น มีที่มาจากภาษาของอินเดียแดงว่า “yaguara” มีความหมายว่า สัตว์ร้ายที่ฆ่าเหยื่อด้วยการกระโจนตะครุบครั้งเดียว ชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกากลางและอเมริกาใต้หลายเผ่าใช้เสือจากัวร์เป็นสัญลักษณ์ของความมีอำนาจของวัฒนธรรมของตน

2.สิงโต

สิงโตเป็นสัตว์ที่สูงมากในวงศ์แมวและมีน้ำหนักมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเสือโคร่ง สิงโตมีกะโหลกศีรษะคล้ายกับเสือโคร่งมาก แม้ว่าบริเวณกระดูกหน้าผากจะยุบลงและแบนราบ กับหลังเบ้าตาสั้นกว่าเล็กน้อย กะโหลกศีรษะของสิงโตมีโพรงจมูกกว้างกว่าเสือโคร่ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความแปรผันในของกะโหลกศีรษะของสัตว์ทั้งสองชนิด ปกติแล้วจึงมีเพียงโครงสร้างของขากรรไกรล่างเท่านั้นที่เป็นตัวบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็นสปีชีส์ใด[29] สีขนของสิงโตจะมีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเหลืองจางๆถึงค่อนข้างเหลือง ออกแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีอ่อนกว่าและพู่หางมีสีดำ ลูกสิงโตที่เกิดมาจะมีจุดลายรูปดอกกุหลาบสีน้ำตาลบนลำตัวคล้ายกับเสือดาว แม้ว่าจุดเหล่านี้จะจางหายไปเมื่อสิงโตโตเต็มวัย แต่บ่อยครั้งกลับยังสามารถพบเห็นได้จางๆบนขาและส่วนท้องโดยเฉพาะในสิงโตเพศเมีย

สิงโตเป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวในวงศ์เสือและแมวที่แสดงความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน และแต่ละเพศก็จะบทบาทพิเศษต่างกันไปในฝูง ในกรณีสิงโตเพศเมีย เป็นนักล่าไม่มีแผงคอหนาเป็นภาระเช่นในเพศผู้ ซึ่งดูเหมือนเป็นอุปสรรคต่อสิงโตเพศผู้ที่จะอำพรางตัวเข้าใกล้เหยื่อและสร้างความร้อนเป็นอย่างมากเมื่อต้องวิ่งไล่ติดตามเหยื่อ สีของแผงคอในสิงโตเพศผู้อยู่ระหว่างสีเหลืองอ่อนถึงดำ ปกติจะเข้มขึ้นเรื่อยๆเมื่อสิงโตมีอายุมากขึ้น


ในการเผชิญหน้ากับสิงโตตัวอื่น แผงคอจะทำให้สิงโตดูมีขนาดใหญ่ขึ้น
น้ำหนักของสิงโตที่โตเต็มที่จะอยู่ระหว่าง 150–250 กก. (330–550 ปอนด์) สำหรับเพศผู้ และ 120–182 กก. (264–400 ปอนด์) สำหรับเพศเมีย[30] โนเวลล์ (Nowell) และแจ็คสัน (Jackson) รายงานว่าน้ำหนักตัวของสิงโตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 181 กก.สำหรับเพศผู้ และ 126 กก.สำหรับเพศเมีย มีสิงโตเพศผู้ตัวหนึ่งที่ถูกยิงตายใกล้กับภูเขาเคนยามีน้ำหนัก 272 กก. (600 ปอนด์)[16] สิงโตมีแนวโน้มของขนาดตัวที่แปรผันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและบริเวณถิ่นอาศัย ผลการบันทึกน้ำหนักของสิงโตที่กระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ในกรณีสิงโตในแอฟริกาใต้มีแนวโน้มของน้ำหนักตัวมากกว่าสิงโตในแอฟริกาตะวันออก 5 %[31]

ส่วนศีรษะและลำตัวยาว 170–250 ซม. (5 ฟุต 7 นิ้ว – 8 ฟุต 2 นิ้ว) ในสิงโตเพศผู้ และ 140–175 ซม. (4 ฟุต 7 นิ้ว – 5 ฟุต 9 นิ้ว) ในสิงโตเพศเมีย สูงจรดหัวไหล่ราว 123 ซม. (4 ฟุต) ในเพศผู้ และ 107 ซม. (3 ฟุต 6 นิ้ว) ในเพศเมีย หางยาว 90–105 ซม. (2 ฟุต 11 นิ้ว - 3 ฟุต 5 นิ้ว) ในเพศผู้ และ 70–100 ซม. (2 ฟุต 4 นิ้ว – 3 ฟุต 3 นิ้ว) ในเพศเมีย[30] สิงโตตัวที่ยาวที่สุดเป็นสิงโตเพศผู้แผงคอสีดำที่ถูกยิงตายใกล้กับมุคส์ซู (Mucsso) ทางตอนใต้ของประเทศแองโกลาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1973 สิงโตที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติคือสิงโตกินคนซึ่งถูกยิงตายในปี ค.ศ. 1936 นอกเมืองเฮกทอร์สพริต (Hectorspruit) ในทางตะวันออกของจังหวัดทรานสวาล (Transvaal) ประเทศแอฟริกาใต้ มีน้ำหนัก 313 กก. (690 ปอนด์)[32] สิงโตในที่เลี้ยงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าสิงโตในธรรมชาติ สิงโตที่หนักที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้เป็นสิงโตเพศผู้ที่สวนสัตว์โคลเชสเตอร์ (Colchester) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อว่าซิมบา (Simba) ในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งมีน้ำหนักถึง 375 กก. (826 ปอนด์) แต่หนักเพราะอ้วน

มีลักษณะเด่นชัดมากที่ปรากฏในสิงโตเพศผู้และเพศเมียคือมีขนกระจุกที่ปลายหาง ในสิงโตบางตัว ขนกระจุกจะปกปิด"เงี่ยงกระดูก"หรือ"ปุ่มงอก"ซึ่งยาวประมาณ 5 มม.ซึ่งเกิดจากส่วนสุดท้ายของกระดูกหางรวมตัวกัน สิงโตเป็นสัตว์ตระกูลแมวเพียงชนิดเดียวที่มีขนกระจุกที่ปลายหาง หน้าที่ของขนกระจุกและเงี่ยงกระดูกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เมื่อแรกเกิดลูกสิงโตจะไม่มีขนกระจุกนี้ ขนกระจุกจะเริ่มเกิดขึ้นมาเมื่อมีอายุประมาณ 5½ เดือน และสังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่ออายุ 7 เดือน มีการพบสายพันธ์ย่อยของสิงโตในฐานะฟอสซิลในอเมริกา หนัก 500-800 ปอนด์ แต่มันอาจเป็นแค่ชนิดพันธ์ใกล้เคียงก็ได้ ชื่อของสายพันธ์ฟอสซิลนั้นคือ panthera atox สิงโตมักรวมฝูงเพื่อฆ่าสัตว์ใหญ่กว่า ในอดีตเคยมีในยุโรปแต่สูญพันธ์แล้ว

1.เสือโคร่ง

ราชันย์แห่งป่าทึบตัวจริง อาจหนักได้ร่วม 700 ปอนด์ ในกรณีชองเสือโคร่งไซบีเรีย มักพบรายงานการฆ่าหมูป่า กวางเอลก์ หรือแม้แต่หมีสีน้ำตาล
ในเสือโคร่งไทย ก็มีรายงานการฆ่ากระทิงและแรด รายงานการต่อสู้ระหว่างเสือและสิงโตในธรรมชาติ ถ้าสู้ตัวต่อตัว ผู้ชนะมักจะเป็นเสือเสมอมา
เสือโคร่งมีพฤติกรรมและอุปนิสัยชอบอยู่เพียงลำพังตัวเดียวโดด ๆ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์จึงจะจับคู่กัน อายุที่พร้อมจะผสมพันธุ์ได้นั้นคือ 3-5 ปี โดยตัวเมียจะเป็นสัดทุก ๆ 50 วัน และจะส่งเสียงร้องดังขึ้น ๆ และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ การผสมพันธุ์ของเสือโคร่งนั้นใช้เวลาเร็วมาก คือ ใช้เวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น เมื่อเสร็จแล้วตัวผู้จะแยกจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่น ตัวเมียที่ปฏิสนธิแล้วจะตั้งท้องนานประมาณ 105-110 วัน คลอดลูกครั้งละ 1-6 ตัว และจะเลี้ยงลูกเองตามลำพังโดยไม่ยอมให้ใครเข้าใกล้ประมาณ 2 ปี

ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสลับกับทุ่งหญ้าโล่ง ชอบว่ายน้ำและแช่น้ำมาก ซึ่งแตกต่างจากเสือสายพันธุ์อื่น ล่าเหยื่อได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจะนอนพักผ่อน ล่าเหยื่อในเวลาเย็น พลบค่ำ กลางคืน หรือขณะที่อากาศไม่ร้อนจัด มีสายตาที่มองเห็นได้ทั้งที่มืดและสว่าง จะคืบคลานเข้าหาเหยื่อในระยะใกล้ 10-25 เมตร จนกระทั่งได้ระยะ 2-5 เมตร จึงกระโดดใส่ หากเป็นเหยื่อขนาดเล็กจะกัดที่คอหอย หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เก้ง หรือ กวาง จะกัดที่ท้ายทอยหรือหลังด้านบน เสือโคร่งวิ่งได้เร็วกว่า 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถกระโจนในระยะทาง 500 เมตรได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที[3]

เสือโคร่งมักจะกัดที่คอหอยเหยื่อจากทางด้านบนหรือด้านล่าง บางทีกระโดดตะปบหลังและตะปบขาหลังเหยื่อให้ล้มลงก่อนที่จะกัดคอหอย และเมื่อได้เหยื่อแล้ว จะเริ่มกินเนื้อบริเวณคอก่อน แล้วจึงมากินที่ท้องและกล้ามเนื้อหลัง โดยมักจะไม่กินหัวและขาของเหยื่อ เหยื่อที่เหลือจะถูกฝังกลบโดยใช้ใบไม้ หรือกิ่งไม้ หรือเศษหญ้า และตัวเสือโคร่งเองจะหลบนอนอบู่บริเวณใกล้ ๆ นั้น และบางตัวอาจคาบเหยื่อขึ้นไปขัดไว้ตามคบไม้เหมือนเสือดาว (P. pardus) ด้วยก็ได้(แต่ส่วนมากจะไม่ เพราะเสือโคร่งปีนต้นไม้ไม่เก่ง) เสือโคร่งมีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรงมาก สามารถตามเหยื่อได้ไกล เพศผู้มีพื้นที่ในการหากินกว้างถึง 200-300 ตารางกิโลเมตร ขณะที่ตัวเมียมีเพียง 60 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เพื่อเลี้ยงตัวเองและลูกน้อย

นิสัยปกติจะหวงถิ่น โดยการหันก้นปัสสาวะรดตามต้นไม้ โขดหิน เพื่อให้กลิ่นของตนเองติดอยู่ เพื่อประกาศอาณาเขต ในบางครั้งอาจจะข่วนเล็บกับเปลือกไม้ด้วยเพื่อเป็นการลับเล็บและประกาศอาณาเขต หากมีเสือโคร่งตัวอื่นหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่รุกล้ำมา จะต่อสู้กัน โดยปกติแล้ว เสือโคร่งจะกลัวมนุษย์ จะหลบหนีไปเมื่อพบกับมนุษย์ แต่จะทำร้ายหรือกินเนื้อมนุษย์ได้ เมื่อบาดเจ็บหรือจนตรอก หรือเป็นเสือที่อายุมากแล้วไม่สามารถล่าเหยื่อชนิดอื่นได้ หากได้กินเนื้อมนุษย์ก็จะติดใจและจะกลับมากินอีก จนกลายเป็นเสือกินคน เสือโคร่งที่ใหญ่ที่สุดคือเสือโคร่งไซบีเรียที่อาจยาวได้ 12 ฟุต และหนัก 700 ปอนด์
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/
และ
http://carnivoraforum.com/index/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่