วันนี้เดินทางมาจากต่างจังหวัด เครื่องลงดอนเมือง และต้องนั่งรถบัสเข้ามาอาคารผู้โดยสาร รถไม่เต็มแต่ก็ค่อนข้างแน่น
ปรากฎภาพดังกล่าว..
ภาพที่ 1
เจ้าของท่อนแขนในรูป เป็นสุภาพสตรีชาวต่างชาติ ประเมินคร่าวๆ จากเส้นรอบวงแขน และรอบวงสะโพก คาดว่าน้ำหนักไม่น่าจะด้อยกว่า 110 kg
ภาพที่ 2
เจ้าของ (ชั่วคราว) เสาที่มีเพื่อให้ผู้โดยสารจับประคองเวลารถเคลื่อน เป็นสุภาพสตรีชาวไทย หน้าตาจัดว่าดี
ขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นค่อนข้างมาก แต่เราก็ยังคงพบเห็นผู้ร่วมเดินทาง "จอง" หรือ "แสดงความเป็นเจ้าของ"
พื้นที่สาธารณะดังกล่าว ในรถไฟฟ้าบางสายจะมีป้ายบอกชัดเจนถึงข้อห้ามและการขอความร่วมมือ แต่เรื่องอย่างนี้มันน่าจะเป็นจิตสำนึกพื้นฐานหรือไม่? การเอื้อเฟื้อหรือการคำนึงถึงความจำเป็นของผู้อื่นที่อาจมีมากกว่าเราในบางสถานการณ์ ดังเช่นในรูป สุภาพสตรีเจ้าของท่อนแขนนั้นพยายามมองและส่งสัญญาณบางอย่างให้สุภาพสตรีที่ยืนกอดเสารู้ว่า ตนไม่มีที่จับยึด แต่ดูเหมือนเจ้าของเสาท่านนี้จะไม่สนใจใยดีบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตรอบๆตัวเลย
สำนึกสาธารณะ คือ การนึกถึงเรื่องของคนอื่น เรื่องของส่วนรวม และเรื่องของผู้ด้อยที่ไม่อาจเข้าถึงสิ่งต่างๆ ก่อนเรื่องของตัวเอง ความคิดและทัศนคติอย่างนี้อาจไม่มีสอนในโรงเรียน ครอบครัวควรจะเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่ให้เราได้รู้ได้ตระหนักถึงความดีงามของการไม่เห็นแก่ตน
.
.
.
เสาในรถโดยสาร หรือ รถไฟฟ้า ยังมีคนจองอีกหรือ
ปรากฎภาพดังกล่าว..
ภาพที่ 1
เจ้าของท่อนแขนในรูป เป็นสุภาพสตรีชาวต่างชาติ ประเมินคร่าวๆ จากเส้นรอบวงแขน และรอบวงสะโพก คาดว่าน้ำหนักไม่น่าจะด้อยกว่า 110 kg
ภาพที่ 2
เจ้าของ (ชั่วคราว) เสาที่มีเพื่อให้ผู้โดยสารจับประคองเวลารถเคลื่อน เป็นสุภาพสตรีชาวไทย หน้าตาจัดว่าดี
ขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นค่อนข้างมาก แต่เราก็ยังคงพบเห็นผู้ร่วมเดินทาง "จอง" หรือ "แสดงความเป็นเจ้าของ"
พื้นที่สาธารณะดังกล่าว ในรถไฟฟ้าบางสายจะมีป้ายบอกชัดเจนถึงข้อห้ามและการขอความร่วมมือ แต่เรื่องอย่างนี้มันน่าจะเป็นจิตสำนึกพื้นฐานหรือไม่? การเอื้อเฟื้อหรือการคำนึงถึงความจำเป็นของผู้อื่นที่อาจมีมากกว่าเราในบางสถานการณ์ ดังเช่นในรูป สุภาพสตรีเจ้าของท่อนแขนนั้นพยายามมองและส่งสัญญาณบางอย่างให้สุภาพสตรีที่ยืนกอดเสารู้ว่า ตนไม่มีที่จับยึด แต่ดูเหมือนเจ้าของเสาท่านนี้จะไม่สนใจใยดีบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตรอบๆตัวเลย
สำนึกสาธารณะ คือ การนึกถึงเรื่องของคนอื่น เรื่องของส่วนรวม และเรื่องของผู้ด้อยที่ไม่อาจเข้าถึงสิ่งต่างๆ ก่อนเรื่องของตัวเอง ความคิดและทัศนคติอย่างนี้อาจไม่มีสอนในโรงเรียน ครอบครัวควรจะเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่ให้เราได้รู้ได้ตระหนักถึงความดีงามของการไม่เห็นแก่ตน
.
.
.