มาดูข้อมูลกัน... คนไทยจ่ายภาษีมากแค่ไหน ?

กระทู้คำถาม
ภาษีเป็นกลไกที่สำคัญมากของประเทศ เพราะนอกจากจะเป็นรายได้หลักของรัฐบาลที่นำไปใช้บริหารประเทศแล้ว ภาษียังเป็นกลไกสำคัญในทางเศรษฐกิจและสังคมอีกหลายอย่าง เช่น เป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ เครื่องมือควบคุมการบริโภคสินค้าบางประเภท เครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจผ่านโครงสร้างภาษีชนิดต่างๆ ฯลฯ

ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีหลายประเภท เช่น ภาษีเงินได้ (Income Tax) ที่เก็บจากรายได้ของบุคคล/นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เก็บจากการบริโภคสินค้าและบริการ ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ที่เก็บจากสินค้าบางประเภท และภาษีศุลกากร (Custom Tax) ซึ่งเก็บจากการค้าขายระหว่างประเทศ ตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง [1] ระบุว่าในปี 2012 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรายได้สุทธิจากภาษีทั้งสิ้น 1.83 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากกรมสรรพากรถึงประมาณ 74%

ข้อมูลปี 2010 จากธนาคารโลก [2] ได้แสดงสัดส่วนรายได้รัฐจากภาษีทุกประเภทเทียบกับ GDP ได้ดังนี้


มาเก๊า    34.3%
เดนมาร์ก    33.8%
นอร์เวย์    27.4%
สหราชอาณาจักร    26.7%
ฝรั่งเศส    21.3%
สวีเดน    21.3%
ไทย    16.0%
เกาหลีใต้    15.1%
มาเลเซีย    13.8%
สิงคโปร์    13.5%
ฮ่องกง    13.5%
ลาว    12.9%
ฟิลิปปินส์    ​12.1%
เยอรมนี    11.4%
สเปน    11.3%
อินโดนิเซีย    10.9%
กัมพูชา    10.1%
อินเดีย    9.7%
สหรัฐอเมริกา    9.4%
ญี่ปุ่น    9.1%

เป็นที่น่าสังเกตว่าจากข้อมูลในปี 2010 ประเทศไทยเก็บภาษีทุกประเภทรวมกันได้เป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 16% ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในอาเซียน และสูงกว่าหลายๆประเทศในเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น อินเดีย หรือฮ่องกง รวมทั้งประเทศอย่าง สหรัฐฯ สเปน เยอรมนี ส่วนประเทศที่มีสัดส่วนรายได้ภาษีต่อ GDP สูงกว่าประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในยุโรปโดยเฉพาะประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน เป็นต้น

การจัดเก็บภาษีแต่ละชนิดนั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกันไปไม่เฉพาะแต่เพื่อมุ่งสร้างรายได้เข้ารัฐเพียงอย่างเดียว เช่น ภาษีบุหรี่-สุรา มีเพื่อลดแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าทำลายสุขภาพ ภาษีนำเข้า มีเพื่อปกป้องตลาดสินค้าภายในประเทศบางชนิด โครงสร้างภาษีรายได้แบบขั้นบันไดมีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเทศย่อมมีนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าสัดส่วนรายได้จากภาษีทุกประเภทต่อ GDP ของประเทศไทยที่ค่อนข้างสูงนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้เข้ารัฐแล้ว การใช้จ่ายภาษีโดยรัฐบาลเองก็มีความสำคัญและควรได้รับความสนใจไม่แพ้กัน ดังที่เราได้เคยนำเสนอไปแล้วในเรื่อง “งบประมาณไทยอยู่ตรงไหน” [3] หรือเรื่อง “งบทหารของไทย” [4][5] หรือหากท่านใดสนใจรายละเอียด สามารถสืบค้นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่างๆได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาโดยตรง

http://whereisthailand.info/2013/02/tax-revenue/


เห็นอ้างอิงต่างประเทศเลยเอาข้อมูลภาษี ที่ประเทศไทยจ่าย เทียบกับประเทศต่างๆ อ่านแล้วพินากันเองนะ



ปูเสื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เก็บเท่ารัฐสวัสดิการ

แต่ประชาชนได้คืนเท่าประเทศโลกที่แปด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่