มันวิ่งเล่นบนดาวอังคารอยู่ตอนนี้
มันค้นพบรอยร่องรอยน้ำบนนั้นมากมาย
เจ้าจักรกลแห่งโลก ผู้ไปยังพิภพอื่น เพื่อเตรียมการสำหรับอาณานิคม
เทวทูตอวกาศ....Curiosity
สุดยอดโรเวอร์ยักษ์ที่ทำงานไม่หยุดลำนี้ ใหญ่โตไม่แพ้รถยนต์ทั้งคัน
และนี่คือข้อมูลจำเพาะบางส่วนของเจ้า Curiosity
ชื่อจริง: Mars Science Laboratory (MSL)
ชื่อเล่น: Curiosity (ตั้งโดยเด็กนักเรียน ในโครงการประกวดชื่อของ NASA ครับ)
ขนาด: ยาว 3 เมตร/ กว้าง 2.8 เมตร /สูง 2.1 เมตร (ขนาดประมาณรถ SUV คันเล็กๆ)
มีแขนกลยาว 2 เมตรซึ่งเต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทั้งขุด เจาะ รวมถึงหัววัดต่างๆ
การเคลื่อนที่: มีล้อ 6 ล้อ แต่ละล้อกว้าง 50 เซนติเมตร ตัวโรเวอร์สามารถข้ามสิ่งกีดขวางที่สูงถึง 30 เซนติเมตรได้
น้ำหนักยาน: ชั่งบนโลกหนักราว 900kg ซึ่งหนักกว่าโรเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดรุ่นก่อนหน้ามันถึง 5 เท่าเลยทีเดียว
แหล่งพลังงาน: RTG(radioisotope thermoelectric generator) หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคู่ควบความร้อนจากกัมมันตรังสี และแบต Li-ion
ระบบสื่อสาร: ระบบสื่อสารวิทยุสองทาง
- เครื่องรับส่งคลื่นวิทยุ X-band สำหรับสื่อสารทางตรงกับโลก
- สายอากาศวิทยุช่วง UHF ไว้สื่อสารกับบรรดายานในวงโคจร การสื่อสารอันนี้จะถูกใช้เป็นหลักเนื่องจากส่งข้อมูลได้มากกว่ามากครับ
เครื่องมือ: 10 ชิ้น น้ำหนักรวม 75kg ซึ่งนับเป็น 10 เท่าของอุปกรณ์ในยานที่หนักที่สุดก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยเครื่องมือขั้นสูงทางเคมี ฟิสิกส์ อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์(พูดละเอียดอีกรอบ)
จำนวนกล้อง: 17 ตัว! จะเยอะไปไหน บางตัวเป็นกล้องที่ติดกับอุปกรณ์ มีทั้งกล้องความละเอียดสูง กล้องอินฟราเรด กล้องสามมิติ ฯลฯ เพียบ
ความเร็ว: ราว 30 เมตรต่อชั่วโมง นั่นเร็วกว่าโรเวอร์ลำใดๆบนดาวอังคารมากโขเลยครับ เร็วกว่าหอยทากด้วย
ระยะทางคาดการณ์ก่อนสิ้นภารกิจคือราว 19km
ช่วงเวลาปฏิบัติภารกิจตามแผน: 1 ปีดาวอังคาร หรือ 687 วันโลก
ราคา: 2.5 พันล้าน$ หรือราวๆ 80,000 ล้านบาท!
มันลงจอดที่หลุมอุกกาบาติโบราณ อายุ 3500-4000 ล้านปี มันลงจอดที่จุดเฮลิออส ในหลุมเกลครับ
ยานลำนี้ทำการเก็บตัวอย่างดินและน้ำ มาให้พวกเราทำการวิเคราะห์ถึง สภาพภูมิศาสตร์ และแร่ธาตุในดินบนดาวอังครได้ดีเลยละ
พอครบรอบ "คิวริออสซิตี"ของนาซา ครบรอบการทำงานบนดาวอังคาร 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาบนโลก 687 วัน ได้ปฏิบัติภารกิจหลักในการสำรวจว่าดาวอังคารเคยมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือไม่
ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของคิวริออสซิตีหลังการลงจอดในบริเวณที่เหมือนท้องแม่น้ำเก่าแก่ซึ่งเรียกว่า Yellowknife Bay บนดาวเคราะห์สีแดงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 คือการศึกษาว่าหลุมอุกกาบาตเกล (Gale Crater) จะเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ซับซ้อนได้หรือไม่ และคำตอบที่ได้คือ "ใช่" โดยคำตอบมาจากการขุดสำรวจหินโคลนตัวอย่าง 2 จุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ได้ผลว่าบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลสาปที่มีน้ำอยู่บ้าง เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการมีชีวิตและเป็นแหล่งพลังงานทางเคมีชนิดหนึ่งที่ถูกใช้โดยจุลินทรีย์บางชนิดบนโลก ถ้าหากดาวอังคารมีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้วละก็ นี่จะเป็นบ้านอย่างดีสำหรับพวกมันเลยทีเดียวละครับ
หลักฐานของน้ำนะ เจอจากสนิม ซึ่งจริงๆ เป็นการค้นพบเก่าครับ แต่ไอ้ที่น่ากลัว คือนี่
เครื่องมือที่คูรี่เอาไปวัดได้ละเอียดถึงกระทั่งไอโซโทปของธาตุ ซึ่งข้อมูลนี้อาจบ่งบอกแหล่งที่มาได้ว่ามาจากแหล่งชีวภาพหรือแหล่งกายภาพ
16 ธันวาคม 2014 NASA ได้รายงานอย่างเป็นทางการว่าคูริออซิตี้ตรวจพบการ “เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน” ของมีเธนใกล้ผิวดาวอังคาร และไม่ใช่ครั้งเดียว แต่เป็นการตรวจพบ 4 ครั้งต่อเนื่องในตลอดช่วงสองเดือนที่เฝ้าตรวจสอบ การเพิ่มขึ้นของมีเธนนี้มากขึ้นกว่าระดับปกติถึงสิบเท่า!!
ปริมาณที่ฉับพลันและมากขนาดนี้ไม่สอดคล้องกับแหล่งกำเนิดมีเธนทางกายภาพใดๆที่เรารู้เลย
กราฟแสดงปริมาณมีเธนที่วัดได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของมีเธนสองครั้งใหญ่ๆ ครั้งย่อยๆไม่ได้แสดงในภาพ
คูริออซิตียังพบสารประกอบชีวภาพซับซ้อน chlorobenzene อยู่ภายในหินก้อนนึงที่ชื่อว่า Cumberland อีกด้วย ที่มาของสารนี้ยังคงเป็นปริศนา
แผนที่ แอ่ง Peace Vallis บนดาวอังคารครับ หนึ่งในพึ้นที่สำรวจของคิวริออสซิตี้
จริงๆมีเธนมากๆแบบนี้มันอาจเกิดจากแผ่นดินไหว อุกกาบาตชน พายุขนาดใหญ่ หรือรอยแยกบนดินที่ปลดปล่อยมีเธนกะทันหันก็ได้ แต่ในช่วงเวลานั้นรอบๆเจ้าคูรี่ไม่มีเหตุการณ์ใดๆที่ว่าไปเกิดขึ้น
ถ้างั้นมันมาจากไหน??? การค้นพบนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องกลับมามองแหล่งกำเนิดทางชีวภาพอีกครั้ง พูดให้ชัดๆคือ “สิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร” ที่อาจยังมีชีวิตอยู่บนดาวอังคารตอนนี้ผลิตมันออกมา แต่พวกมันกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเล็กมากๆเท่านั้น ทำให้การตรวจวัดแบบหยาบๆไม่สามารถหาพบได้
แต่เราก็ยังไม่ควรรีบสรุปแบบนั้นครับ สี่ครั้งในสองเดือนยังไม่มากพอ คูริออซิตี้ต้องเก็บข้อมูลต่อไปอีก เราต้องตรวจสอบทุกความเป็นไปได้ว่าอะไรกันแน่ที่ผลิตมีเธนเหล่านั้นออกมา
ถึงกระนั้น ดาวที่เราคิดว่าแห้งตายไปแล้วอย่างดาวอังคารก็ยังมีอะไรเซอร์ไพรซ์เราเรื่อยๆจริงๆครับ
อ้อ อีกด้านของดาวอังคาร เจ้าออพปี้ (Opportunity) โรเวอร์รุ่นพี่ที่สำรวจดาวอังคารมาแล้ว 11 ปี (จากเดิมที่ภารกิจคาดไว้ที่ 90 วัน) ก็เดินทางผ่านกิโลเมตรที่ 41 บนดาวอังคารไปแล้ว แม้จะพบปัญหาเล็กน้อยบ้างระหว่างทาง เช่นเมมโมรี่มีปัญหา จนต้องสั่งรีบูทไป โรเวอร์ลำนี้ก็กำลังจะเข้าสู่บริเวณที่นักธรณีวิทยาคิดว่าเคยเป็นแหล่งสะสมของโคลนโบราณบนดาวอังคาร เมื่อถึงเวลานั้น คงมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาให้ตื่นเต้นอีกแน่นอนครับ
อ้อ จากระยะเวลา 687 วันทีทำการสำรวจมา มันบอกให้รู้ว่า บนดาวอังคาร มีศักยภาพพอที่จะรอบรับชีวิตพึ้นฐานระดับแบคทีเรียได้นะครับ
มีการพบทั้งอนุภาคอาร์กอน ซํลเฟอร์ คาร์บอน แสดงให้เห็นว่าสภาพบรรยากาศบนนั้นมีการเปลื่ยนแปลงที่รุนแรง
มีการพบร่อยร่อยอุกกาบาติ แบบเดียวกับที่เจอบนโลกด้วยนะครับ เป้าหมายต่อไป คือการค้นหาคาร์บอนชีวิตภาพครับ
ตอนนี้ทางนาซาเองกำลังวางแผนจูนโปรแกรมเพิ่มเติมให้โรเวอร์ลำนี้ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://ppantip.com/topic/32239979
http://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_Mars_Science_Laboratory#Evidence_for_ancient_habitability
[url]http://en.wikipedia.org/wiki/Curiosity_(rover)[/url
จบแล้วครับ พอดีปวดหัวไปหน่อย คุณภาพงานเลยจากตกไปบ้างครับ
(เอาบทความมาฝาก)Curiosity...สำรวจดาวอังคารอีกรอบ
มันค้นพบรอยร่องรอยน้ำบนนั้นมากมาย
เจ้าจักรกลแห่งโลก ผู้ไปยังพิภพอื่น เพื่อเตรียมการสำหรับอาณานิคม
เทวทูตอวกาศ....Curiosity
สุดยอดโรเวอร์ยักษ์ที่ทำงานไม่หยุดลำนี้ ใหญ่โตไม่แพ้รถยนต์ทั้งคัน
และนี่คือข้อมูลจำเพาะบางส่วนของเจ้า Curiosity
ชื่อจริง: Mars Science Laboratory (MSL)
ชื่อเล่น: Curiosity (ตั้งโดยเด็กนักเรียน ในโครงการประกวดชื่อของ NASA ครับ)
ขนาด: ยาว 3 เมตร/ กว้าง 2.8 เมตร /สูง 2.1 เมตร (ขนาดประมาณรถ SUV คันเล็กๆ)
มีแขนกลยาว 2 เมตรซึ่งเต็มไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือทั้งขุด เจาะ รวมถึงหัววัดต่างๆ
การเคลื่อนที่: มีล้อ 6 ล้อ แต่ละล้อกว้าง 50 เซนติเมตร ตัวโรเวอร์สามารถข้ามสิ่งกีดขวางที่สูงถึง 30 เซนติเมตรได้
น้ำหนักยาน: ชั่งบนโลกหนักราว 900kg ซึ่งหนักกว่าโรเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดรุ่นก่อนหน้ามันถึง 5 เท่าเลยทีเดียว
แหล่งพลังงาน: RTG(radioisotope thermoelectric generator) หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคู่ควบความร้อนจากกัมมันตรังสี และแบต Li-ion
ระบบสื่อสาร: ระบบสื่อสารวิทยุสองทาง
- เครื่องรับส่งคลื่นวิทยุ X-band สำหรับสื่อสารทางตรงกับโลก
- สายอากาศวิทยุช่วง UHF ไว้สื่อสารกับบรรดายานในวงโคจร การสื่อสารอันนี้จะถูกใช้เป็นหลักเนื่องจากส่งข้อมูลได้มากกว่ามากครับ
เครื่องมือ: 10 ชิ้น น้ำหนักรวม 75kg ซึ่งนับเป็น 10 เท่าของอุปกรณ์ในยานที่หนักที่สุดก่อนหน้านี้ ประกอบด้วยเครื่องมือขั้นสูงทางเคมี ฟิสิกส์ อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์(พูดละเอียดอีกรอบ)
จำนวนกล้อง: 17 ตัว! จะเยอะไปไหน บางตัวเป็นกล้องที่ติดกับอุปกรณ์ มีทั้งกล้องความละเอียดสูง กล้องอินฟราเรด กล้องสามมิติ ฯลฯ เพียบ
ความเร็ว: ราว 30 เมตรต่อชั่วโมง นั่นเร็วกว่าโรเวอร์ลำใดๆบนดาวอังคารมากโขเลยครับ เร็วกว่าหอยทากด้วย
ระยะทางคาดการณ์ก่อนสิ้นภารกิจคือราว 19km
ช่วงเวลาปฏิบัติภารกิจตามแผน: 1 ปีดาวอังคาร หรือ 687 วันโลก
ราคา: 2.5 พันล้าน$ หรือราวๆ 80,000 ล้านบาท!
มันลงจอดที่หลุมอุกกาบาติโบราณ อายุ 3500-4000 ล้านปี มันลงจอดที่จุดเฮลิออส ในหลุมเกลครับ
ยานลำนี้ทำการเก็บตัวอย่างดินและน้ำ มาให้พวกเราทำการวิเคราะห์ถึง สภาพภูมิศาสตร์ และแร่ธาตุในดินบนดาวอังครได้ดีเลยละ
พอครบรอบ "คิวริออสซิตี"ของนาซา ครบรอบการทำงานบนดาวอังคาร 1 ปีซึ่งเท่ากับเวลาบนโลก 687 วัน ได้ปฏิบัติภารกิจหลักในการสำรวจว่าดาวอังคารเคยมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือไม่
ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของคิวริออสซิตีหลังการลงจอดในบริเวณที่เหมือนท้องแม่น้ำเก่าแก่ซึ่งเรียกว่า Yellowknife Bay บนดาวเคราะห์สีแดงในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 คือการศึกษาว่าหลุมอุกกาบาตเกล (Gale Crater) จะเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่ไม่ซับซ้อนได้หรือไม่ และคำตอบที่ได้คือ "ใช่" โดยคำตอบมาจากการขุดสำรวจหินโคลนตัวอย่าง 2 จุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ได้ผลว่าบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลสาปที่มีน้ำอยู่บ้าง เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการมีชีวิตและเป็นแหล่งพลังงานทางเคมีชนิดหนึ่งที่ถูกใช้โดยจุลินทรีย์บางชนิดบนโลก ถ้าหากดาวอังคารมีสิ่งมีชีวิตอยู่แล้วละก็ นี่จะเป็นบ้านอย่างดีสำหรับพวกมันเลยทีเดียวละครับ
หลักฐานของน้ำนะ เจอจากสนิม ซึ่งจริงๆ เป็นการค้นพบเก่าครับ แต่ไอ้ที่น่ากลัว คือนี่
เครื่องมือที่คูรี่เอาไปวัดได้ละเอียดถึงกระทั่งไอโซโทปของธาตุ ซึ่งข้อมูลนี้อาจบ่งบอกแหล่งที่มาได้ว่ามาจากแหล่งชีวภาพหรือแหล่งกายภาพ
16 ธันวาคม 2014 NASA ได้รายงานอย่างเป็นทางการว่าคูริออซิตี้ตรวจพบการ “เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน” ของมีเธนใกล้ผิวดาวอังคาร และไม่ใช่ครั้งเดียว แต่เป็นการตรวจพบ 4 ครั้งต่อเนื่องในตลอดช่วงสองเดือนที่เฝ้าตรวจสอบ การเพิ่มขึ้นของมีเธนนี้มากขึ้นกว่าระดับปกติถึงสิบเท่า!!
ปริมาณที่ฉับพลันและมากขนาดนี้ไม่สอดคล้องกับแหล่งกำเนิดมีเธนทางกายภาพใดๆที่เรารู้เลย
กราฟแสดงปริมาณมีเธนที่วัดได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันของมีเธนสองครั้งใหญ่ๆ ครั้งย่อยๆไม่ได้แสดงในภาพ
คูริออซิตียังพบสารประกอบชีวภาพซับซ้อน chlorobenzene อยู่ภายในหินก้อนนึงที่ชื่อว่า Cumberland อีกด้วย ที่มาของสารนี้ยังคงเป็นปริศนา
แผนที่ แอ่ง Peace Vallis บนดาวอังคารครับ หนึ่งในพึ้นที่สำรวจของคิวริออสซิตี้
จริงๆมีเธนมากๆแบบนี้มันอาจเกิดจากแผ่นดินไหว อุกกาบาตชน พายุขนาดใหญ่ หรือรอยแยกบนดินที่ปลดปล่อยมีเธนกะทันหันก็ได้ แต่ในช่วงเวลานั้นรอบๆเจ้าคูรี่ไม่มีเหตุการณ์ใดๆที่ว่าไปเกิดขึ้น
ถ้างั้นมันมาจากไหน??? การค้นพบนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องกลับมามองแหล่งกำเนิดทางชีวภาพอีกครั้ง พูดให้ชัดๆคือ “สิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร” ที่อาจยังมีชีวิตอยู่บนดาวอังคารตอนนี้ผลิตมันออกมา แต่พวกมันกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเล็กมากๆเท่านั้น ทำให้การตรวจวัดแบบหยาบๆไม่สามารถหาพบได้
แต่เราก็ยังไม่ควรรีบสรุปแบบนั้นครับ สี่ครั้งในสองเดือนยังไม่มากพอ คูริออซิตี้ต้องเก็บข้อมูลต่อไปอีก เราต้องตรวจสอบทุกความเป็นไปได้ว่าอะไรกันแน่ที่ผลิตมีเธนเหล่านั้นออกมา
ถึงกระนั้น ดาวที่เราคิดว่าแห้งตายไปแล้วอย่างดาวอังคารก็ยังมีอะไรเซอร์ไพรซ์เราเรื่อยๆจริงๆครับ
อ้อ อีกด้านของดาวอังคาร เจ้าออพปี้ (Opportunity) โรเวอร์รุ่นพี่ที่สำรวจดาวอังคารมาแล้ว 11 ปี (จากเดิมที่ภารกิจคาดไว้ที่ 90 วัน) ก็เดินทางผ่านกิโลเมตรที่ 41 บนดาวอังคารไปแล้ว แม้จะพบปัญหาเล็กน้อยบ้างระหว่างทาง เช่นเมมโมรี่มีปัญหา จนต้องสั่งรีบูทไป โรเวอร์ลำนี้ก็กำลังจะเข้าสู่บริเวณที่นักธรณีวิทยาคิดว่าเคยเป็นแหล่งสะสมของโคลนโบราณบนดาวอังคาร เมื่อถึงเวลานั้น คงมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาให้ตื่นเต้นอีกแน่นอนครับ
อ้อ จากระยะเวลา 687 วันทีทำการสำรวจมา มันบอกให้รู้ว่า บนดาวอังคาร มีศักยภาพพอที่จะรอบรับชีวิตพึ้นฐานระดับแบคทีเรียได้นะครับ
มีการพบทั้งอนุภาคอาร์กอน ซํลเฟอร์ คาร์บอน แสดงให้เห็นว่าสภาพบรรยากาศบนนั้นมีการเปลื่ยนแปลงที่รุนแรง
มีการพบร่อยร่อยอุกกาบาติ แบบเดียวกับที่เจอบนโลกด้วยนะครับ เป้าหมายต่อไป คือการค้นหาคาร์บอนชีวิตภาพครับ
ตอนนี้ทางนาซาเองกำลังวางแผนจูนโปรแกรมเพิ่มเติมให้โรเวอร์ลำนี้ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://ppantip.com/topic/32239979
http://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_Mars_Science_Laboratory#Evidence_for_ancient_habitability
[url]http://en.wikipedia.org/wiki/Curiosity_(rover)[/url
จบแล้วครับ พอดีปวดหัวไปหน่อย คุณภาพงานเลยจากตกไปบ้างครับ