ประวัติ
เรือประจัญบานมุทสึ (Battleship Mutsu) เป็นเรือประจัญบานลำที่สองในชั้น นางาโตะ (Nagato-Class Battleship)
โดยส่วนใหญ่ถูกใช้ในการซ้อมรบบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้เข้าร่วมการรบที่สมรภูมิ Battle of Midway และ Battle of the Eastern Solomons
สาเหตุการจม
เกิดจากการระเบิดภายในเรือบริเวณคลังกระสุนของป้อมปืนใหญ่ที่ 3 บริเวณท้ายเรือ โดยในขณะนั้นมีทหารอยู่บนเรือ 1,474 นาย
โดยส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนการบินจำนวน 113 นาย และครูฝึกอีก 40 นายจาก Tsuchiura Naval Air Group ซึ่งมาเยี่ยมชมเรือ
หลังการระเบิดมีผู้รอดชีวิต 353 นาย โดยในช่วงสองปีแรกพบศพจำนวน 213 ร่าง และในอีกสองปีต่อมาพบอีก 470 ร่าง
ลำดับเหตุการณ์
วันที่ 8 มิถุนายน 1943
เรือมุทสึทอดสมออยู่ที่ห่างจาก เกาะฮาชิระ (Hashira Island) ประมาณ 3 กิโลเมตร
ในขณะนั้นมีเรือหลายลำอยู่บริเวณใกล้กันเรือมุทสึ เช่น Fuso, Tatsuta และเรือพิฆาตอื่นๆอีกหลายลำ
เวลา 1145: ลูกเรือเตรียมการสำหรับแล่นเรือมุทสึไปยัง ทุ่นจอดเรือหมายเลข 2 (Mooring buoy No. 2)
เนื่องจากเรือนางาโตะกำลังจะแล่นจาก Kure มาในเวลาประมาณ 1300 ลักษณะอากาศมีหมอกหนา
ทัศนวิสัยลดลงเหลือ 500 หลา (ประมาณ 460 เมตร)
ขณะนั้นเรือมุทสึได้มีการบรรจุกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานแบบ Type 3 ขนาด 410 มิลลิเมตร (Type 3 Sanshikidan) เต็มอัตรา
รูปกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานแบบ Type 3 46cm ของเรือรบชั้นยามาโตะ จัดแสดงที่ Yamato Museum
เวลา 1213: เกิดการระเบิดขึ้นบริเวณคลังกระสุนของป้อมปืนใหญ่ที่ 3 การระเบิดที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายแก่เรือมุทสึ
ทำให้เกิดการแตกหักออกเป็นสองส่วน ตัวเรือส่วนหน้า ความยาว 525 ฟุต จมลงจากทางกาบขวาของเรือในทันที
ส่วนท้ายเรือความยาว 147 ยังคงลอยอยู่ผิวน้ำ
เรือฟุโซที่อยู่ใกล้กับเรือมุทสึได้ปล่อยเรือเล็กจำนวนสองลำเข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิต สามารถช่วยลูกเรือได้ 353 นาย
พร้อมทั้งได้มีการประกาศเตือนภัยเรือดำน้ำทันที
เวลา 1430: ไม่พบเรือดำน้ำในบริเวณใกล้เคียง การเตือนภัยเรือดำน้ำถูกยกเลิก
บริเวณอ่าวฮิโรชิมามีการเพิ่มการตรวจตราทั้งทางเรือและทางอากาศ
เรือนางาโตะมาถึงโดยอยู่ห่างจากเรือฟุโซประมาณ 3000 หลา (ประมาณ2750 เมตร)
ทำการรับผู้รอดชีวิตจากเรือทัตสึตะ ผู้บาดเจ็บจำนวน 39 รายถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยเรือทามะนามิ
วันที่ 9 มิถุนายน 1943
เวลา 0200: ผ่านไปประมาณ 14 ชั่วโมงหลังการระเบิด เรือมุทสึส่วนท้ายได้จมลงสู่ก้นทะเลที่ความลึก 40 เมตร
ที่พิกัด 33°58'0"N 132°24'00"E ได้มีการปกปิดข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือมุทสึนี้
ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่ถูกส่งไปประจำการที่หมู่เกาะห่างไกล
สาเหตุของการระเบิด
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุการระเบิดว่าเกิดจากการจัดเก็บกระสุนปืนใหญ่ Sanshikidan
อย่างไม่เหมาะสมหลังการใช้งานในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากเหตุการณ์นี้ได้มีการสั่งระงับการบรรทุกกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้ในเรือทุกลำ
ผู้ออกแบบกระสุนชนิดนี้ Yasui Yasukado ถูกเรียกมาเพื่อทำการทดสอบหาสาเหตุการระเบิด
โดยกระสุนที่ใช้ทดสอบมีทั้งกระสุนในล็อตก่อนหน้าและหลังของกระสุนที่ใช้บนเรือมุทสึ รวมทั้งนำกระสุนที่กู้ได้จากเรือมาทดสอบด้วย
ในขณะทำการทดสอบสีของควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของกระสุนปืนชนิดนี้เป็นสีขาว แต่ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินปืนมีสีน้ำตาลอมแดง
ซึ่งตรงกับผู้เห็นเหตุการณ์ที่ระบุว่าเห็นควันสีน้ำตาลอมแดงในขณะเกิดการระเบิด การทดสอบจบลงโดยการสรุปว่า กระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้ไม่สามารถระเบิดได้ง่ายและจะไม่เกิดการระเบิดหากอุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส
ลักษณะของการแตกตัวของกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานชนิดนี้ (Type 3 Shell, Sanshikidan)
ในภายหลังได้อนุญาตให้ใช้กระสุนชนิดนี้อีกครั้ง จึงมีการออกระเบียบของการขนส่งและการจัดเก็บวัตถุระเบิดบนเรือขึ้น
ผลการสอบสวนได้มีการสรุปว่า การระเบิดน่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แต่ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้จนถึงปัจจุบัน
การกู้เรือ
การกู้เรือครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1949 แต่ก็ถูกยกเลิกไป ภายหลังบริษัท Fukada Salvage Company ได้ทำการกู้ชิ้นส่วนอีกครั้ง
ในปี 1970 จนถึงปี 1970 ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี สามารถกู้ได้ราวๆ 75% โดยชิ้นส่วนสมอเรือ หางเสือ ใบจักร ชิ้นส่วนปืนใหญ่บางกระบอก
และป้อมปืนหมายเลข 4 ชิ้นส่วนที่กู้มาได้ถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์
งบประมาณที่ใช้ในการกู้ 2.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ใช้บุคลากร 56,000 คน เรือ 6,330 ลำ *
Daytona Beach Morning Journal - Jun 8, 1970
ภาพร่างลักษณะของจมของเรือมุทสึ จัดแสดงที่ Kure Marine Museum
ภาพรวมของการกู้ซากเรือมุทสึ โดยในการกู้เรือใช้เครนขนาด 1500 ตัน
ป้อมปืนหมายเลข 4 ที่ได้ทำการกู้ขึ้นมา มีสภาพสมบูรณ์
ภาพแสดงตัวเรือที่ยังคงจมอยู่ใต้ผิวน้ำและส่วนที่สามารถกู้ขึ้นมาได้
การจัดแสดงชิ้นส่วนเรือ
Kure Marine Museum, Kure, Hiroshima – จัดแสดงใบจักร สมอเรือ หางเสือ และปืนใหญ่ขนาดขนาด 410 มิลลิเมตรจากป้อมปืนหมายเลข 3
Museum of Maritime Science, Odaiba, Tokyo – จัดแสดงปืนใหญ่ขนาด 410 มิลลิเมตร
Yasukuni Museum Chiyoda, Tokyo – จัดแสดงปืนใหญ่ Type 3 ขนาด 140 มิลลิเมตร
ป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ดังเดิมก่อนการปรับปรุงเรือในปี 1934-1936 (ไม่ใช่ป้อมปืนที่กู้ขึ้นมาได้) เป็นปืนใหญ่ขนาด 410 มิลลิเมตร
ถูกนำไปตั้งแสดงที่ Imperial Japanese Naval Academy (海軍兵学校) ปัจจุบันคือ Japan Maritime Self Defense Force First Service School
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รูปป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ขนาด 410 มิลลิเมตร ในอดีต
รูปป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ขนาด 410 มิลลิเมตร ในปัจจุบัน
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามจนจบครับ มีข้อมูลใดเพิ่มเติมโพสคอมเมนท์ได้เลยครับ
หมายเหตุ: ผมแปลคำว่า Magazine เป็นภาษาไทยว่าคลังกระสุนนะครับ
Ref:
http://worldoftanks.asia/en/news/pc-browser/27/militarytour02_report/
http://www.pacificwrecks.com/ships/ijn/mutsu.html
http://ww2db.com/image.php?image_id=7586
http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_battleship_Mutsu
http://www.tanken.com/salvage.html
http://minkara.carview.co.jp/en/userid/966840/blog/25138896/
http://tirol.moe-nifty.com/blog/2009/04/182009-2-b744.html
http://www.battlecruisers.org/mutsuwrk.htm
แจ้งข่าวสาร การค้นพบเรือมุซาชิ
ตามที่คุณ สมาชิกหมายเลข 771165 ได้ตั้งกระทู้เมื่อวันก่อน
http://ppantip.com/topic/33315759
ตอนนี้ได้พบพิกัดตำแหน่งที่เรือประจัญบานมุซาชิจมแล้ว โดยผู้ที่พบคือ พอล อลัน จมอยู่ก้นทะเลลึก 1 กิโลเมตร
https://mobile.twitter.com/PaulGAllen/status/572431062522982400
เรือประจัญบานมุซาชิ เป็นเรือชั้นยามาโตะลำที่สอง จมลงในปี 1944 ที่อ่าวเลย์เต
ปฏิบัติการกู้เรือประจัญบาน มุทสึ (IJN Battleship Mutsu)
เรือประจัญบานมุทสึ (Battleship Mutsu) เป็นเรือประจัญบานลำที่สองในชั้น นางาโตะ (Nagato-Class Battleship)
โดยส่วนใหญ่ถูกใช้ในการซ้อมรบบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ได้เข้าร่วมการรบที่สมรภูมิ Battle of Midway และ Battle of the Eastern Solomons
สาเหตุการจม
เกิดจากการระเบิดภายในเรือบริเวณคลังกระสุนของป้อมปืนใหญ่ที่ 3 บริเวณท้ายเรือ โดยในขณะนั้นมีทหารอยู่บนเรือ 1,474 นาย
โดยส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนการบินจำนวน 113 นาย และครูฝึกอีก 40 นายจาก Tsuchiura Naval Air Group ซึ่งมาเยี่ยมชมเรือ
หลังการระเบิดมีผู้รอดชีวิต 353 นาย โดยในช่วงสองปีแรกพบศพจำนวน 213 ร่าง และในอีกสองปีต่อมาพบอีก 470 ร่าง
ลำดับเหตุการณ์
วันที่ 8 มิถุนายน 1943
เรือมุทสึทอดสมออยู่ที่ห่างจาก เกาะฮาชิระ (Hashira Island) ประมาณ 3 กิโลเมตร
ในขณะนั้นมีเรือหลายลำอยู่บริเวณใกล้กันเรือมุทสึ เช่น Fuso, Tatsuta และเรือพิฆาตอื่นๆอีกหลายลำ
เวลา 1145: ลูกเรือเตรียมการสำหรับแล่นเรือมุทสึไปยัง ทุ่นจอดเรือหมายเลข 2 (Mooring buoy No. 2)
เนื่องจากเรือนางาโตะกำลังจะแล่นจาก Kure มาในเวลาประมาณ 1300 ลักษณะอากาศมีหมอกหนา
ทัศนวิสัยลดลงเหลือ 500 หลา (ประมาณ 460 เมตร)
ขณะนั้นเรือมุทสึได้มีการบรรจุกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานแบบ Type 3 ขนาด 410 มิลลิเมตร (Type 3 Sanshikidan) เต็มอัตรา
รูปกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานแบบ Type 3 46cm ของเรือรบชั้นยามาโตะ จัดแสดงที่ Yamato Museum
เวลา 1213: เกิดการระเบิดขึ้นบริเวณคลังกระสุนของป้อมปืนใหญ่ที่ 3 การระเบิดที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายแก่เรือมุทสึ
ทำให้เกิดการแตกหักออกเป็นสองส่วน ตัวเรือส่วนหน้า ความยาว 525 ฟุต จมลงจากทางกาบขวาของเรือในทันที
ส่วนท้ายเรือความยาว 147 ยังคงลอยอยู่ผิวน้ำ
เรือฟุโซที่อยู่ใกล้กับเรือมุทสึได้ปล่อยเรือเล็กจำนวนสองลำเข้าไปช่วยเหลือผู้รอดชีวิต สามารถช่วยลูกเรือได้ 353 นาย
พร้อมทั้งได้มีการประกาศเตือนภัยเรือดำน้ำทันที
เวลา 1430: ไม่พบเรือดำน้ำในบริเวณใกล้เคียง การเตือนภัยเรือดำน้ำถูกยกเลิก
บริเวณอ่าวฮิโรชิมามีการเพิ่มการตรวจตราทั้งทางเรือและทางอากาศ
เรือนางาโตะมาถึงโดยอยู่ห่างจากเรือฟุโซประมาณ 3000 หลา (ประมาณ2750 เมตร)
ทำการรับผู้รอดชีวิตจากเรือทัตสึตะ ผู้บาดเจ็บจำนวน 39 รายถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยเรือทามะนามิ
วันที่ 9 มิถุนายน 1943
เวลา 0200: ผ่านไปประมาณ 14 ชั่วโมงหลังการระเบิด เรือมุทสึส่วนท้ายได้จมลงสู่ก้นทะเลที่ความลึก 40 เมตร
ที่พิกัด 33°58'0"N 132°24'00"E ได้มีการปกปิดข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรือมุทสึนี้
ผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่ถูกส่งไปประจำการที่หมู่เกาะห่างไกล
สาเหตุของการระเบิด
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสาเหตุการระเบิดว่าเกิดจากการจัดเก็บกระสุนปืนใหญ่ Sanshikidan
อย่างไม่เหมาะสมหลังการใช้งานในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากเหตุการณ์นี้ได้มีการสั่งระงับการบรรทุกกระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้ในเรือทุกลำ
ผู้ออกแบบกระสุนชนิดนี้ Yasui Yasukado ถูกเรียกมาเพื่อทำการทดสอบหาสาเหตุการระเบิด
โดยกระสุนที่ใช้ทดสอบมีทั้งกระสุนในล็อตก่อนหน้าและหลังของกระสุนที่ใช้บนเรือมุทสึ รวมทั้งนำกระสุนที่กู้ได้จากเรือมาทดสอบด้วย
ในขณะทำการทดสอบสีของควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของกระสุนปืนชนิดนี้เป็นสีขาว แต่ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินปืนมีสีน้ำตาลอมแดง
ซึ่งตรงกับผู้เห็นเหตุการณ์ที่ระบุว่าเห็นควันสีน้ำตาลอมแดงในขณะเกิดการระเบิด การทดสอบจบลงโดยการสรุปว่า กระสุนปืนใหญ่ชนิดนี้ไม่สามารถระเบิดได้ง่ายและจะไม่เกิดการระเบิดหากอุณหภูมิต่ำกว่า 80 องศาเซลเซียส
ลักษณะของการแตกตัวของกระสุนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานชนิดนี้ (Type 3 Shell, Sanshikidan)
ในภายหลังได้อนุญาตให้ใช้กระสุนชนิดนี้อีกครั้ง จึงมีการออกระเบียบของการขนส่งและการจัดเก็บวัตถุระเบิดบนเรือขึ้น
ผลการสอบสวนได้มีการสรุปว่า การระเบิดน่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์ แต่ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้จนถึงปัจจุบัน
การกู้เรือ
การกู้เรือครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1949 แต่ก็ถูกยกเลิกไป ภายหลังบริษัท Fukada Salvage Company ได้ทำการกู้ชิ้นส่วนอีกครั้ง
ในปี 1970 จนถึงปี 1970 ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ปี สามารถกู้ได้ราวๆ 75% โดยชิ้นส่วนสมอเรือ หางเสือ ใบจักร ชิ้นส่วนปืนใหญ่บางกระบอก
และป้อมปืนหมายเลข 4 ชิ้นส่วนที่กู้มาได้ถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์
งบประมาณที่ใช้ในการกู้ 2.4 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ใช้บุคลากร 56,000 คน เรือ 6,330 ลำ *
Daytona Beach Morning Journal - Jun 8, 1970
ภาพร่างลักษณะของจมของเรือมุทสึ จัดแสดงที่ Kure Marine Museum
ภาพรวมของการกู้ซากเรือมุทสึ โดยในการกู้เรือใช้เครนขนาด 1500 ตัน
ป้อมปืนหมายเลข 4 ที่ได้ทำการกู้ขึ้นมา มีสภาพสมบูรณ์
ภาพแสดงตัวเรือที่ยังคงจมอยู่ใต้ผิวน้ำและส่วนที่สามารถกู้ขึ้นมาได้
การจัดแสดงชิ้นส่วนเรือ
Kure Marine Museum, Kure, Hiroshima – จัดแสดงใบจักร สมอเรือ หางเสือ และปืนใหญ่ขนาดขนาด 410 มิลลิเมตรจากป้อมปืนหมายเลข 3
Museum of Maritime Science, Odaiba, Tokyo – จัดแสดงปืนใหญ่ขนาด 410 มิลลิเมตร
Yasukuni Museum Chiyoda, Tokyo – จัดแสดงปืนใหญ่ Type 3 ขนาด 140 มิลลิเมตร
ป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ดังเดิมก่อนการปรับปรุงเรือในปี 1934-1936 (ไม่ใช่ป้อมปืนที่กู้ขึ้นมาได้) เป็นปืนใหญ่ขนาด 410 มิลลิเมตร
ถูกนำไปตั้งแสดงที่ Imperial Japanese Naval Academy (海軍兵学校) ปัจจุบันคือ Japan Maritime Self Defense Force First Service School
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รูปป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ขนาด 410 มิลลิเมตร ในอดีต
รูปป้อมปืนใหญ่ที่ 4 ขนาด 410 มิลลิเมตร ในปัจจุบัน
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามจนจบครับ มีข้อมูลใดเพิ่มเติมโพสคอมเมนท์ได้เลยครับ
หมายเหตุ: ผมแปลคำว่า Magazine เป็นภาษาไทยว่าคลังกระสุนนะครับ
Ref:
http://worldoftanks.asia/en/news/pc-browser/27/militarytour02_report/
http://www.pacificwrecks.com/ships/ijn/mutsu.html
http://ww2db.com/image.php?image_id=7586
http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_battleship_Mutsu
http://www.tanken.com/salvage.html
http://minkara.carview.co.jp/en/userid/966840/blog/25138896/
http://tirol.moe-nifty.com/blog/2009/04/182009-2-b744.html
http://www.battlecruisers.org/mutsuwrk.htm
ตามที่คุณ สมาชิกหมายเลข 771165 ได้ตั้งกระทู้เมื่อวันก่อน http://ppantip.com/topic/33315759
ตอนนี้ได้พบพิกัดตำแหน่งที่เรือประจัญบานมุซาชิจมแล้ว โดยผู้ที่พบคือ พอล อลัน จมอยู่ก้นทะเลลึก 1 กิโลเมตร
https://mobile.twitter.com/PaulGAllen/status/572431062522982400
เรือประจัญบานมุซาชิ เป็นเรือชั้นยามาโตะลำที่สอง จมลงในปี 1944 ที่อ่าวเลย์เต