ในปี 1936 หลังจากความล้มเหลวในการประชุมในข้อตกลงการจำกัดและปลดอาวุธ จนนำมาสู่สนธิสัญญาลอนดอนฉบับที่ 2 ในปี 1937 นั้นจบลงด้วยความล้มเหลว เมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจถอนตัวออกจากสัญญา อิตาลีปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับสนธิสัญญา จนนำมาสู่การเปลี่ยนและขยายเงื่อนไขของสนธิสัญญา ขนาดระวางสูงสุดของเรือประจัญบานถูกเพิ่มจาก 35000 ตัน ไปสู่ 46000 ตัน ปืนเรือจากเดิมจำกัดอยู่ที่ 14 นิ้ว ได้ถูกขยาบเพิ่มเป็น 16 นิ้ง สหรัฐเลือกที่จะติดตั้งปืนเรือขนาด 16 นิ้ว และขยายขนาดเรือประจัญบานชั้น South Dakota ของตนจนนำไปสู่การออกแบบเรือประจัญบานชั้น Iowa อังกฤษยังคงสไตร์ผู้ดีเลือกที่จะใช้ปืนเรือขนาด 14 นิ้ว ของตนต่อตามเงื่อนไขฉบับเก่าของสนธิสัญญาลอนดอนฉบับที่ 2 ต่อไปในเรือประจัญบานชั้น King George V ของตนเพียงแต่ได้มีการขยายขนาดเรือเพิ่มเติมเล็กน้อย เยอรมันนั้นถึงแม้จะไม่ได้ถูกเชิญเข้าร่วมในการประชุมร่างสนธิสัญญา แต่ก็ยังต้องปฏิบัติตามเป็นนัยๆ ทางด้านฝรั่งเศสเองก็ยังคงมีความเป็นสุภาพบุรุษและยังคงยืนยันที่จะทำตามเงื่อนไขฉบับเก่าของสนธิสัญญาเช่นกัน ตราบใดที่อำนาจของกองเรือของตนนั้นยังคงไม่เป็นสองรองใครในยุโรป
เรือประจัญบานชั้น Dunkerque ของฝรั่งเศส เรือประจัญบานที่มีอานุภาพมากที่สุดในกองทัพเรือฝรั่งเศสตอนนั้น
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญนั้นเกิดขึ้นเมื่ออิตาลีได้มีแผนที่จะตัดสินใจสร้างเรือประจัญบานของตนอย่างเรือประจัญบานชั้น Littorio เพื่อเป็นการตอบโต้ที่ฝรั่งเศสสร้างเรือประจัญบานชั้น Dunkerque ฝรั่งเศสนั้นค่อนข้างวิตกกังวลกับอนุภาพของเรือประจัญบานชั้น Littorio ของอิตาลีมากเลยทีเดียว ในขณะที่ภัยคุกคามจากเยอรมันเองนั้นก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเยอรมันนำโดย"อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"ได้ทำข้อตกลง อังโก-เยอรมัน กับทางอังกฤษจนนำไปสู่ข้ออนุญาติในการขยายขนาดของกองทัพเรือตนเองและฉีกข้อกำหนดของสนธิสัญญาแวร์ซายเป็นชิ้นๆ โดยที่ในการทำข้อตกลงนี้นั้นทางอังกฤษนั้นไม้ได้ปรึกษาหรือบอกให้ทางฝรั่งเศสทราบเลยแต่อย่างใด
เรือประจัญบานชั้น Littorio ภัยคุกคามใหม่ของฝรั่งเศส
เพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามดังกล่าว พลเรือเอก Jean Louis Xavier François Darlan เสนาธิการของกองทัพเรือฝรั่งเศสในขณะนั้นได้มีคำสั่งให้ทางกองทัพศึกษาแบบของเรือหลังจากที่ตนได้มีแผนที่จะสร้างเรือประจัญบานรุ่นใหม่เพื่อตอบโต้ภัยคุกคาม โดยทางกองทัพได้นำเอาแบบของเรือประจัญบานชั้น Dunkerque มาขยายขนาดเพิ่มเติม จนออกมาเป็นแผนแบบของเรือทั้ง 3 คือ Project A,B และ C ใน Project A นั้นจะใช้แบบเรือเดียวกับ Dunkerque คือการนำเอาป้อมปืนไว้ข้างหน้าทั้งหมด แต่อาจจะแตกต่างกันในด้านอาวุธรองซึ่งวางตำแหน่งไม่เหมือนกับ Dunkerque ใน Project B นั้นจะวางป้อมปืนหลักทั้งหน้าและหลังและใช้ป้อมปืนเป็นลักษณะ 4 ลำกล้อง แบบเดียวกับอันแรก ในขณะที่ Project C นั้นจะวางลักษณะป้อมเป็นแบบพิมพ์นิยมของเรือประจัญบานของสหรัฐคือ มี 2 ป้อมหน้าและ 1 ป้อมหลัง ทั้ง 3 แบบนั้นปืนหลักเป็นปืนเรือขนาดมาตรฐาน 15 นิ้ว 48 คาลิเบอร์
เมื่อพิจารณาจากทั้ง 3 แผนแบบนั้น A นั้นมีข้อดีที่ว่าการนำป้อมหลักไปวางไว้ข้างหน้าหมดนั้นมีข้อดีคือเรือสามารถยิงปืนหลักทุกกระบอกที่ตนเองมีไปยังเรือฝ่ายศัตรูจากกราบหน้าได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องหันข้างกราบเรือไปจนกลายเป็นเป้าขนาดใหญ่ให้อีกฝ่ายยิงสวนมา แต่แผนแบบ A นั้นเรือจะสูญอำนาจการยิงในด้านกราบหลังไปทั้งหมดและไม่สามารถทำการยิงในขณะที่หันกราบหนีได้ ในขณะที่ B นั้นข้อดีคือให้อำนาจการยิงที่สมดุลทั้งทางกราบหน้าและหลัง แต่ข้อเสียคือในการยิงแบบเต็มกราบนั้นเรือจำเป็นต้องหันข้างจนกลายเป็นเป้าขนาดใหญ่ให้อีกฝ่ายยิงสวนมา และไม่สามารถใช้อำนาจการยิงของกราบแต่ละข้างได้อย่างเต็มที่ในกรณีที่เรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดีนัก C นั้นถือว่าเป็นแบบที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยยังให้อำนาจการยิงในกราบหน้าเท่าเดิมแต่ยังเพิ่มอำนาจการยิงทางกราบหลังมาด้วย แต่ว่าระวางขนาดของ C นั้นเกิน 35000 ตัน
พลเรือเอก Darlan ตัดสินใจเลือกแบบ A และแบบ B เนื่องจากเป็นขนาดที่พอดีที่อู่ต่อเรือฝรั่งเศสจะสร้างได้จนนำไปสู่เรือประจัญบานชั้น Richelieu จำนวน 4 ลำ โดยในชุดแรก 2 ลำนั้นจะใช้แบบ A ในขณะที่แบบ B จะใช้ในชุดที่สองในอีก 2 ลำที่เหลือ โดยเฉพาะลำสุดท้ายนั้นเป็นลำที่ตัวพลเอก Darlan มีส่วนร่วมในการออกแบบมากที่สุด โดยเข้าได้ตั้งชื่อว่า Gascogne ซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นบ้านเกิดของเขา
ในฤดูร้อนปี 1939 เมื่อทางหน่วยข่าวกรองของทัพได้แจ้งเตือนไปยังผู้บัญชาการและผู้ที่มีอำนาจระดับสูงของกองทัพเรือฝรั่งเศส ว่าเยอรมันกำลังมีแผนที่จะสร้างเรือประจัญบานชั้น H(39) โดยข่าวลือที่ว่ามันมีระวางขนาดถึง 40000 ตัน และใช้ปืนเรือขนาด 16 นิ้ว เป็นอาวุธหลักมาตรฐาน ตามแผนการ "Z" ของเยอรมันที่มีเป้าหมายจะสร้างกองเรือของตนให้มีขนาดและความยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับกองเรือหมายเลข 1 ของยุโรปอย่างอังกฤษ จากข้อมูล H(39) นั้นเหนือกว่าเรือประจัญบานชั้น Richelieu ของฝรั่งเศสทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นขนาด เกราะ อาวุธหลัก อำนาจทำลายล้างและอำนาจป้องกัน เพื่อตอบโต้กับกับแผนการของเยอรมันดังกล่าว ฝรั่งเศสจึงได้นำแผนแบบ C กลับมาออกแบบใหม่อีกครั้งเพื่อตอบโต้กับเรือประจัญบานชั้น H(39) ของเยอรมัน
จากการออกแบบที่ต่อยอดมาจากแผนแบบ C นั้น แบ่งการออกแบบได้เป็น 3 ตัวต้นแบบหลักๆคือ N1,N2 และ N3 ต้นแบบทั้ง 3 ตัวนั้นใช้ปืนรองขนาด 6 นิ้วเท่ากัน มีลักษณะการจัดวางตำแหน่งป้อมเหมือนกันคือ 2 ตำแหน่งในกราบหน้าและ 1 ตำแหน่งในกราบหลัง
แบบ N1 นั้นมีความคล้ายคลึงกับเรือประจัญบานชั้น Littorio ของอิตาลีทั้งการจัดวางตำแหน่งทั้งปืนหลักและปืนรอง และยังคงใช้อาวุธเป็นปืนเรือหลักขนาด 15 นิ้ว เท่าเดิมแต่ด้วยการวางป้อมด้านหลังเพิ่มอีกป้อมนั้นทำให้อำนาจการยิงของเรือเพิ่มขึ้นอีก 50% ในขณะที่ปืนต่อต้านอากาศยานหลักของเรือนั้นมีจำนวนเท่าเดิมแต่เพิ่มขนาดจาก 90 มิลลิเมตร ไปเป็น 100 มิลลิเมตร เกราะด้านข้างของเรือนั้นหนา 13 นิ้ว ตรงดาดฟ้าหนา 6-7 นิ้ว ในขณะที่ตรงดาดฟ้าชั้นล่างหนา 40 มิลลิเมตร ตัวเรือมีขนาดระวางมาตรฐาน 40000 ตัน ใช้เครื่องยนต์ให้กำลังโดยรวม 170000 แรงม้า สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 31.5 น็อต และตัวเรือยาว 252 เมตร
แผนแบบของ N1
แบบ N2 นั้นเหมือนกับแบบ N1 เกือบทุกอย่าง แต่เปลี่ยนอาวุธหลักจากปืนเรือขนาด 15 นิ้ว มาตรฐานไปเป็นขนาด 16 นิ้ว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแบบเรือประจัญบานชั้น North Carolina และ South Dakota ของสหรัฐ ขนาดเรือถูกขยายเป็น 42500 ตัน ยาว 256 เมตร พร้อมเครื่องยนต์ที่ให้แรงขับรวม 190000 แรงม้า แต่แบบ N2 นั้นปืนต่อต้านอากาศยานขนาดเบาไป ทำให้ความสามารถในด้าน AA นั้นจะมีไม่เท่าแบบ N1
แบบ N3 นั้นเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุด(สำหรับผม) และกองทัพเรือฝรั่งเศสนั้นก็สนับสนุนแบบเรือตัวนี้ เนื่องจากสามารถใช้ป้อมกับปืนเรือที่มีลักษณะเดียวกันที่สอดคล้องกับของเดิมที่ใช้คือ ใช้ป้อมปืนแบบ 4 ลำกล้อง แบบเดียวกับที่ถูกนำไปใช้ในเรือประจัญบานชั้น Richelieu แต่เพิ่มมาอีก 1 ป้อม ในด้านกราบหลังเรือ เรือมีขนาดระวาง 45000 ตัน ใช้เครื่องยนต์ที่ให้กำลังโดยรวม 220000 แรงม้า และยาว 265 เมตร ขนาดและประสิทธิภาพโดยรวมนั้นเกือบเทียบเท่าเรือประจัญบานชั้น Iowa ของสหรัฐ แต่อาจจะด้อยกว่าในด้านอำนานการยิง
แผนแบบ N3
ในที่สุดผู้บัญาชาการระดับสูงของกองทัพเรือฝรั่งเศสก็เลือกแบบ N1 เพราะมีความคล้ายคลึงกับของเก่ามากที่สุด ในขณะที่แบบ N2 นั้นสาเหตุหลักๆที่ถูกเขี่ยทิ้งลงถังเนื่องจาก N2 นั้นใช้ปืนเรือขนาด 16 นิ้ว ที่ทางฝรั่งเศสยังพัฒนาไม่เสร็จ และมันก็มีข้อเสียมากกว่าข้อดี เพราะเมื่อเทียบในน้ำหนักที่เท่ากันกระสุนเรือขนาด 16 นิ้ว นั้นแบกไปได้น้อยกว่ากระสุนขนาด 15 นิ้ว รวมถึงต้องใช้ทรัพยากรด้านโลจิสติกที่มหาศาลและแพงกว่ากระสุนขนาด 15 นิ้ว มากเพราะต้องผลิตลูกกระสุนไลน์ใหม่หมด เพราะมันใช้กับของเดิมไม่ได้ และกองทัพเรือมหาอำนาจส่วนใหญ่ในตอนนั้นมักจะนิยมใช้กระสุนหลักเพียงแค่ 2 ขนาดในกองทัพไม่เกินนี้(เช่น สหรัฐใช้กระสุนขนาด 14 นิ้ว กับ 16 นิ้ว เป็นหลัก อังกฤษใช้กระสุนขนาด 15 นิ้ว กับ 14 นิ้ว เป็นหลัก มี 16 นิ้วมาแจมนิดหน่อย) ด้วยปัญหาที่กล่าวมาทำให้ตัว N2 นั้นถูกเขี่ยลงถังไป N3 นั้นดีกว่าแบบ N1 ทุกอย่าง แต่สาเหตุที่มันถูกเขียลงถังไปเช่นกันก็เพราะในตอนนั้นทางฝรั่งเศษไม่มีอู่ต่อเรือที่จะรองรับกับเรือขนาดใหญ่แบบนี้ได้ ถ้าจะสร้างก็ต้องขุดลอกขุดคลองเพิ่มซึ่งเสียเวลา
โดยตัว N1 นั้นได้ถูกตั้งชื่อว่าเรือประจัญบานชั้น Alsace โดยมีแผนที่จะสร้างทั้งหมด 4 ลำ โดยตั้งชื่อตามจังหวัดต่างๆในฝรั่งเศสคือ Alsace,Normandie, Flandre และ Bourgogne โดยชุดแรกจำนวน 2 ลำ จะสร้างที่อู่ต่อเรือของบริษัท Ateliers et Chantiers de la Loire โดยจะสร้างหลังจากที่คิวสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Joffre นั้นสร้างเสร็จในปี 1941 แต่กองทัพเรือฝรั่งเศษเองนั้นก็ได้เปลี่ยนแผนอย่างกระทันหันซะก่อน โดยมีแผนจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Joffre ลำที่ 2 ในที่เดียวกันและเลื่อนคิวเรือประจัญบานชั้น Alsace ไปไว้หลังสุด ทำให้การก่อการสร้างเรือประจัญบานชันนี้สำหรับชุดแรกจึงเกิดความล่าช้า ในขณะที่ชุดที่ 2 จะสร้างในปี 1942 ที่ท่าเรือเมือง Brest แต่ในปี 1940 ฝรั่งเศสนั้นพ่ายแพ้แก่กองทัพเยอรมัน ทำให้การก่อสร้างเรือประจัญบานชั้นนี้นั้นต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ส่งผลให้เรือประจัญบานชั้น Richelieu ที่สร้างเสร็จออกมาก่อนหน้านี้เพียงลำเดียว(และอีกลำหลังสงครามจบไปแล้ว) นั้นกลายเป็นเรือประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีขนาดระวางที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่ฝรั่งเศสเคยสร้างมา ก่อนจะเสียแชมป์ดังกล่าวให้กับเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ Charles de gaulle ที่สร้างโดยฝรั่งเศสเองในศตวรรษที่ 21
เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de gaulle เรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่ฝรั่งเศสเคยสร้างมา
อ้างอิง
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Alsace-class_battleship
http://forum.worldofwarships.com/index.php?/topic/1099-alsace-class-battleship/
ถ้าสหรัฐมีเรือประจัญบานชั้น Iowa อังกฤษมี King George V เยอรมันมี Bismarck ฝรั่งเศสเองก็มี Alsace
เรือประจัญบานชั้น Dunkerque ของฝรั่งเศส เรือประจัญบานที่มีอานุภาพมากที่สุดในกองทัพเรือฝรั่งเศสตอนนั้น
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญนั้นเกิดขึ้นเมื่ออิตาลีได้มีแผนที่จะตัดสินใจสร้างเรือประจัญบานของตนอย่างเรือประจัญบานชั้น Littorio เพื่อเป็นการตอบโต้ที่ฝรั่งเศสสร้างเรือประจัญบานชั้น Dunkerque ฝรั่งเศสนั้นค่อนข้างวิตกกังวลกับอนุภาพของเรือประจัญบานชั้น Littorio ของอิตาลีมากเลยทีเดียว ในขณะที่ภัยคุกคามจากเยอรมันเองนั้นก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทางเยอรมันนำโดย"อดอล์ฟ ฮิตเลอร์"ได้ทำข้อตกลง อังโก-เยอรมัน กับทางอังกฤษจนนำไปสู่ข้ออนุญาติในการขยายขนาดของกองทัพเรือตนเองและฉีกข้อกำหนดของสนธิสัญญาแวร์ซายเป็นชิ้นๆ โดยที่ในการทำข้อตกลงนี้นั้นทางอังกฤษนั้นไม้ได้ปรึกษาหรือบอกให้ทางฝรั่งเศสทราบเลยแต่อย่างใด
เรือประจัญบานชั้น Littorio ภัยคุกคามใหม่ของฝรั่งเศส
เพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามดังกล่าว พลเรือเอก Jean Louis Xavier François Darlan เสนาธิการของกองทัพเรือฝรั่งเศสในขณะนั้นได้มีคำสั่งให้ทางกองทัพศึกษาแบบของเรือหลังจากที่ตนได้มีแผนที่จะสร้างเรือประจัญบานรุ่นใหม่เพื่อตอบโต้ภัยคุกคาม โดยทางกองทัพได้นำเอาแบบของเรือประจัญบานชั้น Dunkerque มาขยายขนาดเพิ่มเติม จนออกมาเป็นแผนแบบของเรือทั้ง 3 คือ Project A,B และ C ใน Project A นั้นจะใช้แบบเรือเดียวกับ Dunkerque คือการนำเอาป้อมปืนไว้ข้างหน้าทั้งหมด แต่อาจจะแตกต่างกันในด้านอาวุธรองซึ่งวางตำแหน่งไม่เหมือนกับ Dunkerque ใน Project B นั้นจะวางป้อมปืนหลักทั้งหน้าและหลังและใช้ป้อมปืนเป็นลักษณะ 4 ลำกล้อง แบบเดียวกับอันแรก ในขณะที่ Project C นั้นจะวางลักษณะป้อมเป็นแบบพิมพ์นิยมของเรือประจัญบานของสหรัฐคือ มี 2 ป้อมหน้าและ 1 ป้อมหลัง ทั้ง 3 แบบนั้นปืนหลักเป็นปืนเรือขนาดมาตรฐาน 15 นิ้ว 48 คาลิเบอร์
เมื่อพิจารณาจากทั้ง 3 แผนแบบนั้น A นั้นมีข้อดีที่ว่าการนำป้อมหลักไปวางไว้ข้างหน้าหมดนั้นมีข้อดีคือเรือสามารถยิงปืนหลักทุกกระบอกที่ตนเองมีไปยังเรือฝ่ายศัตรูจากกราบหน้าได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องหันข้างกราบเรือไปจนกลายเป็นเป้าขนาดใหญ่ให้อีกฝ่ายยิงสวนมา แต่แผนแบบ A นั้นเรือจะสูญอำนาจการยิงในด้านกราบหลังไปทั้งหมดและไม่สามารถทำการยิงในขณะที่หันกราบหนีได้ ในขณะที่ B นั้นข้อดีคือให้อำนาจการยิงที่สมดุลทั้งทางกราบหน้าและหลัง แต่ข้อเสียคือในการยิงแบบเต็มกราบนั้นเรือจำเป็นต้องหันข้างจนกลายเป็นเป้าขนาดใหญ่ให้อีกฝ่ายยิงสวนมา และไม่สามารถใช้อำนาจการยิงของกราบแต่ละข้างได้อย่างเต็มที่ในกรณีที่เรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดีนัก C นั้นถือว่าเป็นแบบที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยยังให้อำนาจการยิงในกราบหน้าเท่าเดิมแต่ยังเพิ่มอำนาจการยิงทางกราบหลังมาด้วย แต่ว่าระวางขนาดของ C นั้นเกิน 35000 ตัน
พลเรือเอก Darlan ตัดสินใจเลือกแบบ A และแบบ B เนื่องจากเป็นขนาดที่พอดีที่อู่ต่อเรือฝรั่งเศสจะสร้างได้จนนำไปสู่เรือประจัญบานชั้น Richelieu จำนวน 4 ลำ โดยในชุดแรก 2 ลำนั้นจะใช้แบบ A ในขณะที่แบบ B จะใช้ในชุดที่สองในอีก 2 ลำที่เหลือ โดยเฉพาะลำสุดท้ายนั้นเป็นลำที่ตัวพลเอก Darlan มีส่วนร่วมในการออกแบบมากที่สุด โดยเข้าได้ตั้งชื่อว่า Gascogne ซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นบ้านเกิดของเขา
ในฤดูร้อนปี 1939 เมื่อทางหน่วยข่าวกรองของทัพได้แจ้งเตือนไปยังผู้บัญชาการและผู้ที่มีอำนาจระดับสูงของกองทัพเรือฝรั่งเศส ว่าเยอรมันกำลังมีแผนที่จะสร้างเรือประจัญบานชั้น H(39) โดยข่าวลือที่ว่ามันมีระวางขนาดถึง 40000 ตัน และใช้ปืนเรือขนาด 16 นิ้ว เป็นอาวุธหลักมาตรฐาน ตามแผนการ "Z" ของเยอรมันที่มีเป้าหมายจะสร้างกองเรือของตนให้มีขนาดและความยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับกองเรือหมายเลข 1 ของยุโรปอย่างอังกฤษ จากข้อมูล H(39) นั้นเหนือกว่าเรือประจัญบานชั้น Richelieu ของฝรั่งเศสทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นขนาด เกราะ อาวุธหลัก อำนาจทำลายล้างและอำนาจป้องกัน เพื่อตอบโต้กับกับแผนการของเยอรมันดังกล่าว ฝรั่งเศสจึงได้นำแผนแบบ C กลับมาออกแบบใหม่อีกครั้งเพื่อตอบโต้กับเรือประจัญบานชั้น H(39) ของเยอรมัน
จากการออกแบบที่ต่อยอดมาจากแผนแบบ C นั้น แบ่งการออกแบบได้เป็น 3 ตัวต้นแบบหลักๆคือ N1,N2 และ N3 ต้นแบบทั้ง 3 ตัวนั้นใช้ปืนรองขนาด 6 นิ้วเท่ากัน มีลักษณะการจัดวางตำแหน่งป้อมเหมือนกันคือ 2 ตำแหน่งในกราบหน้าและ 1 ตำแหน่งในกราบหลัง
แบบ N1 นั้นมีความคล้ายคลึงกับเรือประจัญบานชั้น Littorio ของอิตาลีทั้งการจัดวางตำแหน่งทั้งปืนหลักและปืนรอง และยังคงใช้อาวุธเป็นปืนเรือหลักขนาด 15 นิ้ว เท่าเดิมแต่ด้วยการวางป้อมด้านหลังเพิ่มอีกป้อมนั้นทำให้อำนาจการยิงของเรือเพิ่มขึ้นอีก 50% ในขณะที่ปืนต่อต้านอากาศยานหลักของเรือนั้นมีจำนวนเท่าเดิมแต่เพิ่มขนาดจาก 90 มิลลิเมตร ไปเป็น 100 มิลลิเมตร เกราะด้านข้างของเรือนั้นหนา 13 นิ้ว ตรงดาดฟ้าหนา 6-7 นิ้ว ในขณะที่ตรงดาดฟ้าชั้นล่างหนา 40 มิลลิเมตร ตัวเรือมีขนาดระวางมาตรฐาน 40000 ตัน ใช้เครื่องยนต์ให้กำลังโดยรวม 170000 แรงม้า สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 31.5 น็อต และตัวเรือยาว 252 เมตร
แผนแบบของ N1
แบบ N2 นั้นเหมือนกับแบบ N1 เกือบทุกอย่าง แต่เปลี่ยนอาวุธหลักจากปืนเรือขนาด 15 นิ้ว มาตรฐานไปเป็นขนาด 16 นิ้ว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแบบเรือประจัญบานชั้น North Carolina และ South Dakota ของสหรัฐ ขนาดเรือถูกขยายเป็น 42500 ตัน ยาว 256 เมตร พร้อมเครื่องยนต์ที่ให้แรงขับรวม 190000 แรงม้า แต่แบบ N2 นั้นปืนต่อต้านอากาศยานขนาดเบาไป ทำให้ความสามารถในด้าน AA นั้นจะมีไม่เท่าแบบ N1
แบบ N3 นั้นเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุด(สำหรับผม) และกองทัพเรือฝรั่งเศสนั้นก็สนับสนุนแบบเรือตัวนี้ เนื่องจากสามารถใช้ป้อมกับปืนเรือที่มีลักษณะเดียวกันที่สอดคล้องกับของเดิมที่ใช้คือ ใช้ป้อมปืนแบบ 4 ลำกล้อง แบบเดียวกับที่ถูกนำไปใช้ในเรือประจัญบานชั้น Richelieu แต่เพิ่มมาอีก 1 ป้อม ในด้านกราบหลังเรือ เรือมีขนาดระวาง 45000 ตัน ใช้เครื่องยนต์ที่ให้กำลังโดยรวม 220000 แรงม้า และยาว 265 เมตร ขนาดและประสิทธิภาพโดยรวมนั้นเกือบเทียบเท่าเรือประจัญบานชั้น Iowa ของสหรัฐ แต่อาจจะด้อยกว่าในด้านอำนานการยิง
แผนแบบ N3
ในที่สุดผู้บัญาชาการระดับสูงของกองทัพเรือฝรั่งเศสก็เลือกแบบ N1 เพราะมีความคล้ายคลึงกับของเก่ามากที่สุด ในขณะที่แบบ N2 นั้นสาเหตุหลักๆที่ถูกเขี่ยทิ้งลงถังเนื่องจาก N2 นั้นใช้ปืนเรือขนาด 16 นิ้ว ที่ทางฝรั่งเศสยังพัฒนาไม่เสร็จ และมันก็มีข้อเสียมากกว่าข้อดี เพราะเมื่อเทียบในน้ำหนักที่เท่ากันกระสุนเรือขนาด 16 นิ้ว นั้นแบกไปได้น้อยกว่ากระสุนขนาด 15 นิ้ว รวมถึงต้องใช้ทรัพยากรด้านโลจิสติกที่มหาศาลและแพงกว่ากระสุนขนาด 15 นิ้ว มากเพราะต้องผลิตลูกกระสุนไลน์ใหม่หมด เพราะมันใช้กับของเดิมไม่ได้ และกองทัพเรือมหาอำนาจส่วนใหญ่ในตอนนั้นมักจะนิยมใช้กระสุนหลักเพียงแค่ 2 ขนาดในกองทัพไม่เกินนี้(เช่น สหรัฐใช้กระสุนขนาด 14 นิ้ว กับ 16 นิ้ว เป็นหลัก อังกฤษใช้กระสุนขนาด 15 นิ้ว กับ 14 นิ้ว เป็นหลัก มี 16 นิ้วมาแจมนิดหน่อย) ด้วยปัญหาที่กล่าวมาทำให้ตัว N2 นั้นถูกเขี่ยลงถังไป N3 นั้นดีกว่าแบบ N1 ทุกอย่าง แต่สาเหตุที่มันถูกเขียลงถังไปเช่นกันก็เพราะในตอนนั้นทางฝรั่งเศษไม่มีอู่ต่อเรือที่จะรองรับกับเรือขนาดใหญ่แบบนี้ได้ ถ้าจะสร้างก็ต้องขุดลอกขุดคลองเพิ่มซึ่งเสียเวลา
โดยตัว N1 นั้นได้ถูกตั้งชื่อว่าเรือประจัญบานชั้น Alsace โดยมีแผนที่จะสร้างทั้งหมด 4 ลำ โดยตั้งชื่อตามจังหวัดต่างๆในฝรั่งเศสคือ Alsace,Normandie, Flandre และ Bourgogne โดยชุดแรกจำนวน 2 ลำ จะสร้างที่อู่ต่อเรือของบริษัท Ateliers et Chantiers de la Loire โดยจะสร้างหลังจากที่คิวสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Joffre นั้นสร้างเสร็จในปี 1941 แต่กองทัพเรือฝรั่งเศษเองนั้นก็ได้เปลี่ยนแผนอย่างกระทันหันซะก่อน โดยมีแผนจะสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Joffre ลำที่ 2 ในที่เดียวกันและเลื่อนคิวเรือประจัญบานชั้น Alsace ไปไว้หลังสุด ทำให้การก่อการสร้างเรือประจัญบานชันนี้สำหรับชุดแรกจึงเกิดความล่าช้า ในขณะที่ชุดที่ 2 จะสร้างในปี 1942 ที่ท่าเรือเมือง Brest แต่ในปี 1940 ฝรั่งเศสนั้นพ่ายแพ้แก่กองทัพเยอรมัน ทำให้การก่อสร้างเรือประจัญบานชั้นนี้นั้นต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ส่งผลให้เรือประจัญบานชั้น Richelieu ที่สร้างเสร็จออกมาก่อนหน้านี้เพียงลำเดียว(และอีกลำหลังสงครามจบไปแล้ว) นั้นกลายเป็นเรือประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีขนาดระวางที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่ฝรั่งเศสเคยสร้างมา ก่อนจะเสียแชมป์ดังกล่าวให้กับเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ Charles de gaulle ที่สร้างโดยฝรั่งเศสเองในศตวรรษที่ 21
เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de gaulle เรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งแต่ฝรั่งเศสเคยสร้างมา
อ้างอิง
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Alsace-class_battleship
http://forum.worldofwarships.com/index.php?/topic/1099-alsace-class-battleship/