ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า การที่คนเราไม่ทำความชั่วนั้นก็เพราะกลัวตกนรก และทำดีก็เพราะอยากขึ้นสวรรค์ ดังนั้นคำสอนเรื่องนรก (ที่เชื่อกันว่าอยู่ใต้ดิน) สวรรค์ (ที่เชื่อกันว่าอยู่บนฟ้า) จึงได้มีอยู่ในคำสอนของทุกศาสนา (แต่ว่านรกสวรรค์ของแต่ละศาสนานั้นจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับจินตนาการ) ถ้ามีใครมาคัดค้านเรื่องนรกสวรรค์ ก็จะถูกมองว่าเป็นคนทำลายศาสนา (ความเชื่อ) ทันที เพราะศาสนาเชื่อว่าเรื่องนรกสวรรค์นี้คือคำสอนที่ช่วยให้สังคมสงบสุข ดังนั้นถ้าใครไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ก็จะถูกมองว่าเป็นคนทำลายศาสนาและความสงบสุขของสังคม เพราะเมื่อเชื่อว่าไม่มีนรกก็จะทำชั่ว เพราะว่าไม่ต้องรับโทษ เมื่อเชื่อว่าไม่มีสวรรค์ก็จะไม่ทำความดี เพราะว่าไม่ได้รางวัล ซึ่งการสอนเรื่องนรกสวรรค์เช่นนี้ เป็นการสอนในระดับศีลธรรมของทุกศาสนาที่ต้องใช้ความเชื่อที่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ถ้าไม่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กก็ยากที่จะมีความเชื่อได้ ดังนั้นการปลูกฝังตั้งแต่ยังเป็นเด็กจึงจำเป็นสำหรับคำสอนระดับศีลธรรม
แต่ในความเป็นจริงนั้นการที่คนเราจะทำความชั่ว (คือเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น) หรือความดี (คือช่วยเหลือคนอื่น) นั้นจะมีต้นเหตุมาจาก กิเลส (โลภ-อยากได้, โกรธ-ไม่อยากได้, หลง-ไม่แน่ใจ) ทั้งสิ้น ถ้าเป็นกิเลสฝ่ายชั่วก็จะทำชั่ว ถ้าเป็นกิเลสฝ่ายดีก็จะทำดี คือคนชั่วที่ชอบทำความชั่วเมื่อเกิดความโลภก็จะลักขโมยจี้ปล้นหรือหลอกลวงคดโกง รับสินบน คอรัปชั่น เป็นต้น ด้วยวิธีต่างๆ เมื่อไม่ได้ตามที่โลภหรือเมื่อสูญเสียก็จะเกิดความโกรธ แล้วก็จะทำร้ายหรือด่าผู้อื่นด้วยวิธีต่างๆ ส่วนความดีนั้นคนชั่วไม่ชอบทำ เพราะคิดว่าเสียเปล่า แม้จะทำก็ต้องได้ผลประโยชน์ตอบแทนจึงจะทำ เช่น ช่วยคนอื่นเพื่อให้สังคมเชิดชู หรือหวังเกียรติยศชื่อเสียง หรือหวังกำไรในภายหลัง เป็นต้น ส่วนคนดีที่ชอบทำความดีจะไม่ชอบทำความชั่วเพราะไม่อยากได้ความรู้สึกที่ไม่ดี (คือความไม่สบายใจ ร้อนใจ) จากการทำความชั่ว แต่ชอบทำความดีเพราะยากจะได้รับความรู้สึกที่ดี (คือความสุขใจ อิ่มใจ) จากการทำความดี (ส่วนพระอริยะจะอยู่เหนือทั้งความดีและชั่ว)
เมื่อต้นเหตุของการทำความดีและชั่วนั้นคือกิเลส แต่เรามาใช้วิธีการหลอกกิเลสโดยใช้วิธีการเอานรกมาขู่ เอาสวรรค์มาล่อ มันจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แม้จะได้ผลก็จะมีผลเสียอยู่ด้วยเสมอ คือทำให้คนที่เชื่อไม่เกิดปัญญา (ปัญญาคือความรอบรู้ในเรื่องที่ควรรู้) เพราะเอาแต่เชื่อโดยไม่มีการคิดพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ ส่วนคนที่ไม่เชื่อและไม่มีปัญญาเขาก็จะทำความชั่ว (แต่คนที่มีปัญญาเขาจะไม่ทำความชั่วอย่างเด็ดขาด) ถ้าเรามาแก้กันที่ต้นเหตุ (คือที่กิเลส) จึงจะได้ผล โดยการสอนให้ผู้คนเข้าใจว่า การทำความชั่วนั้นจะทำให้ได้รับผลที่ไม่ดีแก่จิตใจ อันได้แก่ ความร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ความไม่สบายใจ ที่จะตามกัดกินจิตใจของเราอยู่เสมอ อีกทั้งยังอาจจะได้รับโทษหรือการตำหนิติเตียนจากสังคมก็ได้ (ผลนี้ยังเอาแน่ไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก) แต่ถ้าทำความดีก็จะได้รับผลที่ดีแก่จิตใจ อันได้แก่ ความสุขใจ หรือความอิ่มเอมใจ (ปิติ) ที่จะตามหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ อีกทั้งยังอาจจะได้รับรางวัลหรือคำชมเชยจากสังคมก็ได้ (ผลนี้ยังเอาแน่ไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก) อย่างที่โบราณได้กล่าวเอาไว้ว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” นั่นเอง
สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้คนทำความชั่วและไม่ทำความดีนั้นก็คือกิเลส ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่สุดก็คือ ต้องมาแก้ที่สาเหตุคือสอนให้คนเห็นโทษของกิเลส แล้วคนก็จะไม่ทำความชั่วแต่จะทำความดี แต่วิธีนี้จะได้ผลก็เฉพาะคนที่พอจะมีสติปัญญาอยู่บ้างเท่านั้น ส่วนคนที่ยังมีสติปัญญาไม่เพียงพอ เช่น ชาวบ้านหรือคนป่าคนดง ก็ยังคงต้องใช้วิธีการเอานรกมาขู่ เอาสวรรค์มาล่ออยู่ต่อไป แม้จะมีทั้งผลดีและเสียอยู่ด้วยก็ตาม
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริง เรื่องสาเหตุที่ทำให้คนทำดีและชั่ว
แต่ในความเป็นจริงนั้นการที่คนเราจะทำความชั่ว (คือเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น) หรือความดี (คือช่วยเหลือคนอื่น) นั้นจะมีต้นเหตุมาจาก กิเลส (โลภ-อยากได้, โกรธ-ไม่อยากได้, หลง-ไม่แน่ใจ) ทั้งสิ้น ถ้าเป็นกิเลสฝ่ายชั่วก็จะทำชั่ว ถ้าเป็นกิเลสฝ่ายดีก็จะทำดี คือคนชั่วที่ชอบทำความชั่วเมื่อเกิดความโลภก็จะลักขโมยจี้ปล้นหรือหลอกลวงคดโกง รับสินบน คอรัปชั่น เป็นต้น ด้วยวิธีต่างๆ เมื่อไม่ได้ตามที่โลภหรือเมื่อสูญเสียก็จะเกิดความโกรธ แล้วก็จะทำร้ายหรือด่าผู้อื่นด้วยวิธีต่างๆ ส่วนความดีนั้นคนชั่วไม่ชอบทำ เพราะคิดว่าเสียเปล่า แม้จะทำก็ต้องได้ผลประโยชน์ตอบแทนจึงจะทำ เช่น ช่วยคนอื่นเพื่อให้สังคมเชิดชู หรือหวังเกียรติยศชื่อเสียง หรือหวังกำไรในภายหลัง เป็นต้น ส่วนคนดีที่ชอบทำความดีจะไม่ชอบทำความชั่วเพราะไม่อยากได้ความรู้สึกที่ไม่ดี (คือความไม่สบายใจ ร้อนใจ) จากการทำความชั่ว แต่ชอบทำความดีเพราะยากจะได้รับความรู้สึกที่ดี (คือความสุขใจ อิ่มใจ) จากการทำความดี (ส่วนพระอริยะจะอยู่เหนือทั้งความดีและชั่ว)
เมื่อต้นเหตุของการทำความดีและชั่วนั้นคือกิเลส แต่เรามาใช้วิธีการหลอกกิเลสโดยใช้วิธีการเอานรกมาขู่ เอาสวรรค์มาล่อ มันจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แม้จะได้ผลก็จะมีผลเสียอยู่ด้วยเสมอ คือทำให้คนที่เชื่อไม่เกิดปัญญา (ปัญญาคือความรอบรู้ในเรื่องที่ควรรู้) เพราะเอาแต่เชื่อโดยไม่มีการคิดพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ ส่วนคนที่ไม่เชื่อและไม่มีปัญญาเขาก็จะทำความชั่ว (แต่คนที่มีปัญญาเขาจะไม่ทำความชั่วอย่างเด็ดขาด) ถ้าเรามาแก้กันที่ต้นเหตุ (คือที่กิเลส) จึงจะได้ผล โดยการสอนให้ผู้คนเข้าใจว่า การทำความชั่วนั้นจะทำให้ได้รับผลที่ไม่ดีแก่จิตใจ อันได้แก่ ความร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ความไม่สบายใจ ที่จะตามกัดกินจิตใจของเราอยู่เสมอ อีกทั้งยังอาจจะได้รับโทษหรือการตำหนิติเตียนจากสังคมก็ได้ (ผลนี้ยังเอาแน่ไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก) แต่ถ้าทำความดีก็จะได้รับผลที่ดีแก่จิตใจ อันได้แก่ ความสุขใจ หรือความอิ่มเอมใจ (ปิติ) ที่จะตามหล่อเลี้ยงจิตใจของเราให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ อีกทั้งยังอาจจะได้รับรางวัลหรือคำชมเชยจากสังคมก็ได้ (ผลนี้ยังเอาแน่ไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับสิ่งภายนอก) อย่างที่โบราณได้กล่าวเอาไว้ว่า “สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ” นั่นเอง
สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้คนทำความชั่วและไม่ทำความดีนั้นก็คือกิเลส ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ได้ผลที่สุดก็คือ ต้องมาแก้ที่สาเหตุคือสอนให้คนเห็นโทษของกิเลส แล้วคนก็จะไม่ทำความชั่วแต่จะทำความดี แต่วิธีนี้จะได้ผลก็เฉพาะคนที่พอจะมีสติปัญญาอยู่บ้างเท่านั้น ส่วนคนที่ยังมีสติปัญญาไม่เพียงพอ เช่น ชาวบ้านหรือคนป่าคนดง ก็ยังคงต้องใช้วิธีการเอานรกมาขู่ เอาสวรรค์มาล่ออยู่ต่อไป แม้จะมีทั้งผลดีและเสียอยู่ด้วยก็ตาม