บรรดาค่ายเพลงบ้านเราในอดีต ที่มีฐานคนฟัง หรือ ภาษาในยุคนี้เรียกว่า " ติ่ง "หรือ
fc หนาแน่น เห็นจะไม่พ้น แกรมมี่ , อาร์เอส., นิธิทัศน์ และ คีตา
วันนี้ ด้วยพฤติกรรมคนฟังที่เปลี่ยนไป รวมถึงผลผลิตแห่งยุคสมัยนั่นคือ MP 3 และ
การเข้าถึง " เพลง " โดยการ copy จากแหล่งต่าง ๆ แน่นอน มันคือการละเมิดสิทธิ์
ทางปัญญา ที่ทำให้คนทำงานหรือต้นสังกัดต้องปรับยุทธิวิธีเพื่อเอาตัวรอด
แกรมมี่ กับ อาร์เอส. อาศัยทุนหนาแตกไลน์สู่ดิจิตอลทีวี และเติบโตแบบดีวันดีคืน
นิธิทัศน์ ลงตลาดล่าง กินบุญเก่าจากงานเพลงฮิตที่ยังพอขายได้ ส่วนคีตา ปิดตัวลง
ไปก่อนหน้านั้น โดยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงให้กับบริษัทอื่น
จากอัลบั้ม " หนุ่มเสก " ของ เสกสรร ชัยเจริญ อัลบั้มเพลงชุดแรกเมื่อปลายปี 2529
จนถึงอัลบั้ม นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ในช่วงปี 2539 - 2540 ค่ายเพลง " คีตา " ได้
สร้างสรรค์ บทเพลงชั้นดี จากนักร้องนักดนตรีชั้นนำด้วยฝีมือทีมงานเบื้องหลังที่วันนี้
กระจัดกระจาย เป็นเบื้องหลังของบริษัทบันเทิงมากมายทั่ววงการ
โอกาสนี้จขกท. จะขอนำเพื่อน ๆ มิตรรักนักฟังเพลง หวนกลับไปรำลึกถึง บทเพลงดี ๆ
จากเหล่านักร้องที่หลาย ๆ ท่าน คุ้นทั้งหน้า คุ้นทั้งเสียง มานำเสนอแบบเต็มอิ่ม
แน่นอนครับ ... ในเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ คงไม่สามารถรวบรวมให้จบได้ภายในกระทู้
เดียวได้แน่ ดังนั้นจึงขอแบ่งออกเป็นไตรภาคตามช่วงเวลาต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลง
ในบริษัทเทปเพลงแห่งนี้ นั่นคือ
ช่วง คีตา แผ่นเสียงและเทป จำกัด , คีตา เรคคอร์ดส และ คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์
โดยจะนำเสนอในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
สำหรับตอนนี้
ได้เวลานั่งไทม์ แมชชีน แล้วครับ กรุณารัดเข็มขัดของคุณให้แน่น
.... 3 .... 2 .... 1 ....
ขอบคุณ :
https://kitamusic.wordpress.com
คุณ มงกุฎ2529
http://www.oknation.net/
วิกิพีเดีย
♫ ... คีตดนตรี ของค่ายดนตรี " คีตา " ( ภาค 1 ) ... ♫
บรรดาค่ายเพลงบ้านเราในอดีต ที่มีฐานคนฟัง หรือ ภาษาในยุคนี้เรียกว่า " ติ่ง "หรือ
fc หนาแน่น เห็นจะไม่พ้น แกรมมี่ , อาร์เอส., นิธิทัศน์ และ คีตา
วันนี้ ด้วยพฤติกรรมคนฟังที่เปลี่ยนไป รวมถึงผลผลิตแห่งยุคสมัยนั่นคือ MP 3 และ
การเข้าถึง " เพลง " โดยการ copy จากแหล่งต่าง ๆ แน่นอน มันคือการละเมิดสิทธิ์
ทางปัญญา ที่ทำให้คนทำงานหรือต้นสังกัดต้องปรับยุทธิวิธีเพื่อเอาตัวรอด
แกรมมี่ กับ อาร์เอส. อาศัยทุนหนาแตกไลน์สู่ดิจิตอลทีวี และเติบโตแบบดีวันดีคืน
นิธิทัศน์ ลงตลาดล่าง กินบุญเก่าจากงานเพลงฮิตที่ยังพอขายได้ ส่วนคีตา ปิดตัวลง
ไปก่อนหน้านั้น โดยได้ขายลิขสิทธิ์เพลงให้กับบริษัทอื่น
จากอัลบั้ม " หนุ่มเสก " ของ เสกสรร ชัยเจริญ อัลบั้มเพลงชุดแรกเมื่อปลายปี 2529
จนถึงอัลบั้ม นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล ในช่วงปี 2539 - 2540 ค่ายเพลง " คีตา " ได้
สร้างสรรค์ บทเพลงชั้นดี จากนักร้องนักดนตรีชั้นนำด้วยฝีมือทีมงานเบื้องหลังที่วันนี้
กระจัดกระจาย เป็นเบื้องหลังของบริษัทบันเทิงมากมายทั่ววงการ
โอกาสนี้จขกท. จะขอนำเพื่อน ๆ มิตรรักนักฟังเพลง หวนกลับไปรำลึกถึง บทเพลงดี ๆ
จากเหล่านักร้องที่หลาย ๆ ท่าน คุ้นทั้งหน้า คุ้นทั้งเสียง มานำเสนอแบบเต็มอิ่ม
แน่นอนครับ ... ในเวลาเกือบหนึ่งทศวรรษ คงไม่สามารถรวบรวมให้จบได้ภายในกระทู้
เดียวได้แน่ ดังนั้นจึงขอแบ่งออกเป็นไตรภาคตามช่วงเวลาต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลง
ในบริษัทเทปเพลงแห่งนี้ นั่นคือ
ช่วง คีตา แผ่นเสียงและเทป จำกัด , คีตา เรคคอร์ดส และ คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์
โดยจะนำเสนอในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
สำหรับตอนนี้
ได้เวลานั่งไทม์ แมชชีน แล้วครับ กรุณารัดเข็มขัดของคุณให้แน่น
.... 3 .... 2 .... 1 ....
ขอบคุณ :
https://kitamusic.wordpress.com
คุณ มงกุฎ2529 http://www.oknation.net/
วิกิพีเดีย