กรณีธรรมกายในความเห็นของนักปฎิบัติคนหนึ่ง - เรามุ่งปฎิบัติดีกว่าครับ อย่าเพลอไปอินกับเรื่องการเมือง/ทางโลกนักเลย

กระทู้คำถาม
ผมคิดว่าเราในฐานะชาวพุทธควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนาเป็นอันดับหนึ่งครับ เรื่องธรรมกายในเวลานี้เราไม่ควรให้ความสนใจหรืออินมากกันจนเกินไป ถ้าไม่มีอคติ ดูด้วยความเป็นกลาง นี่ก็เป็นเรื่องทางโลก ไม่ได้เป็นเรื่องของการหลุดพ้นเลยแม้แต่น้อย จะปฏิรูปศาสนาพุทธในประเทศไทยจริงๆ ก็ต้องทำกันทั้งประเทศไม่ใช่แค่ธรรมกาย ไม่งั้นเดี๋ยวจะเป็นแบบเคสการเมือง ที่ฝ่ายหนึ่งมองว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม เดี๋ยวก็ออกมาทะเลาะ ประท้วงกันวุ่นวายไม่ต่างจากตอน เหลือง Vs แดง แถมแต่ละฝ่ายแต่ละสำนักก็มีคนที่เค้าเชื่อเค้าศรัทธาในสำนักของเค้าเป็นมวลชนเยอะมากมาย

ลองคิดดูว่ามันจะเป็นไปได้หรือ ก็ในเมื่อหลวงปู่ที่เป็นหนึ่งในแกนนำที่ออกมาขับเคลื่อนการปฏิรูปศาสนาพุทธในประเทศไทยนั้น ท่านยังมีข้อกังขาจากคนจำนวนมากว่าตอนที่ท่านออกมาเป็นแกนนำชุมนุมทางการเมืองนั้น ถือว่าสิ้นจากความเป็นพระแล้วหรือยัง? ต่อให้ท่านธัมมชโยและหลวงปู่สึก แล้วพระอีกจำนวนมากมายและวัดทั่งทั้งประเทศที่ยังเอาเรื่องอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ และพุทธพาณิชย์ นำหน้าเรื่องการพ้นทุกข์ ล่ะ? มันไม่จบไม่สิ้นครับ

มุ่งปฏิบัติ วิปัสสนากันดีกว่าครับ พระที่ทำผิดก็ว่ากันไปตามกฏหมาย อะไรที่กฏหมายไปไม่ถึง ก็เป็นเรื่องของกรรมที่รู้ในใจของตนเอง ส่วนคนที่เป็นลูกศิษย์ของธรรมกายหรือจะสำนักไหนก็ตาม การที่เค้าจะเลือกนับถือใครนั่นเป็น choice ที่เค้าเลือกนะครับ จะบริจาคเท่าไร ต้องเป็นหนี้เป็นสินบริจาคจนหมดตัวเพราะอยากไปสวรรค์ชั้นสูงๆ นั่นก็เป็นกรรมของตัวเค้าเอง ตามสภาพเหตุและปัจจัย ดูรู้เรื่องนี้เหมือนเฝ้าดูเวทนาดีกว่าครับ ดูอยู่ห่างๆด้วยอุเบกขา อย่าอินกันจนขาดสติเลย

ปฏิรูปเฉพาะวัดกับพระไม่เกิดผลหรอกครับ ต้องปฎิวัติความเชื่อผิดๆ ความหลงงมงายของชาวพุทธที่ขาดความรู้ความเข้าใจในพุทธศาสนาด้วย แค่คิดก็เป็นไปได้ยากแล้วครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1




> ดูอยู่ห่างๆด้วยอุเบกขา






นั่นเป็นแนวคิดที่อันตรายมาก พวกโจรคงชอบให้คนคิดอย่างนี้.


เวลามีสถานการณ์เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ "ดูอยู่ห่างๆด้วยอุเบกขา" แต่ทรงบัญญัติ อธิกรณสมถะ7 ไว้ ให้ทำตามเพื่อระงับกรณีต่างๆ และทรงบัญญัติการเทียบในสูตรและในวินัย ว่าอะไรเข้ากันได้ เข้ากันไม่ได้ ให้ใช้เป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดถือว่าใช่ หรือไม่ใช่ธรรมวินัย.


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่