ย้อนรอย เส้นทางเจ้าสัว ในภาคใต้

กระทู้สนทนา
เนื่องจากปีใหม่ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต  ได้มีโอกาสไปอ่านประวัติ เจ้าสัวที่มั่งคั่งมาจากการทำเหมืองแร่ในภูเก็ต
เมื่ออ่านประวิติดุก็พบว่าแต่ละคนนี้ลำบากมาไม่น้อย   และส่วนใหญ่ทุกคน   มีความอดทน มานะ  

มีหลายอาชีพ  ลงทุนหลายด้าน  มีหลายธุรกิจ   แตกเป็นหลายสาขา  

จนปัจจุบัน  เข้าสู่ทายาทรุ่นที่ 3 ที่ 4   แล้ว

หลายธุรกิจ  ก้ล้มหายตายจาก  บางธุรกิจ  ก็ปรับตัว ไปตามสภาพ

ผมไปหาข้อมูลอ่านดูย้อนหลัง  เท่าที่หาได้  บางธุรกิจอาจเปลี่ยนมือไปแล้ว  บางแห่งก็เข้าในตลาดหลักทรัพยืด้วย


ภาพถ่ายเองงจากมือถือ


ผมเห็นว่าข้อมูลมีคุณค่า    ดีกว่าแปะไว้ที่ผนังพิพิธภัณฑ์เฉย  เลยเอามาแบ่งปันครับ


ผมเอาลงในบล็อกด้วย ในรอบเกือบ 2 ปี
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=psu3425079&month=27-02-2015&group=9&gblog=15



งานทวี บุญสูง อุปัติศฤงค์ และวานิช ตระกูลนายเหมืองชาวจีนฮกเกี้ยนเก่าแก่เหล่านี้ ร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ไม่น้อยกว่าพันล้านและผ่านกระบวนการสั่งสมทุนจากการทำเหมืองแร่ ชั่วอายุคนหนึ่งสู่อีกชั่วอายุคนหนึ่ง ความแข็งแกร่งของทุนมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหมืองแร่
บ่อเกิดความมั่งคั่งมาจากทรัพยากรในดินคือ สินแร่ดีบุกที่ใช้แล้วก็หมดไป แต่สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นและชื่อเสียงสู่เจ้าของเหมืองแร่ นอกจากนี้ความเป็นเจ้าของที่ถือครอง ที่ดินรายใหญ่จากการเป็นเจ้าของสวนยาง สวนปาล์มและสวนมะพร้าว ก็ยังทำให้สินทรัพย์ ของนายเหมืองตระกูลต่าง ๆ ในปัจจุบันทบทวีคูณนับร้อยเท่าของมูลค่าเดิม

แม้กระนั้นการรักษามรดกที่ตกทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของคนรุ่นที่สามของตระกูลเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยิ่งกว่าที่บรรพบุรุษเคยเป็นมา

รุ่นลูกหลานที่เด่น ๆ ของแต่ละตระกูลอาทิ ศิวะแห่งงานทวี อาทรแห่งบุญสูง บันลือแห่งตันติวิท ภูมิศักดิ์แห่งหงษ์หยก วิจิตรแห่งตระกูล ณ ระนอง ไพบูลย์แห่งอุปัติศฤงค์ อังคณาแห่ง วานิชเป็นต้น บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสานต่อและพัฒนาการลงทุนที่แตกแขนงไป หลังจากมีการหดตัวของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในปลายปี 2528 เป็นต้นมา

ตลอดช่วงปี 2530 เป็นต้นมา การขยายตัวของเศรษฐกิจภูเก็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพระ อุปสงค์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา การลงทุนของตระกูลต่าง ๆได้มีทิศทางไปในทางเดียวกัน คือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นโรงแรม อาคารพาณิชย์และธุรกิจการค้าการบริการเช่นตัวแทนขายรถยนต์และปั๊มบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นการประยุกต์การลงทุนของตนให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล



ตระกูลงานทวี




งานทวี  ต้นกำเนิด  ทักษิณคอนกรีต มหาชน ( SCP)  

http://www.scp.co.th/

"งานทวี" ถือได้ว่าเป็นตระกูลที่สามารถปรับตัวเองสู่ความเป็นนักอุตสาหกรรมชั้นนำได้ดี เพราะมีทั้งความรู้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่และการจัดการแบบครอบครัวที่มีประสิทธภาพ อีกทั้งมีการระดมทุนด้วยวิธีการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ และมีการลงทุนซื้อลิขสิทธิ์เทคนิคการผลิตกับต่างประเทศเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้กิจการของงานทวีพี่น้องแตกตัวออกจากกิจการเหมืองแร่ สวนยางไปสู่อุตสาหกรรมโรงงานถุงยางอนามัยที่ใช้เทคนิคการผลิตจากบริษัท มาป้า (MAPA) แห่งเยอรมนีโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและระบบโทรศัพท์อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเช่นบริษัททักษิณคอนกรีต บริษัทไทยไวร์โปรดักส์ เป็นต้น

แต่อีกด้านหนึ่งตระกูลนี้ก็ยังช้าด้านการพัฒนาที่ดินเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แม้ว่าจะเป็นเจ้าของพื้นที่มากที่สุดในภูเก็ต

"คนตระกูลนี้เขาบอกว่าเรื่องอะไรที่จะเอาเงินก้อนใหญ่มาลงทุนแล้วเก็บทีละเล็กละน้อยเหมือนเบี้ยหัวแตก สู้เอาเงินไปลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ ทำเงินเป็นกอบเป็นกำเช่นสวนยางมิดีกว่าหรือ ขนไปขายทีละ 10-20 ตันได้เงินมาเป็น 10-20 ล้านเวลาทำเหมืองแร่ก็เป็นแบบนี้ อันนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนภูเก็ตที่เคยเป็นนายเหมืองแล้วไม่ต้องการจะทำธุรกิจอื่น จนกว่าจะจนแต้ม จริง ๆ อย่างคุณบันลือ ตันติวิท ที่เคยขายแร่ทีละเป็น 10 ล้านแล้วมาเก็บทีละร้อยละพันจากโรงแรม แกก็ไม่เอา แต่พอแกทำจริง ๆ มันบูม แกก็บ่นว่าถ้ารู้ว่ามันดีอย่างนี้ทำนานแล้ว" แหล่งข่าวคนเก่าแก่ในภูเก็ตเล่าให้ฟัง

รากฐานดั้งเดิมของคนในต้นตระกูลงานทวี ทำเหมืองแร่ เรือขุด ทำสวนปาล์มและปลูกยางพารา ผู้นำตระกูลคือปัญญา งานทวีเจ้าของร้าน "จิ้นเต็ก" ที่เริ่มต้นจากการรับซื้อเศษแร่ และร่ำรวยจากการรับเหมาส่งแร่ให้กองทัพญี่ปุ่นโดยตรงในช่วงสงครามเอเชียบูรพา

ปัจจุบันตระกูลงานทวีมีพี่น้อยทั้งสิ้น 47 คน โดยมีชัยกิจ งานทวีเป็นผู้สืบทอดกุมบังเหียนบริหารบริษัทงานทวีพี่น้องซึ่งมีทุนจดทะเบียน 98 ล้านบาทและบริษัทในเครือที่มีสาขากรุงเทพฯและต่างประเทศนับร้อยบริษัท

"การที่เรามีที่ดินที่ภูเก็ตมากก็คงมาจากแนวความคิดที่ว่าถ้าหากเอาเงินไปฝากธนาคารหลังสงครามเลิกใหม่ ๆ ก็คงได้ดอกเบี้ยไม่เท่าไหร่ ? สู้นำไปลงทุนด้านเหมืองแร่ดีบุกและซื้อที่ดินไม่ได้เวลานี้เรามีที่ดินที่ยังไม่ได้ทำอะไรที่ภูเก็ตอีกมาก ที่ยังว่างเปล่าเป็นที่สวนมะพร้าวและยางพารา" ศิวะ งานทวีเล่าให้ฟัง

สำหรับในเมืองที่ดินผืนใหญ่และทำเลงามของงานทวีมีที่ถนนบางกอกจำนวน 30 ไร่ซึ่งสร้างรั้วและถมดินเรียบร้อยเพื่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่ง ส่วนที่พัฒนาไปแล้วคือที่บริเวณแถวน้ำซึ่งโรงแรมซิตี้โฮเต็ลได้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2531 และได้ขายที่ดินที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้เนื้อที่ 7 ไร่เศษในราคาสูงร้อยกว่าล้านบาทซึ่งคุ้มกว่าที่จะนำมาจัดสรรเอง นอกจากนี้ยังมีโครงการคอมเพล็กซ์ "ซิตี้ปาร์ค" ที่กำลังเปิดขายปีนี้ด้วย การพัฒนาที่ดินทั้งหมดทำในนามบริษัทงานทวีทรัพย์สิน

อีกตระกูลหนึ่งที่มีที่ดินแถบชานเมืองมากแล้วหันมาลงทุนด้านนี้ก็คือตระกูล "วานิช" ซึ่งมีอังคณา วานิชบุตารสาวคนที่สี่ของเอกพจน์ วานิชเป็นผู้บริหารโครงการใหญ่ "วานิชพลาซ่า" หลังจากที่เธอเคี่ยวกรำกับงานบริหารบริษัทยูนิวานิชทำโรงกลั่นน้ำมันปาล์มที่กระบี่ ซึ่งเป็นกิจการร่วมลงทุนระหว่างตระกูลวานิชกับบริษัทยูนิลีเวอร์

"เดิมที่ดินตรงนี้เป็นโรงงานยางรมควันสมัยคุณปู่แล้วถูกทิ้งไว้นาน ดิฉันนึกเสียดายจึงคิดพัฒนาพื้นที่ 10 ไร่ซึ่งปัจจุบันราคาตารางวาละ 3-4 หมื่นบาทนี้ให้เป็น "วานิชพลาซ่า" โดยเราลงทุนทั้งสิ้น 200 ล้านบาททำเป็นคอมเพล็กซ์ซึ่งมีโรงแรมชั้นหนึ่ง 19 ชั้น 200 ยูนิต อาคารพาณิชย์และศูนย์การค้า จะเสร็จปี 2535 ซึ่งเราคิดว่าตลาดยังไปได้ใน 7-8 ปีข้างหน้านี้" อังคณา วานิช กรรมการผู้จัดการบริษัทวานิช ลีเนียลเล่าให้ฟัง

นอกจากนี้โครงการต่อไปที่อังคณาคิดจะทำคือโครงการบ้านจัดสรรที่อ่าวมะขามบนพื้นที่ 26 ไร่ บ้านจัดสรรแบบนี้จะทำคล้ายวิลล่าที่มองเห็นทะเลโดยรอบเพื่อขายกลุ่มเศรษฐีกรุงเทพฯ เป็นหลัก ในราคาหลังละ 5-6 ล้านบาท


ตระกูลวานิช




เจียร วานิช   ต้นตระกูล  อาณาจักร  UVAN  บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)  http://uvan-th.listedcompany.com/

ตระกูล "วานิช" นี้ต้นตระกูลคือเถ้าแก่เจียร วานิชซึ่งเป็นคนพังงาและเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขึ้นที่ภาคใต้เป็นคนแรก เถ้าแก่เจียรมีลูกชายคนเดียวคือเอกพจน์ วานิชกิจการหลักของตระกูลนี้ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันปาล์มสองแห่งคือบริษัทสยามปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรม บริษัทไทยอุตสาหกรรมน้ำมันและสวนปาล์ม ที่กระบี่ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีสวนปาล์ม

ประมาณ 40,000-50,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีเหมืองแร่ที่สุราษฎร์ บริษัทเจียรวานิช บริษัท วานิชยิปซั่ม บริษัทภูเก็ตโรงงานยาง บริษัทภูเก็ตชิปปิ้งปักษ์ใต้ขนส่งทางทะเล และยังมีการ ลงทุนทำโรงพยาบาลเอกชลที่จังหวัดชลบุรีด้วย รวมทั้งกิจการธุรกิจตัวแทนขายแร่ยิปซัมที่ ปีนังในนามบริษัทฮับยิปซั่มเอเยนซีและทำการค้าที่สิงคโปร์ด้วย

นับว่าเป็นการลงทุนกลุ่มใหญ่ตระกูลหนึ่งในภาคใต้ที่มีการพัฒนาการทำอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากอดีตสู่ปัจจุบัน !!
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่