บทเรียนราคาแพงบ้านปู
คอลัมน์ วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555
ผู้เข้าชม : 1114 คน
ตกเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศาลแพ่งให้บริษัทบ้านปูและบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบ้านปู ชดใช้ค่าเสียหายให้กับกลุ่มงานทวี โดยนายศิวะ งานทวี ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท
พิพากษาแบบ “จัดเต็ม” ตั้งแต่ค่าเสียหายเป็นค่าข้อมูล 4,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 รวมทั้งเงินค่าขาดประโยชน์เป็นรายปีตั้งแต่พ.ศ.2558-2570 และพ.ศ.2571-2582
พลันที่คำพิพากษาออกมา ตลาดหุ้นก็ถล่มทลาย
หุ้นบ้านปู ซึ่งเป็นหุ้นแม่เหล็กใหญ่ของตลาดหุ้น โดนเทขายกระจุยกระจาย ปรับตัวลดลงวันเดียว 38 บาท หรือ 8.60% ลงมาอยู่ที่ 404 บาท
จากหุ้นที่เคยขึ้นสูงไป 800 บาท มาร์เก็ตแคปเป็น 2 แสนล้านบาท พอหุ้นเหลืออยู่ระดับ 400 ล้านบาท มาร์เก็ตแคปก็หดมาเหลือแค่ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น และแนวโน้มก็น่าจะลดลงอีก
วันนั้นวันเดียว วันที่คำพิพากษาเผยแพร่ออกมา หุ้นทั้งตลาดซื้อขายกันอยู่ 3.9 หมื่นล้านบาท แต่หุ้นบ้านปูตัวเดียว ซื้อขายนำโด่งอยู่ตัวเดียวถึง 6.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของมูลค่าซื้อขายตลาด
อาการเจ็บไข้ได้ป่วยของหุ้นตัวนี้ ก็เหมือนกับตลาดหุ้นไทยป่วยไข้ไปด้วย เพราะเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูง มีผู้ถือหุ้นรายย่อยอยู่ถึง 2.8 หมื่นราย
ซึ่งหากถือหุ้นต่อไป ก็ดูจะต้องรอรับราคาที่ต่ำเตี้ยลงไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าแนวรับจะอยู่ตรงไหน ครั้นจะตัดใจขายก็ขาดทุน กลายเป็นภาวะที่อีหลักอีเหลื่อมาก
เรื่องนี้มีความเป็นมา!!!
หากศิวะ งานทวี เจ้าของโปรเจ็กต์โรงไฟฟ้าหงสา ลิกไนต์ เดินหน้าแผนงานตามที่รับสัมปทานไว้กับรัฐบาลลาวได้เรียบร้อย ก็คงไม่เกิดปัญหาอะไร
แต่นี่ 13 ปีเข้าไปแล้ว งานก็ไม่มีอะไรคืบหน้า รัฐบาลลาวก็เร่งรัด เพราะมีสัญญาขายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯตามแผนพีดีพี ที่จะต้องส่งไฟเข้าระบบในปี 2558
ศิวะจึงไปชักชวนทางฝ่ายบ้านปูเข้าไปร่วมงาน โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฝ่ายละ 50% ค่าใช้จ่ายในการสำรวจเหมืองและการศึกษาแผนจัดตั้งโรงไฟฟ้า เป็นของฝ่ายบ้านปูหมด
แต่ทำงานร่วมกันมาได้สัก 2 ปี ฝ่ายศิวะก็เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญากับบ้านปู นัยว่าได้ผู้ร่วมหุ้นรายใหม่เป็นกลุ่มทุนจากประเทศจีน
รัฐบาลลาวก็พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการล่าช้ามานานมากแล้ว ผู้ร่วมทุนรายใหม่จะไปด้วยดีกับศิวะได้หรือเปล่า ก็ไม่มีหลักประกันในอนาคต
จึงบอกเลิกสัญญากับศิวะ งานทวี และก็จัดการหาผู้ประมูลรายใหม่ มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย แต่สุดท้ายฝ่ายรัฐบาลลาวก็เลือกกลุ่มบ้านปูเป็นผู้ได้รับสัมปทานไป
เรื่องก็เป็นอย่างนี้
ผลของคำพิพากษาศาลแพ่ง คงไม่กระทบกระเทือนกับการดำเนินงานโรงไฟฟ้าหงสาในปัจจุบัน ซึ่งมีการร่วมทุนระหว่างบ้านปู โรงไฟฟ้าราชบุรีฝ่ายละ 40% และรัฐบาลลาว 20% หรอก
ผลกระทบคงมีเฉพาะตัวกับบริษัทเหมืองบ้านปูเท่านั้น ซึ่งก็คงจะต้องมีการอุทธรณ์ ฎีกากันต่อไป
ความเป็นไปในอนาคต ถึงจะออกมาในทางร้ายอย่างไร บริษัทเหมืองบ้านปูก็คงไม่กระทบกระเทือนเท่าไหร่นัก เพราะบริษัทยังคงมีกำไรสะสมอยู่กว่า 6 หมื่นล้านบาท
กำไรปกติก็ทำได้ปีละ 1-2 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
แต่ผู้ถือหุ้นบริษัทเหมืองบ้านปู ซึ่งมีอยู่ถึง 2.8 หมื่นรายนี่สิ คงนอนไม่หลับ
ยิ่งยังไม่มีความกระจ่างชัดว่า บริษัทจะใช้นโยบายบันทึกสำรองอย่างไร ก็มีแต่ราคาหุ้นจะไหลรูดลงไปเรื่อยๆ แบบหาแนวรับไม่เจอเสียที
ถึงได้เกิดคำพูดในหมู่นักลงทุนว่า ใครถือให้ขาย ใครไม่มีให้เลี่ยง
หุ้นบ้านปู คงไม่ใช่หุ้นทำเงินอีกแล้ว และก็คงจดจำชื่อศิวะ งานทวีไปอีกนานแสนนาน
เจ้าของหุ้นเซอร์กิต ที่เคยมีคดีลือลั่นตบแต่งบัญชีและสร้างราคาหวือหวา ตบแมงเม่าตายเรียบนั่นไง
โดย...ชาญชัย สงวนวงศ์
บ้านปู และกลุ่มงานทวี
คอลัมน์ วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555
ผู้เข้าชม : 1114 คน
ตกเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ศาลแพ่งให้บริษัทบ้านปูและบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบ้านปู ชดใช้ค่าเสียหายให้กับกลุ่มงานทวี โดยนายศิวะ งานทวี ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท
พิพากษาแบบ “จัดเต็ม” ตั้งแต่ค่าเสียหายเป็นค่าข้อมูล 4,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 รวมทั้งเงินค่าขาดประโยชน์เป็นรายปีตั้งแต่พ.ศ.2558-2570 และพ.ศ.2571-2582
พลันที่คำพิพากษาออกมา ตลาดหุ้นก็ถล่มทลาย
หุ้นบ้านปู ซึ่งเป็นหุ้นแม่เหล็กใหญ่ของตลาดหุ้น โดนเทขายกระจุยกระจาย ปรับตัวลดลงวันเดียว 38 บาท หรือ 8.60% ลงมาอยู่ที่ 404 บาท
จากหุ้นที่เคยขึ้นสูงไป 800 บาท มาร์เก็ตแคปเป็น 2 แสนล้านบาท พอหุ้นเหลืออยู่ระดับ 400 ล้านบาท มาร์เก็ตแคปก็หดมาเหลือแค่ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น และแนวโน้มก็น่าจะลดลงอีก
วันนั้นวันเดียว วันที่คำพิพากษาเผยแพร่ออกมา หุ้นทั้งตลาดซื้อขายกันอยู่ 3.9 หมื่นล้านบาท แต่หุ้นบ้านปูตัวเดียว ซื้อขายนำโด่งอยู่ตัวเดียวถึง 6.6 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของมูลค่าซื้อขายตลาด
อาการเจ็บไข้ได้ป่วยของหุ้นตัวนี้ ก็เหมือนกับตลาดหุ้นไทยป่วยไข้ไปด้วย เพราะเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปสูง มีผู้ถือหุ้นรายย่อยอยู่ถึง 2.8 หมื่นราย
ซึ่งหากถือหุ้นต่อไป ก็ดูจะต้องรอรับราคาที่ต่ำเตี้ยลงไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าแนวรับจะอยู่ตรงไหน ครั้นจะตัดใจขายก็ขาดทุน กลายเป็นภาวะที่อีหลักอีเหลื่อมาก
เรื่องนี้มีความเป็นมา!!!
หากศิวะ งานทวี เจ้าของโปรเจ็กต์โรงไฟฟ้าหงสา ลิกไนต์ เดินหน้าแผนงานตามที่รับสัมปทานไว้กับรัฐบาลลาวได้เรียบร้อย ก็คงไม่เกิดปัญหาอะไร
แต่นี่ 13 ปีเข้าไปแล้ว งานก็ไม่มีอะไรคืบหน้า รัฐบาลลาวก็เร่งรัด เพราะมีสัญญาขายไฟให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯตามแผนพีดีพี ที่จะต้องส่งไฟเข้าระบบในปี 2558
ศิวะจึงไปชักชวนทางฝ่ายบ้านปูเข้าไปร่วมงาน โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนฝ่ายละ 50% ค่าใช้จ่ายในการสำรวจเหมืองและการศึกษาแผนจัดตั้งโรงไฟฟ้า เป็นของฝ่ายบ้านปูหมด
แต่ทำงานร่วมกันมาได้สัก 2 ปี ฝ่ายศิวะก็เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญากับบ้านปู นัยว่าได้ผู้ร่วมหุ้นรายใหม่เป็นกลุ่มทุนจากประเทศจีน
รัฐบาลลาวก็พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการล่าช้ามานานมากแล้ว ผู้ร่วมทุนรายใหม่จะไปด้วยดีกับศิวะได้หรือเปล่า ก็ไม่มีหลักประกันในอนาคต
จึงบอกเลิกสัญญากับศิวะ งานทวี และก็จัดการหาผู้ประมูลรายใหม่ มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย แต่สุดท้ายฝ่ายรัฐบาลลาวก็เลือกกลุ่มบ้านปูเป็นผู้ได้รับสัมปทานไป
เรื่องก็เป็นอย่างนี้
ผลของคำพิพากษาศาลแพ่ง คงไม่กระทบกระเทือนกับการดำเนินงานโรงไฟฟ้าหงสาในปัจจุบัน ซึ่งมีการร่วมทุนระหว่างบ้านปู โรงไฟฟ้าราชบุรีฝ่ายละ 40% และรัฐบาลลาว 20% หรอก
ผลกระทบคงมีเฉพาะตัวกับบริษัทเหมืองบ้านปูเท่านั้น ซึ่งก็คงจะต้องมีการอุทธรณ์ ฎีกากันต่อไป
ความเป็นไปในอนาคต ถึงจะออกมาในทางร้ายอย่างไร บริษัทเหมืองบ้านปูก็คงไม่กระทบกระเทือนเท่าไหร่นัก เพราะบริษัทยังคงมีกำไรสะสมอยู่กว่า 6 หมื่นล้านบาท
กำไรปกติก็ทำได้ปีละ 1-2 หมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
แต่ผู้ถือหุ้นบริษัทเหมืองบ้านปู ซึ่งมีอยู่ถึง 2.8 หมื่นรายนี่สิ คงนอนไม่หลับ
ยิ่งยังไม่มีความกระจ่างชัดว่า บริษัทจะใช้นโยบายบันทึกสำรองอย่างไร ก็มีแต่ราคาหุ้นจะไหลรูดลงไปเรื่อยๆ แบบหาแนวรับไม่เจอเสียที
ถึงได้เกิดคำพูดในหมู่นักลงทุนว่า ใครถือให้ขาย ใครไม่มีให้เลี่ยง
หุ้นบ้านปู คงไม่ใช่หุ้นทำเงินอีกแล้ว และก็คงจดจำชื่อศิวะ งานทวีไปอีกนานแสนนาน
เจ้าของหุ้นเซอร์กิต ที่เคยมีคดีลือลั่นตบแต่งบัญชีและสร้างราคาหวือหวา ตบแมงเม่าตายเรียบนั่นไง
โดย...ชาญชัย สงวนวงศ์