นอนหลับอยู่แล้วหยุดหายใจ เกิดจากสาเหตุอะไร

กระทู้คำถาม
ขณะที่หลับตอนกลางคืนเริ่มรู้ตัวว่าหยุดหายใจจึงปล่อยลมหายใจออกมา
แล้วตื่นขึ้นพร้อมหัวใจเต้นแรงๆใจสั่นๆ เป็นแบบนี้อยู่หลายครั้ง
แต่มีคืนนึงหยุดหายใจอีกแระแล้วพยายามจะตื่น แต่ร่างกายไม่ยอมยื่น
เลยดิ้นไปด้วยด่าไปด้วย ลมหายกำลังหมดจึงพยายามหายใจเข้าหายออก
ยุบหนอพองหนอ แต่เป็นการหายใจอยู่ในที่ไม่มีออกซิเจน  
รู้สึกเหมือนใกล้ตายทรมานมาก ตอนนั้นคิดว่าจะยอมตายหรือจะสู้ดี
ไม่เอาอ่ะไม่ยอมตายหรอก!เลยดิ้นสู้ตื่นมาได้ด้วยลมหายใจแผ่วบาง
ใจสั่นระรัวสั่นทั้งตัวอ่ะค่ะ นอนคิดเลยผีอำหรอวะเนี่ย (กะเอาตาย)
จริงๆแล้วมันเกิดจาดสาเหตุอันใดถึงเจอแบบนี้คะ เกรงว่าคงมีสักคืนได้หลับไม่ตื่นอีก
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เป็นปัญหาของการนอนหลับที่พบบ่อยในคนอายุ 30-35 ปี ซึ่งมักจะเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน ผนังคอหนา เนื้อเยื่อในช่องคอหย่อนตัวขณะนอนหลับ

ทางเดินหายใจส่วนบนหรือการที่มีโพรงจมูกอุดตันจากหลายสาเหตุ เช่น อาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ผนังกั้นช่องจมูกคด เนื้องอกในโพรงจมูกและ/หรือโพรงอากาศข้างจมูก ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ ก็เป็นสาเหตุ

บ่งบอกถึงการมีสิ่งอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)เป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับได้ ใครมีปัญหาควรรีบปรึกษาแพทย์

วิธีแก้

   1.ดื่มน้ำผึ้งผสมน้ำหนึ่งช้อนโต๊ะก่อนนอน

           2.อย่ารับประทานอาหารหนัก สามชั่วโมงก่อนนอน กระเพาะที่เต็มไปด้วยอาหารจะส่งผลให้กะบังลมถูกกดทับ ทำให้การเดินลมในร่างกายตีบตัน

           3.หลีกเลี่ยงการใช้หมอนนุ่ม ๆ เพราะจะไปทำให้คอหอยผ่อนคลาย ทำให้ระบบช่องลมไม่ขยาย

           4.ปรับความชันของเตียงนอนให้ส่วนหัวสูงขึ้นจากแนวราบสี่นิ้ว จะช่วยผ่อนการกดทับของลิ้น และกราม ส่งผลให้ลดอาการกรนระหว่างหลับ

           5.นอนตะแคง จะช่วยลดและผ่อนคลายความดันในช่องทางเดินอากาศ ที่เกิดจากการมีน้ำหนักมากเกินไปได้ แต่ถ้าไม่ชินกับการนอนตะแคง อาจใช้ลูกเทนนิส 2-3 ลูก เปลือกถั่วใส่ถุง หรือกระเป๋าวางไว้ด้านหลัง ลูกบอลหรือเปลือกถั่วเหล่านี้จะช่วยให้ไม่พลิกตัวไปนอนหงายได้

           6.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ และยาแก้แพ้ต่างๆ เป็นตัวทำให้การหายใจช้าลงและตื้นขึ้น กล้ามเนื้อหย่อนคลายลงมากกว่าปกติ จึงมีแนวโน้มได้มาก ว่าโครงสร้างลำคอจะอุดตันช่องทางเดินอากาศได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนกรน

           7.ลดน้ำหนัก ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุดสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากผิดปกติ ทำให้การหายใจเป็นไปได้อย่างยากลำบาก การลดน้ำหนักสามารถช่วยได้ แต่หมายถึงลดให้ใกล้เคียงกับน้ำหนักตามสัดส่วน

           8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังสามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยที่สุด ทั้งยังช่วยปรับสภาพกล้ามเนื้อ และทำให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น

           9.กำจัดปัจจัยในที่นอนที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดภูมิแพ้ เช่น ไร ฝุ่น ขนสัตว์จะช่วยลดอาการคัดจมูกได้ด้วย

           10.เพื่อป้องกันการนอนหงาย  อาจจะนำเอาลูกเทนนิส 2-3 ลูกมาใส่ถุงผ้าแล้วเย็บติดกับเสื้อที่ใส่นอน เวลานอนจะทำให้นอนหงายลำบาก เราจะต้องนอนตะแคงตัวไปเอง เป็นอุปกรณ์กันการนอนกรนแบบประหยัด

           11.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสัมผัสควันบุหรี่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เค้าเรียกว่า โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) หรือที่เราเรียกกันว่าโรคไหลตายนั่นแหละค่ะ จากหลายสาเหตุ อาจจะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ หรือความผิดปกติของสมองก็ได้

บางคนก็ว่าคนเป็นโรคนี้คือคนมีบุญ แต่เราว่ามันเป็นอะไรที่ทรมานมากนะ ที่ไม่รู้ว่า วันพรุ่งนี้เราจะได้ตื่นขึ้นมาหรือป่าวก็ได้ แต่ว่าโรคนี้รักษาได้นะคะ การรักษาก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

เริ่มแรกก่อนอื่น จขกท.ต้องไปตรวจการนอนหลับก่อน ว่าที่เราเป็นรุนแรงขนาดไหน ไปติดต่อที่รพ.หรือคลินิกที่เค้ารับตรวจได้ ส่วนตัวเราตรวจที่ NK Sleep Care ดีหน่อย เพราะไม่ต้องนอนโรงบาล เค้ามีเครื่องตรวจมาติดให้ที่บ้านเลย สะดวกมาก แถมราคาไม่แพง เพราะก่อนหน้านี้เราไปดูราคาของโรงบาลที่ต้องไปนอนที่รพ.เพื่อตรวจ เป็นหมื่นเลย อันนี้หลักพันเอง

หลังจากได้ผลแล้วก็เอาผลที่ได้ไปให้หมอเพื่อรักษา ของเราต้องได้ใช้เครื่อง CPAP อันนี้ราคาอยู่ประมาณ3หมื่นกว่าไปจนถึง8-9หมื่นแล้วแต่รุ่น เราซื้อตัวประมาณ36000 ที่ NK SLEEPCARE เหมือนกัน ดีหน่อย เซอร์วิสเค้าดี เครื่องมีปัญหา เค้าเซอร์วิสตลอด

ยังไงก็ลองดูนะคะ ของจขกท.อาจจะไม่ต้องถึงใช้เครื่องCPAP อาจจะแค่ปรับพฤติกรรมช่วยก็ดีขึ้นแล้ว แต่ยังไงก็ต้องตรวจ sleep test ก่อน เพื่อจะได้รักษาถูกค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่