กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (Imperial Japanese Navy, IJN) ถูกก่อตั้งระหว่างปี ค.ศ. 1869 จนถึง ค.ศ. 1947
จากนั้นได้ถูกยุบตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น และกลายมาเป็นกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น (JMSDF)
เนื้อหากระทู้นี้จะพูดถึงหม้อไอน้ำ (Steam Boiler) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นกำลังของเครื่องจักรไอน้ำหรือกังหันไอน้ำ
สำหรับเรือรบของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยหม้อไอน้ำจะสร้างไอน้ำ จากนั้นส่งไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำ
และส่งกลับมายังหม้อไอน้ำเพิ่มให้ความร้อนจนกลายเป็นไอน้ำ วนเป็นวัฏจักรแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ซึ่งผังของระบบต้นกำลังทั้งหมดของเรือรบก็จะเป็นตามรูปนี้นะครับ
ที่มา
http://www.suonada.co.jp/staff/view.php?id=234
Timeline:
ปีค.ศ. 1890
เรือรบญี่ปุ่นใช้หม้อไอน้ำที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ และเมื่ออุตสาหกรรมของญี่ปุ่นพัฒนามากขึ้น
จนสามารถผลิตหม้อไอน้ำได้เองในประเทศ จึงได้มีการซื้อลิขสิทธิ์มาเพื่อผลิตในประเทศ
ในขณะนั้นยังมีการใช้เหล็กธรรมดา (Iron) ในการผลิต จึงทำให้สร้างไอน้ำได้ประมาณ 44 psi เท่านั้น
หลังจากมีการพัฒนาด้านโลหะวิทยา จึงมาการใช้เหล็กกล้า (Steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติ
โดยเติมสารต่างๆลงไปในเนื้อเหล็ก ทำให้สามารถผลิตหม้อไอน้ำที่มีแรงดันได้ถึง 170 psi
ปี 1895
Jiro Miyabara (1858-1918) ได้เป็นผู้ดูแลการออกแบบและสร้างหม้อไอน้ำสำหรับกองทัพญี่ปุ่นขึ้น
โดยพัฒนามาจากหม้อไอน้ำของต่างประเทศที่ได้สั่งซื้อสำหรับติดตั้งในเรือรบญี่ปุ่นและได้นำชื่อ Miyabara
มาตั้งเป็นชื่อของหม้อไอน้ำชนิดนี้ Miyabara Boiler นั้นมีต้นทุนต่ำ สร้างง่าย บรรจุน้ำได้มาก สร้างแรงดันไอน้ำได้ถึง 233 psi
ที่มา:
http://www.google.com/patents/US633699
ปี 1900
Imperial Japanese Navy Technical Department หรือ 艦政本部 kansei hombu ย่อเป็น 艦本 kampon
ได้พัฒนา หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำขนาดเล็ก ขึ้นซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากหม้อไอน้ำของต่างประเทศ และได้พัฒนาสำหรับใช้ในเรือรบ
เรียกหม้อไอน้ำชนิดนี้ว่า Kampon Boiler
หม้อไอน้ำแบบ Kampon ถูกติดตั้งครั้งแรกกับเรือ IJN Tatsuta โดยผลิตแรงดันไอน้ำได้ที่ 180 psi
ใช้ระบบต้นกำลังแบบสองเพลา สองใบจักร มีกำลังม้าบ่งชี้ (Indicated Horse Power, IHP ) 5,500 แรงม้า
แต่ด้วยลักษณะของรูปร่างของถังน้ำ (Mud Drum) นั้นทำให้เกิดปัญหา (ไม่ได้ระบุว่าเกิดปัญหาใด)
จึงได้มีการพัฒนา Ro-Gou Kampon Boiler หรือ Kampon Type B Boiler ขึ้น
ซึ่งหม้อไอน้ำชนิดนี้เองที่กลายเป็นหม้อไอน้ำมาตรฐานสำหรับเรือรบญี่ปุ่นในช่วง 1914 จนถึงหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2
รูปภาพจาก
https://padresteve.com/tag/ijn-inazuma/
จบการบทนำแล้วครับ ก็จะเป็น Timeline คร่าวๆของพัฒนาการหม้อไอน้ำของเรือรบญี่ปุ่น
ต่อไปจะอธิบายลักษณะการทำงานและความแตกต่างของหม้อไอน้ำญี่ปุ่นและอังกฤษครับ
ต้นกำลังแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น - Kampon Boiler
จากนั้นได้ถูกยุบตามรัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น และกลายมาเป็นกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลแห่งญี่ปุ่น (JMSDF)
เนื้อหากระทู้นี้จะพูดถึงหม้อไอน้ำ (Steam Boiler) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นกำลังของเครื่องจักรไอน้ำหรือกังหันไอน้ำ
สำหรับเรือรบของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยหม้อไอน้ำจะสร้างไอน้ำ จากนั้นส่งไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำ
และส่งกลับมายังหม้อไอน้ำเพิ่มให้ความร้อนจนกลายเป็นไอน้ำ วนเป็นวัฏจักรแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ซึ่งผังของระบบต้นกำลังทั้งหมดของเรือรบก็จะเป็นตามรูปนี้นะครับ
ที่มา http://www.suonada.co.jp/staff/view.php?id=234
Timeline:
ปีค.ศ. 1890
เรือรบญี่ปุ่นใช้หม้อไอน้ำที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศ และเมื่ออุตสาหกรรมของญี่ปุ่นพัฒนามากขึ้น
จนสามารถผลิตหม้อไอน้ำได้เองในประเทศ จึงได้มีการซื้อลิขสิทธิ์มาเพื่อผลิตในประเทศ
ในขณะนั้นยังมีการใช้เหล็กธรรมดา (Iron) ในการผลิต จึงทำให้สร้างไอน้ำได้ประมาณ 44 psi เท่านั้น
หลังจากมีการพัฒนาด้านโลหะวิทยา จึงมาการใช้เหล็กกล้า (Steel) ซึ่งเป็นเหล็กที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติ
โดยเติมสารต่างๆลงไปในเนื้อเหล็ก ทำให้สามารถผลิตหม้อไอน้ำที่มีแรงดันได้ถึง 170 psi
ปี 1895
Jiro Miyabara (1858-1918) ได้เป็นผู้ดูแลการออกแบบและสร้างหม้อไอน้ำสำหรับกองทัพญี่ปุ่นขึ้น
โดยพัฒนามาจากหม้อไอน้ำของต่างประเทศที่ได้สั่งซื้อสำหรับติดตั้งในเรือรบญี่ปุ่นและได้นำชื่อ Miyabara
มาตั้งเป็นชื่อของหม้อไอน้ำชนิดนี้ Miyabara Boiler นั้นมีต้นทุนต่ำ สร้างง่าย บรรจุน้ำได้มาก สร้างแรงดันไอน้ำได้ถึง 233 psi
ที่มา: http://www.google.com/patents/US633699
ปี 1900
Imperial Japanese Navy Technical Department หรือ 艦政本部 kansei hombu ย่อเป็น 艦本 kampon
ได้พัฒนา หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำขนาดเล็ก ขึ้นซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากหม้อไอน้ำของต่างประเทศ และได้พัฒนาสำหรับใช้ในเรือรบ
เรียกหม้อไอน้ำชนิดนี้ว่า Kampon Boiler
หม้อไอน้ำแบบ Kampon ถูกติดตั้งครั้งแรกกับเรือ IJN Tatsuta โดยผลิตแรงดันไอน้ำได้ที่ 180 psi
ใช้ระบบต้นกำลังแบบสองเพลา สองใบจักร มีกำลังม้าบ่งชี้ (Indicated Horse Power, IHP ) 5,500 แรงม้า
แต่ด้วยลักษณะของรูปร่างของถังน้ำ (Mud Drum) นั้นทำให้เกิดปัญหา (ไม่ได้ระบุว่าเกิดปัญหาใด)
จึงได้มีการพัฒนา Ro-Gou Kampon Boiler หรือ Kampon Type B Boiler ขึ้น
ซึ่งหม้อไอน้ำชนิดนี้เองที่กลายเป็นหม้อไอน้ำมาตรฐานสำหรับเรือรบญี่ปุ่นในช่วง 1914 จนถึงหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2
รูปภาพจาก https://padresteve.com/tag/ijn-inazuma/
จบการบทนำแล้วครับ ก็จะเป็น Timeline คร่าวๆของพัฒนาการหม้อไอน้ำของเรือรบญี่ปุ่น
ต่อไปจะอธิบายลักษณะการทำงานและความแตกต่างของหม้อไอน้ำญี่ปุ่นและอังกฤษครับ