ความจริง กรณีพระภิกษุต้องอาบัติปราชิกข้อ ๒ หรือการลักขโมย ... สืบเนื่องจากกรณีพระไชยบูลย์ แห่งธรรมกาย

(( ขอยืมล๊อคอินคนอื่นมาโพสต์ ))

...................................

เรื่องอาบัติปราชิกของ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย เจ้าอาวาสสำนักจานบิน ธรรมโกย

อยากจะชี้แจงบางอย่าง เรื่องที่กรรมการมหาเถรตัดสินเมื่อวานว่า พระไชยบูลย์ ไม่เป็นปราชิก เพราะคืนเงินหมดแล้ว... อันนี้เป็นการตัดสินผิดชัดๆ ผิดจากหลักวินัยบัญญัติ ..( การตัดสินที่เป็นไปผิดๆแบบนี้เกิดขึ้นได้ยังไงกัน..?? )
ในอาบัติปราชิกข้อ ๒ ถ้าไปอ่านดูให้ละเอียดหน่อย เช่น ในสมันตปาสาทิกา(อรรถกถาพระวินัย) , กังขาวิตรณี (ฏีกาพระวินัย) และ ตำราอื่นๆ เช่น บุพพสิกขาวรรณา , วินัยมุข เป็นต้น ฯ
มีตอนหนึ่ง ระบุไว้ว่า พระภิกษุที่มีไถยจิต(จิตคิดขโมย) เมื่อลงมือขโมย เงิน หรือ ทรัพย์สมบัติ อื่นๆ ใดๆก็ตาม (เช่นสิทธิครอบครองตามกฏหมาย นิติกรรมต่างๆ ที่สามารถประเมินเป็นมูลค่าออกมาได้ และขายหรือมอบให้คนอื่นๆได้)โดยวิธีการใดๆก็ตาม ใน ๒๕ วิธี(อวหาร ๒๕).. เมื่อได้ขโมยเสร็จไปแล้ว ก็เป็นอันว่า ต้องอาบัติปราชิกข้อ ๒ นี้ เรียบร้อยแล้ว เปลี่ยนกลับไม่ได้อีก(คือ เรียกว่า เป็นอเตกิจฉา) ..แม้จะเปลี่ยนใจเอาสมบัติที่ขโมยไปนั้นกลับมาคืนทีหลังก็ตาม ก็ไม่อาจจะแก้ไขอาบัติปราชิกข้อนี้กลับคืนได้ เพราะทำเสร็จลงไปแล้ว ยังไงก็ยังต้องเป็นอาบัติปราชิก... หรือในกรณีขโมยของ เช่น ขโมยทีวีเครื่องหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน ๕ มาสก(มูลค่า ๕ มาสก หมายถึง มูลค่าประมาณเท่ากับปริมาณของทองคำจำนวน ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก) สมมุติทีวีเครื่องนั้น มีขนาดกว้างยาว ประมาณ ๒ ฟุต เมื่อยกทีวีเครื่องนั้นพ้นออกจากฐาน คือพ้นจากระยะ ๒ ฟุต ไปแล้ว ก็เป็นอันว่าพระนั้น ต้องอาบัติปราชิกเรียบร้อนไปแล้ว ไม่อาจจะแก้ไขได้อีก แม้ต่อมาภายหลัง พระนั้นจะเกิดสำนึกกลับใจ เอาทีวีเครื่องนั้นกลับมาวางที่เดิมก็ตาม ก็ไม่อาจจะแก้ไขอาบัติปราชิกที่เสร็จไปแล้วนั้นได้...แต่ถ้ายกทีวียังไม่พ้นระยะ ๒ ฟุต แล้วเกิดเปลี่ยนใจทันทีหยุดขโมย เอาทีวีวางกลับคืนที่เดิม ก็ยังไม่เป็นปราชิก แต่ปรับอาบัติอื่นๆ รองลงมา

เมื่อพระภิกษุเกิดไถยจิต แม้แค่แว๊บเดียว ก็ตาม... แล้วลงมือขโมยทรัพย์ที่มีมูลค่า ตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป ในตอนจังหวะนั้น  พระภิกษุนั้น ก็เป็นอาบัติปราชิกทันที ..แม้จะเกิดรู้สึกสำนึกผิด เปลี่ยนใจทีหลัง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาคืนก็ตาม  ก็ไม่เป็นผลอะไรอีกแล้ว  ยังไงก็เป็นอาบัติปราชิกสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว เรียบร้อย.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่