ถ้ากาแล็กซี่ชนกัน จะมีดาวกี่ดวงที่ชนกัน

กระทู้คำถาม
จากกระทู้
http://ppantip.com/topic/33260862

กาแล็กซี่มีปริมาตรส่วนใหญ่คือความว่างเปล่า
แสดงว่าดาวส่วนใหญ่ไม่ชนกันใช่ไหมครับ
ถ้างั้นอีกราวๆ 4 พันล้านปี โลกมีโอกาสรอดกี่ %
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
หาก 2 แกแลคซี่จะมาชนกัน

การ "ชนกัน" ของดาวฤกษ์นั้นจะมีจำนวนที่น้อยมาก ๆ ครับ เพราะระยะห่างระหว่างดาวฤกษ์นั้นห่างมาก ๆ  
แม้ว่าแกแลคซี่ทั้งสองจะรวม (ชน) กันแล้ว ระยะห่างของดาวฤกษ์ที่รวมกันแล้วยังมาก  ประมาณ
ลูกปิงปอง 1 ลูกห่างกัน 3 กิโลเมตรทีเดียว  แต่ถึงดาวฤกษ์จะไม่ชนกัน แต่จะเกิดการถูก "เหวี่ยงตำแหน่ง"
จาก tidal action ที่เกิดจากการกระแสแรงโน้มถ่วงครับ
โดยการเหวี่ยงนี้จะทำให้รูปร่างของทางช้างเผือก และ Andromeda เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา
กว่าจะกลับคืนรูปเป็นแกแลคซี่ใหม่ได้ อาจนานนับร้อยล้านปีครับ

นอกจากนั้น  การชนกันจะทำให้เกิดการรวมกันของหลุมดำของแกแลคซี่ทั้งสอง
จะทำให้เกิด Quasar ที่ทรงพลังและสว่างจ้าที่สุดอันหนึ่งเลยทีเดียวครับ
เพราะการรวมตัวของ 2 หลุมดำยักษ์แบบนี้ จะทำให้ดาวฤกษ์จำนวนมากแถวนั้น
ถูกดูดกลืนเข้าไปในสภาพโน้มถ่วงของ 2 หลุมดำ และก่อให้เกิด gas และ particle
จำนวนมหาศาลที่บริเวณจุดรวมกันของ 2 หลุมดำนั้น  และนี่เองที่จะกำเนิด Quasar
ที่ทรงพลังและสว่างจ้าที่สุดครับ (เหมือนกันที่เกิดขึ้นมาแล้วในที่อันแสนห่างไกล
จากเรานับหลายพันล้านปีแสง)

หากเรายังอยู่ (สมมุตินะครับ)  อีกประมาณ 3,700 ล้านปี เราจะมีท้องฟ้าอลังการแบบนี้ครับ



ภาพนี้ เป็นภาพจริงจากกล้องโทรทรรศน Hubble แสดงถึงการ "เริ่ม" การชนกัน
ของ 2 แกแลคซี่ คือ NGC 2207 และ IC 2163  ในระยะห่าง 80 ล้านปีแสงจากเราครับ
โดยอีกประมาณ 500 ล้านปีจากนี้ทั้ง 2 จะรวมตัวกันแบบสมบูรณ์และจะกลายร่างรวมกัน
เป็นแกแลคซี่ใหญ่รูปร่างแบบดาราจักรรี (Elliptical Galaxy) หรืออาจเป็น Disc galaxy



ส่วนภาพนี้ เป็นภาพของ NGC 4676 หรือ The Mice Galaxie
เป็นผลจากการชนกันของ 2 แแลคซี่เมื่อนานมาแล้วกว่า 300 ล้านปี
จากสภาพการชนกัน จะเห็น "หาง" ซึ่งเป็นมวลของดาวฤกษ์ล้วน ๆ
ถูก Tidal force ของการชนเหวี่ยงตัวออกไปครับ



ผมมีภาพเสริมให้ครับ เป็นลำดับขั้นการรวมตัวของทั้ง 2 แกแลคซี่
เป็นภาพที่มองจาก "โลก" (หากโลกยังอยู่อ่ะนะครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่