คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ตีความผิดไปเองมันก็เข้ารกเข้าพง
กาลามสูตรก็บอกแค่ว่า อย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆ ให้พิจารณาทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถจะทำได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อ
ซึ่งมันก็คล้ายๆกับ Critical Thinking นั่นเอง
เช่น
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
ความหมายก็คืออย่าเชื่อว่ามันถูกเพราะมันเขียนเอาไว้เป็นตำรา เราต้องอ่านตำรานั้นๆ อ่านตำราอื่นๆแล้วพิจารณาว่าตำราไหนถึงถูก
มันก็เรื่องเดียวกันกับการทำ Literature Review เพราะตอนเราทำนั้นเราอ่าน Paper เป็นร้อยๆ Article แล้วค่อยพิจารณาว่าอะไรใช่ได้อะไรใช้ไม่ได้
อย่างตอนผมทำ ผมโหลด Paper มาทั้งหมดประมาณ 1000 ฉบับ จากนั้นไล่อ่าน Abstract คัดแล้วเหลือประมาณ 300 ฉบับ แต่มันเหลือเอาไปใช้อ้างอิงแค่ 80 นิดๆฉบับเท่านั้นเอง ถ้าผมเชื่อทุกอย่างที่มันเขียนเอาไว้ ผมคงต้องอ้างอิงทั้งหมด 1000 ฉบับ
กาลามสูตรก็บอกแค่ว่า อย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆ ให้พิจารณาทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถจะทำได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อ
ซึ่งมันก็คล้ายๆกับ Critical Thinking นั่นเอง
เช่น
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
ความหมายก็คืออย่าเชื่อว่ามันถูกเพราะมันเขียนเอาไว้เป็นตำรา เราต้องอ่านตำรานั้นๆ อ่านตำราอื่นๆแล้วพิจารณาว่าตำราไหนถึงถูก
มันก็เรื่องเดียวกันกับการทำ Literature Review เพราะตอนเราทำนั้นเราอ่าน Paper เป็นร้อยๆ Article แล้วค่อยพิจารณาว่าอะไรใช่ได้อะไรใช้ไม่ได้
อย่างตอนผมทำ ผมโหลด Paper มาทั้งหมดประมาณ 1000 ฉบับ จากนั้นไล่อ่าน Abstract คัดแล้วเหลือประมาณ 300 ฉบับ แต่มันเหลือเอาไปใช้อ้างอิงแค่ 80 นิดๆฉบับเท่านั้นเอง ถ้าผมเชื่อทุกอย่างที่มันเขียนเอาไว้ ผมคงต้องอ้างอิงทั้งหมด 1000 ฉบับ
แสดงความคิดเห็น
คนที่คิดเป็นเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ เลิกเอาเรื่อง กาลามสูตร กับ อจินไตย มาอ้างเสียที เพราะขัดกับหลักวิทยาศาสตร์
ขัดกับหลักวิทยาศาสตร์ เลิกนำมาแปะได้แล้ว เวลา ไม่อยากให้คนเชื่ออะไรง่ายๆ ก็บอกว่าอย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆสิ ไม่ใช่ไปใส่
กาลามสูตร เพราะมันขัดกับหลักวิทยาศาสตร์
ประเด็นแรก
1.กาลามสูตร
กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
---------------------------------------------------
หลายข้อสอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่บางข้อก็ขัดแย้งเช่น
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
เวลาเราเขียนงานวิจัย เราก็ต้องอ้างเปเปอร์เก่าๆ ใครจะไปรู้ทุกอย่างหมด ถ้าไม่อ้างตำรา ความรู้ก็ต้องศึกษาใหม่เองหมด ความรู้ต้องเยอะใครจะไปทำได้
เราต้องอ้าง literature เก่าๆ อยู่แล้ว เปเปอร์ไหนมาเมพเลย ไม่มีอ้างอิงเลยโดน reject ชัวร์ๆ
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
คณิตศาสตร์คือตรรก สาขาใหญ่ในปรัชญามี ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ และญาณวิทยา ตรรกศาสตร์คือเครื่องมือสำคัญของมนุษย์
แน่นอนการอ้างตรรกะผิดๆก็มีถือเป็น fallacy แต่ก็ใช่ว่าตรรกจะใช้ไม่ได้เลย ความนึกคิดเป็นเหตุและผลของมนุษย์เกิดจากการใช้ตรรกะอย่างถูกต้อง
แล้ว มา ตกฺกเหตุ ข้อนี้มาได้อย่างไร
7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
อะไรกัน ข้อนี้ก็ถูกแล้วนี่ จะเชื่อจะอะไรจะคิดอะไรควรมีเหตุผล การใช้เหตุผลทำให้มนุษย์พัฒนาอย่างก้าวไกล สมองมนุษย์พัฒนาทำให้ reasoning ของมนุษย์ดีขึ้น สามารถคิดเรื่องซับซ้อนต่างๆได้ ข้อนี้แปลกมากมาได้อย่างไร
8. ตอนสุดท้ายไปสรุปว่า
"ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น"
อ้าวตอนแรกบอก มา อาการปริวิตกฺเกน แล้วจะไปรู้ได้ไงหล่ะ ว่า อะไร เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ ?
แปลกจริงๆ
----------------------------------
ประเด็น 2
อจินไตย แปลว่าสิ่งที่ไม่ควรคิด หมายถึงสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน มี 4 อย่างได้แก่
##พุทธวิสัย วิสัยแห่งความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
##ฌานวิสัย วิสัยแห่งอิทธิฤทธิ์ของผู้มีฌาน ทั้งมนุษย์ และเทวดา
##กรรมวิสัย วิสัยของกฎแห่งกรรม และวิบากกรรม คือการให้ผลของกรรมที่สามารถติดตามไปได้ทุกชาติ
##โลกวิสัย วิสัยแห่งโลก คือการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และสังสาระวัฏ
ไม่จริง วิทยาศาสตร์คิดได้หมด สงสัยได้หมด ตอนนี้ก็รู้แล้วว่าโลกเกิดได้อย่างไร พระอาทิตย์เกิดได้อย่างไร นรก สวรรค์ไม่มีอยู่จริง
กฎแห่งกรรมไม่มีจริง มีแต่กฎของนิวตัน ตายแล้วสูญ จบ พอเข้าใจสามารถสร้างทฤษฎีการเกิดของเอกภพได้อย่างน่าเชื่อถือและมีหลักฐานสอดคล้องกัน มนุษย์มีความสามารถคิดได้ ไม่มีใครหัวแตกเพราะคิดเรื่องนี้เลยสักคน
เลิกเอา คำว่า อจินไตยมาอ้างเสียที เป็นการดูถูกความสามารถของมนุษย์ ขัดกับหลัก มนุษย์นิยม และลัทธิ existentialism ที่เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์