[BERSERK] โลลิคอนในเบอร์เซิร์ก ตอนที่ 1

  
          เชื่อว่าแฟนการ์ตูนเบอร์เซิร์กคงทราบกันดีว่าผู้เขียนหรือ มิอุระ เคนทาโร่ (Miura Kentaro) นั้นเป็นชาวโลลิคอนที่ติดสื่อบันเทิงแนวสาวน้อยอย่างงอมแงม  ซึ่งรายละเอียดสามารถอ่านเอาได้ในลิงค์นี้ => http://akibatan.com/tag/kentaro-miura/  สำหรับในกระทู้นี้ ผมจะกล่าวถึงตัวละครและเนื้อหาในเรื่องเบอร์เซิร์กที่แสดงถึงความเป็นโลลิคอนของผู้เขียน ซึ่งจะทำให้เราเห็นว่า ตัวละครแบ๊วๆ ไม่ได้ปรากฏเฉพาะในช่วงหลังๆ ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้เขียนแกติดสื่อแนวโลลิแล้วเท่านั้น ทว่ามีปรากฏตั้งแต่ช่วงแรกของเรื่องเลยทีเดียว
          ผมจะกล่าวถึงที่มาของ โลลิคอน อย่างคร่าวๆ เป็นการเกริ่นนำก่อน จากนั้นผมจึงจะกล่าวถึงตัวละครโลลิในเรื่องเบอร์เซิร์กเป็นลำดับไป นับตั้งแต่ช่วงแรกของเรื่องเลย
          คำว่า โลลิคอน (Lolicon) เป็นศัพท์แสลงที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า ปมโลลิตา (Lolita Complex)  โดยคำว่า โลลิตา นั้นมักถูกใช้ในความหมายที่สื่อถึงเด็กสาวที่มีเสน่ห์หรือความดึงดูดทางเพศ (ทำนองเดียวกับคำว่า โลลิคอน ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น)  อันที่จริงโลลิตานั้นเป็นชื่อนวนิยายและเป็นชื่อเล่นของตัวละครตัวหนึ่งในนวนิยายเรื่องนั้น ซึ่งก็คือนวนิยายเรื่อง โลลิตา (Lolita) ของ วลาดิมีร์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) ที่มีชื่อเสียง (และชื่อเสีย) มากนั่นเอง
          นวนิยายเรื่อง โลลิตา เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชายวัยกลางคนที่มีชื่อกับนามสกุลเหมือนกันคือ ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ต (Humbert Humbert) กับเด็กสาวอายุสิบสองปีชื่อ โดโลเรส เฮซ (Dolores Haze) ที่ฮัมเบิร์ตเรียกชื่อเล่นว่า โลลิตา ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของฮัมเบิร์ตเอง  เนื้อหาจะบรรยายถึงความหลงใหลหมกมุ่นที่ฮัมเบิร์ตมีต่อโลลิตา การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้โลลิตามาครอบครอง และบทอวสานของเรื่องที่ไม่สมหวังตามที่ฮัมเบิร์ตต้องการ  นวนิยายเรื่องนี้ถือวรรณกรรมคลาสสิกเรื่องหนึ่งของศตวรรษที่ 20 และยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ถึงสองครั้ง โดยครั้งแรกสร้างในปี ค.ศ. 1962 กำกับโดย สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) และครั้งที่สองสร้างในปี ค.ศ. 1997 กำกับโดย เอเดรียน ไลน์ (Adrian Lyne) (โดยส่วนตัวผมชอบเวอร์ชันเก่าของคูบริกมากกว่า)
          ส่วนคำว่า ปมโลลิตา (Lolita Complex) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า โลลิคอน นั้นหมายถึงปมทางจิตหรืออาการทางจิตของผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศชอบเด็กผู้หญิงที่มีอายุน้อยๆ ถือเป็นอาการประเภท Pedophilia หรือ ‘โรคใคร่เด็ก’ ซึ่งเป็นชื่อเรียกอาการของบุคคลที่มีความต้องการทางเพศกับเด็ก ชอบใช้เด็กเป็นเครื่องมือสนองความใคร่ของตัวเอง (ในกรณีนี้จะไม่จำกัดเพศ คือชอบเด็กเพศอะไรก็เรียกว่าอาการ Pedophilia หมด)


ภาพจากภาพยนตร์ Lolita เวอร์ชันปี 1962 ซึ่งเราอาจถือเป็น ‘โลลิคอนฉบับออริจินอล’


          ผมจะพูดถึงที่มาของโลลิคอนแต่เพียงเท่านี้ จากนี้ไปจะกลับมาพูดถึงประเด็น ‘โลลิคอนในเบอร์เซิร์ก’ ต่อ โดยผมจะกล่าวถึงตัวละครแนวโลลิทีละตัว และแสดงเนื้อหาซึ่งส่อแสดงไปในทางเพศที่อยู่แวดล้อมตัวละครเหล่านั้น  ซึ่งอาจทำให้ทุกท่านได้เห็นถึงความเป็นโลลิคอนขนานแท้ของผู้เขียนเบอร์เซิร์ก!
          ผมลองพิจารณาดูแล้วก็พบว่า ตัวละครแนวโลลิคอนในเบอร์เซิร์กนั้นส่วนใหญ่มักจะมีลักษณะร่วมกันสามอย่าง (ซึ่ง อ.มิอุระ มักใช้เป็นตัวเดินเรื่อง)  อย่างแรกต้องเป็นเด็กมีปัญหา  อย่างที่สองมักถูกทารุณกรรมหรือล่วงละเมิดทางเพศ (มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี)  และอย่างที่สามซึ่งสำคัญที่สุด คือต้องมีฉากจิ้นกับกัทส์ (หรือผู้มีอายุมากกว่า) เสมอ! (ไม่ต้องถามนะว่าทำไม...)
          กล่าวกันว่า วรรณกรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์ทางจิตใจของผู้รังสรรค์  ดังนั้น เรามาดูอีกแง่มุมหนึ่งของเบอร์เซิร์กเพื่อทำความเข้าใจผู้เขียนเบอร์เซิร์กกันดีกว่า!

          ฟริกก้า (Frikka)   มังงะไทยแปลว่า ฟริตก้า
          ตัวละครโลลิตัวแรกที่ผมจะพูดถึงคือ "ฟริกก้า" ซึ่งเป็นตัวละครในเบอร์เซิร์กฉบับดั้งเดิม หรือ Berserk: The Prototype ซึ่งเป็นเบอร์เซิร์กฉบับเก่าที่ผู้แต่งเขียนไว้สมัยยังเป็นนักศึกษา ซึ่งถือเป็นต้นแบบของเบอร์เซิร์กเวอร์ชันปัจจุบัน  ในเรื่องนั้นฟริกก้าเป็นเด็กสาวที่กัทส์ช่วยไว้จากกลุ่มโจรที่กำลังจะทำวิตถารกับเธอ เมื่อกัทส์พาเธอกลับหมู่บ้าน เขาก็ได้รู้เรื่องของสาวกอสูรตนหนึ่งที่โปรดปรานการฆ่าเด็กสาวเป็นที่สุด ต่อมาฟริกก้าก็ต้องถูกส่งไปเป็นเหยื่อของสาวกอสูรตนนี้ และในขณะที่สาวกอสูรเริ่มสัมผัสตัวฟริกก้า กัทส์ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งแล้วเข้าต่อสู้กับสาวกอสูรตนนี้  โดยในเนื้อเรื่องนั้นเราจะเห็นว่ามีฉากที่แสดงถึงความรุนแรงทางเพศที่เธอถูกกระทำอยู่ฉากสองฉาก
          ฟริกก้ามีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กครบสามอย่าง คือ เป็นเด็กมีปัญหา (ต้องถูกส่งไปเป็นเหยื่อสาวก),  ถูกทารุณกรรมทางเพศ (โดยกลุ่มโจรและสาวกอสูร แต่ไม่ร้ายแรง) และมีฉากจิ้นกับกัทส์ (ตอนขี่ม้า)
          ในเมื่อ Berserk: The Prototype ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งเป็นสมัยที่ผู้เขียนยังเป็นนักศึกษาอายุ 22 อยู่  นั่นก็หมายความว่า มิอุระ เคนทาโร่ มีความโลลิคอนมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว!

          โคลเล็ตต์ (Collette)   มังงะไทยแปลว่า โคเร็ต
          โคลเล็ตต์ เป็นตัวละครโลลิตัวแรกในเบอร์เซิร์กฉบับมาตรฐาน เธอเป็นลูกสาวของนักบวชที่กัทส์พบระหว่างทาง ภายหลังเธอถูกหอกของโครงกระดูกที่มีวิญญาณสิงสู่แทง และถูกวิญญาณชั่วร้ายเข้าสิงสู่และทำร้ายกัทส์ สุดท้ายเธอก็ถูกกัทส์ใช้ดาบฟันร่างจนขาดกระเด็น
          แต่ในรูปแบบอนิเมะ โคลเล็ตต์จะมีบทบาทต่างจากในมังงะ คือจะเป็นหลานสาวของนักบวช (ในมังงะเป็นลูกสาว) และถูกกลุ่มนักเลงข่มเหงรังแกในร้านเหล้า
          โคลเล็ตต์มีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กอย่างหนึ่งคือ มีฉากจิ้นกับกัทส์ (เธอเอาเหล้าให้กัทส์ดื่มและห่มผ้าให้ตอนกัทส์จะนอนหลับ โดยมีเขินๆนิดหน่อย) ไม่มีฉากทารุณกรรมทางเพศ แต่มีฉากตายอย่างอเนจอนาถแทน

          เธเรเซีย (Theresia)   มังงะไทยแปลว่า เทเรเซีย
          เธเรเซีย เป็นลูกสาวของท่านเคานต์ที่เป็นสาวกอสูรตนหนึ่ง เธอต้องพบกับความจริงอันโหดร้าย ทั้งการที่พ่อเป็นปิศาจ, การได้พบกับก็อดแฮนด์ที่น่าเกลียดน่ากลัว, การที่แม่เป็นผู้นิยมลัทธิมืดสนองตัณหา และการที่พ่อเป็นผู้สังหารแม่ของเธอเอง  และเธอก็ได้ระบายความคับแค้นใจออกมาด้วยการโยนความผิดทั้งหมดให้กับกัทส์ที่มาปรากฏตัวต่อหน้าเธอ  ซึ่งเป็นเหตุให้เธอได้รับรู้ความจริงทุกอย่าง
          เธเรเซียมีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กอย่างหนึ่งคือเป็นเด็กมีปัญหา (อย่างรุนแรง) หลายอย่าง อาทิ ต้องรู้สึกหวาดกลัวพ่อของตัวเอง, ต้องอาศัยอยู่ในห้องนอนตลอดเวลา, ต้องทราบความจริงว่าพ่อเป็นปิศาจ และพ่อเป็นคนฆ่าแม่ ซึ่งสุดท้ายแล้วเธอก็ไม่สามารถยอมรับความจริงที่โหดร้ายเหล่านี้ได้และถึงกับจะคิดฆ่าตัวตาย

          ชาร์ล็อต บีทริกซ์ มารี โรดี วินดั้ม (Charlotte Beatrix Marie Rhody Wyndham)
          ชาร์ล็อต เป็นธิดาองค์เดียวของกษัตริย์แห่งมิดแลนด์ (ภายหลังจากกษัตริย์สิ้นพระชนม์ เธอก็ขึ้นเป็นราชินี) เธอได้ตกหลุมรักเหยี่ยวขาวกริฟฟิธอย่างหัวปักหัวปำ และสุดท้ายก็ได้มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเขา ซึ่งเป็นเหตุให้พระราชาบันดาลโทสะ จับกริฟฟิธไปขังในคุกนรกอันมืดมิด
          ชาร์ล็อตมีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กครบสามอย่าง คือเป็นเด็กมีปัญหา (ต้องทุกข์ทนกับการรอคอยกริฟฟิธกลับมา, ต้องหวาดกลัวพ่อของตัวเอง และต้องพบความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว),  ถูกทารุณกรรมทางเพศ (ถูกขย่มอย่างหนักหน่วงเพราะกริฟฟิธกำลังอารมณ์ขุ่นมัวกับการจากไปของกัทส์, เกือบถูกพระราชาซึ่งเป็นพ่อแท้ๆขืนใจ และเกือบถูกคนิษกะขอ ‘ทำลูก’ ด้วย) และมีฉากจิ้นกับกัทส์ฉากหนึ่ง (ตอนขี่หลังกัทส์ในคุก) และมีฉากวาบหวามกับอีกสองคนคือกษัตริย์มิดแลนด์และราชาคนิษกะ (ส.ว.ทั้งคู่)

          เด็กสาวนิรนาม   ไม่ปรากฏชื่อในมังงะ
          เด็กสาวนิรนามคนนี้เป็นเพียงตัวละครประกอบที่ผมไม่จำเป็นต้องพูดถึงก็ได้ แต่ผมเห็นว่าเธอเป็นตัวละครที่น่าสงสารมากที่สุดคนหนึ่ง ทั้งที่เป็นตัวละครธรรมดาแต่กลับต้องพบจุดจบที่น่าสยดสยอง  เธอเป็นเด็กสาวที่พวกกัทส์พบระหว่างทางหลังจากช่วยกริฟฟิธออกมาจากคุกในวินดั้มได้แล้ว เธอเป็นเด็กซื่อๆที่มอบดอกไม้ให้กริฟฟิธ  แต่สุดท้ายเธอกลับถูกปิศาจหมาดำที่ออกตามล่ากริฟฟิธข่มขืนแล้วฆ่าอย่างทารุณ
          เด็กสาวไร้ชื่อคนนี้มีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กอย่างหนึ่งคือ ถูกทารุณกรรมทางเพศ (โดยปิศาจหมาดำ) แถมยังถูกสังหารอย่างโหดร้าย (น่าจะโหดที่สุดในเรื่องด้วยซ้ำ)
          ตรงนี้ผมขอแทรกอะไรหน่อยครับ จากการที่เราเห็นว่าในเรื่องเบอร์เซิร์กมีฉากที่ผู้หญิงถูกกระทำชำเราอย่างทารุณอยู่เยอะมาก ทั้งโดยมนุษย์และโดยปิศาจ ตัวอย่างฉากที่รุนแรงมากก็คือกรณีเด็กนิรนามคนนี้ กับกรณีแคสก้าที่ถูกเฟมโตข่มขืน (ซึ่งกินไปหลายหน้ากระดาษ)   แต่กับผู้ชายกลับไม่ค่อยมีฉากแบบนี้ (นอกจากฉากกัทส์โดนสวนตอนเด็ก) ทำให้ในเว็บบอร์ดต่างประเทศ แฟนๆบางคนตั้งข้อสังเกตว่าผู้เขียนเบอร์เซิร์กเป็นพวกเกลียดผู้หญิง (Misogynist) หรือเปล่า  แต่สำหรับผมคิดว่าไม่ใช่เลย เพราะผมเห็นว่าผู้เขียนแกดูจะชอบ (เด็ก) ผู้หญิงเป็นอย่างมาก  เพียงแต่แกอาจชอบเขียนให้ตัวละครหญิงถูกทารุณกรรมทางเพศมากไปหน่อย

          แคสก้า (Casca)   มังงะไทยแปลว่า แคสก้า
          บางคนอาจสงสัยว่า แคสก้า นี่มันโลลิคอนตรงไหน แต่ถ้าดูรูปข้างบนก็จะเห็นได้ว่าแคสก้าก็มีฉากโลลิเหมือนกัน ซึ่งเป็นฉากย้อนอดีตสมัยที่แคสก้ายังเป็นเด็กในหมู่บ้านยากไร้ และถูกขุนนางซื้อตัวไปเป็นทาสรับใช้ แต่ระหว่างทางขุนนางเฒ่ากลับเกิดอารมณ์พิศวาสหนูน้อยแคสก้าขึ้นมาและลงมือกระทำชำเราเธอตรงข้างทาง แต่แคสก้าก็รอดพ้นมาได้เพราะการช่วยเหลือของกริฟฟิธ และนี่ก็เป็นสาเหตุให้เธอเข้าร่วมกองพันเหยี่ยว
          แคสก้าวัยเด็กมีลักษณะร่วมของโลลิเบอร์เซิร์กครบสามอย่าง คือเป็นเด็กมีปัญหา (ต้องทนทุกข์กับชีวิตยากไร้),  ถูกทารุณกรรมทางเพศ (ถูกขุนนางเฒ่าข่มขืน) และมีฉากวาบหวามกับผู้สูงวัยคือขุนนางเฒ่า (ฉากนั้นของแคสก้ากับกัทส์และเฟมโตผมไม่นับ เพราะอันนั้นตอนโต ไม่โลลิคอนแล้ว)

          เอริก้า (Erica)   มังงะไทยแปลว่า เอริก้า
          เอริก้า นี่ดูจะเป็นโลลิคอนที่ปกติที่สุดแล้ว นอกจากการต้องสูญเสียพ่อบุญธรรมคือนายช่างโกโดไป ก็ดูจะไม่มีปัญหาชีวิตที่หนักหนาอะไร เพราะยังไงก็มีริคเคิร์ต (ริคเคลโต้) คอยดูแลอยู่ (ตกลงแล้วเอริก้านี่คู่จิ้นของริคเคิร์ตใช่มั้ย?) แถมบทบาทของเธอในเรื่องก็น้อยด้วย
          นี่ทำให้เอริก้าไม่มีลักษณะร่วม (ด้านลบ) ของโลลิเบอร์เซิร์กเลยสักอย่าง (สะอาดบริสุทธิ์ที่สุดในเรื่อง)

          ยังไม่จบนะครับ ยังมีอีกหลายคน ไว้ค่อยมาต่อตอนที่ 2 ละกันครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่