โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2558, 11:51
กสทช. เผยทีวีดิจิทัลออนแอร์10เดือน พบ21ช่องใหม่โกยผู้ชม14.5ล้านคน เพิ่มขึ้น4 เท่าหลังออกอากาศเม.ย.ปีก่อน
เดินหน้าขึ้นราคาโฆษณา สวนทางทีวีอนาล็อกเรทติ้งวูบ สัดส่วนผู้ชมลดลง 20% คาดปีนี้แจกคูปองทั่วประเทศดันผู้ชมพุ่ง20ล้านคน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าจากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. โดยเก็บข้อมูลหลังจากโทรทัศน์ดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) เริ่มออกอากาศเดือน เม.ย.2557 ถึงวันที่ 15 ม.ค.2558 หรือประมาณ 10 เดือน พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจผู้ชมและความนิยมช่องรายการของบริษัทเดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
จากนั้นสำรวจผู้ชม"ช่องฟรีทีวี" ทั่วประเทศจำนวน 23.8 ล้านครัวเรือน แบ่งออกเป็น "ช่องฟรีทีวีเดิม" หรือทีวีอนาล็อก 6 ช่อง รวมทั้งฟรีทีวีเดิมที่ออกอากาศคู่ขนานระบบดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันสามารถรับชมได้ทั้งช่องทางเสาอากาศ(หนวดกุ้ง/ก้างปลา) ,เคเบิลทีวี/ดาวเทียม และช่องทางทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน ผ่านอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล (DVB-T2) และโทรทัศน์ระบบดิจิทัล(iDTV) เปรียบเทียบ "ทีวีดิจิทัล" 21 ช่องใหม่ ที่รับชมผ่านเคเบิล/ดาวเทียม และอุปกรณ์รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
ทีวีดิจิทัลโกยผู้ชม14.5ล้านคน
การสำรวจผู้ชมฟรีทีวี ทุกแพลตฟอร์มช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา พบว่าช่องฟรีทีวีเดิม 6 ช่อง มีสัดส่วนผู้ชมลดลงต่อเนื่องนับจากเดือนเม.ย.2557 ที่ครองส่วนแบ่งผู้ชม 93% ล่าสุดเดือน ม.ค.2558 อยู่ที่ 76% หรือลดลงราว 20%
ขณะที่ทีวีดิจิทัล 21 ช่องใหม่ ครองสัดส่วนผู้ชม 7% ในเดือนเม.ย.2557 หรือจำนวน 4-5 ล้านคน ล่าสุดเดือน ม.ค.2558 เพิ่มเป็น 24% หรือมีจำนวนผู้ชม 14.5 ล้านคน หรือเติบโตถึงเกือบ 4 เท่าตัวในช่วง 10 เดือนของการออกอากาศ
"แนวโน้มผู้ชมทีวีดิจิทัลช่องใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากวันเริ่มต้นออกอากาศ โดยเฉพาะหลัง สำนักงานกสทช. แจกคูปองทีวีดิจิทัลให้ประชาชน นำไปแลกกล่องรับสัญญาณในเดือน ต.ค.เป็นต้นมา" นายฐากร กล่าว
ข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ชมทีวีเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลขทีวีอนาล็อกมีแนวโน้มผู้ชมลดลง แม้ปัจจุบันช่อง 7 และช่อง 3 ยังครองเรทติ้งผู้ชมทีวีอันดับ 1 และ 2 แต่ข้อมูลความนิยมรายการทีวีของนีลเส็น พบว่าค่าเฉลี่ยเรทติ้งเดือนธ.ค.2557 เทียบ ม.ค.2558 ของช่อง 7 ลดลง 7.96% ขณะที่ช่อง 3 ลดลง 20% เช่นเดียวกับฟรีทีวีเดิม ช่องอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเรทติ้งลดลง โดยช่อง 5 ลดลง 59% ช่อง 9 ลดลง 40% ช่องไทยพีบีเอส ลดลง 49%
โกยเรทติ้ง-ปรับราคาโฆษณา
นายฐากร กล่าวว่าหลังจากทีวีดิจิทัลช่องใหม่ปรับผังรายการต่อเนื่อง นำละครและรายการสาระบันเทิงผลิตใหม่ รวมทั้งช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และช่องวัน ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำรายการที่ได้รับความนิยมจากช่องฟรีทีวีเดิมมาออกอากาศทางช่องทีวีดิจิทัลของบริษัททั้งหมด ทำให้ผังรายการทีวีดิจิทัลปีนี้ได้รับความนิยมและมีผู้ชมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีเรทติ้งผู้ชมติดอันดับท็อปเทน
ขณะที่ช่องทีวีดาวเทียม ซึ่งเปลี่ยนแพลตฟอร์มมาออกอากาศในระบบดิจิทัล เช่นช่อง 27 (ช่อง 8) อาร์เอส, ช่อง 22 เนชั่นทีวี, ช่อง 21 วอยซ์ทีวี, ช่อง 19 สปริงนิวส์ สามารถรักษาความนิยมและฐานผู้ชมได้อย่างต่อเนื่อง โดยช่อง 8 เป็นช่องที่สามารถเพิ่มผู้ชมรายการได้อย่างรวดเร็ว จากการผลิตคอนเทนท์ตอบสนองโจทย์ผู้ชมกลุ่มแมส เช่น ละครหลังข่าว
ส่วนกลุ่มทีวีดิจิทัล ช่องใหม่ เช่น ช่องโมโน 29, ช่อง 32 ไทยรัฐทีวี, ช่อง 34 อมรินทร์ทีวี, ช่อง 18 นิวส์ทีวี ในกลุ่มนี้ ช่องโมโน 29 เป็นช่องที่มีความนิยมสูงติดท็อปเทนเรทติ้ง โดยนำเสนอซีรีส์ ละคร จากช่องเคเบิลทีวีมาออกอากาศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจึงได้รับความสนใจจากผู้ชมฟรีทีวีจำนวนมาก
"ผลการศึกษาพบว่าการมีแผนการตลาดและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงการนำเลขลำดับช่องรายการใส่ไว้ในชื่อช่องรายการ เป็นปัจจัยที่มีผลให้ช่องทีวีดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น" นายฐากร กล่าว
ทั้งนี้ ข้อมูลจากนีลเส็น ระบุว่าทีวีดิจิทัล ในกลุ่มผู้นำเรทติ้งเพิ่มต่อเนื่องจากเดือนธ.ค.2557 เทียบ ม.ค.2558 ช่องเวิร์คพอยท์ เพิ่มขึ้น 41% ช่อง 8 เพิ่มขึ้น 15% ช่องวัน 38%
นายฐากร กล่าวว่าจากแนวโน้มความนิยมและฐานผู้ชมทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย(MAAT) รายงานว่าปีนี้ ช่องทีวีดิจิทัล ปรับขึ้นราคาโฆษณาเฉลี่ย 40% โดยราคาโฆษณาเฉลี่ยปี 2557 อยู่ที่ 10,000 บาทต่อนาที ส่วนปีนี้อยู่ที่ 50,000 บาทต่อนาที และมีโอกาสปรับขึ้นอีกหากมีเรทติ้งสูง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทีวีทั้งด้านการลงทุนและการแข่งขันเนื้อหาสาระของรายการ ซึ่งจะทำให้มีรายการคุณภาพมากขึ้น เป็นทางเลือกในการรับชมของประชาชน
แจกคูปองดันผู้ชม20ล้านคนปีนี้
ปัจจุบันสำนักงาน กสทช. ดำเนินการแจกคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิทัลรวม 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2557 ถึงปัจจุบัน จำนวน 8.19 ล้านฉบับ ขณะที่การแจกคูปอง 3 ครั้งแรกในปี 2557 จำนวน 7.7 ล้านฉบับ มีประชาชนนำคูปองมาใช้แล้ว 50% หรือจำนวน 3 ล้านฉบับ ดังนั้นจะมีผู้ชมที่รับชมจากช่องทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน 6-7 ล้านคนในขณะนี้
ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ สำนักงาน กสทช. เตรียมแจกคูปองครั้งที่ 5 อีก 5.17 แสนฉบับ ในพื้นที่ 7 จังหวัด จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.ลำปาง จ.น่าน จ.เพชรบูรณ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.นครศรีธรรมราช รวม 15 อำเภอที่มีสัญญาณทีวีดิจิทัลครอบคลุมไม่น้อยกว่า 80%
อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ จะดำเนินการแจกคูปองครบทั้ง 13.5 ล้านครัวเรือน ที่กำหนดแจกคูปองระยะแรกในครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านและเจ้าบ้าน โดย สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะมีประชาชนนำคูปองมาใช้ในสัดส่วน 70% ดังนั้นคาดว่าในปีนี้ ทีวีดิจิทัล จะครองสัดส่วนผู้ชมราว 20 ล้านคน
จากผลการศึกษาการรับชมทีวีดิจิทัลของสำนักงาน กสทช. สรุปได้ว่าประเทศไทยเป็นสังคมที่มีแนวโน้มการตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทีวีดิจิทัล จากการเติบโตของจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เชื่อว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสู่ดิจิทัลได้เร็วกว่าโรดแมพที่กำหนดสิ้นสุดการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อกในปี 2563
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/633143
ทีวีดิจิทัล โกย 14 ล้านคน ช่องอนาล็อก เรทติ้งวูบ
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2558, 11:51
กสทช. เผยทีวีดิจิทัลออนแอร์10เดือน พบ21ช่องใหม่โกยผู้ชม14.5ล้านคน เพิ่มขึ้น4 เท่าหลังออกอากาศเม.ย.ปีก่อน
เดินหน้าขึ้นราคาโฆษณา สวนทางทีวีอนาล็อกเรทติ้งวูบ สัดส่วนผู้ชมลดลง 20% คาดปีนี้แจกคูปองทั่วประเทศดันผู้ชมพุ่ง20ล้านคน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่าจากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. โดยเก็บข้อมูลหลังจากโทรทัศน์ดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) เริ่มออกอากาศเดือน เม.ย.2557 ถึงวันที่ 15 ม.ค.2558 หรือประมาณ 10 เดือน พร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจผู้ชมและความนิยมช่องรายการของบริษัทเดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
จากนั้นสำรวจผู้ชม"ช่องฟรีทีวี" ทั่วประเทศจำนวน 23.8 ล้านครัวเรือน แบ่งออกเป็น "ช่องฟรีทีวีเดิม" หรือทีวีอนาล็อก 6 ช่อง รวมทั้งฟรีทีวีเดิมที่ออกอากาศคู่ขนานระบบดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันสามารถรับชมได้ทั้งช่องทางเสาอากาศ(หนวดกุ้ง/ก้างปลา) ,เคเบิลทีวี/ดาวเทียม และช่องทางทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน ผ่านอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล (DVB-T2) และโทรทัศน์ระบบดิจิทัล(iDTV) เปรียบเทียบ "ทีวีดิจิทัล" 21 ช่องใหม่ ที่รับชมผ่านเคเบิล/ดาวเทียม และอุปกรณ์รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดิน
ทีวีดิจิทัลโกยผู้ชม14.5ล้านคน
การสำรวจผู้ชมฟรีทีวี ทุกแพลตฟอร์มช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา พบว่าช่องฟรีทีวีเดิม 6 ช่อง มีสัดส่วนผู้ชมลดลงต่อเนื่องนับจากเดือนเม.ย.2557 ที่ครองส่วนแบ่งผู้ชม 93% ล่าสุดเดือน ม.ค.2558 อยู่ที่ 76% หรือลดลงราว 20%
ขณะที่ทีวีดิจิทัล 21 ช่องใหม่ ครองสัดส่วนผู้ชม 7% ในเดือนเม.ย.2557 หรือจำนวน 4-5 ล้านคน ล่าสุดเดือน ม.ค.2558 เพิ่มเป็น 24% หรือมีจำนวนผู้ชม 14.5 ล้านคน หรือเติบโตถึงเกือบ 4 เท่าตัวในช่วง 10 เดือนของการออกอากาศ
"แนวโน้มผู้ชมทีวีดิจิทัลช่องใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากวันเริ่มต้นออกอากาศ โดยเฉพาะหลัง สำนักงานกสทช. แจกคูปองทีวีดิจิทัลให้ประชาชน นำไปแลกกล่องรับสัญญาณในเดือน ต.ค.เป็นต้นมา" นายฐากร กล่าว
ข้อมูลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ชมทีวีเปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลขทีวีอนาล็อกมีแนวโน้มผู้ชมลดลง แม้ปัจจุบันช่อง 7 และช่อง 3 ยังครองเรทติ้งผู้ชมทีวีอันดับ 1 และ 2 แต่ข้อมูลความนิยมรายการทีวีของนีลเส็น พบว่าค่าเฉลี่ยเรทติ้งเดือนธ.ค.2557 เทียบ ม.ค.2558 ของช่อง 7 ลดลง 7.96% ขณะที่ช่อง 3 ลดลง 20% เช่นเดียวกับฟรีทีวีเดิม ช่องอื่นๆ ที่มีแนวโน้มเรทติ้งลดลง โดยช่อง 5 ลดลง 59% ช่อง 9 ลดลง 40% ช่องไทยพีบีเอส ลดลง 49%
โกยเรทติ้ง-ปรับราคาโฆษณา
นายฐากร กล่าวว่าหลังจากทีวีดิจิทัลช่องใหม่ปรับผังรายการต่อเนื่อง นำละครและรายการสาระบันเทิงผลิตใหม่ รวมทั้งช่องเวิร์คพอยท์ทีวี และช่องวัน ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ นำรายการที่ได้รับความนิยมจากช่องฟรีทีวีเดิมมาออกอากาศทางช่องทีวีดิจิทัลของบริษัททั้งหมด ทำให้ผังรายการทีวีดิจิทัลปีนี้ได้รับความนิยมและมีผู้ชมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีเรทติ้งผู้ชมติดอันดับท็อปเทน
ขณะที่ช่องทีวีดาวเทียม ซึ่งเปลี่ยนแพลตฟอร์มมาออกอากาศในระบบดิจิทัล เช่นช่อง 27 (ช่อง 8) อาร์เอส, ช่อง 22 เนชั่นทีวี, ช่อง 21 วอยซ์ทีวี, ช่อง 19 สปริงนิวส์ สามารถรักษาความนิยมและฐานผู้ชมได้อย่างต่อเนื่อง โดยช่อง 8 เป็นช่องที่สามารถเพิ่มผู้ชมรายการได้อย่างรวดเร็ว จากการผลิตคอนเทนท์ตอบสนองโจทย์ผู้ชมกลุ่มแมส เช่น ละครหลังข่าว
ส่วนกลุ่มทีวีดิจิทัล ช่องใหม่ เช่น ช่องโมโน 29, ช่อง 32 ไทยรัฐทีวี, ช่อง 34 อมรินทร์ทีวี, ช่อง 18 นิวส์ทีวี ในกลุ่มนี้ ช่องโมโน 29 เป็นช่องที่มีความนิยมสูงติดท็อปเทนเรทติ้ง โดยนำเสนอซีรีส์ ละคร จากช่องเคเบิลทีวีมาออกอากาศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจึงได้รับความสนใจจากผู้ชมฟรีทีวีจำนวนมาก
"ผลการศึกษาพบว่าการมีแผนการตลาดและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงการนำเลขลำดับช่องรายการใส่ไว้ในชื่อช่องรายการ เป็นปัจจัยที่มีผลให้ช่องทีวีดิจิทัลได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น" นายฐากร กล่าว
ทั้งนี้ ข้อมูลจากนีลเส็น ระบุว่าทีวีดิจิทัล ในกลุ่มผู้นำเรทติ้งเพิ่มต่อเนื่องจากเดือนธ.ค.2557 เทียบ ม.ค.2558 ช่องเวิร์คพอยท์ เพิ่มขึ้น 41% ช่อง 8 เพิ่มขึ้น 15% ช่องวัน 38%
นายฐากร กล่าวว่าจากแนวโน้มความนิยมและฐานผู้ชมทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย(MAAT) รายงานว่าปีนี้ ช่องทีวีดิจิทัล ปรับขึ้นราคาโฆษณาเฉลี่ย 40% โดยราคาโฆษณาเฉลี่ยปี 2557 อยู่ที่ 10,000 บาทต่อนาที ส่วนปีนี้อยู่ที่ 50,000 บาทต่อนาที และมีโอกาสปรับขึ้นอีกหากมีเรทติ้งสูง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมทีวีทั้งด้านการลงทุนและการแข่งขันเนื้อหาสาระของรายการ ซึ่งจะทำให้มีรายการคุณภาพมากขึ้น เป็นทางเลือกในการรับชมของประชาชน
แจกคูปองดันผู้ชม20ล้านคนปีนี้
ปัจจุบันสำนักงาน กสทช. ดำเนินการแจกคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิทัลรวม 4 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2557 ถึงปัจจุบัน จำนวน 8.19 ล้านฉบับ ขณะที่การแจกคูปอง 3 ครั้งแรกในปี 2557 จำนวน 7.7 ล้านฉบับ มีประชาชนนำคูปองมาใช้แล้ว 50% หรือจำนวน 3 ล้านฉบับ ดังนั้นจะมีผู้ชมที่รับชมจากช่องทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน 6-7 ล้านคนในขณะนี้
ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ สำนักงาน กสทช. เตรียมแจกคูปองครั้งที่ 5 อีก 5.17 แสนฉบับ ในพื้นที่ 7 จังหวัด จ.สกลนคร จ.นครพนม จ.ลำปาง จ.น่าน จ.เพชรบูรณ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.นครศรีธรรมราช รวม 15 อำเภอที่มีสัญญาณทีวีดิจิทัลครอบคลุมไม่น้อยกว่า 80%
อย่างไรก็ตามคาดว่าในเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ จะดำเนินการแจกคูปองครบทั้ง 13.5 ล้านครัวเรือน ที่กำหนดแจกคูปองระยะแรกในครัวเรือนที่มีทะเบียนบ้านและเจ้าบ้าน โดย สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะมีประชาชนนำคูปองมาใช้ในสัดส่วน 70% ดังนั้นคาดว่าในปีนี้ ทีวีดิจิทัล จะครองสัดส่วนผู้ชมราว 20 ล้านคน
จากผลการศึกษาการรับชมทีวีดิจิทัลของสำนักงาน กสทช. สรุปได้ว่าประเทศไทยเป็นสังคมที่มีแนวโน้มการตอบรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทีวีดิจิทัล จากการเติบโตของจำนวนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เชื่อว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบอนาล็อกสู่ดิจิทัลได้เร็วกว่าโรดแมพที่กำหนดสิ้นสุดการออกอากาศทีวีระบบอนาล็อกในปี 2563
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/633143