มาตรการทางภาษีเพื่อเจ้าของสถานประกอบการและภาคเอกชน
ให้นายจ้างที่รับคนพิการเข้าทำงานตามหลักเกณฑ์ที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดสามารถนำรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างแก่พนักงาน ไปลดหย่อนภาษีได้ ร้อยละ 100 หมายความว่า.... ถ้านายจ้างรับคนพิการเข้าทำงาน แล้วจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างที่เป็นคนพิการทุกคนรวมทั้งปี 1,000,000บาท ก็ให้นำ 1,000,000บาท นั้นไปใช้ในการคำนวณภาษีได้เลย.. กฏหมายใหม่เพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 2,000,000 บาท โอ้วมายก๊อดด.....
แต่เด๋วก่อน... ถ้าคุณจ้างงานคนพิการมากกว่าร้อยละ 60 ของลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบการ เรามีของแถมให้คุณคือ สามารถนำรายจ่ายที่จ่ายให้คนพิการไปลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า อ่านแล้วยัง งงๆๆ มีตัวอย่างอธิบาย..ดังนี้.
บริษัท ABC มีพนักงานทั้งหมด 100 คน จ้างงานคนพิการตั้ง 65 คน เงินเดือนของคนพิการทั้ง 65 คน รวมทั้งหมด 3,000,000บาท ปกติเงินเดือนที่จ่ายให้พนักงานคนพิการก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อยู่แล้ว แต่ดีไปกว่านั้นคือ ถ้าจ้างพนักงานคนพิการได้มากกว่า 60% ของพนักงานทั้งหมด นายจ้างสามารถนำไปคำนวณภาษีได้ 3 เท่า คือ จากเดิม 3,000,000บาท ก็เป็น 9,000,000บาท ที่จะนำไปใช้คำนวณลดหย่อนภาษีได้... แต่คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการเท่านั้น.. (หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว ที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นคนพิการ เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจ่าย ตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัญญาจ้างแรงงาน บริษัทฯ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๔๙๙) พ.ศ. ๒๕๕๓ )
ตามความคิดของผม.. ผมไม่รู้ว่าบริษัททั่วๆไปในประเทศไทย ได้รับรู้ถึงข้อกฏหมายนี้รึป่าว ผมเห็นบริษัทต่างๆที่รับคนพิการเข้าทำงานได้เงินเดือนแค่ 9000-15000 บาท เท่านั้น แต่เค้าไม่ทราบเลยว่า เงินที่เค้าจ่ายให้พนักงานคนพิการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2-3 เท่า ก็เท่ากับว่า เงินที่จ่ายให้พนักงานคนพิการมากเท่าไหร่ เค้าก็สามารถได้ลดหย่อนภาษีได้มากเท่านั้น...
ที่ผมเขียนขึ้นมานี้ ไม่ได้มีเจตนาว่าบริษัทในประเทศไทยแต่อย่างใด เพียงแต่มาชี้แจงให้เข้าใจว่า มีกฏหมายนี้แล้วในประเทศไทย เพื่อให้สิทธิคนพิการที่สามารถทำงานได้ อย่างคนทั่วๆไป ให้บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานคนพิการเพิ่มมากขึ้น....ก็เท่านั้นเอง
รู้ยังว่า เงินที่จ่ายให้คนพิการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100%
ให้นายจ้างที่รับคนพิการเข้าทำงานตามหลักเกณฑ์ที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดสามารถนำรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างแก่พนักงาน ไปลดหย่อนภาษีได้ ร้อยละ 100 หมายความว่า.... ถ้านายจ้างรับคนพิการเข้าทำงาน แล้วจ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างที่เป็นคนพิการทุกคนรวมทั้งปี 1,000,000บาท ก็ให้นำ 1,000,000บาท นั้นไปใช้ในการคำนวณภาษีได้เลย.. กฏหมายใหม่เพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 2,000,000 บาท โอ้วมายก๊อดด.....
แต่เด๋วก่อน... ถ้าคุณจ้างงานคนพิการมากกว่าร้อยละ 60 ของลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบการ เรามีของแถมให้คุณคือ สามารถนำรายจ่ายที่จ่ายให้คนพิการไปลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า อ่านแล้วยัง งงๆๆ มีตัวอย่างอธิบาย..ดังนี้.
บริษัท ABC มีพนักงานทั้งหมด 100 คน จ้างงานคนพิการตั้ง 65 คน เงินเดือนของคนพิการทั้ง 65 คน รวมทั้งหมด 3,000,000บาท ปกติเงินเดือนที่จ่ายให้พนักงานคนพิการก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อยู่แล้ว แต่ดีไปกว่านั้นคือ ถ้าจ้างพนักงานคนพิการได้มากกว่า 60% ของพนักงานทั้งหมด นายจ้างสามารถนำไปคำนวณภาษีได้ 3 เท่า คือ จากเดิม 3,000,000บาท ก็เป็น 9,000,000บาท ที่จะนำไปใช้คำนวณลดหย่อนภาษีได้... แต่คนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการเท่านั้น.. (หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว ที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นคนพิการ เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจ่าย ตามข้อผูกพันที่กำหนดในสัญญาจ้างแรงงาน บริษัทฯ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๔๙๙) พ.ศ. ๒๕๕๓ )
ตามความคิดของผม.. ผมไม่รู้ว่าบริษัททั่วๆไปในประเทศไทย ได้รับรู้ถึงข้อกฏหมายนี้รึป่าว ผมเห็นบริษัทต่างๆที่รับคนพิการเข้าทำงานได้เงินเดือนแค่ 9000-15000 บาท เท่านั้น แต่เค้าไม่ทราบเลยว่า เงินที่เค้าจ่ายให้พนักงานคนพิการ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2-3 เท่า ก็เท่ากับว่า เงินที่จ่ายให้พนักงานคนพิการมากเท่าไหร่ เค้าก็สามารถได้ลดหย่อนภาษีได้มากเท่านั้น...
ที่ผมเขียนขึ้นมานี้ ไม่ได้มีเจตนาว่าบริษัทในประเทศไทยแต่อย่างใด เพียงแต่มาชี้แจงให้เข้าใจว่า มีกฏหมายนี้แล้วในประเทศไทย เพื่อให้สิทธิคนพิการที่สามารถทำงานได้ อย่างคนทั่วๆไป ให้บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานคนพิการเพิ่มมากขึ้น....ก็เท่านั้นเอง