“พรหมลิขิตบันดาลทุกอย่างเป็นผู้วางหนุนทางมวลชนได้ลิขิตชีวิตคนมอบเนื้อคู่มาเปรอปรนทั้งยังดลเธอให้คู่ฉัน” จากบทเพลงรักเก่าแก่แต่ยังคงความทันสมัยมายาวนาน บทสรุปความรักมักลงเอยด้วยการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของหญิงชายการใช้ชีวิตคู่จึงอาจมีทั้งที่เป็นทางพฤตินัยและในแบบนิตินัยซึ่งมี “ทะเบียนสมรส”เป็นเอกสารทางกฎหมายรับรองสถานะที่ทำให้สามีภรรยาได้รับสิทธิและมีหน้าที่ต่อกันในเรื่องต่างๆไม่ว่าในการเลี้ยงดูปกป้องคุ้มครองบุตรการดูแลบริหารจัดการบ้านเรือน ทรัพย์สินของกันและกันรวมทั้งการร่วมกันรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งกำหนดไว้อีกด้วย
หญิงชายคู่ใดต้องการได้มาซึ่ง“ทะเบียนสมรส” เพียงมีอายุครบ ๑๗ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศโดยคู่สมรสไม่จำเป็นต้องมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้นแต่หากคู่สมรสยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองหรือศาลสั่งเสียก่อนโดยใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆหากเป็นการจดนอกสำนักทะเบียนมีค่าธรรมเนียมจำนวน ๒๐๐ บาท พร้อมจัดพาหนะรับ-ส่งนายทะเบียนตามสมควรและหากเป็นการจดทะเบียนในท้องที่ห่างไกลสามรถดำเนินการได้โดยมีค่าธรรมเนียม ๑บาทเท่านั้น
กรมการปกครองในฐานะหน่วยงานผู้ปฏิบัติงานด้านทะเบียนครอบครัวและแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้รับการยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินการจดทะเบียนสมรสทั้งในและนอกสำนักทะเบียนทั่วประเทศจากสถิติในปีพ.ศ.๒๕๕๗ ไม่น้อยกว่า ๒๙๖,๐๐๐ คู่มีทั้งคู่สามีภรรยาสูงวัยที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมายาวนานไม่น้อยกว่า ๕๐ ปีหรือคู่สมรสที่ต้องการสร้างความประทับใจโดยเลือกสถานที่จดทะเบียนสมรส ณบ้านเรือนของตน หรือสถานที่โดดเด่นของจังหวัด อาทิการจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลไทยในงานวิวาห์ใต้สมุทรของจังหวัดตรัง หรือการปีนหน้าผาในงานบันทึกรักกลางภูผาวิวาห์ผจญภัยของจังหวัดปราจีนบุรีเป็นต้น ก็สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสณ สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานครและสำนักทะเบียนอำเภอทั่วประเทศได้ทันที
ข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423726799
ทะเบียนสมรส
“พรหมลิขิตบันดาลทุกอย่างเป็นผู้วางหนุนทางมวลชนได้ลิขิตชีวิตคนมอบเนื้อคู่มาเปรอปรนทั้งยังดลเธอให้คู่ฉัน” จากบทเพลงรักเก่าแก่แต่ยังคงความทันสมัยมายาวนาน บทสรุปความรักมักลงเอยด้วยการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของหญิงชายการใช้ชีวิตคู่จึงอาจมีทั้งที่เป็นทางพฤตินัยและในแบบนิตินัยซึ่งมี “ทะเบียนสมรส”เป็นเอกสารทางกฎหมายรับรองสถานะที่ทำให้สามีภรรยาได้รับสิทธิและมีหน้าที่ต่อกันในเรื่องต่างๆไม่ว่าในการเลี้ยงดูปกป้องคุ้มครองบุตรการดูแลบริหารจัดการบ้านเรือน ทรัพย์สินของกันและกันรวมทั้งการร่วมกันรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งกำหนดไว้อีกด้วย
หญิงชายคู่ใดต้องการได้มาซึ่ง“ทะเบียนสมรส” เพียงมีอายุครบ ๑๗ปีบริบูรณ์ขึ้นไปสามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักงานเขตทั่วประเทศโดยคู่สมรสไม่จำเป็นต้องมีภูมิลำเนาในพื้นที่นั้นแต่หากคู่สมรสยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองหรือศาลสั่งเสียก่อนโดยใช้เพียงบัตรประจำตัวประชาชนของคู่สมรสและไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆหากเป็นการจดนอกสำนักทะเบียนมีค่าธรรมเนียมจำนวน ๒๐๐ บาท พร้อมจัดพาหนะรับ-ส่งนายทะเบียนตามสมควรและหากเป็นการจดทะเบียนในท้องที่ห่างไกลสามรถดำเนินการได้โดยมีค่าธรรมเนียม ๑บาทเท่านั้น
กรมการปกครองในฐานะหน่วยงานผู้ปฏิบัติงานด้านทะเบียนครอบครัวและแต่งตั้งนายทะเบียนผู้ดำเนินการจดทะเบียนสมรสได้รับการยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินการจดทะเบียนสมรสทั้งในและนอกสำนักทะเบียนทั่วประเทศจากสถิติในปีพ.ศ.๒๕๕๗ ไม่น้อยกว่า ๒๙๖,๐๐๐ คู่มีทั้งคู่สามีภรรยาสูงวัยที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมายาวนานไม่น้อยกว่า ๕๐ ปีหรือคู่สมรสที่ต้องการสร้างความประทับใจโดยเลือกสถานที่จดทะเบียนสมรส ณบ้านเรือนของตน หรือสถานที่โดดเด่นของจังหวัด อาทิการจดทะเบียนสมรสใต้ท้องทะเลไทยในงานวิวาห์ใต้สมุทรของจังหวัดตรัง หรือการปีนหน้าผาในงานบันทึกรักกลางภูผาวิวาห์ผจญภัยของจังหวัดปราจีนบุรีเป็นต้น ก็สามารถดำเนินการได้โดยยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสณ สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานครและสำนักทะเบียนอำเภอทั่วประเทศได้ทันที
ข้อมูลจาก : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1423726799